[เล่มที่ 2] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒
พระวินัยปิฎก
เล่ม ๑ ภาค ๒
มหาวิภังค์ ปฐมภาค
ทุติยปาราชิกกัณฑ์ 1
เรื่องพระธนิยะ กุมภการบุตร 79/1
วัสสการพราหมณ์ตรวจราชการ 81/4
ประชาชนเพ่งโทษติเตียนโพนทะนา 83/6
ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท 7
พระปฐมบัญญัติ 9
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 84/9
ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติอนุบัญญัติ 10
พระอนุบัญญัติ 12
สิกขาบทวิภังค์ 85/12
บทภาชนีย์ มาติกา 90/15
ภุมมัฏฐวิภาค 91/16
ถลัฏฐวิภาค 92/17
อากาสัฏฐวิภาค 93/17
เวหาสัฏฐวิภาค 94/17
อุทกัฏฐวิภาค 95/18
นาวัฏฐวิภาค 96/18
ยานัฏฐวิภาค 97/19
ภารัฏฐวิภาค 98/19
อารามัฏฐวิภาค 99/20
วิหารัฏฐวิภาค 100/20
เขตตัฏฐวิภาค 101/21
วัตถุฏฐวิภาค 102/22
คามัฏฐวิภาค 103/22
อรัญญัฏฐวิภาค 104/23
อุทกวิภาค 105/23
ทันตโปณวิภาค 106/24
วนัปปติวิภาค 107/24
หรณกวิภาค 108/24
อุปนิธิวิภาค 109/25
สุงกฆาตวิภาค 110/25
ปาณวิภาค 111/26
อปทวิภาค 112/26
ทวิปทวิภาค 113/26
จตุปทวิภาค 114/27
พหุปทวิภาค 115/27
โอจรกวิภาค 116/27
โอณิรักขวิภาค 117/28
สังวิธาวหารวิภาค 118/28
สังเกตกัมมวิภาค 119/28
นิมิตตกัมมวิภาค 120/28
อาณัตติกประโยค 121/29
อาการแห่งอวหาร อาการ ๕ อย่าง 122/30
อาการ ๖ อย่าง 123/31
อาการ ๕ อย่าง 124/32
อนาปัตติวาร 125/33
วินีตวัตถุ ในทุติยปาราชิกกัณฑ์ อุทานคาถา 126/33
วินีตวัตถุ เรื่องช่างย้อม ๕ เรื่อง 127/35
เรื่องผ้าห่มที่ตาก ๔ เรื่อง 129/36
เรื่องกลางคืน ๕ เรื่อง 130/37
เรื่องทรัพย์ที่ภิกษุนําไปเอง ๕ เรื่อง 131/38
เรื่องตอบตามคําถามนํา ๕ เรื่อง 132/39
เรื่องลม ๒ เรื่อง 133/41
เรื่องศพที่ยังสด 134/42
เรื่องสับเปลี่ยนสลาก 135/42
เรื่องเรือนไฟ 136/43
เรื่องเนื้อเดนสัตว์ ๕ เรื่อง 137/43
เรื่องส่วนไม่มีมูล ๕ เรื่อง 138/44
เรื่องข้าวสุก 139/45
เรื่องเนื้อ 46
เรื่องขนม 46
เรื่องน้ําตาลกรวด 46
เรื่องขนมต้ม 46
เรื่องบริขาร ๕ เรื่อง 140/47
เรื่องถุง 141/48
เรื่องฟูก 142/48
เรื่องราวจีวร 143/48
เรื่องไม่ออกไป 144/48
เรื่องถือวิสาสะฉันของเคี้ยว 145/49
เรื่องฉันของเคี้ยวด้วยสําคัญว่าของตน ๒ เรื่อง 146/49
เรื่องไม่ลัก ๗ เรื่อง 147/50
เรื่องลัก ๗ เรื่อง 148/53
เรื่องลักของสงฆ์ ๗ เรื่อง 149/55
เรื่องลักดอกไม้ ๒ เรื่อง 150/56
เรื่องพูดตามคําบอก ๓ เรื่อง 151/57
เรื่องนําแก้วมณีล่วงด่านภาษี ๓ เรื่อง 152/58
เรื่องปล่อยหมู ๒ เรื่อง 153/59
เรื่องปล่อยเนื้อ ๒ เรื่อง 60
เรื่องปล่อยปลา ๒ เรื่อง 60
เรื่องกลิ้งทรัพย์ในยาน 154/61
เรื่องชิ้นเนื้อ ๒ เรื่อง 155/61
เรื่องไม้ ๒ เรื่อง 156/62
เรื่องผ้าบังสุกุล 157/62
เรื่องข้ามน้ํา ๒ เรื่อง 158/63
เรื่องฉันทีละน้อย 159/63
เรื่องชวนกันลักทรัพย์ ๒ เรื่อง 160/63
เรื่องกํามือ ๔ เรื่อง 161/64
เรื่องเนื้อเดน ๒ เรื่อง 162/65
เรื่องหญ้า ๒ เรื่อง 163/65
เรื่องให้แบ่งของสงฆ์ ๗ เรื่อง 165/66
เรื่องไม่ใช่เจ้าของ ๗ เรื่อง 166/68
เรื่องยืมไม้ของสงฆ์ 167/69
เรื่องลักน้ําของสงฆ์ 168/69
เรื่องลักดินของสงฆ์ 70
เรื่องลักหญ้า ๒ เรื่อง 70
เรื่องเสนาสนะของสงฆ์ ๗ เรื่อง 169/71
เรื่องของมีเจ้าของ ไม่ควรนําไปใช้ 170/72
เรื่องของมีเจ้าของ ควรขอยืม 73
เรื่องภิกษุณีชาวเมืองจัมปา 171/73
เรื่องภิกษุณีชาวเมืองราชคฤห์ 73
เรื่องพระอัชชุกะเมืองเวสาลี 172/74
เรื่องเมืองพาราณสี 173/75
เรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพี 174/75
เรื่องสัทธิวิหาริกพระทัฬหิกะเมืองสาคละ 175/76
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 2]
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 1
พระวินัยปิฎก
เล่ม ๑ ภาค ๒
มหาวิภังค์ ปฐมภาค
ทุติยปาราชิกกัณฑ์ (๑)
เรื่องพระธนิยะ กุมภการบุตร
[๗๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปซึ่งเคยเห็นกันเคยคบหากันมา ทำกุฎีมุงบังด้วยหญ้า ณ เชิงภูเขาอิสิคิลิแล้วอยู่จำพรรษา แม้ท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร ก็ได้ทำกุฎีมุงบังด้วยหญ้าแล้วอยู่จำพรรษา ครั้นภิกษุเหล่านั้นจำพรรษาโดยล่วงไตรมาสแล้ว ได้รื้อกุฎีมุงด้วยหญ้า เก็บหญ้าและตัวไม้ไว้ แล้วหลีกไปสู่จาริกในชนบท ส่วนท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร อยู่ ณ ที่นั้นเอง ตลอดฤดูฝน ฤดูหนาว และฤดูร้อน ขณะเมื่อท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร เข้าไปบ้านเพื่อบิณฑบาต คนหาบหญ้า คนหาฟืน ได้รื้อกุฎีบังด้วยหญ้าเสีย แล้วขนหญ้าและตัวไม้ไป.
แม้ครั้งที่สอง ท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร ได้เที่ยวหาหญ้า และไม้มาทำกุฎีมุงบังด้วยหญ้าอีก เมื่อท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร เข้าไปบ้าน
(๑) พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค หน้า ๗๖.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 2
เพื่อบิณฑบาต แม้ครั้งที่สอง คนหาบหญ้า คนหาฟืน ก็ได้รื้อกุฎีมุงบังด้วยหญ้าเสีย แล้วขนหญ้าและตัวไม้ไป.
แม้ครั้งที่สาม ท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร ก็ได้เที่ยวหาหญ้าและไม้มาทำกุฎีมุงบังด้วยหญ้าอีก เมื่อท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร เข้าไปบ้านเพื่อบิณฑบาต แม้ครั้งที่สาม คนหาบหญ้า คนหาฟืน ก็ได้รื้อกุฎีมุงบังด้วยหญ้าเสีย แล้วขนหญ้าและตัวไม้ไปอีก.
หลังจากนั้น ท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร ได้มีความคิดว่า เมื่อเราเข้าไปบ้านเพื่อบิณฑบาต คนหาบหญ้า คนหาฟืน ได้รื้อกุฎีมุงบังด้วยหญ้าเสีย แล้วขนหญ้าและตัวไม้ไปถึงสามครั้งแล้ว ก็เรานี่แหละ เป็นผู้ได้ศึกษามาดีแล้วไม่บกพร่อง เป็นผู้สำเร็จศิลปะในการช่างหม้อเสมอด้วยอาจารย์ของตน ผิฉะนั้น เราพึงขยำโคลนทำกุฎีสำเร็จด้วยดินล้วนเสียเอง จึงท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร ขยำโคลนทำกุฎีสำเร็จด้วยดินล้วน ด้วยตนเอง แล้วรวบรวมหญ้าไม้และโคมัยมาเผากุฎีนั้น กุฎีนั้นงดงาม น่าดู น่าชม มีสีแดงเหมือนแมลงค่อมทอง มีเสียงเหมือนเสียงกระดึง.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลงจากภูเขาคิชฌกูฏพร้อมด้วยภิกษุเป็นอันมาก ทอดพระเนตรเห็นกุฎีนั้นงดงามน่าดูน่าชมมีสีแดง ครั้นแล้วจึงตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นั่นอะไร งดงาม น่าดู น่าชม มีสีแดงเหมือนแมลงค่อมทอง ครั้นภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว พระพุทธองค์ทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษนั้น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนโมฆบุรุษนั้นจึงได้ขยำโคลนทำกุฎีสำเร็จด้วยดินล้วน ด้วยตนเองเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเอ็นดู ความอนุเคราะห์ความไม่เบียดเบียนหมู่สัตว์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 3
มิได้มีแก่โมฆบุรุษนั้นเลย พวกเธอจงไปทำลายกุฎีนั้น พวกเพื่อนพรหมจารีชั้นหลัง อย่าถึงความเบียดเบียนหมู่สัตว์เลย อันภิกษุไม่ควรทำกุฎีที่สำเร็จด้วยดินล้วน ภิกษุใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุเหล่านั้นรับพระพุทธาณัติแล้ว พากันไปที่กุฎีนั้น ครั้นถึงแล้ว ได้ทำลายกุฎีนั้นเสีย ท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร จึงถามภิกษุเหล่านั้นว่า อาวุโส พวกท่านทำลายกุฎีของผม เพื่ออะไร.
ภิ. พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ทำลาย ขอรับ.
ธ. ทำลายเถิด ขอรับ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ธรรมสามีรับสั่งให้ทำลาย.
[๘๐] กาลต่อมา ความดำรินี้ได้มีแก่ท่านพระธนิยะ กุมภการบุตรว่า เมื่อเราเข้าไปบ้านเพื่อบิณฑบาต คนหาบหญ้า คนหาฟืน ได้รื้อกุฎีมุงบังด้วยหญ้าเสีย แล้วขนหญ้าและตัวไม้ไปถึงสามครั้งแล้ว แม้กุฎีดินล้วนที่เราทำไว้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็รับสั่งให้ทำลายเสีย ก็เจ้าพนักงานรักษาไม้ที่ชอบพอกับเรามีอยู่ ไฉนหนอเราพึงขอไม้ต่อเจ้าพนักงานรักษาไม้มาทำกุฎีไม้ จึงท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร เข้าไปหาเจ้าพนักงานรักษาไม้ ครั้นแล้วได้บอกเรื่องนี้ต่อเจ้าพนักงานรักษาไม้ว่า ขอเจริญพร เมื่ออาตมาเข้าไปบ้านเพื่อบิณฑบาต คนหาบหญ้า คนหาฟืน ได้รื้อกุฎีมุงบังด้วยหญ้าเสีย แล้วขนหญ้าและตัวไม้ไปถึงสามครั้ง แม้กุฎีดินล้วนที่อาตมาทำไว้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็รับสั่งให้ทำลายเสียแล้ว ขอท่านจงให้ไม้แก่อาตมาๆ ประสงค์จะทำกุฎีไม้.
จ. ไม้ที่กระผมจะพึงถวายแก่พระผู้เป็นเจ้าได้นั้น ไม่มี ขอรับ มีแต่ไม้ของหลวงที่สงวนไว้สำหรับซ่อมแปลงพระนคร ซึ่งเก็บไว้เพื่อใช้ในคราวมีอันตราย ถ้าพระเจ้าแผ่นดินรับสั่งให้พระราชทานไม้เหล่านั้น ขอท่านจงให้คนขนไปเถิดขอรับ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 4
ธ. ขอเจริญพร ไม้เหล่านั้น พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานแล้ว.
ลำดับนั้น เจ้าพนักงานรักษาไม้คิดว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้แล เป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสงบ ประพฤติพรหมจรรย์ กล่าวคำสัตย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม แม้พระเจ้าแผ่นดินก็ทรงเลื่อมใสในพระสมณะเหล่านี้ยิ่งนัก ท่านพระธนิยะนี้ย่อมไม่บังอาจเพื่อจะกล่าวถึงสิ่งของที่พระเจ้าแผ่นดินยังไม่ได้พระราชทาน ว่าพระราชแล้ว จึงได้เรียนต่อท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร ว่า นิมนต์ให้คนขนไปเถิดขอรับ จึงท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร สั่งให้ตัดไม้เหล่านั้นเป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่บรรทุกเกวียนไปทำกุฎีไม้แล้ว.
วัสสการพราหมณ์ตรวจราชการ
[๘๑] ต่อจากนั้น วัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์ในมคธรัฐ ไปตรวจราชการในกรุงราชคฤห์ ได้เข้าไปหาเจ้าพนักงานรักษาไม้ ครั้นแล้ว ได้พูดถึงเรื่องนี้ต่อเจ้าพนักงานรักษาไม้ว่า พนาย ไม้ของหลวงที่สงวนไว้สำหรับซ่อมพระนคร ซึ่งเก็บไว้เพื่อใช้ในคราวมีอันตรายเหล่านั้น อยู่ ณ ที่ไหน.
เจ้าพนักงานรักษาไม้เรียนว่า ใต้เท้าขอรับ ไม้เหล่านั้น พระเจ้าแผ่นดินได้พระราชทานแก่ท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร ไปแล้ว.
ทันใดนั้น วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์ในมคธรัฐ เกิดความไม่พอใจว่า ไฉนพระเจ้าแผ่นดินจึงได้พระราชทานไม้ของหลวงที่สงวนไว้สำหรับซ่อมแปลงพระนคร ซึ่งเก็บไว้เพื่อใช้ในคราวมีอันตราย แก่พระธนิยะ กุมภการบุตร ไปเล่า จึงเข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช กราบทูลว่า ได้ทราบเกล้าว่า ไม้ของหลวงที่สงวนไว้สำหรับซ่อมแปลงพระนคร ซึ่งเก็บไว้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 5
เพื่อใช้ในคราวมีอันตราย พระองค์พระราชทานแก่พระธนิยะ กุมภการบุตร ไปแล้ว จริงหรือพระพุทธเจ้าข้า.
พระเจ้าพิมพิสารตรัสถามว่า ใครพูดอย่างนั้น.
ว. เจ้าพนักงานรักษาไม้พูด พระพุทธเจ้าข้า.
พ. พราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงให้คนไปนำเจ้าพนักงานรักษาไม้มา.
จึงวัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์ในมคธรัฐ สั่งให้เจ้าหน้าที่จองจำเจ้าพนักงานรักษาไม้นำมา.
[๘๒] ท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร ได้เห็นเจ้าพนักงานรักษาไม้ถูกเจ้าหน้าที่จองจำนำไป จึงไต่ถามเจ้าพนักงานรักษาไม้ว่า เจริญพร ท่านถูกเจ้าหน้าที่จองจำนำไปด้วยเรื่องอะไร.
เจ้าพนักงานรักษาไม้ตอบว่า เรื่องไม้เหล่านั้น ขอรับ.
ธ. ไปเถิด ท่าน แม้อาตมาก็จะไป.
จ. ใต้เท้าควรไป ขอรับ ก่อนที่กระผมจะถูกประหาร.
จึงท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร ได้เข้าไปสู่พระราชนิเวศน์ของพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ครั้นถึงแล้ว นั่งเหนืออาสนะที่เขาจัดถวาย ขณะนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช เสด็จเข้าไปหาท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร ทรงอภิวาทแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง ตรัสถามท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร ถึงเรื่องไม้นั้นว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า ทราบว่าไม้ของหลวงที่สงวนไว้สำหรับซ่อมแปลงพระนคร ซึ่งเขาเก็บไว้เพื่อใช้ในคราวมีอันตราย โยมได้ถวายแก่พระคุณเจ้า จริงหรือ.
ธ. จริงอย่างนั้น ขอถวายพระพร.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 6
พ. ข้าแต่พระคุณเจ้า โยมเป็นพระเจ้าแผ่นดิน มีกิจมาก มีกรณียะมาก แม้ถวายแล้ว ก็ระลึกไม่ได้ ขอพระคุณเจ้าโปรดเตือนให้โยมระลึกได้.
ธ. ขอถวายพระพร พระองค์ทรงระลึกได้ไหม ครั้งพระองค์เสด็จเถลิงถวัลยราชย์ใหม่ๆ ได้ทรงเปล่งพระวาจาเช่นนี้ว่า หญ้า ไม้ และน้ำ ข้าพเจ้าถวายแล้วแก่สมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย ขอสมณะและพราหมณ์ทั้งหลายโปรดใช้สอยเถิด.
พ. ข้าแต่พระคุณเจ้า โยมระลึกได้ สมณะและพราหมณ์ทั้งหลายที่เป็นผู้มีความละอาย มีความรังเกียจ ใคร่ต่อสิกขา มีอยู่ ความรังเกียจแม้ในเหตุเล็กน้อยจะเกิดแก่สมณะและพราหมณ์เหล่านั้น คำที่กล่าวนั้น โยมหมายถึงการนำหญ้าไม้และน้ำของสมณะและพราหมณ์เหล่านั้น แต่ว่าหญ้าไม้และน้ำนั้นแลอยู่ในป่า ไม่มีใครหวงแหน พระคุณเจ้านั้น ย่อมสำคัญเพื่อจะนำไม้ที่เขา ไม่ได้ให้ไปด้วยเลศนั้น พระเจ้าแผ่นดินเช่นโยม จะพึงฆ่า จองจำ หรือเนรเทศ ซึ่งสมณะหรือพราหมณ์อย่างไรได้ นิมนต์กลับไปเถิด พระคุณเจ้าๆ รอดตัวเพราะบรรพชาเพศแล้ว แต่อย่าได้ทำอย่างนั้นอีก.
ประชาชนเพ่งโทษติเตียนโพนทะนา
[๘๓] คนทั้งหลาย พากันเพ่งโทษว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ ไม่ละอาย ทุศีล พูดเท็จ พระสมณะเหล่านี้ยังปฏิญาณว่า เป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสงบ ประพฤติพรหมจรรย์ กล่าวคำสัตย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม ติเตียนว่า ความเป็นสมณะย่อมไม่มีแก่พระสมณะเหล่านี้ ความเป็นพราหมณ์ย่อมไม่มีแก่พระสมณะเหล่านี้ ความเป็นสมณะของพระสมณะ เหล่านี้ เสื่อมแล้ว ความเป็นพราหมณ์ของพระสมณะเหล่านี้ เสื่อมแล้ว ความเป็นสมณะของพระสมณะเหล่านี้ จะมีแต่ไหน ความเป็นพราหมณ์ของพระ-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 7
สมณะเหล่านี้ จะมีแต่ไหน พระสมณะเหล่านี้ปราศจากความเป็นสมณะแล้ว พระสมณะเหล่านี้ปราศจากความเป็นพราหมณ์แล้ว แม้พระเจ้าแผ่นดิน พระสมณะเหล่านี้ยังหลอกลวงได้ ไฉนจักไม่หลอกลวงคนอื่นเล่า. ภิกษุทั้งหลายได้ฟังคนเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร จึงได้ถือเอาไม้ของหลวงที่เขาไม่ได้ให้ไป แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นมูลเค้านั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร ว่า ดูก่อนธนิยะ ข่าวว่า เธอได้ถือเอาไม้ของหลวงที่เขาไม่ได้ให้ไป จริงหรือ.
ท่านพระธนิยะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนเธอจึงได้ถือเอาไม้ของหลวงที่เขาไม่ได้ให้ไปเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของผู้ที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของคนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 8
ก็สมัยนั้นแล มหาอำมาตย์ผู้พิพากษาเก่าคนหนึ่งบวชในหมู่ภิกษุ นั่งอยู่ไม่ห่างพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงพระองค์ได้ตรัสพระวาจานี้ต่อภิกษุรูปนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชจับโจรได้แล้ว ประหารชีวิตเสียบ้าง จองจำไว้บ้าง เนรเทศเสียบ้าง เพราะทรัพย์ประมาณเท่าไรหนอ.
ภิกษุรูปนั้นกราบทูลว่า เพราะทรัพย์บาทหนึ่งบ้าง เพราะของควรค่าบาทหนึ่งบ้าง เกินบาทหนึ่งบ้าง พระพุทธเจ้าข้า.
แท้จริงสมัยนั้น ทรัพย์ ๕ มาสกในกรุงราชคฤห์ เป็นหนึ่งบาท.
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร โดยอเนกปริยายแล้ว จึงตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย แล้วทรงกระทำธรรมีกถา ที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 9
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้
พระปฐมบัญญัติ
๒. อนึ่ง ภิกษุใด ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยส่วนแห่งความเป็นขโมย พระราชาทั้งหลาย จับโจรได้แล้วพึงประหารเสียบ้าง จองจำไว้บ้าง เนรเทศเสียบ้าง ด้วยบริภาษว่า เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นคนพาล เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็นขโมย ในเพราะถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานใด ภิกษุถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานนั้น แม้ภิกษุนี้ ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้ว แก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องพระธนิยะ กุมภการบุตร จบ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๘๔] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ชวนกันไปสู่ลานตากผ้าของช่างย้อม ได้ลักห่อผ้าของช่างย้อม นำมาสู่อารามแล้วแบ่งปันกัน ภิกษุทั้งหลายพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พวกท่านเป็นผู้มีบุญมาก เพราะผ้าเกิดแก่พวกท่านมาก.
ฉ. ท่านทั้งหลาย บุญของพวกผมจักมีแต่ไหน พวกผมไปสู่ลานตากผ้าของช่างย้อม แล้วได้ลักห่อผ้าของช่างย้อมมาเดี๋ยวนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 10
ภิ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้วมิใช่หรือ เหตุไรพวกท่านจึงได้ลักห่อผ้าของช่างย้อมมา.
ฉ. จริงขอรับ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว แต่สิกขาบทนั้นแล พระองค์ทรงบัญญัติเฉพาะในเขตบ้าน มิได้ทรงบัญญัติไปถึงในป่า.
ภิ. ท่านทั้งหลาย พระบัญญัตินั้นย่อมเป็นได้เหมือนกันทั้งนั้นมิใช่หรือ การกระทำของพวกท่านนั้นไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกท่านจึงได้ลักห่อผ้าของช่างย้อมมาเล่า การกระทำของพวกท่านนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของผู้ที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของพวกท่านนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว ครั้นภิกษุเหล่านั้นติเตียนพระฉัพพัคคีย์โดยอเนกปริยายแล้ว ได้กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ประชุมสงฆ์ทางบัญญัติอนุบัญญัติ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นมูลเค้านั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอไปสู่ลานตากผ้าของช่างย้อม แล้วลักห่อผ้าของช่างย้อมมา จริงหรือ.
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 11
ไม่ควรทำ ไฉนพวกเธอจึงได้ลักห่อผ้าของช่างย้อมมาเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของพวกเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของคนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว ครั้นทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์โดยอเนกปริยายแล้ว จึงตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียรโดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถา ที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 12
พระอนุบัญญัติ
๒. ก. อนึ่ง ภิกษุใด ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ด้วยส่วนแห่งความเป็นขโมย จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี พระราชาทั้งหลาย จับโจรได้แล้ว ประหารเสียบ้าง จองจำไว้บ้าง เนรเทศเสียบ้าง ด้วยบริภาษว่า เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นคนพาล เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็นขโมย ดังนี้ ในเพราะถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานใด ภิกษุถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานนั้น แม้ภิกษุนี้ ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๘๕] บทว่า อนึ่ง... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง... ใด.
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่ามีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นพระอเสขะ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 13
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันให้อุปสมบทแล้ว ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาผู้ที่ชื่อว่าภิกษุเหล่านั้น ภิกษุนี้ใด ที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันให้อุปสมบทแล้ว ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ภิกษุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์ว่า ภิกษุ ในอรรถนี้.
ประเทศที่ชื่อว่า บ้าน มีอธิบายว่า บ้านมีกระท่อมหลังเดียวก็ดี มีกระท่อม ๒ หลังก็ดี มีกระท่อม ๓ หลังก็ดี มีกระท่อม ๔ หลังก็ดี มีคนอยู่ก็ดี ไม่มีคนอยู่ก็ดี แม้ที่เขาล้อมไว้ก็ดี แม้ที่เขาไม่ได้ล้อมไว้ก็ดี แม้ที่เขาสร้างดุจเป็นที่โคจ่อมเป็นต้นก็ดี แม้หมู่เกวียนหรือต่างที่อาศัยอยู่เกิน ๔ เดือนก็ดี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า บ้าน.
ที่ชื่อว่า อุปจารบ้าน กำหนดเอาที่ซึ่งบุรุษขนาดกลาง ผู้ยืนอยู่ ณ เสาเขื่อนแห่งบ้านที่ล้อม โยนก้อนดินไปตก หรือกำหนดเอาที่ซึ่งบุรุษขนาดกลาง ผู้ยืนอยู่ ณ อุปจารเรือนแห่งบ้านที่ไม่ได้ล้อม โยนก้อนดินไปตก.
ที่ชื่อว่า ป่า มีอธิบายว่า สถานที่ที่เว้นบ้านและอุปจารบ้าน นอกนั้นชื่อว่า ป่า.
ที่ชื่อว่า ทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ มีอธิบายว่า ทรัพย์ใดอันเจ้าของไม่ได้ให้ ไม่ได้ละวาง ยังรักษาปกครองอยู่ ยังถือกรรมสิทธิ์อยู่ว่าเป็นของเรา ยังมีผู้อื่นหวงแหน ทรัพย์นั้นชื่อว่า ทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้.
บทว่า ด้วยส่วนแห่งความเป็นขโมย ได้แก่ มีจิตคิดขโมย คือ มีจิตคิดลัก.
[๘๖] บทว่า ถือเอา คือ ยึดเอา เอาไป เอาลง ยังอิริยาบทให้กำเริบ ให้เคลื่อนจากฐาน ให้ล่วงเลยเขตหมาย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 14
[๘๗] ที่ชื่อว่า เห็นปานใด คือ หนึ่งบาทก็ดี ควรแก่หนึ่งบาทก็ดี เกินกว่าหนึ่งบาทก็ดี.
ที่ชื่อว่า พระราชาทั้งหลาย ได้แก่พระเจ้าแผ่นดิน เจ้าผู้ปกครอง ประเทศ ท่านผู้ปกครองมณฑล นายอำเภอ ผู้พิพากษา มหาอำมาตย์ หรือ ท่านผู้สั่งประหารและจองจำได้ ท่านเหล่านี้ ชื่อว่า พระราชาทั้งหลาย.
ที่ชื่อว่า โจร มีอธิบายว่า ผู้ใดถือเอาสิ่งของอันเขาไม่ได้ให้ ได้ ราคา ๕ มาสกก็ดี เกินกว่า ๕ มาสกก็ดี ด้วยส่วนแห่งความเป็นขโมย ผู้นั้น ชื่อว่า โจร.
บทว่า ประหารเสียบ้าง คือ ประหารด้วยมือหรือเท้า ด้วย แส้หรือด้วยหวาย ด้วยไม้ค้อนสั้นหรือด้วยดาบ.
บทว่า จองจำไว้บ้าง คือ ผูกล่ามไว้ด้วยเครื่องมัดคือเชือก ด้วย เครื่องจองจำคือขื่อคา โซ่ตรวน หรือด้วยเขตจำกัดคือเรือน จังหวัด หมู่บ้าน ตำบลบ้าน หรือให้บุรุษควบคุม.
บทว่า เนรเทศเสียบ้าง คือ ขับไล่เสียจากหมู่บ้าน ตำบลบ้าน จังหวัด มณฑล หรือประเทศ.
บทว่า เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นคนพาล เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็น ขโมย นี้เป็นคำบริภาษ.
[๘๘] ที่ชื่อว่า เห็นปานนั้น คือ หนึ่งบาทก็ดี ควรแก่หนึ่งบาทก็ดี เกินกว่าหนึ่งบาทก็ดี.
บทว่า ถือเอา คือ ตู่ วิ่งราว ฉ้อ ยังอิริยาบถให้กำเริบ ให้เคลื่อน จากฐาน ให้ล่วงเลยเขตหมาย.
[๘๙] คำว่า แม้ภิกษุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทียบเคียงภิกษุรูป ก่อน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 15
คำว่า เป็นปาราชิก มีอธิบายว่า ใบไม้เหลืองหล่นจากขั้วแล้ว ไม่อาจจะเป็นของเขียวสดขึ้นได้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแหละ ถือเอาทรัพย์ อันเขาไม่ได้ให้ ด้วยส่วนแห่งความเป็นขโมย หนึ่งบาทก็ดี ควรแก่หนึ่งบาท ก็ดี เกินกว่าหนึ่งบาทก็ดี แล้วไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า เป็นปาราชิก.
บทว่า หาสังวาสมิได้ ความว่า ที่ชื่อว่า สังวาส ได้แก่กรรมที่ พึงทำร่วมกัน อุเทศที่พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกันนั่นชื่อว่า สังวาส สังวาสนั้นไม่มีร่วมกับภิกษุนั้น เพราะเหตุนั้นจังตรัสว่า หาสังวาส มิได้.
บทภาชนีย์ มาติกา
[๙๐] ทรัพย์อยู่ในดิน ทรัพย์ตั้งอยู่บนดิน ทรัพย์ลอยอยู่ในอากาศ ทรัพย์ตั้งอยู่ในที่แจ้ง ทรัพย์ตั้งอยู่ในน้ำ เรือ และทรัพย์อยู่ในเรือ ยาน และทรัพย์อยู่ในยาน ทรัพย์ที่ตนนำไป สวน และทรัพย์อยู่ในสวน ทรัพย์อยู่ในวัด นา และทรัพย์อยู่ในนา พื้นที่และทรัพย์อยู่ในพื้นที่ ทรัพย์อยู่ในบ้าน ป่า และทรัพย์อยู่ในป่า น้ำ ไม้ชำระฟัน ต้นไม้เจ้าป่า ทรัพย์ที่มีผู้นำไป ทรัพย์ที่เขาฝากไว้ ด่านภาษี สัตว์มีชีวิต สัตว์ไม่มีเท้า สัตว์สองเท้า สัตว์สี่เท้า สัตว์มีเท้ามาก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 16
ภิกษุผู้สั่ง ภิกษุผู้รับของฝาก การชักชวนกันไปลัก การนัดหมาย การทำนิมิต.
ภุมมัฏฐวิภาค
[๙๑] ที่ชื่อว่า ทรัพย์อยู่ในแผ่นดิน ได้แก่ทรัพย์ที่ฝังกลบไว้ใน แผ่นดิน.
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์อยู่ในแผ่นดิน เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ตาม แสวงหาจอบหรือตะกร้าก็ตาม เดินไปก็ตาม ต้องอาบัติทุกกฏ ตัดไม้หรือ เถาวัลย์ ซึ่งเกิดอยู่ในที่นั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ขุดก็ตาม คุ้ยก็ตาม โกยขึ้นก็ตาม ซึ่งดินร่วนต้องอาบัติทุกกฏ จับต้องหม้อ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำหม้อให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำหม้อให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุมีไถยจิต หย่อนภาชนะของตนลงไป ถูกต้องทรัพย์ควรแก่ค่า ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย กระทำให้ทรัพย์อยู่ในภาชนะของตนก็ตาม ตัดขาดด้วยกำมือก็ตาม ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุมีไถยจิต จับต้องทรัพย์ที่เขาร้อยด้ายก็ดี สังวาลก็ดี สร้อยคอก็ดี เข้มขัดก็ดี ผ้าสาฎกก็ดี ผ้าโพกก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหวต้องอาบัติ ถุลลัจจัย จับที่สุดยกขึ้น ต้องอาบัติถุลลัจจัย ดึงครูดออกไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้พ้นปากหม้อ โดยที่สุดแม้ชั่วเส้นผม ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุมีไถยจิต ดื่มเนยใสก็ดี น้ำมันก็ดี น้ำผึ้งก็ดี น้ำอ้อยก็ดี ควร แก่ค่า ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ด้วยประโยคอันเดียว ต้องอาบัติ ปาราชิก ทำลายเสียก็ดี ทำให้หกล้นก็ดี เผาเสียก็ดี ทำให้บริโภคไม่ได้ก็ดี ในที่นั้นเอง ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 17
ถลัฏฐวิภาค
[๙๒] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ตั้งอยู่บนพื้น ได้แก่ทรัพย์ที่เขาวางไว้บนพื้น
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่ตั้งอยู่บนพื้น เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
อากาสัฏฐวิภาค
[๙๓] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ลอยอยู่ในอากาศ ได้แก่ทรัพย์ที่ไปในอากาศ คือ นกยูง นกคับแค นกกระทา นกกระจาบ ผ้าสาฎก ผ้าโพกหัว หรือเงินทอง ที่ขาดหลุดตกลง.
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่ลอยอยู่ในอากาศ เที่ยวแสวงหาเพื่อน ก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฎ หยุดอยู่ ต้องอาบัติทุกกฎ ลูบคลำ ต้อง อาบัติทุกกฎ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติ ปาราชิก.
เวหาสัฏฐวิภาค
[๙๔] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ตั้งอยู่ในที่แจ้ง ได้แก่ทรัพย์ที่แขวนไว้ใน ที่แจ้ง เช่น ทรัพย์ที่คล้องไว้บนเตียงหรือตั่ง ที่ห้อยไว้บนราวจีวร สายระเดียง เดือยที่ฝา บันไดแก้ว หรือต้นไม้ โดยที่สุดแม้บนเชิงรองบาตร.
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในที่แจ้ง เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหวต้องอาบัติ ถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 18
อุทกัฏฐวิภาค
[๙๕] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ตั้งอยู่ในน้ำ ได้แก่ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในน้ำ
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในน้ำ เที่ยวแสวงเพื่อนก็ดีเดิน ไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ดำลงก็ดี โผล่ขึ้นก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติ ปาราชิก.
ภิกษุมีไถยจิต จับดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก เหง้าบัว ปลา หรือเต่า ที่เกิดในน้ำนั้น มีราคา ๕ มาสกก็ดี เกินกว่า ๕ มาสกก็ดี ต้อง อาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติ ปาราชิก.
นาวัฏฐวิภาค
[๙๖] ที่ชื่อว่า เรือ ได้แก่พาหนะสำหรับข้ามน้ำ ที่ชื่อว่า ทรัพย์ อยู่ในเรือ ได้แก่ ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในเรือ.
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในเรือ เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดิน ไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักเรือ เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้อง อาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย แก้เครื่องผูก ต้องอาบัติทุกกฏ แก้เครื่องผูกแล้วลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ลอยขึ้นน้ำไปก็ดี ล่องน้ำไปก็ดี ขวางน้ำ ไปก็ดี โดยที่สุดแม้ชั่วเส้นผม ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 19
ยานัฏฐวิภาค
[๙๗] ที่ชื่อว่า ยาน ได้แก่คานหาม รถ เกวียน เตียงหาม ที่ ชื่อว่า ทรัพย์อยู่ในยาน ได้แก่ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในยาน.
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์อยู่ในยาน เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดิน ไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักยาน เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้อง อาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ เคลื่อนจากฐานต้องอาบัติปาราชิก.
ภารัฏฐวิภาค
[๙๘] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่ตนนำไป ได้แก่ภาระบนศีรษะ ภาระที่คอ ภาระที่สะเอว ภาระที่หิ้วไป.
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องภาระบนศีรษะ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ลดลงสู่คอ ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องภาระบนคอ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้อง อาบัติถุลลัจจัย ลดลงสู่สะเอว ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องภาระที่สะเอว ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้อง อาบัติถุลลัจจัย ถือไปด้วยมือ ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุมีไถยจิตวางภาระที่มือลงบนพื้น ต้องอาบัติปาราชิก มีไถยจิต ถือเอาจากพื้น ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 20
อารามัฏฐวิภาค
[๙๙] ที่ชื่อว่า สวน ได้แก่สวนไม้ดอก สวนไม้ผล ที่ชื่อว่า ทรัพย์อยู่ในสวน ได้แก่ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในสวน โดยฐาน ๔ คือ ฝังอยู่ ในดิน ๑ ตั้งอยู่บนพื้นดิน ๑ ลอยอยู่ในอากาศ ๑ แขวนอยู่ในที่แจ้ง ๑.
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในสวน เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดิน ไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องรากไม้ เปลือกไม้ ใบไม้ ดอกไม้ หรือผลไม้ ซึ่งเกิดในสวนนั้น ได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุตู่เอาที่สวน ต้องอาบัติทุกกฏ ยังความสงสัยให้เกิดแก่เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เจ้าของทอดธุระว่าจักไม่เป็นของเรา ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุฟ้องร้องยังโรงศาล ยังเจ้าของให้แพ้ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุ ผู้ฟ้องร้องยังโรงศาล แพ้เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
วิหารัฏฐวิภาค
[๑๐๐] ที่ชื่อว่า ทรัพย์อยู่ในวัด ได้แก่ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในวัด โดยฐาน ๔ คือ ฝังอยู่ในดิน ๑ ตั้งอยู่บนพื้นดิน ๑ ลอยอยู่ในอากาศ ๑ แขวนอยู่ในที่แจ้ง ๑.
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในวัด เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้อง อาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 21
ภิกษุตู่เอาที่วัด ต้องอาบัติทุกกฎ ยังความสงสัยให้เกิดแก่เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เจ้าของทอดธุระว่าจักไม่เป็นของเรา ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุฟ้องร้องยังโรงศาล ยังเจ้าของให้แพ้ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุ ผู้ฟ้องร้องยังโรงศาล แพ้เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
เขตตัฏฐวิภาค
[๑๐๑] บุพพัณชาติ หรืออปรัณชาติ เกิดในที่ใด ที่นั้นชื่อว่า นา ที่ชื่อว่า ทรัพย์อยู่ในนา ได้แก่ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในนา โดยฐาน ๔ คือ ฝังอยู่ในดิน ๑ ตั้งอยู่บนพื้นดิน ๑ ลอยอยู่ในอากาศ ๑ แขวนอยู่ใน ที่แจ้ง ๑.
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในนา เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไป ก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องบุพพัณชาติ หรืออปรัณชาติ ซึ่งเกิดในนา นั้นได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุตู่เอาที่นา ต้องอาบัติทุกกฏ ยังความสงสัยให้เกิดแก่เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เจ้าของทอดธุระว่า จักไม่เป็นของเรา ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุฟ้องร้องยังโรงศาล ยังเจ้าของให้แพ้ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุ ผู้ฟ้องร้องยังโรงศาล แพ้เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
ภิกษุปักหลัก ขึงเชือก ล้อมรั้ว หรือถมคันนาให้รุกล้ำ ต้องอาบัติ ทุกกฏ เมื่ออีกประโยคหนึ่งจะสำเร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อประโยคนั้นสำเร็จ ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 22
วัตถุฏฐวิภาค
[๑๐๒] ที่ชื่อว่า พื้นที่ ได้แก่พื้นที่สวน พื้นที่วัด ที่ชื่อว่า ทรัพย์ อยู่ในพื้นที่ ได้แก่ทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ โดยฐาน ๔ คือ ฝังอยู่ในดิน ๑ ตั้งอยู่บนพื้นดิน ๑ ลอยอยู่ในอากาศ ๑ แขวนอยู่ในที่แจ้ง ๑.
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในพื้นที่ เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุตู่เอาพื้นที่ ต้องอาบัติทุกกฏ ยังความสงสัยให้เกิดแก่เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เจ้าของทอดธุระว่า จักไม่เป็นของเรา ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุฟ้องร้องยังโรงศาล ยังเจ้าของให้แพ้ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุ ผู้ฟ้องร้องยังโรงศาล แพ้เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
ภิกษุปักหลัก ขึงเชือก ล้อมรั้ว หรือทำกำแพง ให้รุกล้ำ ต้องอาบัติ ทุกกฏ เมื่ออีกประโยคหนึ่งจะสำเร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อประโยคนั้นสำเร็จ ต้องอาบัติปาราชิก.
คามัฏฐวิภาค
[๑๐๓] ที่ชื่อว่า ทรัพย์อยู่ในบ้าน ได้แก่ทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในบ้าน โดยฐาน ๔ คือ ฝังอยู่ในดิน ๑ ตั้งอยู่บนดิน ๑ ลอยอยู่ในอากาศ ๑ แขวนอยู่ในที่แจ้ง ๑.
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในบ้าน เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้อง อาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 23
อรัญญัฏฐวิภาค
[๑๐๔] ที่ชื่อว่า ป่า ได้แก่ป่าที่มนุษย์หวงห้าม ที่ชื่อว่า ทรัพย์ อยู่ในป่า ได้แก่ทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในป่า โดยฐาน ๔ คือ ฝังอยู่ในดิน ๑ ตั้ง อยู่บนพื้นดิน ๑ ลอยอยู่ในอากาศ ๑ แขวนอยู่ในที่แจ้ง ๑.
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในป่า เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดิน ไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฎ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องไม้ก็ดี เถาวัลย์ก็ดี หญ้าก็ดี ซึ่งเกิดในป่านั้น ได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้อง อาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
อุทกวิภาค
[๑๐๕] ที่ชื่อว่า น้ำ ได้แก่น้ำที่อยู่ในภาชนะ หรือน้ำที่ขังอยู่ใน สระโบกขรณี หรือในบ่อ.
ภิกษุมีไถยจิตจับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุมีไถยจิตหย่อนภาชนะของตนลงไปถูกต้องน้ำ ได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้ไหลเข้าไปในภาชนะของตน ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุทำลายคันนา ต้องอาบัติทุกกฏ ครั้นทำลายคันนาแล้วทำให้ ไหลออกไป ได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติปาราชิก ทำให้น้ำไหลออกไป ได้ราคาเกินกว่า ๑ มาสก หรือหย่อนกว่า ๕ มาสก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 24
ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้น้ำไหลออกไป ได้ราคา ๑ มาสก หรือหย่อนกว่า ๑ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ.
ทันตโปณวิภาค
[๑๐๖] ชื่อว่า ไม้ชำระฟัน ได้แก่ไม้ชำระฟันที่ตัดแล้ว หรือที่ ยังมิได้ตัด.
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องไม้ชำระฟัน อันมีราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
วนัปปติวิภาค
[๑๐๗] ที่ชื่อว่า ต้นไม้เจ้าป่า ได้แก่ต้นไม้ที่คนทั้งหลายหวงห้าม เป็นไม้ที่ใช้สอยได้.
ภิกษุมีไถยจิตตัด ต้องอาบัติทุกกฏ ทุกๆ ครั้งที่ฟัน เมื่อการฟันอีก ครั้งหนึ่งจะสำเร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อการฟันนั้นสำเร็จ ต้องอาบัติปาราชิก.
หรณกวิภาค
[๑๐๘] ที่ชื่อว่า ทรัพย์มีผู้นำไป ได้แก่ทรัพย์ที่ผู้อื่นนำไป.
ภิกษุมีไถยจิตลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุคิดว่า จักนำทรัพย์พร้อมกับคนผู้นำทรัพย์ไป แล้วให้ย่างเท้า ก้าวที่ ๑ ไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ย่างเท้าก้าวที่ ๒ ไป ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 25
ภิกษุคิดว่า จักเก็บทรัพย์ที่ตก แล้วทำทรัพย์นั้นให้ตก ต้องอาบัติ ทุกกฏ มีไถยจิตจับต้องทรัพย์ที่ตก อันได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้อง อาบัติปาราชิก.
อุปนิธิวิภาค
[๑๐๙] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่เขาฝากไว้ ได้แก่ทรัพย์ที่ผู้อื่นให้เก็บไว้.
ภิกษุรับของฝาก เมื่อเจ้าของกล่าวขอคืนว่า จงคืนทรัพย์ให้ข้าพเจ้า กล่าวปฏิเสธว่า ฉันไม่ได้รับไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ ยังความสงสัยให้เกิดแก่ เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เจ้าของทอดธุระว่าจะไม่ให้แก่เรา ต้องอาบัติ ปาราชิก.
ภิกษุฟ้องร้องยังโรงศาล ยังเจ้าของให้แพ้ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุ ผู้ฟ้องร้องยังโรงศาล แพ้เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
สุงกฆาตวิภาค
[๑๑๐] ที่ชื่อว่า ด่านภาษี ได้แก่สถานที่ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้ง ไว้ที่ภูเขาขาดบ้าง ที่ท่าน้ำบ้าง ที่ประตูบ้าง ด้วยทรงกำหนดว่า จงเก็บ ภาษีแก่บุคคลผู้ผ่านเข้าไปในสถานที่นั้น.
ภิกษุผ่านเข้าไปในด่านภาษีนั้น แล้วมีไถยจิตจับต้องทรัพย์ที่ควรเสีย ภาษี ซึ่งมีราคา ๕ มาสกก็ดี เกินกว่า ๕ มาสกก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ย่างเท้าก้าวที่ ๑ ล่วงด่านภาษีไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ย่างเท้าที่ ๒ ล่วงด่านภาษีไป ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 26
ภิกษุยืนอยู่ภายในด่านภาษี โยนทรัพย์ให้ตกนอกด่านภาษี ต้องอาบัติ ปาราชิก หลบเลี่ยงภาษี ต้องอาบัติทุกกฏ.
ปาณวิภาค
[๑๑๑] ที่ชื่อว่า สัตว์มีชีวิต พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอามนุษย์ ที่ยังมีลมหายใจ.
ภิกษุมีไถยจิตลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุคิดว่า จักพาให้เดินไป แล้วให้ก้าวเท้าที่ ๑ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ก้าวเท้าที่ ๒ ต้องอาบัติปาราชิก.
อปทวิภาค
[๑๑๒] ที่ชื่อว่า สัตว์ไม่มีเท้า ได้แก่ งู ปลา.
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องสัตว์ไม่มีเท้า ซึ่งมีราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
ทวิปทวิภาค
[๑๑๓] ที่ชื่อว่า สัตว์ ๒ เท้า ได้แก่ คน นก.
ภิกษุมีไถยจิตลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุคิดว่า จักพาให้เดินไป แล้วให้ก้าวเท้าที่ ๑ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ก้าวเท้าที่ ๒ ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 27
จตุปทวิภาค
[๑๑๔] ที่ชื่อว่า สัตว์ ๔ เท้า ได้แก่ ช้าง ม้า อูฐ โค ลา ปศุสัตว์.
ภิกษุมีไถยจิตลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุคิดว่า จักพาให้เดินไป แล้วให้ก้าวเท้าที่ ๑ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ก้าวเท้าที่ ๒ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ก้าวเท้าที่ ๓ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ก้าวเท้าที่ ๔ ต้องอาบัติปาราชิก.
พหุปทวภาค
[๑๑๕] ที่ชื่อว่า สัตว์มีเท้ามาก ได้แก่สัตว์จำพวกแมลงป่อง ตะขาบ บุ้งขน
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องสัตว์มีเท้ามากนั้น ซึ่งมีราคา ๕ มาสก หรือเกิน กว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อน จากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุคิดว่า จักเดินนำไป แล้วย่างเท้าก้าวไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทุกๆ ก้าว ย่างเท้าก้าวหลังที่สุด ต้องอาบัติปาราชิก.
โอจรกวิภาค
[๑๑๖] ที่ชื่อว่า ภิกษุผู้สั่ง มีอธิบายว่า ภิกษุสั่งกำหนดทรัพย์ว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งนั้น ลักทรัพย์นั้นมาได้ ต้องอาบัติปาราชิก ทั้ง ๒ รูป.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 28
โอณิรักขวิภาค
[๑๑๗] ที่ชื่อว่า ภิกษุผู้รับของฝาก ได้แก่ภิกษุผู้รักษาทรัพย์ที่เขา นำมาฝากไว้.
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องทรัพย์นั้น มีราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
สังวิธาวหารวิภาค
[๑๑๘] ที่ชื่อว่า การชักชวนกันไปลัก ได้แก่ภิกษุหลายรูปชักชวน กันแล้ว รูปหนึ่งลักทรัพย์มาได้ ต้องอาบัติปาราชิกทุกรูป.
สังเกตกัมมวิภาค
[๑๑๙] ที่ชื่อว่า การนัดหมาย มีอธิบายว่า ภิกษุทำการนัดหมายว่า ท่านจงลักทรัพย์นั้น ตามคำนัดหมายนั้น ในเวลาเช้าหรือเวลาเย็น ในเวลา กลางคืนหรือกลางวัน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลักๆ ทรัพย์นั้นได้ ตามคำ นัดหมายนั้น ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป ภิกษุผู้ลักๆ ทรัพย์นั้นได้ก่อน หรือหลังคำนัดหมายนั้น ภิกษุผู้นัดหมายไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ลักต้องอาบัติ ปาราชิก.
นิมิตตกัมมวิภาค
[๑๒๐] ที่ชื่อว่า การทำนิมิต มีอธิบายว่า ภิกษุทำนิมิตว่า เราจัก ขยิบตา จักยักคิ้ว หรือจักผงกศีรษะ ท่านจงลักทรัพย์นั้น ตามนิมิตนั้น ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลักๆ ทรัพย์นั้นได้ ตามนิมิตนั้น ต้องอาบัติ ปาราชิกทั้ง ๒ รูป ภิกษุลักๆ ทรัพย์นั้นได้ก่อนหรือหลังนิมิตนั้น ภิกษุผู้ทำ นิมิตไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ลักต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 29
อาณัตติกประโยค
[๑๒๑] ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลักเข้าใจทรัพย์นั้นแน่ จึงลักทรัพย์นั้นมา ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป.
ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฎ ภิกษุผู้ลัก เข้าใจทรัพย์นั้นแน่ แต่ลักทรัพย์อย่างอื่นมา ภิกษุผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ลัก ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฎ ภิกษุผู้ลัก เข้าใจทรัพย์อย่างอื่น แต่ลักทรัพย์นั้นมา ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป.
ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฎ ภิกษุผู้ลัก เข้าใจทรัพย์อย่างอื่น จึงลักทรัพย์อย่างอื่นมา ภิกษุผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ ภิกษุ ผู้ลักต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงบอกแก่ภิกษุชื่อนี้ว่า ภิกษุชื่อนี้จงไปบอกแก่ ภิกษุผู้มีชื่ออย่างนี้ว่า ภิกษุผู้มีชื่ออย่างนี้จงไปลักทรัพย์ชื่อนี้มา ดังนี้ ต้องอาบัติ ทุกกฏ ภิกษุผู้รับสั่งบอกแก่ภิกษุนอกนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลักรับคำภิกษุ ผู้สั่งเดิม ต้องอาบัติถุลลัจจัย ภิกษุผู้ลักๆ ทรัพย์นั้นมาได้ ต้องอาบัติปาราชิก ทุกรูป.
ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงบอกแก่ภิกษุชื่อนี้ว่า ภิกษุชื่อนี้จงไปบอกแก่ ภิกษุผู้มีชื่ออย่างนี้ว่า ภิกษุผู้มีชื่ออย่างนี้จงไปลักทรัพย์ชื่อสิ่งนี้มา ดังนี้ ต้อง อาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับสั่งๆ ภิกษุอื่นต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลัก รับคำ ต้อง อาบัติทุกฏ ภิกษุผู้ลักๆ ทรัพย์นั้นมาได้ ภิกษุผู้สั่งเดิมไม่ต้องอาบัติ ภิกษุ ผู้สั่งต่อและภิกษุผู้ลัก ต้องอาบัติปาราชิก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 30
ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับสั่ง นั้นไปแล้วกลับมาบอกอีกว่า ผมไม่อาจลักทรัพย์นั้นได้ ภิกษุผู้สั่งนั้นสั่งใหม่ว่า ท่านสามารถเมื่อใด จงลักทรัพย์นั้นเมื่อนั้น ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลักๆ ทรัพย์นั้นมาได้ ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป.
ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฎ ภิกษุผู้สั่งนั้น ครั้นสั่งภิกษุนั้นแล้ว เกิดความร้อนใจ แต่ไม่พูดให้ได้ยินว่า อย่าลักเลย ภิกษุ ผู้ลักๆ ทรัพย์นั้นมาได้ ต้องอาบัติทั้ง ๒ รูป.
ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฎ ภิกษุผู้สั่งนั้น ครั้นสั่งภิกษุนั้นแล้ว เกิดความร้อนใจ จึงพูดให้ได้ยินว่า อย่าลักเลย ภิกษุ ผู้ลักนั้นตอบว่า ท่านสั่งผมแล้วๆ ลักทรัพย์นั้นมาได้ ภิกษุผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ลัก ต้องอาบัติปาราชิก. ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้สั่งนั้น ครั้นสั่งภิกษุนั้นแล้ว เกิดความร้อนใจ จึงพูดให้ได้ยินว่า อย่าลักเลย ภิกษุผู้ รับสั่งนั้น รับคำว่าดีละ แล้วงดเสีย ไม่ต้องอาบัติทั้ง ๒ รูป.
อาการแห่งอวหาร อาการ ๕ อย่าง
[๑๒๒] ปาราชิกอาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ ๕ อย่างคือ ทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑ มีความสำคัญว่าทรัพย์อัน ผู้อื่นหวงแหน ๑ ทรัพย์มีค่ามากได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ๑ ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก ๑.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 31
ถุลลัจจยาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วย อาการ ๕ อย่าง คือทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑ มีความสำคัญว่าทรัพย์อันผู้อื่น หวงแหน ๑ ทรัพย์มีค่าน้อยได้ราคาเกินกว่า ๑ มาสก หรือหย่อนกว่า ๕ มาสก ๑ ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฎ ทำให้ไหว ต้องอาบัติ ทุกกฏ ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑.
ทุกกฏาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑ มีความสำคัญว่าทรัพย์อันผู้อื่นหวง แหน ๑ ทรัพย์มีค่าน้อย ได้ราคา ๑ มาสก หรือหย่อนกว่า ๑ มาสก ๑ ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติ ทุกกฏ ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑.
อาการ ๖ อย่าง
[๑๒๓] ปาราชิกาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ ๖ อย่าง คือ มิใช่มีความสำคัญว่าเป็นของตน ๑ มิใช่ถือเอาด้วย วิสาสะ ๑ มิใช่ขอยืม ๑ ทรัพย์มีค่ามากได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ๑ ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก ๑.
ถุลลัจจยาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ ๖ อย่าง คือ มิใช่มีความสำคัญว่าเป็นของตน ๑ มิใช่ถือเอาด้วยวิสาสะ ๑ มิใช่ขอยืม ๑ ทรัพย์มีค่าน้อยได้ราคาเกินกว่า ๑ มาสก หรือหย่อนกว่า ๕ มาสก ๑ ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติทุกกฏ ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 32
ทุกกฏาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ ๖ อย่าง คือ มิใช่มีความสำคัญว่าเป็นของตน ๑ มิใช่ถือเอาด้วยวิสาสะ ๑ มิใช่ขอยืม ๑ ทรัพย์มีค่าน้อยได้ราคา ๑ มาสก หรือหย่อนกว่า ๑ มาสก ๑ ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติ ทุกกฏ ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑.
อาการ ๕ อย่าง
[๑๒๔] ทุกกฏาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ทรัพย์มิใช่ของอันผู้อื่นหวงแหน ๑ มีความสำคัญว่า ทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑ ทรัพย์มีค่ามาก ได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ๑ ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติทุกกฏ ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑.
ทุกกฏาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ทรัพย์มิใช่ของอันผู้อื่นหวงแหน ๑ มีความสำคัญว่าทรัพย์อัน ผู้อื่นหวงแหน ๑ ทรัพย์มีค่าน้อยได้ราคาเกิน ๑ มาสก หรือหย่อน ๕ มาสก ๑ ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติ ทุกกฏ ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑.
ทุกกฏาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ทรัพย์มิใช่ของอันผู้อื่นหวงแหน ๑ มีความสำคัญว่าทรัพย์อัน ผู้อื่นหวงแหน ๑ ทรัพย์มีค่าน้อยได้ราคา ๑ มาสก หรือหย่อนกว่า ๑ มาสก ๑ ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติ ทุกกฏ ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 33
อนาปัตติวาร
[๑๒๕] ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นของตน ๑ ถือเอาด้วยวิสาสะ ๑ ขอยืม ๑ ทรัพย์อันเปรตหวงแหน ๑ ทรัพย์อันสัตว์ดิรัจฉานหวงแหน ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ เหล่านี้ไม่ต้องอาบัติ.
ปฐมภาณวาร ในอทินนาทานสิกขาบท จบ
วินีตวัตถุ ในทุติยปาราชิกกัณฑ์ อุทานคาถา
[๑๒๖] พระอุบาลีเถระชี้แจง เรื่อง ช่างย้อม ๕ เรื่อง เรื่องผ้าห่มที่ตาก ๔ เรื่อง เรื่องกลางคืน ๕ เรื่อง เรื่องทรัพย์ที่ภิกษุนำ ไปเอง ๕ เรื่อง เรื่องตอบตามคำถามนำ ๕ เรื่อง เรื่องลม ๒ เรื่อง เรื่องศพที่ยังสด ๑ เรื่อง เรื่องสับเปลี่ยนสลาก ๑ เรื่อง เรื่อง เรือนไฟ ๑ เรื่อง เรื่องเนื้อเดนสัตว์ ๕ เรื่อง เรื่องส่วนไม่มีมูล ๕ เรื่อง เรื่องข้าวสุกใน สมัยข้าวแพง ๑ เรื่อง เรื่องเนื้อในสมัยข้าว แพง ๑ เรื่อง เรื่องขนมในสมัยข้าวแพง ๑ เรื่อง เรื่องน้ำตาลกรวด ๑ เรื่อง เรื่องขนม ต้ม ๑ เรื่อง เรื่องบริขาร ๕ เรื่อง เรื่องถุง ๑ เรื่อง เรื่องฟูก ๑ เรื่อง เรื่องราวจีวร ๑.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 34
เรื่อง เรื่องไม่ออกไป ๑ เรื่อง เรื่องถือวิสาสะ ฉันของเคี้ยว ๑ เรื่อง เรื่องสำคัญว่าของตน ๒ เรื่อง เรื่องไม่ลัก ๗ เรื่อง เรื่องลัก ๗ เรื่อง เรื่องลักของสงฆ์ ๗ เรื่อง เรื่องลัก ดอกไม้ ๒ เรื่อง เรื่องพูดตามคำบอก ๓ เรื่อง เรื่องนำมณีล่วงด่านภาษี ๓ เรื่อง เรื่องปล่อย หมู ๒ เรื่อง เรื่องปล่อยเนื้อ ๒ เรื่อง เรื่อง ปล่อยปลา ๒ เรื่อง เรื่องกลิ้งทรัพย์ในยาน ๑ เรื่อง เรื่องชิ้นเนื้อ ๒ เรื่อง เรื่องไม้ ๒ เรื่อง เรื่องผ้าบังสุกุล ๑ เรื่อง เรื่องข้ามน้ำ ๒ เรื่อง เรื่องฉันทีละน้อย ๑ เรื่อง เรื่อง ชวนกันลัก ๒ เรื่อง เรื่องกำมือที่เมืองสาวัตถี ๔ เรื่อง เรื่องเนื้อเดน ๒ เรื่อง เรื่องหญ้า ๒ เรื่อง เรื่องให้แบ่งของสงฆ์ ๗ เรื่อง เรื่อง ไม่ใช่เจ้าของ ๗ เรื่อง เรื่องยืมไม้สงฆ์ ๑ เรื่อง เรื่องลักน้ำของสงฆ์ ๑ เรื่อง เรื่อง ลักดินของสงฆ์ ๑ เรื่อง เรื่องลักหญ้าของ สงฆ์ ๒ เรื่อง เรื่องลักเสนาสนะของสงฆ์ ๗ เรื่อง เรื่องของมีเจ้าของไม่ควรนำไปใช้ ๑ เรื่อง เรื่องของมีเจ้าของควรขอยืม ๑ เรื่อง เรื่องนางภิกษุณีชาวเมืองจัมปา ๑ เรื่อง เรื่อง นางภิกษุณีชาวเมืองราชคฤห์ ๑ เรื่อง เรื่อง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 35
พระอัชชุกะเมืองเวสาลี ๑ เรื่อง เรื่องทารก ชาวเมืองพาราณสี ๑ เรื่อง เรื่องเมืองโกสัมพี ๑ เรื่อง เรื่องสัทธิวิหาริกพระทัฬหิกะเมือง สาคละ ๑ เรื่อง.
วินีตวัตถุ
เรื่องช่างย้อม ๕ เรื่อง
[๑๒๗] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ ไปสู่ลานตากผ้าของ ช่างย้อม ลักห่อผ้าของช่างย้อมไปแล้วได้มีความรังเกียจว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึง กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวก เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
[๑๒๘] ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ไปสู่ลานตากผ้าของ ช่างย้อม เห็นผ้ามีราคามาก ยังไถยจิตให้เกิดแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เรา ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ เพราะเพียงแต่คิด.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ไปสู่ลานตากผ้าของช่างย้อม เห็นผ้ามีราคามาก มีไถยจิตจับต้องผ้านั้นแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้อง อาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จังกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งไปสู่ลานตากผ้าของช่างย้อม เห็น ผ้าราคามาก มีไถยจิตทำผ้านั้นให้ไหวแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้อง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 36
อาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ไปสู่ลานตากผ้าของช่างย้อม เห็น ผ้ามีราคามาก มีไถยจิตทำผ้านั้นให้เคลื่อนจากฐานแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องผ้าห่มที่ตาก ๔ เรื่อง
[๑๒๙] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูป หนึ่ง พบผ้าห่มที่เขาตากไว้ มีราคามาก ยังไถยจิตให้เกิดขึ้นแล้ว ได้มีความ รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ เพราะเพียงแต่คิด.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่ง พบ ผ้าห่มที่เขาตากไว้มีราคามาก มีไถยจิตจับต้องแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เรา ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค เจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่ง พบ ผ้าห่มที่เขาตากไว้ มีราคามาก มีไถยจิตยังผ้านั้นให้ไหวแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่ง พบ ผ้าห่มที่เขาตากไว้มีราคามาก มีไถยจิตทำผ้านั้นให้เคลื่อนจากฐานแล้ว ได้มี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 37
ความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
กลางคืน ๕ เรื่อง
[๑๓๐] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเห็นทรัพย์ในกลางวัน แล้วได้ทำนิมิตไว้ด้วยหมายใจว่า จักลักในกลางคืน เธอเข้าใจทรัพย์นั้นแน่ จึงลักทรัพย์นั้นมาแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมัง หนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอ ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเห็นทรัพย์ในกลางวัน แล้วได้ทำ นิมิตไว้ด้วยหมายใจว่า จักลักในกลางคืน เธอเข้าใจทรัพย์นั้นแน่ แต่ลัก ทรัพย์นั้นมาแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้อง อาบัติปาราชิกแล้ว.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเห็นทรัพย์ในกลางวัน แล้วได้ทำ นิมิตไว้ด้วยหมายใจว่า จักลักในกลางคืน เธอเข้าใจทรัพย์อื่น แต่ลักทรัพย์ นั้นมาแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึง กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้อง อาบัติปาราชิกแล้ว.
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเห็นทรัพย์ในกลางวัน แล้วได้ทำ นิมิตไว้ด้วยหมายใจว่า จักลักในกลางคืน เธอเข้าใจทรัพย์อื่น จึงลักทรัพย์ อื่นมาแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 38
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติ ปาราชิกแล้ว.
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเห็นทรัพย์ในกลางวัน แล้วได้ทำ นิมิตไว้ด้วยหมายใจว่า จักลักในกลางคืน เธอเข้าใจทรัพย์นั้นแน่ แต่ลักทรัพย์ ของตนมาแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้อง อาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องทรัพย์ที่ภิกษุนำไปเอง ๕ เรื่อง
[๑๓๑] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง นำทรัพย์ของผู้อื่นไป มีไถยจิตจับต้องภาระบนศีรษะแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิก แล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
... มีไถยจิตยังภาระบนศีรษะให้ไหว ... พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
... มีไถยจิตลดภาระบนศีรษะลงสู่คอ ... พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งนำทรัพย์ของผู้อื่นไป มีไถยจิต จับต้องภาระที่คอแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอ ไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
... มีไถยจิตยังภาระที่คอให้ไหว ... พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 39
... มีไถยจิตลดภาระที่คอลงสู่สะเอว ... พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง นำทรัพย์ของผู้อื่นไป มีไถยจิต จับต้องภาระที่สะเอวแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
... มีไถยจิตยังภาระที่สะเอวให้ไหว ... พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
... มีไถยจิตลดภาระที่สะเอวลงถือด้วยมือ ... พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง นำทรัพย์ของผู้อื่นไป มีไถยจิต วางภาระในมือลงบนพื้นแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง นำทรัพย์ของผู้อื่นไป มีไถยจิต หยิบทรัพย์นั้นขึ้นจากพื้นดินแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิก แล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องตอบตามคำถามนำ ๕ เรื่อง
[๑๓๒] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งผึ่งจีวรไว้กลางแจ้งแล้ว เข้าไปสู่วิหาร ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้เก็บไว้ด้วยคิดว่า จีวรนี้ อย่าหายเสียเลย ภิกษุเจ้าของออกมา ถามภิกษุรูปนั้นว่า อาวุโส จีวรของผม ใครลักไป ภิกษุ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 40
นั้นตอบอย่างนี้ว่า ผมลักไป ภิกษุเจ้าของยึดถือภิกษุนั้นว่าไม่เป็นสมณะ เธอ ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า ตอบตามคำถามนำ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ไม่เป็นอาบัติ เพราะตอบตามคำถามนำ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งพาดจีวรไว้บนตั่ง แล้วเข้าไปสู่ วิหาร ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้เก็บไว้ด้วยคิดว่า จีวรนี้ อย่าหายเสียเลย ภิกษุเจ้าของ ออกมา ถามภิกษุนั้นว่า อาวุโส จีวรของผม ใครลักไป ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้ ว่า ผมลักไป ภิกษุเจ้าของยึดถือภิกษุนั้นว่าไม่เป็นสมณะ เธอได้มีความ รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า ตอบตามคำถามนำ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ไม่เป็นอาบัติ เพราะตอบตามคำถามนำ.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งพาดผ้านิสีทนะไว้บนตั่ง แล้วเข้า ไปสู่วิหาร ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้เก็บไว้ด้วยคิดว่า ผ้านิสีทนะนี้ อย่าหายเสียเลย ภิกษุเจ้าของออกมา ถามภิกษุนั้นว่า อาวุโส ผ้านิสีทนะของผม ใครลักไป ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้ว่า ผมลักไป ภิกษุเจ้าของยึดถือภิกษุนั้นว่าไม่เป็นสมณะ เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า ตอบตามคำถามนำ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ไม่เป็นอาบัติ เพราะตอบตามคำถามนำ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 41
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งวางบาตรไว้ใต้ตั่ง แล้วเข้าไปสู่ วิหาร ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้เก็บไว้ด้วยคิดว่าบาตรนี้ อย่าหายเสียเลยภิกษุเจ้าของ ออกมา ถามภิกษุนั้นว่า อาวุโส บาตรของผมใครลักไป ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้ว่า ผมลักไป ภิกษุเจ้าของยึดถือภิกษุนั้นว่าไม่เป็นสมณะ เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า ตอบตามคำถามนำ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ไม่เป็นอาบัติ เพราะตอบตามคำถามนำ.
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีรูปหนึ่งผึ่งจีวรไว้ที่รั้วแล้วเข้าไปสู่วิหาร ภิกษุณีอีกรูปหนึ่งเก็บไว้ด้วยว่า จีวรนี้ อย่าหายเสียเลย ภิกษุณีผู้เป็นเจ้าของ ออกมา ถามภิกษุณีนั้นว่า แม่เจ้า จีวรของดิฉันใครลักไป ภิกษุณีนั้นตอบ อย่างนี้ว่า ดิฉันลักไป ภิกษุณีเจ้าของยึดถือภิกษุณีนั้นว่าไม่เป็นสมณะ เธอได้มี ความรังเกียจ จึงแจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลายๆ แจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายๆ กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่ เป็นอาบัติ เพราะตอบตามคำถามนำ.
เรื่องลม ๒ เรื่อง
[๑๓๓] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเห็นผ้าสาฎกถูกลมบ้าหมู พัดหอบไป จึงเก็บไว้ด้วยตั้งใจว่าจักให้แก่เจ้าของ เจ้าของโจทภิกษุนั้นว่าไม่ เป็นสมณะ เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิด อย่างไร.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 42
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า ไม่มีไถยจิต พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุผู้ไม่มีไถยจิต ไม่เป็นอาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตถือเอาผ้าโพกซึ่งถูกลม บ้าหมูพัดหอบไป ด้วยเกรงว่าเจ้าของจะเห็นเสียก่อน เจ้าของโจทภิกษุนั้นว่า ไม่เป็นสมณะ เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิด อย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าคิดลัก พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องศพที่ยังสด
[๑๓๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งไปป่าช้าแล้ว ถือเอาผ้าบังสุกุล ที่ศพสด และในร่างศพนั้นมีเปรตสิงอยู่ จึงเปรตนั้น ได้กล่าวกะภิกษุนั้นว่า ท่านผู้เจริญ ท่านอย่าได้ถือเอาผ้าสาฎกของข้าพเจ้าไป ภิกษุนั้นไม่เอื้อเฟื้อ จึงได้ถือไป ทันใดศพนั้นลุกขึ้นเดินตามหลังภิกษุนั้นไป ภิกษุนั้นเข้าไปสู่ วิหารปิดประตู ร่างศพนั้นได้ล้มลง ณ ที่นั้นทันที เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันผ้าบังสุกุลที่ศพสด ภิกษุทั้งหลายไม่พึงถือเอา ภิกษุใดถือเอา ต้องอาบัติ ทุกกฏ.
เรื่องสับเปลี่ยนสลาก
[๑๓๕] ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่อจีวรของสงฆ์ อันภิกษุจีวรภาชกะแจก อยู่ ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตสับเปลี่ยนสลาก แล้วรับจีวรไป เธอได้มีความ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 43
รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องเรือนไฟ
[๑๓๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระอานนท์สำคัญผ้าอันตรวาสกของ ภิกษุรูปหนึ่งในเรือนไฟว่าของตน จึงนุ่งแล้ว ภิกษุนั้นได้ถามท่านพระอานนท์ ว่า อาวุโสอานนท์ ไฉนท่านจึงนุ่งผ้าอันตรวาสกของกระผมเล่า.
ท่านพระอานนท์ตอบว่า อาวุโส ผมเข้าใจว่าของผม.
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีความเข้าใจว่าของตน ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องเนื้อเดนสัตว์ ๕ เรื่อง
[๑๓๗] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุหลายรูปลงจากภูเขาคิชฌกูฏ พบ เนื้อเดนราชสีห์ จึงใช้อนุปสัมบันให้ต้มแกงฉัน แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบ ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติ เพราะเนื้อเดนราชสีห์.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุหลายรูปลงจากภูเขาคิชฌกูฏ พบเนื้อเดน เสือโคร่งจึงใช้อนุปสัมบันให้ต้มแกงฉัน แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติ เพราะ เนื้อเดนเสือโคร่ง.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุหลายรูปลงจากภูเขาคิชฌกูฏ พบเนื้อเดน เสือเหลือง จึงใช้อนุปสัมบันให้ต้มแกงฉัน แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูล
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 44
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติ เพราะเนื้อเดนเสือเหลือง.
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุหลายรูปลงจากภูเขาคิชฌกูฏ พบเนื้อ เดนเสือดาว จึงใช้อนุปสัมบันให้ต้มแกงฉัน แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติ เพราะเนื้อเดนเสือดาว.
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุหลายรูปลงจากภูเขาคิชฌกูฏ พบเนื้อเดน สุนัขป่า จึงใช้อนุปสัมบันให้ต้มแกงฉัน แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติ เพราะ เนื้ออันสัตว์ดิรัจฉานหวงแหน.
เรื่องส่วนไม่มีมูล ๕ เรื่อง
[๑๓๘] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่อข้าวสุกของสงฆ์อันภิกษุภัตตุทเทสก์ แจงอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งพูดว่า ขอท่านจงให้ส่วนของภิกษุอื่นอีก แล้วรับส่วนที่ ไม่มีมูลไป เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้อง อาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะสัมปชานมุสาวาท.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่อของเคี้ยวของสงฆ์อันภิกษุขัชชภาชกะแจกอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งพูดว่า ขอท่านจงให้ส่วนของภิกษุอื่นอีก แล้วรับส่วนที่ไม่มีมูลไป เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะสัมปชานมุสาวาท.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 45
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่อขนมของสงฆ์อันภิกษุปูวภาชกะแจกอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งพูดว่า ขอท่านจงให้ส่วนของภิกษุอื่นอีก แล้วรับส่วนที่ไม่มีมูลไป เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะสัมปชานมุสาวาท.
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่ออ้อยของสงฆ์อันภิกษุอุจฉุภาชกะแจกอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งพูดว่า ขอท่านจงให้ส่วนของภิกษุอื่นอีก แล้วรับส่วนที่ไม่มีมูลไป เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะสัมปชานมุสาวาท.
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่อผลมะพลับของสงฆ์อันภิกษุผลภาชกะแจก อยู่ ภิกษุรูปหนึ่งพูดว่า ขอท่านจงให้ส่วนของภิกษุอื่นอีก แล้วรับส่วนที่ไม่มี มูลไป เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึง กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้อง อาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะสัมปชานมุสาวาท.
เรื่องข้าวสุก
[๑๓๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ข้าวแพง ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปสู่ร้านขาย ข้าวสุก มีไถยจิตลักข้าวสุกไปเต็มบาตร แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติ ปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 46
เรื่องเนื้อ
ก็โดยสมัยนั้นแล ข้าวแพง ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปสู่ร้านขายแกงเนื้อ มี ไถยจิตลักเนื้อไปเต็มบาตร แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องขนม
ก็โดยสมัยนั้นแล ข้าวแพง ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปสู่ร้านขายขนม มีไถยจิต ลักขนมไปเต็มบาตร แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องน้ำตาลกรวด
ก็โดยสมัยนั้นแล ข้าวแพง ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปสู่ร้านขายน้ำตาลกรวด มีไถยจิตลักน้ำตาลกรวดไปเต็มบาตร แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติ ปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องขนมต้ม
ก็โดยสมัยนั้นแล ข้าวแพง ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปสู่ร้านขายขนมต้ม มี ไถยจิตลักขนมต้มไปเต็มบาตร แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิก แล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 47
เรื่องบริขาร ๕ เรื่อง
[๑๔๐] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเห็นบริขารในกลางวัน แล้วได้ทำนิมิตไว้ว่า จักลักในกลางคืน ภิกษุนั้นสำคัญบริขารนั้นแน่ จึงลัก บริขารนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้อง อาบัติปาราชิกแล้ว.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเห็นบริขารในกลางวัน แล้วได้ ทำนิมิตไว้ว่า จักลักในกลางคืน ภิกษุนั้นสำคัญบริขารนั้นแน่ แต่ลักบริขารอื่น แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเห็นบริขารในกลางวัน แล้วได้ทำ นิมิตไว้ว่า จักลักในกลางคืน ภิกษุนั้นสำคัญว่าบริขารอื่น แต่ลักบริขารนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเห็นบริขารในกลางวัน แล้วได้ ทำนิมิตไว้ว่า จักลักในกลางคืน ภิกษุนั้นสำคัญว่าบริขารอื่น จึงลักบริขารอื่น แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก แล้ว.
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเห็นบริขารในกลางวัน แล้วได้ ทำนิมิตไว้ว่า จักลักในกลางคืน ภิกษุนั้นสำคัญบริขารนั้นแน่ แต่ลักบริขาร ของตน แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 48
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้อง อาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฎ.
เรื่องถุง
[๑๔๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเห็นถุงวางอยู่บนตั่งแล้วคิดว่า เราถือเอาไปจากตั่งนี้ จักเป็นปาราชิก จึงได้ยกถือเอาพร้อมทั้งตั่ง แล้วมีความ รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องฟูก
[๑๔๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตลักฟูกของสงฆ์ แล้ว มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องราวจีวร
[๑๔๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตลักจีวรที่ราวจีวรไป แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องไม่ออกไป
[๑๔๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ลักจีวรในวิหารแล้วคิดว่า เราออกจากวิหารนี้ไปจักเป็นปาราชิก จึงไม่ออกจากวิหาร ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมฆ- บุรุษนั้นจะพึงออกไปก็ตาม ไม่ออกไปก็ตาม ก็ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 49
เรื่องถือวิสาสะฉันของเคี้ยว
[๑๔๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุสองรูปเป็นเพื่อนกัน รูปหนึ่งเข้าไป บิณฑบาตในบ้าน รูปที่สอง เมื่อของเคี้ยวของสงฆ์ อันภิกษุภัตตุทเทสก์แจกอยู่ ได้รับเอาส่วนของเพื่อนแล้วถือวิสาสะฉันส่วนของเพื่อนนั้น ภิกษุรูปที่หนึ่ง นั้นทราบแล้ว โจทภิกษุรูปที่สองว่าท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุรูปที่สองมีความ รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าถือวิสาสะ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ไม่เป็นอาบัติ เพราะถือวิสาสะ.
เรื่องฉันของเคี้ยวด้วยสำคัญว่าของตน ๒ เรื่อง
[๑๔๖] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุหลายรูปกำลังทำจีวรกันอยู่ เมื่อ ของเคี้ยวของสงฆ์ อันภิกษุขัชชภาชกะแจกอยู่ ภิกษุทุกรูปต่างนำส่วนของตน ไปเก็บไว้ ภิกษุรูปหนึ่งสำคัญส่วนของภิกษุอีกรูปหนึ่งว่าของตน จึงฉัน ภิกษุ ผู้เป็นเจ้าของทราบแล้ว โจทภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุรูปนั้นมีความ รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้มีความ สำคัญว่าของตน.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุหลายรูปกำลังทำจีวรกันอยู่ เมื่อของเคี้ยว ของสงฆ์ อันภิกษุขัชชภาชกะแจกอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งได้เอาบาตรของภิกษุอีก รูปหนึ่งไปนำส่วนของตนมาเก็บไว้ ภิกษุเจ้าของบาตรสำคัญว่าของตน จึงฉัน ภิกษุนั้นทราบแล้ว โจทภิกษุเจ้าของบาตรว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุเจ้าของ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 50
บาตรมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุ ผู้มีความสำคัญว่าของตน.
เรื่องไม่ลัก ๗ เรื่อง
[๑๔๗] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกขโมยลักมะม่วง ทำมะม่วงให้ หล่นแล้วห่อถือไป พวกเจ้าของติดตามพวกขโมยเหล่านั้นไป พวกขโมยเห็น พวกเจ้าของ แล้วทิ้งห่อมะม่วงหนีไป ภิกษุทั้งหลายมีความสำคัญว่าเป็นของ บังสุกุล จึงพากันเก็บมะม่วงห่อนั้นไปฉัน พวกเจ้าของโจทภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุเหล่านั้นมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า สำคัญว่าเป็นของบังสุกุล พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้มีความสำคัญว่าเป็นของ บังสุกุล.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกขโมยลักชมพู่ ทำชมพู่ให้หล่นแล้วห่อ ถือไป พวกเจ้าของติดตามพวกขโมยเหล่านั้น พวกขโมยเห็นพวกเจ้าของแล้ว ทิ้งห่อชมพู่หนีไป ภิกษุทั้งหลายมีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุลจึงพากันเก็บ ชมพู่ห่อนั้นไปฉัน พวกเจ้าของโจทภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุเหล่านั้นมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้ามีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล พระพุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 51
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้มีความสำคัญว่าเป็น ของบังสุกุล.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกขโมยลักขนุนสำมะลอ ทำขนุนสำมะลอ ให้หล่นแล้วห่อถือไป พวกเจ้าของติดตามพวกขโมยเหล่านั้น พวกขโมยเห็น พวกเจ้าของแล้ว ทิ้งห่อขนุนสำมะลอหนีไป ภิกษุทั้งหลายมีความสำคัญว่าเป็น ของบังสุกุล จึงพากันเก็บขนุนสำมะลอห่อนั้นไปฉัน พวกเจ้าของโจทภิกษุ เหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุเหล่านั้นมีความรังเกียจ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ คิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้ามีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้มีความสำคัญว่าเป็น ของบังสุกุล.
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกขโมยลักขนุน ทำขนุนให้หล่นแล้วห่อถือ ไป พวกเจ้าของติดตามพวกขโมยเหล่านั้น พวกขโมยเห็นพวกเจ้าของแล้วทิ้ง ห่อขนุนหนีไป ภิกษุทั้งหลายมีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล จึงพากันเก็บ ขนุนห่อนั้นไปฉัน พวกเจ้าของโจทภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุเหล่านั้นมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัส ถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้ามีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้มีความสำคัญว่าเป็น ของบังสุกุล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 52
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกขโมยลักผลตาลสุก ทำผลตาลสุกให้หล่น แล้วห่อถือไป พวกเจ้าของติดตามพวกขโมยเหล่านั้น พวกขโมยเห็นพวก เจ้าของแล้วทิ้งห่อผลตาลสุกหนีไป ภิกษุทั้งหลายมีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล จึงพากันเก็บผลตาลสุกห่อนั้นไปฉัน พวกเจ้าของโจทภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุเหล่านั้นมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้ามีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้มีความสำคัญว่าเป็น ของบังสุกุล.
๖. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกขโมยลักอ้อย ตัดอ้อยแล้วห่อถือไป พวก เจ้าของติดตามพวกขโมยเหล่านั้น พวกขโมยเห็นพวกเจ้าของ แล้วทิ้งห่ออ้อย หนีไป ภิกษุทั้งหลายมีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล จึงพากันเก็บอ้อยห่อนั้น ไปฉัน พวกเจ้าของโจทภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุเหล่านั้น มีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้ามีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้มีความสำคัญว่าเป็น ของบังสุกุล.
๗. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกขโมยลักมะพลับ เลือกเก็บมะพลับแล้ว ห่อถือไป พวกเจ้าของติดตามพวกขโมยเหล่านั้น พวกขโมยเห็นพวกเจ้าของ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 53
แล้วทิ้งห่อมะพลับหนีไป ภิกษุทั้งหลายมีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล จึงพา กันเก็บมะพลับห่อนั้นไปฉัน พวกเจ้าของโจทภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็น สมณะ ภิกษุเหล่านั้นมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้ามีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้มีความสำคัญว่าเป็น ของบังสุกุล.
เรื่องลัก ๗ เรื่อง
[๑๔๘] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกขโมยลักมะม่วง ทำมะม่วงให้ หล่นแล้วห่อถือไป พวกเจ้าของติดตามพวกขโมยๆ เห็นพวกเจ้าของ ได้ทิ้ง ห่อมะม่วงหนีไป ภิกษุทั้งหลายคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น แล้วมีไถยจิตฉัน เสียก่อน พวกเจ้าของโจทภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุ เหล่านั้นมีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึง กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวก เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกขโมยลักชมพู่ ทำชมพู่ให้หล่นแล้วห่อถือ ไป พวกเจ้าของติดตามพวกขโมยๆ เห็นพวกเจ้าของ ได้ทิ้งห่อชมพู่หนีไป ภิกษุทั้งหลายคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น แล้วมีไถยจิตฉันเสียก่อน พวกเจ้า ของโจทภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุเหล่านั้นมีความรังเกียจ ว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 54
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกขโมยลักขนุนสำมะลอ ทำขนุนสำมะลอ ให้หล่น แล้วห่อถือไป พวกเจ้าของติดตามพวกขโมยๆ เห็นพวกเจ้าของ ได้ ทิ้งห่อขนุนสำมะลอหนีไปภิกษุทั้งหลายคิดว่าพวกเจ้าของจะเห็น แล้วมีไถยจิต ฉันเสียก่อน พวกเจ้าของโจทภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุ เหล่านั้นมีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึง กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวก เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกขโมยลักขนุน ทำขนุนให้หล่น แล้วห่อ ถือไป พวกเจ้าของติดตามพวกขโมยๆ เห็นพวกเจ้าของ ได้ทิ้งห่อขนุนหนีไป ภิกษุทั้งหลายคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น แล้วมีไถยจิตฉันเสียก่อน พวกเจ้าของ โจทภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุเหล่านั้นมีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกขโมยลักผลตาลสุก ทำผลตาลสุกให้หล่น แล้วห่อถือไป พวกเจ้าของติดตามพวกขโมยๆ เห็นพวกเจ้าของ ได้ทิ้งห่อผล ตาลสุกหนีไป ภิกษุทั้งหลายคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น แล้วมีไถยจิตฉันเสีย ก่อน พวกเจ้าของโจทภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุเหล่านั้น มีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้อง อาบัติปาราชิกแล้ว.
๖. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกขโมยลักอ้อย ตัดอ้อยแล้วห่อถือไป พวก เจ้าของติดตามพวกขโมยๆ เห็นพวกเจ้าของได้ทิ้งห่ออ้อยหนีไป ภิกษุทั้งหลาย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 55
คิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น แล้วมีไถยจิตฉันเสียก่อน พวกเจ้าของโจทภิกษุ เหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุเหล่านั้นมีความรังเกียจว่า พวกเรา ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๗. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกขโมยลักมะพลับ เลือกเก็บมะพลับ แล้ว ห่อถือไป พวกเจ้าของติดตามพวกขโมยๆ เห็นพวกเจ้าของ ได้ทิ้งห่อมะพลับ หนีไป ภิกษุทั้งหลายคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น แล้วมีไถยจิตฉันเสียก่อน พวกเจ้าของโจทภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุเหล่านั้นมีความ รังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติ ปาราชิกแล้ว.
เรื่องลักของสงฆ์ ๗ เรื่อง
[๑๔๙] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตลักมะม่วงของ สงฆ์ แล้วได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึง กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติ ปาราชิกแล้ว.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตลักชมพู่ของสงฆ์ แล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตลักขนุนสำมะลอของ สงฆ์ แล้วได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 56
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติ ปาราชิกแล้ว.
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตลักขนุนของสงฆ์ แล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตลักผลตาลสุกของสงฆ์ แล้วได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก แล้ว.
๖. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตลักอ้อยของสงฆ์ แล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๗. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตลักมะพลับของสงฆ์ แล้วได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก แล้ว.
เรื่องลักดอกไม้ ๒ เรื่อง
[๑๕๐] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ไปสู่สวนดอกไม้ มี ไถยจิตลักดอกไม้ที่เขาเก็บไว้ ได้ราคา ๕ มาสก แล้วได้มีความรังเกียจว่า เรา ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 57
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ไปสู่สวนดอกไม้ มีไถยจิตลัก เก็บดอกไม้ ได้ราคา ๕ มาสก แล้วได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิก แล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องพูดตามคำบอก ๓ เรื่อง
[๑๕๑] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อจะไปสู่หมู่บ้านได้ กล่าวกะภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า ท่าน ผมจะบอกสกุลอุปัฏฐากของท่านตามที่ท่าน บอก ภิกษุนั้นไปถึงจึงให้เขานำผ้าสาฎกมาผืนหนึ่ง แล้วใช้เสียเอง ภิกษุผู้บอก รู้เข้าจึงโจทภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็นสมณะ เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้อง อาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จังกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ภิกษุทั้งหลายไม่พึงกล่าวว่า ผมบอกตามที่ท่านบอก รูปใดกล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อจะไปสู่หมู่บ้าน ภิกษุอีกรูป หนึ่ง ได้กล่าวกะภิกษุนั้นว่า ท่าน ท่านจงบอกสกุลอุปัฏฐากของผมตามที่ผม บอก ภิกษุนั้นไปถึงจึงให้เขานำผ้าสาฎกมาคู่หนึ่ง แล้วใช้เสียเอง ๑ ผืน ให้ภิกษุ ผู้บอก ๑ ผืน ภิกษุผู้บอกรู้เข้าจึงโจทภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็นสมณะ เธอได้ มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ ภิกษุไม่พึงกล่าวว่า ท่านจงบอกตามที่ผมบอก รูปใดกล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อจะไปสู่หมู่บ้าน ได้กล่าวกะ ภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า ท่าน ผมจะบอกสกุลอุปัฏฐากของท่านตามที่ท่านบอก แม้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 58
ภิกษุนั้นก็กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านจงบอกตามที่ผมบอกเถิด ภิกษุนั้นไปถึงจึงให้ เขานำเนยใส ๑ อาฬหก๑ น้ำอ้อยงบ ๑ ดุล๒ ข้าวสาร ๑ โทณะ๓ มาแล้วฉัน เสียเอง ภิกษุผู้บอกรู้เข้าจึงโจทภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็นสมณะ เธอได้มีความ รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ภิกษุ ไม่พึงกล่าวว่า ผมบอกตามที่ท่านบอก รูปใดกล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องนำแก้วมณีล่วงด่านภาษี ๓ เรื่อง
[๑๕๒] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล บุรุษผู้หนึ่งนำแก้วมณีซึ่งมีราคามาก เดินทางไกลไปกับภิกษุรูปหนึ่ง ครั้นบุรุษนั้นเห็นด่านภาษี จึงหย่อนแก้วมณี ลงในถุงย่ามของภิกษุนั้นผู้ไม่รู้ตัว เดินพ้นด่านภาษีไปแล้ว จึงถือนำไปเอง ภิกษุนั้นได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบ ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าไม่รู้ตัว พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุผู้ไม่รู้ตัว ไม่ต้องอาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล บุรุษผู้หนึ่งนำแก้วมณีซึ่งมีราคามาก เดินทาง ไกลไปกับภิกษุรูปหนึ่ง ครั้นบุรุษนั้นเห็นด่านภาษี จึงทำลวงว่าเป็นไข้ แล้ว ได้ให้ห่อของของตนแก่ภิกษุนั้น ครั้นเดินทางพ้นด่านภาษีไปแล้ว บุรุษนั้น จึงได้กล่าวกะภิกษุนั้นว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงนำห่อของของผมมา ผมหา ได้เป็นไข้ไม่ ภิกษุนั้นถามว่า ท่าน ท่านได้ทำทีท่าเช่นนั้นเพื่อประสงค์อะไร บุรุษนั้นได้แจ้งความแก่ภิกษุนั้นแล้ว เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติ ปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัส ถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
๑. ๔ ปัตถะเป็น ๑ อาฬหก ๒. ร้อยปละเป็น ๑ ดล ๓. สี่อาฬหกเป็น ๑ โทณะ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 59
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าไม่รู้ พระพุทธเจ้าข้า
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุผู้ไม่รู้ ไม่ต้องอาบัติ.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเดินทางไกลไปกับพวกเกวียน บุรุษคนหนึ่งเกลี้ยกล่อมภิกษุนั้นด้วยอามิสแล้ว เห็นด่านภาษี จึงส่งแก้วมณี ซึ่งมีราคามากให้แก่ภิกษุนั้น ด้วยขอร้องว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงช่วยนำ แก้วมณีนี้ผ่านด่านภาษีด้วย จึงภิกษุนั้นนำแก้วมณีนั้นให้ผ่านด่านภาษีไปแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องปล่อยหมู ๒ เรื่อง
[๑๕๓] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความสงสาร ได้ปล่อยหมูที่ติดบ่วงไปแล้ว มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิด อย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะช่วยเหลือ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุผู้มีความประสงค์จะช่วยเหลือ ไม่ต้องอาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ปล่อยหมูที่ติดบ่วงไปเสียก่อนด้วยคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีไถยจิต พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 60
เรื่องปล่อยเนื้อ ๒ เรื่อง
๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความสงสาร ได้ปล่อยเนื้อที่ติด บ่วงไปแล้ว มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึง กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิด อย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะช่วยเหลือ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุผู้มีความประสงค์จะช่วยเหลือ ไม่ต้องอาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ปล่อยเนื้อที่ติดบ่วง เสียก่อนด้วยคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติ ปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัส ถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีไถยจิต พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องปล่อยปลา ๒ เรื่อง
๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความสงสาร ได้ปล่อยปลาที่ติด ลอบไป แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึง กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิด อย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะช่วยเหลือ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุผู้มีความประสงค์จะช่วยเหลือ ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 61
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ปล่อยปลาที่ติดลอบ ไปเสียก่อน ด้วยคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้อง อาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีไถยจิต พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องกลิ้งทรัพย์ในยาน
[๑๕๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเห็นทรัพย์ในยานแล้วคิดว่า เราถือเอาไปจากยานนี้จักเป็นปาราชิก จึงเขี่ยให้กลิ้งถือเอาไป แล้วมีความ รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องชิ้นเนื้อ ๒ เรื่อง
[๑๕๕] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งได้ถือเอาชิ้นเนื้อที่เหยี่ยว เฉี่ยวไป ด้วยตั้งใจว่า จักให้แก่พวกเจ้าของๆ โจทภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็น สมณะ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึง กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ภิกษุผู้หา ไถยจิตมิได้ ไม่ต้องอาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตถือเอาชิ้นเนื้อที่เหยี่ยว เฉี่ยวไปเสียก่อน ด้วยคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น พวกเจ้าของโจทภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็นสมณะ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้อง อาบัติปาราชิกแล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 62
เรื่องไม้ ๒ เรื่อง
[๑๕๖] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล คนทั้งหลายผูกไม้แพแล้วให้ลอยไป ตามกระแสในแม่น้ำอจิรวดี เมื่อเครื่องผูกขาด ไม้ได้ลอยกระจายไป ภิกษุทั้ง หลาย มีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล จึงช่วยกันขนขึ้น พวกเจ้าของโจท ภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุเหล่านั้นมีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีความสำคัญว่าเป็นของ บังสุกุล ไม่ต้องอาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล คนทั้งหลายผูกไม้แพแล้วให้ลอยไปตามกระแส ในแม่น้ำอจิรวดี เมื่อเครื่องผูกขาด ไม้ได้ลอยกระจายไป ภิกษุทั้งหลายมี ไถยจิตช่วยกันขนขึ้นเสียก่อนด้วยคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น พวกเจ้าของโจท ภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุเหล่านั้นมีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องผ้าบังสุกุล
[๑๕๗] ก็โดยสมัยนั้นแล คนเลี้ยงโคคนหนึ่งพาดผ้าสาฎกไว้ที่ต้น ไม้ แล้วไปถ่ายอุจจาระ ภิกษุรูปหนึ่งมีความสำคัญว่าเป็นผ้าบังสุกุลจึงถือเอา ไปคนเลี้ยงโคนั้นโจทภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็นสมณะ เธอได้มีความรังเกียจ ว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ภิกษุผู้มีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล ไม่ ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 63
เรื่องข้ามน้ำ ๒ เรื่อง
[๑๕๘] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งกำลังข้ามน้ำ ผ้าสาฎกที่ หลุดจากมือของพวกช่างย้อม ไปคล้องอยู่ที่เท้าภิกษุๆ นั้นเก็บไว้ ด้วยตั้งใจ ว่าจักให้แก่พวกเจ้าของๆ โจทภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุนั้นมีความ รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ภิกษุผู้หาไถยจิตมิได้ ไม่ต้องอาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งกำลังข้ามน้ำ ผ้าสาฎกที่หลุดจากมือ ของพวกช่างย้อม ได้ไปคล้องอยู่ที่เท้าภิกษุๆ นั้นมีไถยจิตยึดเอาไว้เสียก่อน ด้วยคิดว่า พวกเจ้าของจักเห็น พวกเจ้าของโจทภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก แล้ว.
เรื่องฉันทีละน้อย
[๑๕๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเห็นหม้อเนยใสแล้วฉันเข้าไป ทีละน้อยๆ แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึง กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้อง อาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องชวนกันลักทรัพย์ ๒ เรื่อง
[๑๖๐] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุหลายรูปชักชวนกันไป ด้วยตั้งใจ ว่าจักลักทรัพย์ ภิกษุรูปหนึ่งลักทรัพย์มาได้ ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า พวกเราไม่เป็นปาราชิก รูปใดลัก รูปนั้นเป็นปาราชิก แล้วกราบทูลเรื่องนั้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 64
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติ ปาราชิกแล้ว.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุหลายรูปชวนกันลักทรัพย์มาได้แล้วแบ่งกัน เมื่อแบ่งทรัพย์กัน ภิกษุรูปหนึ่งๆ ได้ส่วนแบ่งไม่ครบ ๕ มาสก จึงกล่าวกัน ขึ้นอย่างนี้ว่า พวกเราไม่เป็นปาราชิก แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องกำมือ ๔ เรื่อง
[๑๖๑] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ในเมืองสาวัตถี มีข้าวแพง ภิกษุรูป หนึ่งมีไถยจิตลักข้าวสารของชาวร้าน ๑ กำมือ แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้อง อาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ในเมืองสาวัตถี มีข้าวแพง ภิกษุรูปหนึ่งมี ไถยจิตลักถั่วเขียวของชาวร้าน ๑ กำมือ แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติ ปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ในเมืองสาวัตถี มีข้าวแพง ภิกษุรูปหนึ่งมี ไถยจิตลักถั่วฝักยาวของชาวร้าน 1 กำมือ แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติ ปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ในเมืองสาวัตถี มีข้าวแพง ภิกษุรูปหนึ่งมี ไถยจิตลักงาของชาวร้าน ๑ กำมือ แล้วมีความรังเกียจว่าเราต้องอาบัติปาราชิก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 65
แล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องเนื้อเดน ๒ เรื่อง
[๑๖๒] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกโจรในป่าอันธวันแขวงเมืองสาวัตถี ฆ่าโคกินเนื้อแล้ว ซ่อนส่วนที่เหลือไว้แล้วพากันไป ภิกษุทั้งหลายสำคัญว่า เป็นของบังสุกุล จึงให้ถือเอาไปฉัน พวกโจรโจทภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่าน ไม่เป็นสมณะ ภิกษุเหล่านั้นมีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุผู้มีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล ไม่ต้องอาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกโจรในป่าอันธวันแขวงเมืองสาวัตถี ฆ่าหมู กินเนื้อแล้ว ซ่อนส่วนที่เหลือไว้แล้วพากันไป ภิกษุทั้งหลายสำคัญว่าเป็นของ บังสุกุล จึงให้ถือเอาไปฉัน พวกโจรโจทภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็น สมณะ ภิกษุเหล่านั้นมีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมัง หนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องหญ้า ๒ เรื่อง
[๑๖๓] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งไปสู่แดนดงหญ้า มีไถยจิตลักหญ้าที่เขาเกี่ยวไว้ ได้ราคา ๕ มาสก แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้อง อาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
[๑๖๔] ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งไปสู่แดนดงหญ้า มีไถยจิตลักเกี่ยวหญ้า ได้ราคา ๕ มาสก แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 66
ปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องให้แบ่งของสงฆ์ ๗ เรื่อง
[๑๖๕] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล พระอาคันตุกะทั้งหลายยังกันและกัน ให้แจกมะม่วงของสงฆ์แล้วฉัน ภิกษุเจ้าถิ่นทั้งหลายโจทพวกพระอาคันตุกะว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ พวกพระอาคันตุกะมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า คิดเพื่อต้องการฉัน พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คิดเพื่อต้องการฉัน ไม่ต้องอาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล พระอาคันตุกะทั้งหลาย ยังกันและกัน ให้แจก ชมพู่ของสงฆ์แล้วฉัน ภิกษุเจ้าถิ่นทั้งหลายโจทพวกอาคันตุกะว่า พวกท่าน ไม่เป็นสมณะ พวกพระอาคันตุกะมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระ ผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า คิดเพื่อต้องการฉัน พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คิดเพื่อต้องการฉัน ไม่ต้องอาบัติ.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล พระอาคันตุกะทั้งหลาย ยังกันและกัน ให้แจก ขนุนสำมะลอของสงฆ์แล้วฉัน ภิกษุเจ้าถิ่นทั้งหลายโจทพวกอาคันตุกะว่า พวก ท่านไม่เป็นสมณะ พวกพระอาคันตุกะมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า คิดเพื่อต้องการฉัน พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คิดเพื่อต้องการฉัน ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 67
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล พระอาคันตุกะทั้งหลาย ยังกันและกัน ให้แจก ขนุนของสงฆ์แล้วฉัน ภิกษุเจ้าถิ่นทั้งหลายโจทพวกอาคันตุกะว่า พวกท่านไม่ เป็นสมณะ พวกพระอาคันตุกะมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า คิดเพื่อต้องการฉัน พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คิดเพื่อต้องการฉัน ไม่ต้องอาบัติ.
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล พระอาคันตุกะทั้งหลาย ยังกันและกัน ให้แจก ผลตาลสุกของสงฆ์แล้วฉัน ภิกษุเจ้าถิ่นทั้งหลายโจทพวกพระอาคันตุกะว่าพวก ท่านไม่เป็นสมณะ พวกพระอาคันตุกะมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า คิดเพื่อต้องการฉัน พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คิดเพื่อต้องการฉัน ไม่ต้องอาบัติ.
๖. ก็โดยสมัยนั้นแล พระอาคันตุกะทั้งหลาย ยังกันและกัน ให้แจก อ้อยของสงฆ์แล้วฉัน ภิกษุเจ้าถิ่นทั้งหลายโจทพวกอาคันตุกะว่า พวกท่านไม่ เป็นสมณะ พวกพระอาคันตุกะมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า คิดเพื่อต้องการฉัน พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คิดเพื่อต้องการฉัน ไม่ต้องอาบัติ.
๗. ก็โดยสมัยนั้นแล พระอาคันตุกะทั้งหลาย ยังกันและกัน ให้แจก มะพลับของสงฆ์แล้วฉัน ภิกษุเจ้าถิ่นทั้งหลายโจทพวกพระอาคันตุกะว่า พวก ท่านไม่เป็นสมณะ พวกพระอาคันตุกะมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 68
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า คิดเพื่อต้องการฉัน พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คิดเพื่อต้องการฉัน ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องไม่ใช่เจ้าของ ๗ เรื่อง
[๑๖๖] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกคนรักษามะม่วงได้ถวายผลมะม่วง แก่ภิกษุทั้งหลายๆ รังเกียจอยู่ว่า คนพวกนี้มีหน้าที่รักษา ไม่มีหน้าที่จะให้ จึงไม่รับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกคนรักษาชมพู่ ได้ถวายผลชมพู่แก่ภิกษุ ทั้งหลายๆ มีความรังเกียจอยู่ว่า คนพวกนี้มีหน้าที่รักษา ไม่มีหน้าที่จะให้ จึง ไม่รับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกคนรักษาขนุนสำมะลอ ได้ถวายผลขนุน สำมะลอแก่ภิกษุทั้งหลายๆ รังเกียจอยู่ว่า คนพวกนี้มีหน้าที่รักษา ไม่มีหน้าที่ จะให้ จึงไม่รับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย.
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกคนรักษาขนุน ได้ถวายผลขนุนแก่ ภิกษุทั้งหลายๆ รังเกียจอยู่ว่า คนพวกนี้มีหน้าที่รักษา ไม่มีหน้าที่จะให้ จึงไม่รับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย.
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกคนรักษาผลตาลสุก ได้ถวายผลตาลสุก แก่ภิกษุทั้งหลายๆ รังเกียจอยู่ว่า คนพวกนี้มีหน้าที่รักษา ไม่มีหน้าที่จะให้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 69
จึงไม่รับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย.
๖. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกคนรักษาอ้อย ได้ถวายอ้อยแก่ภิกษุ ทั้งหลายๆ รังเกียจอยู่ว่า คนพวกนี้มีหน้าที่รักษา ไม่มีหน้าที่จะให้ จึงไม่รับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย.
๗. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกคนรักษามะพลับ ได้ถวายผลมะพลับแก่ ภิกษุทั้งหลายๆ รังเกียจอยู่ว่า คนพวกนี้มีหน้าที่รักษา ไม่มีหน้าที่จะให้ จึง ไม่รับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย.
เรื่องยืมไม้ของสงฆ์
[๑๖๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งขอยืมไม้ของสงฆ์ไปค้ำฝาที่อยู่ ของตน ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็นสมณะ เธอมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิด อย่างไร. ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดขอยืม พระพุทธเจ้าข้า. ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ เพราะขอยืม.
เรื่องลักน้ำของสงฆ์
[๑๖๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตลักน้ำของสงฆ์ แล้ว มีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อน ภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 70
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องลักดินของสงฆ์
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตลักดินของสงฆ์แล้วมีความ รังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร. ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า. ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องหญ้า ๒ เรื่อง
๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตลักหญ้ามุงกระต่ายของสงฆ์ แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลความเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัส ถามว่า ดูก่อนภิกษุเธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตเผาหญ้ามุงกระต่ายของ สงฆ์ แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัส ถามว่า ดูก่อนภิกษุเธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 71
เรื่องเสนาสนะของสงฆ์ ๗ เรื่อง
[๑๖๘] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิต ลักเตียงของ สงฆ์ แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัส ถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ลักตั่งของสงฆ์ แล้วมี ความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิต ลักฟูกของสงฆ์ แล้วมี ความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิต ลักหมอนของสงฆ์ แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 72
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิต ลักบานประตูของสงฆ์ แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๖. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิต ลักบานหน้าต่างของสงฆ์ แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๗. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิต ลักไม้กลอนของสงฆ์ แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องของมีเจ้าของ ไม่ควรนำมาใช้
[๑๗๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายนำเสนาสนะอันเป็นเครื่องใช้ สำหรับวิหารของอุบาสกคนหนึ่ง ไปใช้สอย ณ ที่แห่งอื่น จึงอุบาสกนั้นแพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจึงได้นำเครื่องใช้สอยในที่อื่น ไปใช้สอยในที่อีกแห่งหนึ่งเล่า ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เครื่องใช้สอยในที่แห่งหนึ่ง อันภิกษุ ไม่พึงใช้สอยในที่อีกแห่งหนึ่ง รูปใดใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 73
เรื่องของมีเจ้าของ ควรขอยืม
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายรังเกียจที่จะนำกระทั่งผ้าปูนั่งประชุมไป แม้ ณ โรงอุโบสถ จึงนั่งบนพื้นดิน เนื้อตัวก็ดี จีวรก็ดี แปดเปื้อนฝุ่น จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตให้นำไปใช้ได้ชั่วคราว
เรื่องภิกษุณีชาวเมืองจัมปา
[๑๗๑] ก็โดยสมัยนั้นแล อันเตวาสิกาของภิกษุณีถุลลนันทา ไปสู่ สกุลอุปัฏฐากของภิกษุณีถุลลนันทาในเมืองจัมปาแล้วบอกว่า แม่เจ้าปรารถนา จะดื่มยาคูที่ปรุงด้วยของ ๓ อย่าง ตนสั่งให้เขาหุงหาให้แล้วนำไปฉันเสีย ภิกษุณีถุลลนันทาทราบเข้า จึงโจทภิกษุณีอันเตวาสิกานั้นว่า เธอไม่เป็นสมณะ ภิกษุณีอันเตวาสิกามีความรังเกียจ จึงร้องเรียนแก่ภิกษุณีทั้งหลายๆ แจ้งแก่ ภิกษุทั้งหลายๆ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีนั้นไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะ สัมปชานมุสาวาท.
เรื่องภิกษุณีชาวเมืองราชคฤห์
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีอันเตวาสิกาของภิกษุณีถุลลนันทาไปสู่สกุล อุปัฏฐากของภิกษุณีถุลลนันทาในเมืองราชคฤห์แล้วบอกว่า แม่เจ้าปรารถนาจะ ฉันขนมรวงผึ้ง ตนสั่งให้เขาทอดแล้วนำไปฉันเสีย ภิกษุณีถุลลนันทาทราบเข้า จึงโจทภิกษุณีอันเตวาสิกานั้นว่า เธอไม่เป็นสมณะ ภิกษุณีอันเตวาสิกามีความ รังเกียจ จึงร้องเรียนแก่ภิกษุณีทั้งหลายๆ แจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายๆ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีนั้น ไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะสัมปชานมุสาวาท.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 74
เรื่องพระอัชชุกะเมืองเวสาลี
[๑๗๓] ก็โดยสมัยนั้นแล คหบดีอุปัฏฐากของท่านพระอัชชุกะใน เมืองเวสาลี มีเด็กชาย ๒ คน คือบุตรชายคนหนึ่ง หลานชายคนหนึ่ง ครั้นนั้น ท่านคหบดีได้สั่งคำนี้ไว้กะท่านพระอัชชุกะว่า พระคุณเจ้าข้า บรรดาเด็ก ๒ คน นี้ เด็กคนใดมีศรัทธาเลื่อมใส พระคุณเจ้าพึงบอกสถานที่ฝังทรัพย์นี้แก่เด็ก คนนั้น ดังนี้แล้วได้ถึงแก่กรรม ครั้นสมัยต่อมา หลานชายของคหบดีนั้น เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส จึงท่านพระอัชชุกะได้บอกสถานที่ฝังทรัพย์นั้นแก่เด็ก หลานชายๆ นั้นได้รวบรวมทรัพย์ และเริ่มบำเพ็ญทานด้วยทรัพย์สมบัติ นั้นแล้ว.
ภายหลัง บุตรชายคหบดีนั้น ได้เรียนถามเรื่องนี้กะท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ใครหนอเป็นทายาทของบิดา บุตรชายหรือหลานชาย.
ท่านพระอานนท์ตอบว่า คุณ ธรรมดาบุตรชายเป็นทายาทของบิดา.
บุ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระคุณเจ้าอัชชุกะนี้ ได้บอกทรัพย์สมบัติของ กระผมให้แก่คู่แข่งขันของกระผม.
อา. คุณ ท่านพระอัชชุกะไม่เป็นสมณะ.
สำดับนั้น ท่านพระอัชชุกะได้กล่าวคำนี้กะท่านพระอานนท์ว่า อาวุโส อานนท์ ขอท่านได้โปรดให้การวินิจฉัยแก่กระผมด้วยเถิด.
ก็ครั้งนั้นแล ท่านพระอุบาลีเป็นฝักฝ่ายของท่านพระอัชชุกะท่านจึงถาม ท่านพระอานนท์ว่า อาวุโส อานนท์ ภิกษุใดอันเจ้าของทรัพย์สั่งไว้ว่า ขอท่าน ได้โปรดบอกสถานที่ฝังทรัพย์นี้แก่บุคคลชื่อนี้ แล้วบอกแก่บุคคลนั้น ภิกษุนั้น จะต้องอาบัติด้วยหรือ.
อา. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติสักน้อย โดยที่สุดแม้ เพียงอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 75
อุ. อาวุโส ท่านพระอัชชุกะนี้อันเจ้าของทรัพย์สั่งไว้ว่า ขอท่านได้ โปรดบอกสถานที่ฝังทรัพย์นี้แก่บุคคลชื่อนี้ จึงได้บอกแก่บุคคลนั้น ท่านพระอัชชุกะไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องเมืองพาราณสี
[๑๗๓] ก็โดยสมัยนั้นแล สกุลอุปัฏฐากของท่านพระปิลินทวัจฉะใน เมืองพาราณสี ถูกพวกโจรปล้น และเด็ก ๒ คนถูกพวกโจรนำตัวไป ครั้นนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะนำเด็ก ๒ คนนั้นมาด้วยฤทธิ์แล้วให้อยู่ในปราสาท ชาวบ้านเห็นเด็ก ๒ คนนั้นแล้ว ต่างพากันเลื่อมใสในท่านพระปิลินทวัจฉะ เป็นอย่างยิ่งว่า นี้เป็นฤทธานุภาพของพระปิลินทวัจฉะ ภิกษุทั้งหลายพากัน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระปิลินทวัจฉะจึงได้นำเด็กที่ถูก พวกโจรนำตัวไปแล้วคืนมาเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติ เพราะวิสัยแห่งฤทธิ์ของภิกษุมีฤทธิ์.
เรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพี
[๑๗๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุ ๒ รูป ชื่อปัณฑกะ ๑ ชื่อกปีล ๑ เป็นสหายกัน รูปหนึ่งอยู่ในหมู่บ้าน อีกรูปหนึ่งอยู่ในเมืองโกสัมพี ขณะเมื่อ ภิกษุนั้นเดินทางจากหมู่บ้านไปเมืองโกสัมพี ข้ามแม่น้ำในระหว่างทาง เปลว มันข้นที่หลุดจากมือของพวกคนฆ่าหมูลอยติดอยู่ที่เท้า ภิกษุนั้นได้เก็บไว้ด้วย ตั้งใจว่า จักให้แก่พวกเจ้าของๆ โจทภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็นสมณะ สตรี เลี้ยงโคคนหนึ่งเห็นภิกษุนั้นข้ามแม่น้ำขึ้นมาแล้ว ได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้นคิดว่า แม้โดยปกติ เราก็ไม่เป็นสมณะ แล้ว จึงเสพเมถุนธรรมในสตรีเลี้ยงโคนั้น ไปถึงเมืองโกสัมพีแล้ว แจ้งเรื่องนี้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 76
แก่ภิกษุทั้งหลายๆ จึงกราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติปาราชิก เพราะอทินนาทาน แต่ต้อง อาบัติปาราชิก เพราะเสพเมถุนธรรม.
เรื่องสัทธิวิหาริกพระทัฬหิกะเมืองสาคละ
[๑๗๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุสัทธิวิหาริกของท่านพระทัฬหิกะใน เมืองสาคละ ถูกความกระสันบีบคั้นแล้ว ได้ลักผ้าโพกของชาวร้านไป แล้ว ได้กล่าวคำนี้กะท่านพระทัฬหิกะว่า กระผมไม่เป็นสมณะ จักลาสิกขา ขอรับ.
ท่านพระทัฬหิกะถามว่า คุณทำอะไรไว้.
ภิกษุนั้นสารภาพว่า ลักผ้าโพกของชาวร้าน ขอรับ.
ท่านพระทัฬหิกะให้นำผ้าโพกนั้นมา แล้วให้ชาวร้านตีราคาเมื่อตีราคา ผ้าโพกนั้น ราคาไม่ถึง ๕ มาสก ท่านพระทัฬหิกะชี้แจงเหตุผลว่า คุณไม่ต้อง อาบัติปาราชิก ดังนี้ ภิกษุนั้นยินดียิ่งนักแล.
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ จบ.