สนทนาธรรมที่มูลนิธิ ฯ ปฏิบัติธรรม
วันอาทิตย์ที่ ๑๔ ก.ย. ๒๕๕๑
ท่านอาจารย์ มีความตั้งมั่นบางอย่างในใจ แล้วแต่ความตั้งมั่นนั้นคืออะไร มีใครต้องการที่จะให้เดือดร้อนบ้างไหม ไม่มีใช่ไหมค่ะ มีใครต้องการที่จะให้ เจ็บไข้ได้ป่วยบ้าง ก็ไม่มี เพราะฉะนั้น สิ่งที่ตั้งมั่นในใจของทุกคน ก็คือ การต้องการที่จะพ้นจากอันตรายและโรคภัยต่างๆ หรือว่าความเดือดร้อน ด้วยประการใดๆ ก็ตามแต่ เมื่อมีความมั่นคงอย่างนี้ แล้วก็ไม่ต้องพูด ก็ยังตั้งมั่น มีใครไม่ต้องการรูปสวยๆ บ้าง มีใครไม่ต้องการเสียงเพราะๆ บ้าง ใช่ไหมค่ะ
เพราะฉะนั้น เมื่อยังมีเยื่อใยในสิ่งต่างๆ เหล่านี้ แล้วก็รู้ว่ากุศลย่อมนำมาสิ่งซึ่งปรารถนา แม้ไม่พูด แต่มีอยู่ในใจ เพราะฉะนั้น คนที่พูดนี้จะยิ่งกว่านั้นสักแค่ไหน ลองคิดดูนะค่ะ คนที่ไม่พูดก็ปรารถนา รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส หรืออาจจะปรารถนา ลาภ ยศ สรรเสริญ หรือบางคนอาจจะถึงกับจะเป็นพระเจ้าแผ่นดิน อย่างคำของพระเจ้าพิมพิสาร ความปรารถนาของพระองค์ ก็คือ ให้ได้ครองราชสมบัติ ให้ได้มีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามาสู่ประเทศของพระองค์ ให้มีโอกาสได้ฟังพระธรรม ให้ได้มีโอกาสได้พิจารณาธรรม และให้ได้มีโอกาสถึงธรรมด้วย
เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้นะค่ะ ความปรารถนาหรือความตั้งมั่น ไม่ได้จำกัด ถึงแม้ไม่เอ่ยออกมา ความตั้งมั่นนั้นๆ ก็มี ด้วยความเป็นผู้ตรง แต่ถ้าใครถึงกับเอ่ยออกมา ที่ขออำนาจสัจจะของกุศลที่ได้กระทำแล้ว เป็นปัจจัยให้เป็นอย่างนี้ๆ ก็แสดงว่ามีกำลังมากขึ้น แต่เวลาที่มีความคิดอย่างนั้น เพื่อตัวเอง หรือว่าเพื่อประโยชน์ หรือว่าเพื่อสติปัญญา หรือว่าการที่พ้นจากอกุศล หรือพ้นจากการไม่ประมาท และความเห็นผิด
เพราะฉะนั้น ไม่ได้หมายความว่า ให้ทุกคนอธิษฐาน โดยไม่รู้อะไร หรือว่าให้ทุกคนไม่เข้าใจ คำว่า "อธิษฐาน" อธิษฐานก็คือความตั้งมั่น แล้วแต่ว่าขณะนั้น แต่ละคนมีความตั้งมั่นอย่างไร แล้วยังเป็นผู้ที่สามารถที่จะรู้ด้วย เพราะว่าสิ่งนั้นจะสำเร็จได้ด้วยกุศล กำลังของกุศลสามารถจะให้สิ่งนั้นๆ เกิดขึ้นเป็นไปอย่างนั้นได้
เพราะฉะนั้น ก็แล้วแต่ว่าขณะนั้น จิตคิดอะไรและความตั้งมั่นที่เป็นกุศล ย่อมนำมามากกว่าที่จะต้องการทางฝ่ายอกุศล คุณวนิดาจะอธิษฐานไหมค่ะ ไม่ได้ห้ามเลยค่ะ แล้วแต่ค่ะ ถ้าไม่ใช่เพื่อตัวเอง ถ้าไม่ใช่เพื่อโลภะ เพื่อจะให้มีกิเลสมากๆ แต่เพื่อการที่จะมีสติปัญญา เป็นผู้รอบคอบ ไม่มีความเห็นผิด
ไม่ต้องกลัวคำว่า "อธิษฐาน" เพียงแต่ว่าเข้าใจว่า เป็นความตั้งใจมั่นคง และผู้นั้นก็รู้เองว่ามีความมั่นคงแค่ไหน มั่นคงถึงแม้ไม่พูดก็ทำ หรือว่ามีความไม่ค่อยมั่นคงเท่าไร ก็ต้องพูดด้วย หรือว่าแม้พูดก็ยังไม่ ค่อยมั่นคงเท่าไร ก็เป็นเรื่องของสภาพธรรมในขณะนั้น แต่ข้อสำคัญ คือ ขอแล้วได้หรือไม่ได้ ไม่ใช่หมายความว่า เมื่อขอแล้วต้องได้ แต่ทุกอย่างที่เกิดนี้ ต้องมีเหตุที่สมควรที่สิ่งนั้นๆ จะเกิดขึ้น และถึงแม้ไม่ขอก็ยังได้ เมื่อมีเหตุที่จะให้เกิดขึ้น ก็ต้องเกิดขึ้นเป็นไป
ประเชิญ ที่ท่านอาจารย์ให้ความเข้าใจเบื้องต้น ก็ดูเหมือนจะเป็นธรรมดา คือก่อนหน้านี้ เราก็ทราบกันถึงความหมาย ที่ท่านแปลทับศัพท์มา อธิบายหมายถึงการขอ ซึ่งใกล้เคียงกับโลภะ อย่างขอให้ได้ครองราชสมบัติ อย่างในพระชาติหนึ่ง ของพระผู้มีพระภาคที่เป็นอธิษฐานบารมี ในเตมียชาดก ความตั้งใจมั่น ก็คืออยู่ในใจของแต่ละคน ท่านไม่ใบ้ ก็ทำเป็นใบ้ ไม่ง่อยเปลี้ยก็ทำเป็นง่อยเปลี้ยเพื่อไม่ต้องการเป็นกษัตริย์ โดยประสงค์จะออกบวช ดูเหมือนจะเป็นกุศล
ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นบารมี ต้องเป็นกุศล เพราะถ้าปราศจากกุศลที่เป็นบารมี ก็ไม่สามารถจะรู้แจ้งอริยสัจจะธรรมได้
ประเชิญ อธิษฐานธรรมมี ๔ อย่าง คือ สัจจาธิษฐาน ๑ จาคาธิษฐาน ๑ อุปสมาธิษฐาน ๑ ปัญญาธิษฐาน ๑ อธิบายในเรื่องของ ๔ อย่างนี้แล้ว ก็ต้องเป็นกุศลทั้งนั้น และเป็นไปในเรื่องของการสละ อย่างจาคะหรืออุปสมะ หรือปัญญาก็ชัดเจน สัจจาธิษฐาณก็ต้องเป็นไปในเรื่องกุศลเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ในเรื่องของภาษา ซึ่งเราคุ้นเคยมานานในการขอ ก็เหมือนจะมีส่วนที่จะถูกอยู่บ้าง บางท่านที่ถวายทานพระปัจเจกพุทธเจ้าขอว่า ขอให้ได้เห็นธรรม เหมือนที่พระคุณเจ้าได้เห็น
ท่านอาจารย์ ก็แล้วแต่ว่าขณะนั้น มีความมั่นคงในอะไร ถ้าให้เลือกเป็นมหากษัตริย์กับเป็นผู้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม ตอนนี้เห็นความมั่นคงหรือยังค่ะ ตั้งมั่นในอะไร แต่ก็เลือกไม่ได้ แล้วแต่อัธยาศัยที่สะสมมา ที่มีฉันทะเป็นมูล แม้แต่พระเจ้าพิมพิสาร ปรารถนาจะครองราชสมบัติ ไม่ใช่แค่นั้น แต่ขอให้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จไปสู้แว่นแคว้นของพระองค์ด้วย ไม่ใช่เพียงแต่เป็นพระเจ้าแผ่นดินแล้วขอให้ได้มีโอกาสได้ฟังพระธรรม แล้วยังขอให้ได้เข้าใจธรรมด้วย และขอให้บรรลุธรรมด้วย
เพราะฉะนั้น ทุกคนไม่ได้มีความหวังเพียงอย่างเดียว ก็มีความหวังหลายๆ อย่าง และมากน้อยต่างกันไป เพราะฉะนั้น ก็เป็นชีวิตปกติธรรมดา แม้ไม่ใช้คำเลย แต่พฤติกรรมและความเป็นไปของขันธ์ที่เกิดแล้วๆ วันนี้ตั้งแต่เช้ามาจนกระทั่งถึงบัดนี้ เป็นไปในภาวนาทิฎฐานชีวิตัง หรือเปล่า แม้ไม่ต้องพูด คือชีวิตที่เป็นไปในกุศลธรรม ที่เป็นไปในทางสุจริต ที่มั่นคงในการอบรมเจริญปัญญา นี้ก็คือเหมือนกับทุกท่านก็ฟังธรรม มั่นคงขึ้นเมื่อมีการฟังธรรม ประโยชน์ปัญญาที่เกิดจากการฟังธรรมทำให้เป็นผู้ที่มีศีล เพราะรู้ว่าขณะใดเป็นกุศล ขณะใดเป็นอกุศล และมีความตั้งมั่นว่า ชีวิตซึ่งเราก็ไม่รู้ ไม่มีเครื่องหมายเลย จะจากโลกนี้ไปเมื่อไร วันไหน
เพราะฉะนั้น ไม่ล่วงขณะที่มีโอกาสจะได้เข้าใจธรรม ก็ตรงกับคำว่า "ภาวนาทิฎฐานชีวิตัง " แม้ไม่เอ่ย แต่ก็เป็นอย่างนั้น เพียงแต่เป็นภาษาบาลี และแสดงถึงสภาพของจิต ของผู้ที่มีความมั่นคง ในการที่จะอบรมเจริญปัญญา ก็เป็นปกติค่ะ เพียงแต่ใช้คำ "อธิษฐาน" แต่เมื่อไรไม่รู้ความหมายก็อาจจะกลัว ไม่กล้า ตกใจ จะอธิษฐานดีหรือไม่อธิษฐานดี แต่แท้ที่จริงก็คือ ความมั่นคงของจิต เพียงแต่จะเอ่ยหรือไม่เอ่ย และความมั่นคง ใครจะรู้ นอกจากคนนั้นเอง พูดไปเฉยๆ ไม่ค่อยมั่นคงก็ได้ เห็นเขาอธิษฐาน ก็อธิษฐานบ้าง ก็เป็นไปได้ใช่ไหมค่ะ หรือมีความมั่นคงมากกว่าคนที่พูดก็ได้
เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องเฉพาะตนของแต่ละบุคคล ความหมายก็คือว่า เป็นความตั้งมั่น แล้วก็ควรจะตั้งมั่นในกุศลธรรม
ขออนุโมทนาครับ
สาธุ
การตั้งใจมั่น (อธิษฐาน) ของพระเจ้าพิมพิสารสำเร็จแล้วโดยเฉพาะการได้บรรลุธรรม
ขออนุโมทนาครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ สาธุ
ขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ