๘. อภินันทนสูตร ว่าด้วยผลแห่งความเพลิดเพลินและไม่เพลิดเพลินในขันธ์ ๕
โดย บ้านธัมมะ  6 ก.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 36786

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 67

๘. อภินันทนสูตร

ว่าด้วยผลแห่งความเพลิดเพลินและไม่เพลิดเพลินในขันธ์ ๕


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 67

๘. อภินันทนสูตร

ว่าด้วยผลแห่งความเพลิดเพลินและไม่เพลิดเพลินในขันธ์ ๕

[๖๔] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเพลิดเพลินรูป ผู้นั้นชื่อว่าเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่าผู้นั้นไม่พ้นไปจากทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ผู้นั้นชื่อว่าเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่าผู้นั้นไม่พ้นไปจากทุกข์.

[๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดแลไม่เพลิดเพลินรูป ผู้นั้นชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่าผู้นั้นพ้นไป


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 68

จากทุกข์ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ผู้นั้นชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่าผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์ได้.

จบ อภินันทนสูตรที่ ๘

อรรถกถาฉันทราคสูตรที่ ๔ - ๙

สูตรที่ ๔ เป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในธาตุสังยุต นั่นแล. แต่ในที่นี้ท่านกล่าวสัจจะ ๔ ไว้ในสูตรที่ ๕ ที่ ๖ และที่ ๗ ในธาตุสังยุตนั้นตามลำดับ. ในสูตรที่ ๙ ท่านกล่าววัฏฏะและนิพพานไว้.

จบ อรรถกถาฉันทราคสูตรที่ ๔ - ๙