๔. มโนนิวารณสูตร
โดย บ้านธัมมะ  28 ส.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 36185

[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 133

๔. มโนนิวารณสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 24]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 30 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 133

๔. มโนนิวารณสูตร

[๖๒] เทวดาทูลว่า

บุคคลพึงห้ามใจแต่อารมณ์ใดๆ ทุกข์ย่อมไม่มาถึงบุคคลนั้น เพราะอารมณ์นั้นๆ บุคคลนั้นพึงห้ามใจแต่อารมณ์ทั้งปวง บุคคลนั้นย่อมพ้นจากทุกข์เพราะอารมณ์ทั้งปวง.

[๖๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

บุคคลไม่ควรห้ามใจแต่อารมณ์ทั้งปวง ที่เป็นเหตุให้ใจมาถึงความสำรวม บาปย่อมเกิดขึ้นแต่อารมณ์ใดๆ บุคคลพึงห้ามใจแต่อารมณ์นั้นๆ.

อรรถกถามโนนิวารณสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในมโนนิวารณสูตรที่ ๔ ต่อไป :-

บทว่า ยโต ยโต ได้แก่ แต่อารมณ์ที่เป็นบาป หรือว่าเป็นบุญ.

ได้ยินว่า เทวดานี้มีความเห็นอย่างนี้ว่า อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นโลกีย์ หรือที่เป็นโลกุตระโดยประการต่างๆ มีอารมณ์ที่เป็นกุศลเป็นต้น บุคคลพึงห้ามใจเท่านั้น คือไม่พึงให้อารมณ์นั้นเกิดขึ้น ดังนี้.

คำว่า ส สพฺพ-


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 30 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 134

โต แก้เป็น โส สพฺพโต แปลว่า บุคคลนั้น... แต่อารมณ์ทั้งปวง.

ทีนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงดำริว่า เทวดานี้ ย่อมกล่าวถ้อยคำอันเป็นอนิยยานิกะ (คำไม่นำสัตว์ออกไปจากทุกข์) ธรรมดาว่า ใจ เป็นภาวะที่ควรห้ามก็มี ควรเจริญก็มี เราจักจำแนกความข้อนั้นแสดงแก่เธอ ดังนี้ จึงตรัสพระคาถาที่ ๒ ว่า

น สพฺพโต มโน นิวารเย มโน ยตตฺตมาคตํ ยโต ยโต จ ปาปกํ ตโต ตโต มโน นิวารเย.

บุคคลไม่ควรห้ามใจแต่อารมณ์ทั้งปวงที่เป็นเหตุให้ใจมาถึงความสำรวม บาปย่อมเกิดขึ้นแต่อารมณ์ใดๆ บุคคลพึงห้ามใจแต่อารมณ์นั้นๆ.

บรรดาคำเหล่านั้น คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มโน ยตตฺตมาคตํ ได้แก่ ไม่พึงห้ามใจโดยประการทั้งปวง คือว่า ธรรมอะไรๆ ที่กล่าวแล้ว ไม่ควรห้ามใจไปเสียทั้งหมด เพราะว่าธรรมที่เป็นเหตุให้ใจมาสู่ความสำรวมอันใดที่เกิดขึ้นโดยนัยว่า เราจักให้ทาน จักรักษาศีล อันเป็นเหตุนำมาซึ่งความสำรวมใจเป็นต้นนี้ บุคคลไม่พึงห้าม ด้วยว่าข้อนี้เป็นความพอกพูน เป็นความเจริญโดยแท้.

คำว่า ยโต ยโต จ ปาปกํ ได้แก่ อกุศลย่อมเกิดแต่ธรรมอะไรๆ บุคคลพึงห้ามใจเฉพาะธรรมนั้นๆ ดังนี้แล.

จบอรรถกถามโนนิวารณสูตรที่ ๔