เราควรปฏิบัติอย่างไร (134 ความคิดเห็น)
โดย ธรรมทัศนะ  26 ก.ค. 2549
หัวข้อหมายเลข 1700

"เราควรปฏิบัติอย่างไร" เมื่อฟังธรรมจนเข้าใจว่าไม่มีเรา มีแต่ธรรมปฏิบัติกิจของธรรมเพราะธรรมไม่ใช่เรา เหมือนที่พระธรรมแสดงว่า เพราะจิตเป็นใหญ่มีเจตนาที่เป็นกรรมร่วมด้วย ไม่ใช่ตัวเรา จึงมีแต่ธรรมแต่ละอย่าง ทำกิจแล้วก็ดับไป สะสมทุกสิ่งทุกอย่างไว้ในจิต เกิดแล้วก็ดับ สะสมอีก เกิดแล้วก็ดับอีก แต่เมื่อยังศึกษาหรือฟังไม่เข้าใจว่าทุกอย่างเป็นธรรม ก็ฟังต่อไปอีก เพราะจิตย่อมสะสมความเข้าใจพระธรรม ไม่มีเราสะสม



ความคิดเห็น 2    โดย ckitipor  วันที่ 26 ก.ค. 2549

ผู้เคารพธรรม ย่อมประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม

ผู้เคารพธรรม ย่อมประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ผู้ไม่ประพฤติสมควรแก่ธรรมย่อมเข้าใจผิด เมื่อเห็นผิด ย่อมปฏิบัติผิด (สีลัพพตปรมาสะ) ชื่อว่าไม่สมควร คือธรรมะมีปรากฏอยู่ ก็ไม่รู้จักว่าเป็นธรรมะ การเข้าใจสิ่งหนึ่งเป็นอื่นไป เช่น เข้าใจว่าให้เอกัค-คตา (สมาธิ) เกิดกับจิตที่มีอาการไม่รับรู้สภาวธรรมใดๆ ว่าเป็นการปฏิบัติ แล้วตัวตนก็จะยกจิตอีก เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ทั้งประพฤติไม่สมควร และผิดธรรม (อื่นจากธรรม) จากผิดไม่มั่นคง ก็ผิดมั่นคงในที่สุด


ความคิดเห็น 3    โดย ckitipor  วันที่ 26 ก.ค. 2549

ไม่มีทางจะเร่งรัดปัญญาได้เลย

ผู้ที่ใจร้อนอยากจะให้วิปัสสนาญาณเกิดเร็วๆ นั้น ย่อมพยายามทำอย่างอื่นแทนการระลึก พิจารณา สังเกตลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม ที่เกิดขึ้นปรากฏตามเหตุปัจจัย ตามความเป็นจริง แต่ไม่มีทางจะเร่งรัดปัญญาได้เลย เหตุที่จะอบรมปัญญาให้ค่อยๆ เจริญขึ้นได้นั้น มีหนทางเดียว คือ สติปัฏฐานตามปกติในชีวิตประจำวันเท่านั้นถ้าทำอย่างอื่นที่ผิดไปจากนี้ ก็แน่นอนที่ผลต้องผิดไปตามเหตุที่ผิดด้วย

ธรรมทัศนะ วันที่ : 27-06-2549

เพราะโลภะเป็นธรรมเครื่องเนิ่นช้า ตามความเป็นจริงแล้ว มีสภาพธรรมปรากฎให้สติระลึกได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เมื่อสติไม่เกิดสภาพธรรมนั้นๆ ก็ผ่านไป จึงทำให้ชีวิตในวันหนึ่งๆ เต็มไปด้วยอกุศลเพราะหลงลืมสติ หรือไม่ก็เพียรพยายามไประลึกสิ่งที่ไม่ปรากฎนั่นเอง แล้วกุศลและปัญญาจะเจริญได้อย่างไรกันคะ

โดยสมาชิก : saowanee.n วันที่ : 27-06-2549

สาธุ.. ถ้าเร่งปัญญาได้ ทุกคนคงมีปัญญามากจนดับอวิชชา เป็นพระอรหันต์กันหมดแล้ว แต่ความเป็นจริงปัญญาเป็นธรรมะที่โตช้าเหลือเกิน ไม่เป็นอย่างที่ใจหวังเลยต้องใช้เวลาอบรมเป็นกาลนานจริงๆ ดังชีวประวัติของพระอริยสาวก ที่ท่านมีปัญญามากในชาติสุดท้าย เพราะท่านสะสมอบรมมาก่อน

โดยสมาชิก : เจตสิก วันที่ : 28-06-2549


ความคิดเห็น 4    โดย ckitipor  วันที่ 26 ก.ค. 2549

การปฏิบัติผิดนั้น เกิดจากการหวังผลอย่างรวดเร็ว

การปฏิบัติผิดนั้น เกิดจากการหวังผลอย่างรวดเร็ว เพราะไม่เข้าใจหนทางปฏิบัติที่ถูก โลภมูลจิตที่เกิดร่วมกับความเห็นผิด จึงเป็นมิจฉามรรค ที่นำไปสู่มิจฉาวิมุติ คือการพ้นอย่างผิดๆ เพราะไม่ใช่การพ้นจากกิเลสอย่างถูกต้อง แต่เข้าใจผิด ว่าพ้นจากกิเลสแล้ว

ธรรมทัศนะ วันที่ : 27-06-2549

พระพุทธศาสนาผ่านมาถึง 2,500 กว่าปีแล้ว การปฏิบัติโดยที่ยังไม่ได้ศึกษาให้เข้าใจก่อน แล้วจะปฏิบัติอย่างไร บางคนยังไม่เข้าใจว่าธรรมคืออะไรเลย แล้วจะปฏิบัติ จะปฏิบัติถูกได้อย่างไร ต้องเริ่มที่การศึกษาธรรมให้เข้าใจก่อน แม้แต่การศึกษาธรรมให้เข้าใจถูกต้องก็เป็นเรื่องยากมาก

โดยสมาชิก : dron วันที่ : 29-06-2549


ความคิดเห็น 5    โดย ckitipor  วันที่ 26 ก.ค. 2549

ผู้ที่ศึกษาธรรมต้องมีความอดทน

ไม่มีบุคคลผู้ใดที่จะสามารถรู้แจ้งสภาพธรรมตามความเป็นจริงได้โดยไม่มีการฟังพระธรรม การศึกษาพระธรรมการฟังพระธรรมจะทำให้เรามีความเข้าใจในสภาพธรรมตามความเป็นจริงมากขึ้น จากการเป็นผู้ที่ไม่เคยรู้ ก็จะค่อยๆ รู้ขึ้น ฉะนั้น ผู้ที่ศึกษาธรรมต้องมีความอดทน ในการที่จะศึกษา ในการที่จะฟัง พิจารณาไตร่ตรองความลึกซึ้งของพระธรรม

คนที่จะถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ต้องถึงพร้อมด้วยปัญญา เมื่อถึงพร้อมด้วยปัญญาย่อมละกิเลสได้ตามลำดับขั้น เมื่อถึงความเป็นพระอรหันต์จึงจะดับกิเลสได้เป็นสมุทเฉท คือ กิเลสไม่เกิดอีกเลย เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องของปัญญา


ความคิดเห็น 6    โดย ckitipor  วันที่ 26 ก.ค. 2549

ยอมรับว่า พระธรรมเป็นเรื่องยากมาก

ดิฉันเริ่มฟังพระธรรม จากมูลนิธิฯ เมื่อ เดือน พค.๒๕๔๕ ฟังเรื่อยมาโดยตลอดจะได้ยินประโยคที่ว่า ค่อยๆ ฟังค่อยๆ เข้าใจ และพิจารณาไป ยอมรับว่า พระธรรมเป็นเรื่องยากมาก แต่ผลที่ได้รับมากมายมหาศาล ต้องอาศัยความอดทนที่จะฟังอย่างมากดั่งที่ อ. สุจินต์พูดอยู่เป็นประจำ

ธรรมทัศนะ วันที่ : 08-06-2549

การเข้าใจพระธรรม เป็น ปัญญา โดยเฉพาะ ปัญญา ที่เข้าใจหนทางดับกิเลสนั้น ถ้า พระผู้มีพระภาคไม่มาตรัสรู้ ก็จะไม่มีผู้ใดเข้าใจหนทางนี้ได้ อวิชชาละเอียดซึ่งสะสมอยู่ในจิตนั้น (อวิชชานุสัย) มีมากมายนับไม่ถ้วน ก็เป็นเหตุหนึ่งซึ่งทำให้เข้าใจพระธรรมได้ยาก และพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงนั้น ก็เป็นสิ่งที่ทวนกระแสกิเลสตรงข้ามกับความต้องการของเรา ดังนั้น ถึงแม้เราจะเข้าใจหนทางที่ถูกต้องบ้างแล้วการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมก็ยังเป็นความยากสำหรับเรา จึงต้องอาศัยการฟัง ศึกษาอบรม พิจารณาพระธรรม ไปทีละเล็ก ทีละน้อย ต่อไป เรื่อยๆ ครับ

โดยสมาชิก : pornchai.s วันที่ : 08-06-2549

ไม่มีใครเอาธรรมะไปใช้ได้ แต่เป็นเรื่องของปัญญาที่เข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง คือ ต้องเข้าใจจริงๆ ว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ผู้ที่มีปัญญาคือเข้าใจธรรมะเมื่อมีเหตุปัจจัยที่จะได้ฟังพระธรรมก็ควรที่จะตั้งใจฟังต่อไป แม้ครั้งแรกๆ จะยังไม่รู้เรื่องแต่ผู้ที่ได้อบรมฟังมาแล้วในครั้งพุทธกาลท่านก็เดินทางนี้ ก็ต้องอบรมฟังต่อไปจนกว่าจะถึงกาลที่เหตุสมควรแก่ผล"


ความคิดเห็น 7    โดย ckitipor  วันที่ 26 ก.ค. 2549

มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ หน้าที่ 395

คิลานสูตร ว่าด้วยมีตนเป็นเกาะ

[๗๑๑] ดูก่อนอานนท์ เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่เถิด.

[๗๑๒] ดูก่อนอานนท์ ก็ภิกษุเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่งไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่.

[๗๑๓] ดูก่อนอานนท์ ก็ผู้ใดผู้หนึ่งในบัดนี้ก็ดี ในเวลาที่เราล่วงไปแล้วก็ดี จักเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ ภิกษุเหล่าใด เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา ภิกษุเหล่านั้นจักเป็นผู้เลิศ.


ความคิดเห็น 8    โดย kan_abc  วันที่ 26 ก.ค. 2549

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 9    โดย Buppha  วันที่ 26 ก.ค. 2549
ขออนุโมทนา

ความคิดเห็น 11    โดย kchat  วันที่ 26 ก.ค. 2549
ขออนุโมทนา

ความคิดเห็น 12    โดย namarupa  วันที่ 26 ก.ค. 2549

ขออนุโมทนา ในความคิดเห็นที่ถูกและตรงค่ะ การศึกษาธรรมอย่าเผิน เหมือนดั่งที่ท่านอาจารย์กล่าวเตือนอยู่เสมอ ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงนั้น ละเอียด ลึกซึ้ง เข้าใจได้ยาก และเห็นตามได้ยาก และอีกคำพูดหนึ่งจากท่านอาจารย์ก็คือ ..... ผู้ใดกล่าวว่าธรรมของพระพุทธเจ้ายากมากๆ ผู้นั้นกำลังกล่าวสรรเสริญพระปัญญาคุณพระเมตตา พระมหากรุณาคุณของพระพุทธองค์


ความคิดเห็น 14    โดย วันชัย๒๕๐๔  วันที่ 27 ก.ค. 2549

ผมว่าเราติดปฏิบัติกันไปเสียหมด อะไรๆ ก็ต้องปฏิบัติ ติดพยัญชนะเสียจนหลงทางกันไปหมด ฟังก่อนดีไหม ศึกษาก่อนดีไหม ทำความเข้าใจในสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ก่อนดีไหม ทรงตรัสรู้อะไร ไม่ใช่จะเอางาช้างมาปฏิบัติ เอาหางช้างมาปฏิบัติ แม้ตัวช้างทั้งตัว ผู้รู้แล้วก็ไม่เอามาปฏิบัติดอกหรือมิใช่รู้ก็เท่านั้น ไม่รู้ก็เท่านั้น ยึดมั่นเพื่ออะไร พ้นแล้วก็ธรรมะ ไม่พ้นก็ธรรมะ เช่นนั้นเอง ขออย่าได้มีตัวเราเลย มีตัวเมื่อใด เมื่อไหร่จะพ้น

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 18    โดย chatchai.k  วันที่ 2 ส.ค. 2549
ขออนุโมทนา ความเห็นที่ถูกต้อง

ความคิดเห็น 19    โดย วันชัย๒๕๐๔  วันที่ 2 ส.ค. 2549

ได้อ่านความเห็นทั้งหมด (อันมาจากแหล่งอ้างอิงเดียวกัน แต่ความเข้าใจต่างกัน) ก็ให้นึกถึงว่า

๑. พระพุทธศาสนานี้ ช่างเป็นประชาธิปไตยที่สุดในโลก (ของทั้งศาสนาและของโลก) มิได้เป็นของผู้ใดเลย สามารถโต้แย้ง แสดงความเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยโดยเหตุผลความจริง มิได้เป็นไปโดยการบังคับแต่ประการใด เนื่องจากการเกิดปัญญารู้แจ้งของผู้ใดมากน้อยเท่าใด ก็ย่อมยังประโยชน์แก่ผู้นั้นเองเป็นสำคัญ นึกได้ดังนี้ก็ยิ่งจะมีความซาบซึ้งในพระกรุณาธิคุณอันไม่มีประมาณของสมเด็จพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น นี่เป็นประการหนึ่ง

๒. อีกประการหนึ่ง ยิ่งเป็นสิ่งที่ตอกย้ำให้เห็นชัดในหนทางที่กำลังเดินอยู่ว่าถูกต้องตรงและสว่างไสวไปด้วยปัญญาที่ส่องนำดีแล้วนั้นอยู่บ่อยๆ เนืองๆ และได้เตือนตนเองอยู่เสมอว่า แม้ว่าจะได้รู้สึกสำนึกในพระคุณของท่านอาจารย์สุจินต์มากเพียงใดในความมีเมตตาชี้แนะแนวทางโดยมิได้เห็นแก่สิ่งใด นอกจากการบรรยายธรรมะของพระพุทธองค์ด้วยความถูกต้องและซื่อตรงยิ่ง เป็นธรรมทานนั้น ว่าอย่าได้หลงใหลยึดในตัวท่าน แต่ยึดเอาธรรมะนั้นเป็นสรณะ ถูกผิด คิดเอาเองตามพระพุทธดำรัส ได้แต่เพียงอนุโมทนากับท่านทุกครั้งที่ระลึกถึงท่านเท่านั้น ขอนุโมทนากับทุกท่านที่เพียรพยายามสนทนาธรรม อันจะยังประโยชน์แก่ผู้มีมนสิการในอันที่จะเพิ่มพูนปัญญายิ่งๆ แก่ธรรมะอันหาตัวตนไม่ได้นั้น

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 21    โดย wirat.k  วันที่ 3 ส.ค. 2549

ก่อนอื่นต้องรู้ว่าปริยัติคืออะไร ปฏิบัติคืออะไร เสียก่อน (ท่านอ.สุจินต์จะพร่ำสอนอยู่เสมอ) ปริยัติคือการศึกษาคำสอน (พระธรรม) ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยการอ่าน,ฟังหรือสนทนาธรรม ซึ่งท่าน อ. สุจินต์จะใช้วิธีการสนทนาในการศึกษาเพื่อให้เกิดเป็นความเข้าใจ (ปัญญา) ของผู้ศึกษาเอง เพราะเป็นการสอบถามจากทั้งสองฝ่าย ดังนั้น จุดประสงค์ของการศึกษา ก็คือ เพื่อความเข้าใจ ในธรรมที่ได้สนทนา (หรืออ่าน ฟัง) ซึ่งความเข้าใจ จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นที่ละเล็กละน้อย ประกอบกับการนึกคิดพิจารณาในเรื่องธรรมะอยู่เนืองๆ เป็นเวลานานมากๆ ๆ (จิรกาลภาวนา) เหมือนการจับด้ามมีดกว่าที่จะเห็นการสึกได้ ก็สามารถถึงเฉพาะ (ปฏิ + ปัตติ) สภาพธรรม โดยสติระลึกรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ซึ่งเราเรียกว่า"การปฏิบัติ" ดังนั้น จึงไม่ใช่ "เรา" ที่จะไปปฏิบัติ (ผู้ถามใช้คำว่า ลงมือปฏิบัติ แสดงว่าไม่เข้าใจ ความหมายของคำนี้) คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าการปฏิบัติ คือ การที่เราจะต้องทำกิจกรรมอะไรสักอย่าง เช่น นั่งหลับตา (นั่งสมาธิ) ฯลฯ

ดังนั้น ที่ถูก คือยังไม่ควรคิดถึง การปฏิบัติ หรือ เมื่อไร สติปัฎฐานจะเกิด แต่ควรสนใจ ศึกษาเพื่อความเข้าใจ ในสิ่งที่ได้ฟัง เข้าใจขึ้น เข้าใจขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งลำดับแรกที่ควร ศึกษาให้เข้าใจถูกคือการรู้ความจริงว่า "ทุกอย่างเป็นธรรมะ ไม่ใช่เรา"

โดยสมาชิก : narong วันที่ : 31-07-2549


ความคิดเห็น 24    โดย saowanee.n  วันที่ 4 ส.ค. 2549

พระสัทธรรมมีอันต้องเสื่อมไปสิ้นไป ก็เพราะพุทธบริษัทไม่ศึกษาพระธรรมด้วย ความเคารพ ขาดความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่เข้าถึงอรรถและสภาวะ รู้เพียงพยัญชนะ แล้วก็ติดอยู่กับเรื่องราว รู้เพียงเฉพาะส่วนแล้วก็คิดที่จะปฏิบัติ นี่คือ มิจฉามรรค ความเห็นผิดเมื่อเริ่มจากบุคคลนึง ก็จะต่อไปยังอีกบุคคลนึง แพร่หลายต่อไปเรื่อยๆ จนทำให้พระสัทธรรมกลายเป็นพระสัทธรรมปฏิรูป

ใน "สัทธรรมปฏิรูปกสูตร" ท่านเปรียบไว้เหมือนทองคำแท้กับทองเทียม เพราะ ทองคำแท้นั้นมีราคาแพงและหายาก แต่ทองเทียมนั้นหาง่ายและมีราคาถูก จึงเป็นเหตุ ให้ทองคำแท้เสื่อมความนิยมไปในที่สุด


ความคิดเห็น 26    โดย saowanee.n  วันที่ 4 ส.ค. 2549

ข้อความจากคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ค่ะ

เพราะฉะนั้น ในมหาสติปัฏฐาน ไม่ควรจะลืมพยัญชนะที่เล็กที่สุด แต่สำคัญที่สุดคือ เป็นผู้มีปกติเจริญสติปัฏฐาน ธรรมดาค่ะ แต่ในขั้นต้น จะมีความรู้สึกเหมือนเราเจริญสติ ข้อความในพระไตรปิฎก ก็ฟังดูข้อความเหมือนอย่างนั้น คือ ให้เจริญสติ แต่ว่าลึกลงไปกว่านั้น ก็จะรู้ว่าสติเจริญ ไม่ใช่เราเจริญ

โดย : kanchana.c วันที่ : 06-07-2549

จงกรมโดยศัพท์หมายถึงการก้าวไปตามลำดับ ซึ่งในชีวิตของสมณะเพศ การออกกำลังกายแบบคฤหัสถ์ มีการเต้น การวิ่ง หรือกีฬาประเภทต่างๆ ไม่สมควร ฉะนั้น การเดินจงกรมจึงเป็นการบริหารร่างกาย เพื่อเป็นการผลัดเปลี่ยนอิริยาบถเท่านั้น แต่เนื่องจากท่านพระภิกษุเป็นผู้มีปกติอบรมเจริญสติปัฏฐานในทุกอิริยาบถ การเดินของท่านก็เดินปกติ คือ มีการพิจารณาธรรมะด้วย

ธรรมทัศนะ วันที่ : 01-07-2549


ความคิดเห็น 27    โดย devout  วันที่ 4 ส.ค. 2549

[เล่มที่ 13] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 320

ประทานโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์

[๑๔๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์มีพระศาสดาล่วงแล้วพระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมก็ดี วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้นจักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา


ความคิดเห็น 28    โดย wirat.k  วันที่ 5 ส.ค. 2549

ความเข้าใจของคนส่วนใหญ่ ในสมัยนี้เห็นว่า การปฏิบัติธรรม หรือ การทำวิปัสสนา ต้องลงมือปฏิบัติกันจริงๆ จังๆ แค่ฟังพระธรรมนั้นไม่เพียงพอ บางสำนักก็มีข้อปฏิบัติ เป็นข้อๆ หรือ มีข้อปฏิบัติ และการเตรียมตัวก่อนเข้ากรรมฐาน เป็นการแยกปริยัติออกจากการปฏิบัติอย่างสิ้นเชิง บางพวกก็ว่าศึกษาปริยัติเหมือนการศึกษาแผนที่ ยังไม่ใช่การปฏิบัติ การปฏิบัติคือการลงมือเดินทางตามแผนที่ ทางมศพ.และสมาชิกท่านอื่นๆ คงจะให้ความเข้าใจเพิ่มเติมได้นะครับ

โดยสมาชิก : 895228


ความคิดเห็น 30    โดย สหรัตน  วันที่ 5 ส.ค. 2549

เมื่อยังมีความความเห็นว่าเป็นตัวตนที่จะไปปฏิบัติอยู่ ก็ควรจะสอบทานความเข้าใจให้ถูกตรงก่อน หากเริ่มต้นด้วยความมีตัวตน ก็ยากที่จะละความเห็นผิดที่เป็นมิจฉามรรค เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก เราเป็นสาวก คือผู้ฟัง ควรฟังก่อนที่จะไปทำสิ่งใดๆ ทางบ้านธัมมะได้ให้ความกรุณาให้ข้อมูลไว้มากพอ และในหน้าแรกของ web ก็เป็นข้อมูลที่เอื้อให้เกิดความเข้าใจถูก เห็นถูกว่าไม่มีตัวตน ถอยไปดูก่อน ดีมั๊ยครับ ขออนุโมทนาในความเห็นถูก เข้าใจถูก อันจะนำไปสู่การประพฤติปฏิบัติที่ถูก ตรงต่อไป


ความคิดเห็น 31    โดย วันชัย๒๕๐๔  วันที่ 5 ส.ค. 2549

ถ้าทั้งหมดนี้เป็นข้อสอบสำหรับวัดความรู้ความเข้าใจ (คงไม่ต้องพูดถึงวัดการปฏิบัติด้วยกระมัง?) ในหลักการและคำสอนของพระพุทธองค์ สำหรับสมาชิกแล้วละก็เป็นที่น่าอนุโมทนาว่า บ้านธัมมะได้ก่อให้เกิดประทีปดวงน้อยๆ หลายดวง ที่นับวันจะเพิ่มความสว่างขึ้นเรื่อยๆ ในโลก ...

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 32    โดย วันชัย๒๕๐๔  วันที่ 5 ส.ค. 2549
ขอเชิญฟังข้อคิดจากหน้าฟังธรรม ในหัวข้อ..แนวทางการเจิญวิปัสสนา หน้า ๕ ตอนที่ ๐๐๐๕ ครับ

ความคิดเห็น 38    โดย wirat.k  วันที่ 12 ส.ค. 2549

จะปฏิบัติอะไรหรือครับ เพราะการปฏิบัติ มีทั้งการปฏิบัติผิด และการปฏิบัติถูกพระพุทธองค์ทรงแสดงมรรคว่ามีทั้ง มิจฉามรรค ๘ และสัมมามรรค ๘ ถ้าไม่ศึกษาโดยละเอียด อาจเป็นผู้ปฏิบัติมิจฉามรรค แต่เข้าใจว่าเป็นสัมมามรรคก็ได้ โปรดอย่าพึ่งใจร้อนรีบด่วนปฏิบัติ ค่อยๆ ศึกษา ค่อยๆ รู้ตามที่ทรงแสดงไว้ ชื่อว่า เป็นการอบรมอริย-มรรคมีองค์แปด ตั้งแต่ความเห็นที่ตรงแลถูกต้อง ความดำริที่ตรง กัมมันตะที่ตรง วาจาที่ตรง อาชีพตรง ความเพียรที่ตรง สติที่ถูกต้อง และสมาธิที่ถูกต้อง


ความคิดเห็น 42    โดย ckitipor  วันที่ 26 ส.ค. 2549

[เล่มที่ 44] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ หน้าที่ 711

๑. ปฐมนิพพานสูตร

ว่าด้วยอายตนะ คือ นิพพาน

[๑๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์ และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้น ว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการ จุติ เป็นการอุปบัติ อายตนะนั้น หาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์

จบ ปฐมนิพพานสูตรที่ ๑


ความคิดเห็น 44    โดย ckitipor  วันที่ 26 ส.ค. 2549

[เล่มที่ 44] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ หน้าที่ 719

๒. ทุติยนิพพานสูตร

ว่าด้วยฐานะที่เห็นได้ยาก คือ นิพพาน

[๑๕๙] ฐานะที่บุคคลเห็นได้ยาก ชื่อว่านิพพาน ไม่มี ตัณหา นิพพานนั้นเป็นธรรมจริงแท้ ไม่เห็นได้โดย ง่ายเลย ตัณหาอันบุคคลแทงตลอดแล้ว กิเลสเครื่อง กังวลย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้รู้ ผู้เห็นอยู่.

จบ ทุติยนิพพานสูตรที่ ๒


ความคิดเห็น 45    โดย ckitipor  วันที่ 26 ส.ค. 2549

เมื่อไม่รู้ ย่อมเห็นผิดปฏิบัติผิด ผู้ไม่เห็นความต่างของข้อปฏิบัติ ว่ามีสัมมาปฏิบัติและมิจฉาปฏิบัติ เมื่อไม่รู้ ย่อมเห็นผิด เมื่อเห็นผิด ย่อมปฏิบัติผิด เพราะไม่เห็นทิฏฐิทั้งหลายตามความเป็นจริง

ธรรมทัศนะ วันที่ : 25-08-2549


ความคิดเห็น 47    โดย sutta  วันที่ 27 ส.ค. 2549

การบรรลุธรรมต้องเป็นไปตามลำดับขั้น เริ่มจากการฟังธรรมที่ถูกต้อง ไปใช่ไปแสวงหาวิธีปฏิบัติซึ่งไม่ตรงกับพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง ขอนำตัวอย่างของนางขุชชุตตรา เมื่อได้ฟังธรรมจากพระผู้มีพระภาค ก็บรรลุเป็นพระโสดาบันในขณะฟังธรรม ไม่ได้ไปปฏิบัติอะไรเลยอย่างที่ท่านกล่าวถึง ผู้ที่ฟังแล้วบรรลุธรรมต้องเป็นผู้ที่สะสมปัญญามาก่อน เมื่อได้ฟังอีก มีความเข้าใจเพิ่มขึ้น จนถึงขั้นที่จะบรรลุเป็นพระอริยบุคคลขั้นต่างๆ เมื่อนางขุชชุตตรานำธรรมที่ได้ฟังแล้วไปแสดงให้นางสามาวดีและ หญิงบริวารอีก 500 คนฟัง หญิงเหล่านั้นก็บรรลุเป็นพระโสดาบันเช่นกัน จะเห็นได้ว่าถ้าสะสมปัญญาและได้ฟังธรรมที่ถูกต้องจากผู้ใดก็ได้ ก็สามารถบรรลุธรรมได้ ไม่ต้องไปปฏิบัติอะไรเลย แต่อาศัยการฟังเป็นปัจจัยให้ปัญญาเจริญขึ้นนะครับ ลองอ่านพระสูตรที่นำมาให้ท่านอ่าน ประกอบการพิจารณาของท่านนะครับ

[เล่มที่ 40] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 281

.....ของนายสุมนมาลาการ รับดอกไม้ทั้งหลายเนืองนิตย์ ต่อมา นายมาลาการกล่าวกะนางขุชชุตตรานั้น ผู้มาในวันนั้น ว่า "ข้าพเจ้านิมนต์พระศาสดาไว้แล้ว,วันนี้ ข้าพเจ้าจักบูชาพระศาสดาด้วยดอกไม้อันเลิศ นางจงรออยู่ เป็นผู้ช่วยเหลือในการเลี้ยงพระฟังธรรม (เสียก่อน) แล้วจึงรับดอกไม้ไป" นางรับคำว่า "ได้" นายสุมนะ เลี้ยงภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขแล้ว ได้รับบาตรเพื่อประโยชน์แก่การการทำอนุโมทนา พระศาสดาทรงเริ่มธรรมเทศนาเป็นเครื่องอนุโมทนาแล้ว ฝ่ายนางขุชชุตตรา สดับธรรมกถาของพระศาสดาอยู่เทียว ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว ในวันทั้งหลายอื่น นางถือเอากหาปณะ ๔ ไว้สำหรับตน รับดอกไม้ไปด้วยกหาปณะ ๔ ในวันนั้น นางรับดอกไม้ไปด้วยกหาปณะทั้ง ๘ กหาปณะ

ลำดับนั้น นางสามาวดี กล่าวกะนางขุชชุตตรานั้นว่า "แม่พระราชาพระราชทานค่าดอกไม้แก่เราเพิ่มขึ้น ๒ เท่าหรือหนอ"

ขุชชุตตรา หามิได้ พระแม่เจ้า

สามาวดี เมื่อเป็นเช่นนี้ เพราะเหตุไร ดอกไม้จึงมากเล่า

ขุชชุตตรา ในวันทั้งหลายอื่น หม่อมฉันถือเอากหาปณะ ๔ ไว้สำหรับตน นำดอกไม้มาด้วยกหาปณะ ๔.

สามาวดี เพราะเหตุไร ในวันนี้ เจ้าจึงไม่ถือเอา

ขุชชุตตรา เพราะความที่หม่อมฉัน ฟังธรรมกถาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วบรรลุธรรม

ลำดับนั้น นางสามาวดีมิได้คุกคามนางขุชชุตตรานั้นเลยว่า "เหวย นางทาสีผู้ชั่วร้าย เจ้าจงให้กหาปณะที่เจ้าถือเอาแล้วตลอดกาล มีประมาณเท่านี้แก่เรา" กลับกล่าวว่า "แม่ เจ้าจงทำแม้เราทั้งหลายให้ดื่มอมฤตรสที่เจ้าดื่มแล้ว" เมื่อนางกล่าวว่า "ถ้าอย่างนั้น ขอพระแม่เจ้าจงยังหม่อมฉันให้อาบน้ำ" จึงให้นางอาบน้ำ ด้วยหม้อน้ำหอม ๑๖ หม้อ แล้วรับสั่งให้ประทานผ้าสาฎกเนื้อเกลี้ยง ๒ ผืน.

นางขุชชุตตรานั้น นุ่งผืนหนึ่ง ห่มผืนหนึ่ง ให้ปูอาสนะแล้ว ให้นำพัดมาอันหนึ่ง นั่งบนอาสนะ จับพัดอันวิจิตร เรียกมาตุคาม ๕๐๐ มา แล้วแสดงธรรมแก่หญิงเหล่านั้น โดยทำนองที่พระศาสดาทรงแสดงแล้วนั้นแล หญิงแม้ทั้งปวงเหล่านั้นฟังธรรมกถาของนางแล้ว ก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล หญิงแม้ทั้งปวงเหล่านั้น ไหว้นางขุชชุตตราแล้ว กล่าวว่า "แม่ จำเดิมแต่วันนี้ ท่านอย่าทำการงานอันเศร้าหมอง (งานไพร่) ท่านจงตั้งอยู่ในฐานะแห่งมารดาและฐานะแห่งอาจารย์ของพวกข้าพเจ้า ไปสู่สำนักพระศาสดา ฟังธรรมที่พระศาสดาทรงแสดงแล้ว จงกล่าวแก่พวกข้าพเจ้า" นางขุชชุตตราการทำอยู่อย่างนั้นในกาลอื่น ก็เป็นผู้ทรงพระไตรปิฎกแล้ว


ความคิดเห็น 49    โดย shumporn.t  วันที่ 29 ส.ค. 2549

จากหนังสือพระอภิธรรมมัตถสังคหะ รูปสังคหวิภาค กล่าวไว้ว่ารูปที่เกิดจากจิตเรียกว่า จิตตชรูป มี 7 อย่าง คือ

1. จิตตชรูปสามัญ

2. จิตตชรูปที่เกี่ยวกับการหัวเราะ

3. จิตตชรูปที่เกี่ยวกับการร้องไห้

4. จิตตชรูปที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวอิริยาบถย่อย

5. จิตตชรูปที่เกี่ยวกับการพูด

6. จิตตชรูปที่เกี่ยวกับอิริยาบถใหญ่ทั้ง 4

7. จิตตชรูปที่เกี่ยวกับอิริยาบถใหญ่ตั้งมั่น

อธิบาย

จิตตชรูปสามัญ หมายถึง จิตตชรูปที่เป็นไปตามปกติธรรมดาของร่างกายเช่น การหายใจเข้า หายใจออก การเต้นของหัวใจ เป็นต้น ฉะนั้น เมื่อมีจิตอยู่ก็ย่อมมีรูปที่เกิดจากจิต คือ มีลมหายใจเข้าออก แต่ลมหายใจมิใช่รูปปรมัตต์ กลุ่มรูปเกิดขึ้นเพียง อวินิพโภครูป 8 และวิการรูป 3 ตามสมควรเท่านั้น นี้คือความสำคัญว่าทำไมจึงต้องเที่ยบเคียงกับพระธรรมวินัย เพราะนักปฏิบัติส่วนมากเชื่อตามครูที่สอน โดยไม่ตรวจสอบเทียบเคียงกับพระธรรมวินัย เพียงปฏิบัติก็พอแล้ว และคิดเองว่าตรงแล้วเมื่อมีจิตย่อมต้องมีลมหายใจ ส่วนไหนที่กล่าวมานี้ไม่จริง สอบสวนได้ แต่ถ้ายอมรับว่าจริง ต้องยอมรับด้วยว่าที่เข้าใจว่า พอมีสมาธิแล้วไม่มีลมหายใจนั้น เป็นการเข้าใจผิด เพราะทั้งหมดที่ยกมานี้ เป็นการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดิฉันมิได้กล่าวด้วยปัญญาของตัวเอง


ความคิดเห็น 51    โดย email  วันที่ 30 ส.ค. 2549

ลักษณะผู้ว่าง่าย

[เล่มที่ 76] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 502

[๘๕๓] โสวจัสสตา เป็นไฉน กิริยาของผู้ว่าง่าย ภาวะแห่งผู้ว่าง่าย ความเป็นผู้ว่าง่าย ความไม่ยึดข้างขัดขืน ความไม่พอใจทางโต้แย้ง ความเอื้อเฟื้อ ภาวะแห่งผู้เอื้อเฟื้อความเป็นผู้ทั้งเคารพ ทั้งรับฟัง ในเมื่อถูกว่ากล่าวโดยสหธรรม นี้เรียกว่า โสวจัสสตา


ความคิดเห็น 52    โดย orawan.c  วันที่ 30 ส.ค. 2549

ขออนุโมทนากับความคิดเห็นถูก และจะดีเป็นอย่างยิ่งถ้าทำให้ผู้เห็นผิดมีโอกาสเห็นถูก


ความคิดเห็น 54    โดย sutta  วันที่ 2 ก.ย. 2549

พระธรรมไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะคิดเองได้ ต้องศึกษาด้วยความละเอียดรอบคอบนะครับ และต้องยึดหลักพระธรรมวินัยที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ลองพิจารณาเรื่องลมหายใจที่นำมาจากพระไตรปิฎกประกอบกับการปฏิบัติของท่านนะครับ

[เล่มที่ 2] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 363

อุบายเป็นเหตุนำอานาปานัสสติกรรมฐานมา

ในอธิการว่าด้วยอานาปานัสสติกรรรมฐานนั้น มีอุบายเป็นเครื่องนำมาดังต่อไปนี้:- จริงอยู่ ภิกษุนั้น รู้ว่ากรรมฐานไม่ปรากฏ ควรพิจารณาสำเหนียกอย่างนี้ว่า ชื่อว่า ลมหายใจเข้าและหายใจออกนี้ มีอยู่ในที่ไหน? ไม่มีในที่ไหน?ของใครมี? ของใครไม่มี? ภายหลัง เมื่อภิกษุนั้น พิจารณาดูอยู่อย่างนี้ ก็รู้ได้ว่า ลมหายใจเข้าและหายใจออกนี้ (ของทารกผู้อยู่) ภายในท้องของมารดา ไม่มี พวกชนผู้ดำน้ำก็ไม่มี. พวกอสัญญีสัตว์ คนตายแล้ว ผู้เข้าจตุตถฌาน ท่านผู้พร้อมเพรียงด้วยรูปภพและอรูปภพ ท่านเข้านิโรธ ก็ไม่มีเหมือนกัน แล้วพึงตัก-เตือนตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า แน่ะบัณฑิต ! ตัวเธอไม่ใช่ผู้อยู่ในท้องของมารดาไม่ใช่ผู้ดำน้ำ ไม่ใช่เป็นอสัญญีสัตว์ ไม่ใช่คนตาย ไม่ใช่ผู้เข้าจตุตถฌานไม่ใช่ผู้พร้อมเพรียง ด้วยรูปภพ และอรูปภพ ไม่ใช่ผู้เข้านิโรธ มิใช่หรือ?ตัวเธอยังมีลมหายใจเข้าและหายใจออกอยู่แท้ๆ , แต่ตัวเธอก็ไม่สามารถจะกำหนดได้ เพราะยังมีปัญญาอ่อน.


ความคิดเห็น 55    โดย sutta  วันที่ 2 ก.ย. 2549

มิจฉาทิฏฐิทำให้ต้องวนเวียนไปในสังสารวัฏฏ์

จริงอยู่อนันตริยกรรมทั้งหลาย ชื่อว่า มีโทษมาก มิจฉาทิฏฐินั่นเทียว มีโทษมากกว่านั้น อนันตริยกรรมยังกำหนดโทษได้ แต่การกำหนดนิยตมิจฉาทิฏฐิย่อมไม่มี การออกจากภพย่อมไม่มี กรรมใดๆ ก็ตามที่ทำแล้วย่อมให้ผลแต่ความเห็นผิดนี้ ตราบใดที่ยังไม่หมดสิ้น และไม่อบรมความเห็นถูกผู้นั้นย่อมต้องวนเวียนไปในสังสารวัฏฏ์ ไม่มีกำหนดได้ว่า เมื่อไรจึงจะพ้น

ธรรมทัศนะ วันที่ : 28-07-2549


ความคิดเห็น 57    โดย shumporn.t  วันที่ 3 ก.ย. 2549

บางคนเข้าใจผิดว่า มีสติอยู่ตลอดหรือใช้สติได้ เช่น เมื่อขับรถอยู่ก็รู้ตัวว่าขับอยู่เมื่อเดินข้ามถนนก็รู้ตัวว่าเดินข้ามถนนอยู่ คือ การรู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลาว่า ทำอะไรอยู่นั้น เข้าใจว่าเป็นลักษณะของสติ แต่สติในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ในพระอภิธรรมปิฏกกล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า สติเป็นเจตสิกที่ต้องเกิดกับโสภณจิตเท่านั้นเกิดกับอกุศลจิตไม่ได้เลย เมื่อผู้ไม่ศึกษา ก็อาจเข้าใจผิดว่านั่นเป็นสติหรือกำลังใช้สติ ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา รวมทั้งสติก็เป็นอนัตตา มีเหตุปัจจัย สติจึงเกิดขึ้นทำกิจของสติ ไม่มีตัวเราใช้สติ ต้องอาศัยการอบรมเจริญ เริ่มต้นด้วยการฟังธรรมให้เข้าใจ ดังนั้น เพื่อให้แน่ใจว่าที่ท่านเข้าใจว่าเป็นสติ หรือเข้าใจว่าเป็นข้อปฏิบัติที่ถูกต้องเทียบเคียงกับพระธรรมวินัยเท่านั้น


ความคิดเห็น 58    โดย shumporn.t  วันที่ 3 ก.ย. 2549

มีหลายท่านบอกว่าอยากจะปฏิบัติธรรม ที่จริงการปฏิบัติธรรม คือการละอกุศล ละโลภะโทสะ โมหะ ถ้ากำลังโลภ การปฏิบัติธรรมคือละโลภะในขณะที่โลภะกำลังเกิดนั่นคือปฏิบัติธรรม ถ้าเป็นผู้ที่จะปฏิบัติธรรม ไม่ต้องรอเวลาอื่น ขณะที่กำลังโกรธนั่นเอง ละความโกรธ เป็นความไม่โกรธ ขณะนั้นเป็นการปฏิบัติธรรม กำลังริษยา กำลังตระหนี่หรืออกุศลใดๆ ก็ตาม ชึ่งกำลังเกิดในขณะนั้น อยากจะปฏิบัติ คือละอกุศลในขณะนั้น แต่การละอกุศลเป็นเรื่องทำไม่ได้อย่างที่ใจคิดหรือหวัง อาจจะมีหลายท่านที่ตั้งปณิธานหรือว่ามีความตั้งใจว่าจะละอกุศล แต่พอถึงเวลาจริงๆ ไม่มีทางที่จะเป็นไปได้ เพราะแม้พระโพธิสัตว์ที่ได้บำเพ็ญบารมีมาหลายพระชาติ ก็ยังต้องเป็นไปตามกำลังของอกุศล ซึ่งยังไม่ได้ดับ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก

บารมีในชีวิตประจำวัน


ความคิดเห็น 59    โดย email  วันที่ 5 ก.ย. 2549

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 266

บรรดาบทเหล่านั้น ปุถุชนผู้ได้เจโตปริยญาณ ย่อมรู้จิตของปุถุชนด้วยกัน แต่ไม่รู้จิตของพระอริยเจ้า. ถึงในพระอริยเจ้าทั้งหลาย พระอริยบุคคลชั้นต่ำ ย่อมไม่รู้จิตของพระอริยบุคคลชั้นสูง แต่พระอริยบุคคลชั้นสูง รู้จิตของพระอริยบุคคลชั้นต่ำ.

อ่านข้อความจากพระไตรปิฎกข้าต้นนี้แล้ว ท่านทั้งหลายที่ยังเป็นปุถุชนคงมิอาจทราบได้เลยว่าท่านผู้ใดเป็นพระอริยบุคคล นอกจากฟังจากคำร่ำลือต่อๆ กันมา และท่านที่เป็นอริยบุคคล ท่านคงไม่ออกมาประกาศตนเองอย่างแน่นอนนะครับ


ความคิดเห็น 62    โดย sutta  วันที่ 5 ก.ย. 2549

โอกาสที่จะเข้าใจผิด พูดผิด ปฏิบัติผิดมีได้ง่าย

การอธิบายธรรมที่เป็นผลจากการตรัสรู้ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเป็นอันตรายมาก เพราะโอกาสที่จะเข้าใจผิด พูดผิด ปฏิบัติผิดมีได้ง่าย พระไตรปิฎกเป็นเหมือนรัฐธรรมนูญ กฎหมายทั่วไปจะขัดแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญไม่ได้ฉันใด การอธิบายธรรมขัดแย้งกับพระไตรปิฎก พุทธศาสนิกชนที่ดีย่อมถือว่าทำไม่ได้เช่นเดียวกันฉันนั้น

ธรรมทัศนะ วันที่ : 05-09-2549


ความคิดเห็น 64    โดย เจตสิก  วันที่ 5 ก.ย. 2549
ผมขอแนะนำว่า ก่อนอื่นควรศึกษาหลักพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อน แล้วจะรู้ว่า อะไรคือคำสอนที่แท้จริง พระภิกษุที่ประพฤติตามพระวินัยเป็นอย่างไร ผู้ที่มีคุณธรรมควรยกย่องเป็นอย่างไร ถ้าไปยกย่องผู้ที่ไม่ควรยกย่องมีโทษอย่างไร อีกอย่างหนึ่ง คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ใช่เพียงแค่จิตสงบเท่านั้นต้องรู้ตามความเป็นจริง จึงจะละกิเลสอันเป็นตัวต้นเหตุแห่งปัญหาทั้งหมด

ความคิดเห็น 65    โดย shumporn.t  วันที่ 5 ก.ย. 2549

ดิฉันมีสหายธรรมท่านหนึ่ง บรรลุความเป็นพระโสดาบันค่ะ ด้วยไม่รู้ว่าบรรลุต้องให้อาจารย์สอบอารมณ์ค่ะ ถึงรู้ว่าได้โสดาบันแล้ว แต่ภายหลังเกิดเฉลียวใจว่าทำไมเราเป็นพระโสดาบัน แถมได้จตุตถฌานด้วย ทำไมถึงโกรธง่ายและฆ่ายุงด้วยใครว่าให้หน่อยก็ไม่ได้ ใครพูดไม่ตรงกับความรู้ของตัวเองไม่ยอมค่ะ เอาให้ถึงที่สุดท่านมีอัธยาศัยน่ารัก เป็นคนใจดี โอบอ้อมอารี ไปฟังธรรมที่วัดด้วยกันทุกวันอาทิตย์ก่อนที่ท่านจะเสียชีวิตไม่นาน เราได้คุยกัน ท่านบอกว่า ถ้าไม่ได้ฟังธรรมจากท่านอาจารย์สุจินต์ และพระอาจารย์ที่วัด สงสัยป้าต้องตกนรกแน่ เพราะหลงเข้าใจผิดมาตั้งนาน เชื่อพระที่สอนเพราะท่านมีชื่อเสียงมาก ลูกศิษย์เต็มบ้านเต็มเมือง ที่นี้ป้าไม่เอาแล้ว เพราะไปนรกหรือสวรรค์ ตัวเราเองเป็นผู้ไป จะไม่เชื่อใครง่ายๆ จะตรวจสอบแล้วตรวจสอบอีกเอาให้แน่ๆ ค่ะ เป็นเรื่องราวชีวิตจริงของท่านที่มีศรัทธาในพุทธศาสนาท่านหนึ่ง ในปัจจุบันนี้จะมีใครเหมือนท่านผู้นี้หรือเปล่า ตัวท่านเองเป็นผู้ตรวจสอบตัวท่านเองโดยละเอียดโดยรอบคอบ ด้วยความซื่อตรง ด้วยความเคารพยำเกรงต่อพระสัทธรรมเสมือนหนึ่งท่านได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


ความคิดเห็น 68    โดย shumporn.t  วันที่ 5 ก.ย. 2549

ส่วนใหญ่ผู้ที่ทำสมาธิ ไม่ต้องการให้จิตวุ่นวาย เดือนร้อน กังวลไปกับเรื่องราวต่างๆ พอใจที่จะให้จิตตั้งมั่นอยู่ที่อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง โดยไม่รู้ว่าขณะที่กำลังต้องการให้จิตจดจ่อที่อารมณ์ที่ต้องการนั้น ไม่ใช่มหากุศลญาณสัมปยุตต์ การเจริญสมถ-ภาวนาเป็นการเจริญมหากุศลญาณสัมปยุตต์ ผู้ที่จะเจริญสมถภาวนา ต้องเป็นผู้มีปัญญาเห็นโทษของอกุศลทั้งโลภะและโทสะ ไม่ใช่เห็นแต่โทษของโทสมูลจิตซึ่งเป็นความกังวลใจ เดือดร้อนใจต่างๆ เท่านั้น ผู้ที่ไม่รู้จักกิเลสและไม่เห็นโทษของโลภะ ย่อมไม่เจริญสมถภาวนา ฉะนั้น ผู้ที่เจริญสมถภาวนาจึงเป็นผู้ตรง มีปัญญาเห็นโทษของโลภะ และสติสัมปชัญญะ รู้ขณะที่ต่างกันของโลภมูลจิตและมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต จึงจะเจริญมหากุศลญาณสัมปยุตต์เพิ่มขึ้นๆ จนอกุศลจิตไม่เกิดแทรกคั่นได้ จนกว่าจะเป็นอุปจารสมาธิ แล้วบรรลุอัปปนาสมาธิ คือ ปฐมฌานกุศลจิตประกอบด้วยองค์ฌาน ๕ คือ วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา


ความคิดเห็น 71    โดย sutta  วันที่ 9 ก.ย. 2549

มืดตื้อ เพราะถูกอวิชชาหุ้มห่อ

"ผู้ประมาท" นอกจากจะมืดตื้อ แล้วยังถูกใส่ไว้ในกรงกิเลส ถูกนำเข้าไปในฝักของอวิชชา ถูกอวิชชาหุ้มห่อ ดุจสัตว์ที่เกิดในฟองไข่ นอกจากนั้นสภาพที่ถูกอวิชชาหุ้มห่อไว้นั้น ยังยุ่งดุจเส้นด้ายของนายช่างหูกที่เก็บไว้ไม่ดี ถูกหนูกัด ย่อมยุ่งเหยิงในที่นั้นๆ เหมือนผู้ที่มากไปด้วยความเห็นผิด คิดผิด ประพฤติ ปฏิบัติผิด เหมือนเส้นด้ายที่ยุ่ง ซ้ำนายช่างหูกยังเอาไปคลุกน้ำข้าว ขยำ ทำให้ติดกันเป็นปม

สัตว์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้น ไม่อาจรู้เหตุและผลของสภาพธรรมทั้งหลายเป็นผู้พลาดพลั้ง ยุ่งยาก วุ่นวายในปัจจัยคือ นามธรรม และ รูปธรรม

สัตว์อื่นนอกจากพระโพธิสัตว์แล้ว ที่จะสามารถจะประพฤติเหตุปัจจัย ให้ตรงต่อการพ้นจากสังสารโดยธรรมดาของตน ย่อมไม่มี

ธรรมทัศนะ : วันที่ : 08-09-2549


ความคิดเห็น 72    โดย sutta  วันที่ 9 ก.ย. 2549

ไม่สามารถคิด หรือปฏิบัติเองโดยไม่ฟังพระธรรม

ธรรมเป็นเรื่องละเอียด ไม่สามารถคิด หรือปฏิบัติเองโดยไม่ฟังพระธรรม นี่เป็นข้อที่สำคัญมาก
ธรรมทัศนะ วันที่ : 25-06-2549


ความคิดเห็น 73    โดย sutta  วันที่ 10 ก.ย. 2549

ฟังพระธรรมแล้วก็ได้รู้อริยสัจจธรรม

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้เพื่อให้บุคคลอื่นศึกษา และอบรมเจริญ ปัญญาจนดับกิเลสได้ด้วย ซึ่งในครั้งที่พระผู้มีพระภาคยังไม่ปรินิพพานนั้น มีพระสงฆ์สาวก เป็นอันมาก เมื่อได้ฟังพระธรรมแล้วก็ได้รู้อริยสัจจธรรม บรรลุคุณธรรมเป็นพระอริยสาวก เป็นจำนวนไม่น้อยเลย เมื่อกาลสมัยล่วงมา ก็สังเกตได้จากการศึกษาพระธรรมของพุทธ ศาสนิกชนว่ามีมากหรือน้อย

ธรรมทัศนะ วันที่ : 08-09-2549


ความคิดเห็น 74    โดย sutta  วันที่ 10 ก.ย. 2549

บรรลุธรรมกันอย่างไร ...

การบรรลุธรรม ...นายสุปปพุทธะ

[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 500

ได้ยินว่า เทวบุตรนั้น เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่ทรงอุบัติ ได้เป็นพระเจ้ากรุงพาราณสี ในแคว้นกาสี ทรงกระทำประทักษิณพระนคร ซึ่งยกธงชัยและธงแผ่นผ้าขึ้น ประดับด้วยเครื่องประดับพระนครอย่างดี ด้วยสิริสมบัติของพระองค์ อันฝูงชนจ้องมองเป็นตาเดียวกัน. ก็สมัยนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง มีอินทรีย์สงบ มีใจสงบ ถึงพร้อมด้วยการฝึกตนอย่างดี มาจากเขาคันธมาทน์ เที่ยวไปบิณฑบาตในเมืองนั้น. ฝ่ายมหาชน ละความยำเกรง พระราชา มองดูพระปัจเจกพุทธเจ้าอย่างเดียว. พระราชาทรงดำริว่า เดี๋ยวนี้ ในหมู่ชนนี้ แม้คนหนึ่ง ก็ไม่มองดูเรา นี่เรื่องอะไรกัน เมื่อมองดู ก็เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า. พระปัจเจกพุทธเจ้าแม้นั้นก็ชราอายุมาก. แม้จีวรของทานก็คร่ำคร่า. เส้นด้ายห้อยย้อยจากที่นั้นๆ . พระราชาทอดพระเนตรเห็นพระ-ปัจเจกพุทธเจ้า ผู้บำเพ็ญบารมีมาตลอดสองอสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป. เพียงจิตเลื่อมใส หรือเพียงยกมือไหว้ก็ไม่มี. พระราชานั้น ทรงโกรธว่า ผู้นี้เห็นจะเป็นนักบวชไม่มองดูเราด้วยความริษยา ทรงดำริว่า นี่ใครห่มผ้าขี้เรือนแล้วทรงถ่มเขฬะเสด็จหลีกไป. ด้วยวิบากของกรรมนั้น พระราชา จึงไปเกิดในมหานรก ด้วยวิบากที่เหลือ มาสู่มนุษยโลก ถือปฏิสนธิในครรภ์ของหญิงที่ ยากจนข้นแค้น ในกรุงราชคฤห์. ตั้งแต่เวลาที่ถือปฏิสนธิ หญิงนั้น ไม่ได้อาหารเต็มท้องเพียงน้ำข้าว. เมื่อทารกนั้นอยู่ในห้อง หูและจมูกแหว่งวิ่น.เมื่อเด็กออกจากท้องมารดา เป็นโรคเรื้อน มีผมหงอกขาวโพลน. ชื่อว่ามารดาบิดาเป็นผู้กระกำลำบาก. ด้วยเหตุนั้น มารดาของทารกนั้น ได้นำน้ำข้าวบ้าง น้ำบ้างให้แก่ทารกตลอดเวลาที่ไม่สามารถจะถือกระเบื้องเที่ยวไปได้ก็เมื่อถึงคราวที่ทารกนั้น สามารถเที่ยวขอทานได้ มารดา จึงมอบกระเบื้องให้ในมือกล่าวว่า เจ้าจักรับผิดชอบตามกรรมของตนแล้วหลีกไป. ตั้งแต่นั้นมา เนื้อของทารกนั้นขาดไปจากตัวทั่วทั้งร่างกาย. น้ำเหลืองก็ไหล.ได้รับเวทนาหนัก. อาศัยตรอกนอนร้องโหยหวนตลอดคืน. ด้วยเสียงปริเทวนาน่าสงสารของเด็กนั้น พวกมนุษย์ในทุกถนนไม่ได้นอนตลอดคืน. ตั้งแต่นั้นมา เขาจึงมีชื่อว่า สุปปพุทธะ เพราะอรรถว่า ทำคนนอนสบายให้ตื่น.
[เล่มที่ 25]
ครั้นสมัยต่อมา เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จถึงกรุงราชคฤห์ ชาวเมืองนิมนต์พระศาสดาสร้างมหามณฑป ท่ามกลางพระนคร ได้พากันถวายทาน. แม้นายสุปปพุทธะ เป็นโรคเรื้อนก็ได้ไปนั่ง ณ ที่ใกล้โรงทานชาวเมืองอังคาสพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยของเคี้ยวของฉันอันประณีต ได้ให้ข้าวยาคู และภัตรแก่สุปปพุทธะบ้าง. เมื่อสัปปพุทธะบริโภคโภชนะอันประณีตแล้ว ก็มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง. ในที่สุดภัตกิจ พระศาสดาทรงกระทำอนุโมทนาแล้ว ทรงแสดงสัจธรรม. นายสุปปพุทธะนั่งในที่ที่ตนนั่งนั้น เมื่อจบเทศนาส่งญาณไปตามกระแสของเทศนา ได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล.
พระศาสดาทรงลุกขึ้นเสด็จไปสู่พระวิหาร. แม้นายสุปปพุทธะนั้น ก็สวมรองเท้ามีเชิงถือกระเบื้อง ยันไม้เท้าไปที่อยู่ของตน ถูกแม่โคขวิดตาย ไปบังเกิดในเทวโลกในวาระจิตที่สอง ดุจทำลายหม้อดินแล้วได้หม้อทองคำอาศัยบุญของตนจึงรุ่งเรืองล่วงเทวดาเหล่าอื่น


ความคิดเห็น 75    โดย sutta  วันที่ 10 ก.ย. 2549

[เล่มที่ 1] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 58

พระพุทธพจน์มี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์

พระพุทธพจน์มี ๘๔,๐๐๐ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งพระธรรมขันธ์อย่างไร ? จริงอยู่ พระพุทธพจน์นั้นทั้งหมดเทียว มี ๘๔,๐๐๐ ประเภทด้วยอำนาจแห่งพระธรรมขันธ์ ที่พระอานนทเถระแสดงไว้แล้วอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าเรียนเอาพระธรรม จากพุทธ- สำนัก ๘๒,๐๐๐ จากสำนักภิกษุ ๒,๐๐๐ พระธรรมที่เป็นไปในหทัยของข้าพเจ้า จึงมี จำนวน ๘๔,๐๐๐ ดังนี้.

วิธีคำนวณนับพระธรรมขันธ์เฉพาะขันธ์หนึ่งๆ

บรรดาพระธรรมขันธ์ ๘๔,๐๐๐ นั้น พระสูตรที่มีอนุสนธิเดียวจัดเป็นหนึ่งพระธรรมขันธ์. ในพระสูตรที่มีอนุสนธิมาก นับพระธรรมขันธ์ด้วยอำนาจแห่งอนุสนธิ. ในคาถาพันธ์ทั้งหลาย คำถามปัญหา (ข้อหนึ่ง) จัดเป็นหนึ่งพระธรรมขันธ์, คำวิสัชนา (ข้อหนึ่ง) จัดเป็นหนึ่งพระธรรมขันธ์. ในพระอภิธรรม การจำแนกติกะทุกะแต่ละติกะทุกะ และการจำแนกวารจิตแต่ละวารจิต จัดเป็นหนึ่งพระธรรมขันธ์. ในพระวินัย มีวัตถุ มีมาติกา มีบทภาชนีย์ มีอันตราบัติ มีอาบัติมีอนาบัติ มีกำหนดติกะ บรรดาวัตถุและมาติกาเป็นต้นเหล่านั้น ส่วนหนึ่งๆ พึงทราบว่า เป็นพระธรรมขันธ์อันหนึ่งๆ .พระพุทธพจน์ (ทั้งหมด) มี ๘๔,๐๐๐ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งพระธรรมขันธ์ ดังพรรณนามาฉะนี้

จะเห็นได้ว่าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมอย่างละเอียด เพื่อเกื้อกูลผู้ฟังให้เกิดความเข้าใจถ้าไม่ฟัง แล้วไปทำอย่างอื่นจะเข้าใจพระธรรมได้อย่างไร เพราะฉะนั้น ผู้ที่เป็นชาวพุทธควรศึกษาพระธรรมด้วยความเคารพนอบน้อมต่อพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าไม่จำเป็นต้องศึกษาโดยละเอียด พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า คงไม่ต้องแสดงธรรมอย่างละเอียดเช่นนี้ โปรดพิจารณาด้วยความละเอียดรอบคอบ เพื่อจะได้รับประโยชน์จากพระธรรมจริงๆ


ความคิดเห็น 77    โดย shumporn.t  วันที่ 10 ก.ย. 2549

แม้ในการบริกัมม์กสิณ คือ การเริ่มบำเพ็ญสมถภาวนานั้น ในร้อยคนหรือในพันคนย่อม สามารถจะกระทำสำเร็จได้เพียงคนเดียว และเมื่อเจริญสมถภาวนาคือบริกัมม์กสิณไปแล้ว ที่อุคคหนิมิตจะเกิดได้ในร้อยคนหรือพันคนนั้นย่อมสามารถเพียงคนเดียว เมื่ออุคคหนิมิต เกิดแล้ว การรักษานิมิตไว้ และการประคับประคองจิตให้สงบมั่นคงขึ้นจนปฏิภาคนิมิตเกิด แล้วบรรลุอัปปนาสมาธินั้น ในร้อยคนหรือพันคนย่อมสามารถเพียงคนเดียว ในบรรดาผู้ที่ บรรลุฌานสมาบัติ 8 แล้วนั้น ในร้อยคนพันคนจะฝึกจิตโดยอาการ 14 นี้ได้เพียงคนเดียว ในบรรดาผู้ที่ฝึกจิตโดยอาการ 14 ได้แล้ว ในร้อยคนหรือพันคนจะสามารถแสดงฤทธิ์ได้ เพียงคนเดียว และในบรรดาผู้แสดงฤทธิ์ได้ร้อยคนหรือพันคนนั้น ผู้แสดงฤทธิ์ได้อย่าง ฉับพลัน ก็จะสามารถสักคนเดียว อ่านเพิ่มเติมได้จาก หนังสือปรมัตต์สังเขปและวิสุทธิ มรรค ผู้ที่ศึกษาเข้าใจเหตุและผลของคุณวิเศษทั้งหลายโดยละเอียดจึงรู้ได้ว่าพฤติการณ์ ใดเป็นคุณวิเศษที่แท้จริงและพฤติการณ์ใดไม่ใช่คุณวิเศษที่แท้จริง


ความคิดเห็น 78    โดย shumporn.t  วันที่ 11 ก.ย. 2549

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะ และความสรรเสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่ มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า เพราะฉะนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักละ ลาภสักการะและความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้วเสีย และลาภสักการะและความสรรเสริญ ที่บังเกิดขึ้นแล้ว จักครอบงำจิตของเราทั้งหลายตั้งอยู่ไม่ได้ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่าง นี้แล


ความคิดเห็น 81    โดย shumporn.t  วันที่ 11 ก.ย. 2549

มีหลายท่านบอกว่าอยากจะปฏิบัติธรรม ที่จริงการปฏิบัติธรรม คือการละอกุศล ละโลภะ โทสะ โมหะ ถ้ากำลังโลภ การปฏิบัติธรรมคือละโลภะในขณะที่โลภะกำลังเกิด นั่นคือ ปฏิบัติธรรม ถ้าเป็นผู้ที่จะปฏิบัติธรรม ไม่ต้องรอเวลาอื่น ขณะที่กำลังโกรธนั่นเอง ละ ความโกรธ เป็นความไม่โกรธ ขณะนั้นเป็นการปฏิบัติธรรม กำลังริษยา กำลังตระหนี่ หรืออกุศลใดๆ ก็ตาม ชึ่งกำลังเกิดในขณะนั้น อยากจะปฏิบัติ คือละอกุศลในขณะนั้น แต่การละอกุศลเป็นเรื่องทำไม่ได้อย่างที่ใจคิดหรือหวัง อาจจะมีหลายท่านที่ตั้งปณิธาน หรือว่ามีความตั้งใจว่าจะละอกุศล แต่พอถึงเวลาจริงๆ ไม่มีทางที่จะเป็นไปได้ เพราะแม้ พระโพธิสัตว์ที่ได้บำเพ็ญบารมีมาหลายพระชาติ ก็ยังต้องเป็นไปตามกำลังของอกุศล ซึ่ง ยังไม่ได้ดับ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก บารมีในชีวิตประจำวัน


ความคิดเห็น 82    โดย shumporn.t  วันที่ 11 ก.ย. 2549

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสส

บุคคลสูงสุดที่เราควรเคารพบูชาและรับฟัง คือ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบแล้ว


ความคิดเห็น 84    โดย shumporn.t  วันที่ 11 ก.ย. 2549

[เล่มที่ 1] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 58

พระพุทธพจน์มี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์

พระพุทธพจน์มี ๘๔,๐๐๐ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งพระธรรมขันธ์อย่างไร ? จริงอยู่ พระพุทธพจน์นั้นทั้งหมดเทียว มี ๘๔,๐๐๐ ประเภทด้วยอำนาจแห่งพระธรรมขันธ์ ที่พระอานนทเถระแสดงไว้แล้วอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าเรียนเอาพระธรรม จากพุทธ- สำนัก ๘๒,๐๐๐ จากสำนักภิกษุ ๒,๐๐๐ พระธรรมที่เป็นไปในหทัยของข้าพเจ้า จึงมี จำนวน ๘๔,๐๐๐ ดังนี้.

วิธีคำนวณนับพระธรรมขันธ์เฉพาะขันธ์หนึ่งๆ

บรรดาพระธรรมขันธ์ ๘๔,๐๐๐ นั้น พระสูตรที่มีอนุสนธิเดียวจัดเป็นหนึ่งพระธรรมขันธ์. ในพระสูตรที่มีอนุสนธิมาก นับพระธรรมขันธ์ด้วยอำนาจแห่งอนุสนธิ. ในคาถาพันธ์ทั้งหลาย คำถามปัญหา (ข้อหนึ่ง) จัดเป็นหนึ่งพระธรรมขันธ์, คำวิสัชนา (ข้อหนึ่ง) จัดเป็นหนึ่งพระธรรมขันธ์. ในพระอภิธรรม การจำแนกติกะทุกะแต่ละติกะทุกะ และการจำแนกวารจิตแต่ละวารจิต จัดเป็นหนึ่งพระธรรมขันธ์. ในพระวินัย มีวัตถุ มีมาติกา มีบทภาชนีย์ มีอันตราบัติ มีอาบัติมีอนาบัติ มีกำหนดติกะ บรรดาวัตถุและมาติกาเป็นต้นเหล่านั้น ส่วนหนึ่งๆ พึงทราบว่า เป็นพระธรรมขันธ์อันหนึ่งๆ .พระพุทธพจน์ (ทั้งหมด) มี ๘๔,๐๐๐ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งพระธรรมขันธ์ ดังพรรณนามาฉะนี้


ความคิดเห็น 85    โดย shumporn.t  วันที่ 11 ก.ย. 2549

การบรรลุธรรม ...องคุลิมาลเถร

[เล่มที่ 53] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 136

อรรถกถาองคุลิมาลเถรคาถาที่ ๘

คาถาของท่านพระองคุลิมาลเถระ มีคำเริ่มต้นว่า คจฺฉํ วเทสิ สมณฐิโตมฺหิ ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ? แม้พระเถระนี้ ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าแต่ปางก่อน สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งวิวัฏฏะไว้ในภพนั้นๆ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดเป็นบุตรพราหมณ์นามว่าภัคควะ ผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าโกศลในเมืองสาวัตถี, ในวันที่ท่านเกิด อาวุธนานาชนิดทั่วทั้งพระนครลุกโพลง และพระแสงมงคลของพระราชา ซึ่งวางอยู่บนตั่งที่บรรทมก็ลุกโพลงด้วย พระราชาทรงเห็นดังนั้นทรงกลัวหวาดเสียวบรรทมไม่หลับ.

ฯลฯ

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงอิทธาภิสังขาร โดย ประการที่องคุลิมาลแม้จะวิ่งจนสุดแรง ก็ไม่อาจทันพระองค์ทั้งที่พระองค์เสด็จไปโดยพระอิริยาบถปกติได้. เขาถอยความเร็วลง หายใจครืดๆ เหงื่อไหลออกจากรักแร้ทั้งสองข้าง ไม่อาจแม้จะยกเท้าขึ้น จึงยืนเหมือนตอไม้ กล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า หยุดเถิด หยุดเถิด สมณะ พระผู้มี-พระภาคเจ้าแม้เสด็จดำเนินอยู่ จึงตรัสว่า เราหยุดแล้ว องคุลิมาล เธอแหละจงหยุด. เขาคิดว่า พระสมณศากยบุตรเหล่านี้แล มีปกติพูดคำสัจจริงสมณะนี้ทั้งๆ ที่เดินไปก็พูดว่า เราหยุดแล้ว องคุลิมาล เธอนั่นแหละจงหยุด. ก็เราเป็นผู้หยุดแล้ว สมณะนี้มีความประสงค์อย่างไรแล เราจักถามให้รู้ความประสงค์นั้น จึงได้กล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า ดูก่อนสมณะ ท่านสิกำลังเดินอยู่ กลับกล่าวว่า เรา หยุดแล้ว ส่วนข้าพเจ้าหยุดแล้ว ท่านกลับกล่าวว่าไม่ หยุด ดูก่อนสมณะ ข้าพเจ้าขอถามความนี้กะท่าน ท่าน กำลังเดินอยู่ เพราะเหตุไร จึงกล่าวว่าหยุดแล้ว ส่วน ข้าพเจ้าสิ หยุดแล้ว ท่านกลับกล่าวว่าไม่หยุด.

... เมื่อองคุลิมาลกล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มี- พระภาคเจ้าจึงได้ตรัสกะเขาด้วยพระคาถาว่า. ดูก่อนองคุลิมาล เราวางอาชญาในสัตว์ทั้งปวงเสีย แล้ว ส่วนท่านสิ ยังไม่สำรวมรวมสัตว์ทั้งหลาย ฉะนั้น เราจึงชื่อว่าหยุดแล้ว ส่วนท่านชื่อว่ายังไม่หยุด.ลำดับนั้น องคุลิมาลเกิดความปีติโสมนัสว่า พระสมณะนี้ คือพระผู้มี-พระภาคเจ้าพระองค์นั้น เพราะเคยได้ฟังเกียรติศัพท์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประกาศคุณตามความเป็นจริง ผู้ทรงทำชาวโลกทั้งสิ้นให้เอิบอาบอยู่ดุจน้ำมันเอิบอาบอยู่บนพื้นน้ำฉะนั้น และเพราะเหตุสมบัติและญาณถึงความแก่กล้าแล้ว จึงคิดว่าการบันลือสีหนาทใหญ่นี้ การกระหึ่มใหญ่นี้จักไม่มีแก่ผู้อื่น การกระหึ่มนี้เห็นจะเป็นของพระสมณโคดม เราเป็นผู้อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณใหญ่ทรงเห็นแล้ว พระผู้มีพระภาค-เจ้าเสด็จมาที่นี้ เพื่อกระทำการสงเคราะห์เรา จึงได้กล่าวคาถานี้ว่า

พระองค์เป็นสมณะที่ชาวโลกกับทั้งเทวโลกบูชาด้วยเครื่องบูชามากมาย ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เพิ่งจะเสด็จมาถึงป่าใหญ่ เพื่อโปรดข้าพระองค์โดยกาลนาน หนอ ข้าพระองค์ได้สดับพระคาถาซึ่งประกอบด้วยเหตุ ผลของพระองค์แล้ว จักละเลิกบาปกรรมตั้งพันเสีย.

ฯลฯ

พระเถระได้การบรรพชาและอุปสมบท โดยความเป็นเอหิภิกขุอย่างนี้แล้ว กระทำวิปัสสนากรรมได้บรรลุพระอรหัตแล้ว เสวยวิมุตติสุขอยู่เกิดความปีติโสมนัส จึงกล่าวคาถา ๓ คาถาโดยอุทานว่า ผู้ใดประมาทแล้วในตอนต้น ภายหลังเขาไม่ประมาท ผู้นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้ว จากหมอกฉะนั้น. บาปกรรมที่ทำไว้แล้วอันผู้ใดปิดกั้นไว้ด้วยกุศล ผู้นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนพระ- จันทร์พ้นแล้วจากหมอกฉะนั้น. ภิกษุใดแล แม้จะยังหนุ่ม ประกอบความขวนขวายในพระพุทธศาสนา ภิกษุนั้นย่อม ทำโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากหมอก ฉะนั้น. เนื้อความแห่งคำที่เป็นคาถานั้นว่า บุคคลใดจะเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิตก็ตาม ในกาลก่อนแต่การคบหากับกัลยาณมิตร ประมาทแล้วโดยการเกี่ยวข้องกับมิตรชั่ว หรือโดยภาวะที่ตนไม่มีการพิจารณา คือถึงความประมาทในสัมมาปฏิบัติ ภายหลังความแยบคายผุดขึ้น เพราะการเกี่ยวข้องกับกัลยาณมิตร ชื่อว่าย่อมไม่ประมาท คือปฏิบัติชอบอยู่ หมั่น ประกอบเนืองๆ ซึ่งสมถะและวิปัสสนา ย่อมบรรลุวิชชา ๓ อภิญญา ๖บุคคลนั้นย่อมทำโลกมีขันธโลกเป็นต้นนี้ ให้สว่างไสวด้วยวิชชาและ อภิญญาที่ตนบรรลุ เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากหมอกเป็นต้น ทำโอกาส-โลกให้สว่างอยู่ฉะนั้น. กรรมชั่วที่บุคคลใดทำไว้แล้ว คือสั่งสมไว้แล้ว ย่อมปิดคือกั้นด้วยการปิดกั้นทวารในอันที่จะยังวิบากให้เกิดขึ้น เพราะภาวะที่โลกุตรกุศลอันกระทำกรรมให้สิ้นไป นำเอาภาวะที่ไม่ควรแก่วิบากมาให้.

โดย : บ้านธัมมะ วันที่ : 09-09-2549


ความคิดเห็น 86    โดย shumporn.t  วันที่ 11 ก.ย. 2549

พระพุทธวจนะ คือ พระไตรปิฎก รวมเป็นศาสนธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า จัดเป็นองค์ ๙ คือ

สุตตะ ได้แก่ อุภโตวิภังค์ นิทเทส ขันธกะ ปริวาร พระสูตรต่างๆ มีมงคลสูตรเป็นต้น

เคยยะ คือ พระสูตรที่ประกอบไปด้วยคาถาทั้งหมด

เวยยากรณะ คือ พระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด พระสูตรที่ไม่มีคาถา และพุทธวจนะที่ไม่ได้จัดเข้า ในองค์ ๘ ได้ชื่อว่าเวยยากรณะทั้งหมด

คาถา คือ พระธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วนๆ ที่ไม่มีชื่อว่าสูตรในสุตตนิบาต

อุทาน คือ พระสูตร ๘๒ สูตร ที่พระพุทธเจ้าทรงเปล่งด้วยโสมนัสญาณ

อิติวุตตกะ คือ พระสูตร 100 สูตร ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า ข้อนี้สมจริงดังคำที่พระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสไว้

ชาดก เป็นการแสดงเรื่องในอดีตชาติของพระพุทธเจ้า มีอปัณณกชาดกเป็นต้น มีทั้งหมด ๕๕๐

อัพภูตธรรม คือ พระสูตรที่ปฏิสังยุตด้วยอัจฉริยอัพภูตธรรมทั้งหมด

เวทัลละ คือ ระเบียบคำที่ผู้ถามได้ความรู้แจ้งและความยินดี แล้วถามต่อๆ ขึ้นไป ดังจูฬเวทัลลสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร และสักกปัญหสูตร เป็นต้น


ความคิดเห็น 87    โดย shumporn.t  วันที่ 11 ก.ย. 2549

พระพุทธวจนะในพระไตรปิฎก โดยสภาพแห่งธรรมแล้ว เป็นสัจธรรมที่ทรงแสดงว่า เป็นธรรมที่ลึกซึ้งรู้ได้ยาก รู้ตามเห็นตามได้ยาก สงบประณีต ไม่อาจจะรู้ได้ด้วยการตรึก ละเอียด เป็นธรรมอันบัณฑิตจะรู้ได้ เพราะสภาวะแห่งธรรมมีลักษณะดังกล่าว จึงจำต้อง ชี้แจงให้เกิดความเข้าใจทั้งโดยอรรถะ และพยัญชนะ เพื่อให้สามารถหยั่งรู้ธรรมทั้งหลาย ตามความเป็นจริงในเรื่องนั้นๆ


ความคิดเห็น 88    โดย shumporn.t  วันที่ 11 ก.ย. 2549

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสส

บุคคลสูงสุดที่เราควรเคารพบูชาและรับฟัง คือ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบแล้ว


ความคิดเห็น 91    โดย sutta  วันที่ 12 ก.ย. 2549

ถาม .....จะทราบได้อย่างไรว่าตนเองได้ญาณ

"ในขณะปฏิบัติเห็นได้ถึงความไม่มีลมหายใจ และไม่มีตัวตนนั้น เป็นการเห็นด้วยจิตที่ละเอียดที่สุด" และ "อาการที่ขณะปฏิบัติที่เห็นถึงความไม่มีลมหายใจและเห็นถึงความไม่ตัวตนนั้น เป็นอาการของผู้เข้าณาน ๔ หรือจตุตถณานที่กล่าวใว้ ในมหาสติปัฏฐาน ๔"

ความเห็น ....ยังไม่พบข้อความดังกล่าวในมหาสติปัฏฐานสูตร

ยังไม่พบข้อความดังกล่าวในมหาสติปัฏฐานสูตร และทั้งหมดที่อ้างมาไม่ใช่ฌานน่าจะเป็นการคิดนึกเอาอง เพราะการได้ถึงฌานที่ ๔ ไม่ใช่ได้โดยง่าย โดยเฉพาะในยุคนี้ เป็นยุคกาลวิบัติผู้ที่จะบำเพ็ญสมถภาวนาจนจิตสงบถึงฌานจิต ไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะไม่มีปัญญาในการอบรมสมถภาวนา และข้าศึกของฌานมีมาก คือ ในเบื้องต้นถ้าไม่มีปัญญา ไม่เข้าใจวิธีการอบรม ไม่มีผู้ที่มีปัญญาบรรลุฌานเป็นผู้สอนแนะนำ ไม่รู้ว่าตนเองจะละปลิโพธต่างๆ ได้อย่างไร ไม่รู้ว่าขณะที่หลังจากเห็น ได้ยิน เป็นต้น เป็นอกุศลอย่างไร ไม่รู้ว่าตนเองยังยินดีติดข้องใน ลาภ ยศ สรรเสริญ เงินทอง กามคุณอยู่หรือเปล่า สรุปคือ ถ้ายังเป็นผู้ไม่รู้ตัวเองว่าเป็นผู้ยินดีในกามคุณ และมีอกุศลอื่นๆ อีกมากมาย เป็นต้น จะเป็นผู้บรรลุกุศลฌานที่เป็นความสงบขั้นอัปปนาสมาธิไม่ได้


ความคิดเห็น 94    โดย shumporn.t  วันที่ 14 ก.ย. 2549

อนุโมทนา คุณวันชัย2504 และคุณ sutta ค่ะ เป็นเรื่องที่ยากที่จะให้ผู้ที่เข้าใจผิดว่าได้ฌาน แล้ว เข้าใจว่าเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ ที่เราสามารถชี้ได้ว่าเป็นการคิดไปเอง เพราะมีสิ่งที่ถูกต้องให้ ได้พิจารณาเปรียบเทียบ นั้นคือคำสอนคือพระไตรปิฏก อาจารย์ทุกท่านสอนให้ทุกคนเป็น คนดี รักษาศีล เจริญภาวนา แต่กิเลสเป็นสิ่งที่ละเอียด ทรงแสดงกิเลสมี 3 ขั้น คือ วีติกกมกิเลส เป็นกิเลสอย่างหยาบ ทำให้ล่วงเป็นทุจริตกรรมทาง กาย วาจา วิรัติคือละเว้นวีติกกมกิเลสได้ด้วยศีล ปริยุฐานกิเลส เป็นกิเลสอย่างกลางที่เกิดร่วมกับอกุศลจิต แต่ไม่ถึงขั้นล่วงเป็น ทุจริตกรรม ระงับปริยุฏฐานกิเลสได้ชั่วคราว เป็นวิกขัมภณปหานด้วยฌานกุศลจิต อนุสัยกิเลส เป็นกิเลสอย่างละเอียด เมื่อยังไม่ได้ดับกิเลส อนุสัยกิเลสก็นอน เนื่องอยู่ในจิตที่เกิดดับสืบต่อกันเป็นเชื้อเป็นปัจจัยให้เกิดปริยุฏกิเลส กิเลสทั้งหลายจะดับ หมดสิ้นเป็นสมุจเฉทเมื่อโลกุตตรมัคคจิตเกิด

เมื่อเราได้ศึกษาคำสอน ทำให้เราตระหนักว่าการจะหมดกิเลสเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลยถ้าบุคคลนั้นมิได้รับการศึกษาอย่างละเอียดรอบคอบ มีคำกล่าวว่า นิพพานนั้นไกลเกินฝัน คือฝันหรือนึกอย่างไรก็ฝันไม่ถึง แต่เดี๋ยวนี้อาจารย์บางท่านมิได้ศึกษาใช้วิธีพิจารณาตามที่ตัวเองเข้าใจ ผลที่ได้คือบรรลุถึงคุณวิเศษต่างๆ บางท่านอ้างความเป็นพระอรหันต์ สิ่งเหล่านี้เป็นหน้าที่ของชาวพุทธทุกคน ที่ต้องช่วยกันรักษาสิ่งที่ถูกต้องคือคำสอนที่เหลือไว้คือพระไตรปิฏก เพื่อจะได้เป็นที่พึ่งของคนรุ่นต่อไป จะได้มีหลักมีเกณท์ไว้เป็นที่พึ่งสำหรับตัวเอง เพราะเดี๋ยวนี้ได้มีความคิดให้เห็นกันแล้วว่า พระไตรปิฏกไม่สำคัญไม่ต้องศึกษา แล้วอะไรจะเป็นข้อพิสนูจ์ว่าสิ่งที่ท่านอ้างคุณวิเศษต่างๆ นั้น เป็นความจริง ถ้าท่านมิได้เทียบเคียงกับคำสอนของผู้ที่ได้ตรัสรู้แล้ว ผู้ที่ได้ตรัสรู้แล้วขอย้ำ คุณวิเศษต่างๆ ที่ท่านคิดว่าใช่ แต่ไม่ตรงกับพระไตรปิฏก ก็เปรียบเสมือนท่านกำลังปฏิเสธคำตัดสินของพระพุทธเจ้า ขออนุโมทนากับความเห็นที่ตรงกับพระธรรมวินัยทุกท่าน


ความคิดเห็น 95    โดย Sam  วันที่ 15 ก.ย. 2549

ขออนุโมทนา คุณ shumporn.t และท่านสมาชิกหลายๆ ท่าน ที่มีความเมตตาปราถนาดี และมีวิริยะอย่างยิ่งในการอธิบายธรรมะที่ถูกต้อง คำตอบที่แต่ละท่านอธิบายไว้มีประโยชน์มาก ไม่แต่เฉพาะต่อผู้ที่เห็นผิด แต่ยังเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่มีฉันทะในการศึกษาพระธรรมด้วย


ความคิดเห็น 99    โดย sutta  วันที่ 22 ก.ย. 2549

ควรตรวจสอบพระธรรมวินัยจากพระไตรปิฎกโดยตรง

พระธรรมละเอียดลึกซึ้ง ยากที่จะเข้าถึงได้ทั้งหมด

พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ตลอด ๔๕ พรรษานั้น เป็นพระธรรมที่ละเอียดลึกซึ้ง ยากที่ปุถุชนผู้มีปัญญาน้อย จะเข้าถึงได้ทั้งหมด เพราะผู้แสดงเป็นผู้มีปัญญามากประกอบด้วย พระญาณที่ไม่สาธรณะทั่วไปแก่บุคคลอื่น ดังนั้น ผู้ศึกษาควรศึกษาอย่างรอบคอบและทั่วถึง มิฉะนั้นอาจเป็นผู้มีความเห็นผิด เป็นผู้กล่าวตู่พระพุทธเจ้า และเป็นผู้ทำลายคำสอนโดยไม่รู้ตัว อีกอย่างหนึ่ง การศึกษาพระธรรมเพื่อจุดประสงค์อื่นนอกจากศึกษาเพื่อการเข้าใจพระธรรม ย่อมมีโทษเพราะขณะนั้นเป็นผู้ไม่มีความเคารพพระธรรม และพระพุทธเจ้าผู้แสดง และพระสงฆ์ผู้สืบทอดพระธรรมมา เพราะฉะนั้นควรศึกษาพระธรรมด้วยความเคารพ ไม่ควรศึกษาเพื่อการแข่งขัน หรือเพื่อจุดประสงค์อื่น

ธรรมทัศนะ IP : 202.28.27.3วันที่ : 21-09-2549


ความคิดเห็น 100    โดย sutta  วันที่ 22 ก.ย. 2549

การเจริญสมถภาวนาเป็นเรื่องใหญ่ และยากมาก

การเจริญสมถภาวนาจิตสงบจนถึงอัปปนาฌาน เป็นเรื่องใหญ่ และยากมาก แม้ในสมัยครั้งพุทธกาล ผู้ที่จะอบรมจนบรรลุฌานเป็นสิ่งกระทำได้แสนยาก คือ ขั้นต้นจะต้องเป็นผู้ที่มีปัญญาและอบรมตามลำดับของการเจริญสมถภาวนาที่กล่าวไว้ในวิสุทธิมรรค ตั้งแต่การละปลิโพธ การหาอาจารย์ที่มีปัญญา หาอาวาสที่เหมาะสม รู้จักอารมณ์ที่เหมาะกับจริต รู้วิธีการบริกรรมเพื่อให้จิตแนบแน่น รู้จักองค์ของฌาน เป็นต้น มิจฉาสมาธิเป็นสมาธิที่เกิดร่วมกับอกุศลจิต สัมมาสมาธิเป็นสมาธิที่เกิดร่วมกับกุศล

ธรรมทัศนะ วันที่ : 21-09-2549


ความคิดเห็น 101    โดย sutta  วันที่ 22 ก.ย. 2549

สติปัฎฐานไม่มีทางเกิดได้ เพราะความอยาก

สติปัฎฐานจะไม่มีทางเกิดได้ ถ้าหากเราอยากให้สติปัฎฐานเกิด เพราะความอยากนั้นเป็น อกุศลเป็นเครื่องกั้น สติซึ่งเป็นกุศล สติจะเกิดขึ้นเองจากการเข้าใจในการฟังเรื่องราวของ อภิธรรมก่อน เมื่อความเข้าใจเจริญถึงพร้อม จะเริ่มสังเกตความแตกต่างระหว่างการหลงลืม สติกับการมีสติ ความเข้าใจเมื่อเข้าใจเพิ่มขึ้น สังขารขันธ์จะปรุงแต่งให้สติเกิดขึ้น ทีละน้อย ทีละน้อย

ธรรมทัศนะ วันที่ : 18-09-2549


ความคิดเห็น 102    โดย sutta  วันที่ 22 ก.ย. 2549

[เล่มที่ 17] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 606

๑๐. สติปัฏฐานสูตร
[๑๓๑ ] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในแคว้นกุรุทั้งหลาย (ทรงอาศัย) นิคมหนึ่งของชาวกุรุ ชื่อว่า กัมมาสธัมมะ. ณ ที่นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

[๑๓๒] พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์เพื่อก้าวล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัสเพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง. ทางนี้คือสติปัฏฐาน ๔ ประการ. ๔ ประการเป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑. ฯลฯ

โดย : มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา วันที่ : 30-04-2549


ความคิดเห็น 103    โดย sutta  วันที่ 22 ก.ย. 2549

๑. มหาสติปัฏฐานสูตรอยู่ทีฆนิกายมหาวรรค ฉบับมูลนิธิมหามกุฏ ชุด ๙๑ เล่ม อยู่ [เล่มที่ 14] เล่มที่ ๑๔ ตั้งแต่ หน้า ๒๐๙ - ๒๕๔ และ [เล่มที่ 17] เล่มที่ ๑๗ ใช้คำว่าสติปัฏฐานสูตร ตั้งแต่หน้า ๖๐๖ - ๖๓๐เนื้อหาเหมือนกัน

๒. พิจาณาเห็นกายว่าเป็นกาย ไม่ใช่เรา เวทนา จิต และธรรมก็เช่นเดียวกัน อ่านและดาวน์โหลด มหาสติปัฏฐานสูตร คลิก....

มหาวรรค มหาสติปัฏฐานสูตรที่ ๙

มูลปริยายวรรค สติปัฏฐานสูตรที่ ๑๐

โดย : มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา วันที่ : 20-09-2548


ความคิดเห็น 104    โดย sutta  วันที่ 22 ก.ย. 2549

สติปัฎฐาน จะเกิดได้ ผู้ที่เจริญสติจะต้องมีความเข้าใจ ศึกษาพระอภิธรรม คำสอนขององค์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาก่อน ผู้ที่จะศึกษาแล้ว สติปัฎฐานจะเกิดได้ ต้องเข้าใจ หลักการดังต่อไปนี้

1. ต้องเข้าใจว่าจิตเป็นสภาพที่รู้อารมณ์ เกิดรับรู้อารมณ์หนึ่งแล้วดับไป แล้วเกิดรับรู้อารมณ์อีกหนึ่งแล้วดับไป ทีละขณะสืบต่อกันไปอย่างรวดเร็วมาก รวดเร็วเกินกว่าเราจะไปจดจ้องหยุดยั้งเพื่อพิจารณาหรือบังคับให้เกิดสติตามระลึกได้

2. สติต้องระลึกในปรมัตธรรม สภาพธรรม หมายความว่าไม่ใช่ระลึกในเรื่องราวต่างๆ ที่เป็น บัญญัติธรรม ต้องระลึกในสภาพธรรม ที่เป็นจิต - เจตสิก - รูป เท่านั้น สภาพธรรมนั้นแหละคือสัจธรรม

3. สติจะต้องระลึก ในสภาพที่กำลังปรากฎ หรือ ในปัจจุบันขณะ หมายถึงขณะที่จิตยังไม่ละจากการรับรู้ในสภาพธรรมที่กำลังเกิดขึ้นสลับกันอย่างรวดเร็ว เช่น จิตเห็นเกิดขึ้นสลับกับจิตอื่นๆ และยังกลับมาเป็นจิตเห็นอยู่นั้นถือว่าเห็นยังเป็นปัจจุบันขณะ แต่ไม่ใช่จะไปเกิดขึ้นซ้อนในขณะเดียวกันขณะใด เพราะจิตจะต้องเกิดขึ้นทีละขณะเท่านั้นอย่างนี้เรียกว่าตามระลึก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องราวที่ผ่านไปแล้ว หรือเรื่องราวที่ยังไม่มาถึง

4. สติปัฎฐานจะเกิดขึ้นตามฐานที่ตั้งของการปรากฏ แล้วแต่ว่าจิตอะไรจะเกิด ถ้าสติเกิดก็จะระลึกไปตามฐานที่ตั้งต่างๆ เหล่านั้น ไม่สามารถจับมาระลึก หรือเพ่งหรือจดจ้องอยู่ในสิ่งเดียว อย่างเดียวได้ดังที่ท่านแจกแจงว่า ที่ กาย เวทนา จิต ธรรม คือจากใกล้ตัว จนครอบคลุมธรรม ทุกอย่างเป็นสติปัฎฐานได้หมด

5. สติปัฎฐานจะไม่มีทางเกิดได้ ถ้าหากเราอยากให้สติปัฎฐานเกิด เพราะความอยากนั้นเป็นอกุศลเป็นเครื่องกั้น สติซึ่งเป็นกุศล สติจะเกิดขึ้นเองจากการเข้าใจในการฟังเรื่องราวของอภิธรรมก่อน เมื่อความเข้าใจเจริญถึงพร้อม จะเริ่มสังเกต ความแตกต่างระหว่างการหลงลืมสติ กับการมีสติ ความเข้าใจเมื่อเข้าใจเพิ่มขึ้น สังขารขันธ์จะปรุงแต่งให้สติเกิดขึ้น ทีละน้อย ทีละน้อย

โดยสมาชิก : WERAYUT วันที่ : 10-05-2549


ความคิดเห็น 105    โดย shumporn.t  วันที่ 22 ก.ย. 2549

สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม จะทำกรรมดีก็ตามกรรมชั่วก็ตามย่อมได้รับตามนั้น คงไม่ต้อง ห่วงว่าตัวเองจะเป็นอะไร ดิฉันจำคำท่านอาจารย์กล่าวว่า ตื่นมาวันนี้ทำความดีอะไรไว้บ้าง ได้สละของรักของชอบเพื่อคนอื่นบ้างหรือยัง วันนี้รักษาศีลอะไรบ้าง กำลังทำความเดือด ร้อนให้ใครอยู่หรือเปล่า ค่ะดิฉันมั่นใจว่าผู้ที่ศึกษาธรรมโดยมีเป้าหมายเพื่อละเพื่อคลาย คงรู้จักตรวจสอบตัวเองอยู่เสมอๆ


ความคิดเห็น 106    โดย shumporn.t  วันที่ 22 ก.ย. 2549

[เล่มที่ 76] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 512

[๘๗๔] บทว่า ความสลดใจนั้น มีนิเทศว่า ญาณอันเห็นชาติโดยความเป็นภัย ญาณอันเห็นชราโดยความเป็นภัย ญาณอันเห็นพยาธิโดยความ เป็นภัย ญาณอันเห็นมรณะโดยความเป็นภัย.

บทว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ นั้น มีนิเทศว่า ชาติชรา พยาธิ มรมะ.

บทว่า ความพยายามโดยแยบคายแห่งบุคคลผู้มีใจสลดแล้วนั้น มีนิเทศว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด ย่อมพยายามย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิตไว้ ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศล บาปธรรมทั้งหลายที่ยังไม่บังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลบาปธรรม ทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่บังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่จืดจาง เพื่อความเพิ่มพูน เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว ว่าด้วยนิทเทสสังเวคทุกะ พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสสังเวคทุกะ ต่อไป

บทว่า ชาติภยํ (กลัวชาติ) ได้แก่ ญาณที่เห็นชาติ (ความเกิด) โดยความเป็นภัยตั้งอยู่. แม้ในญาณที่เห็นชราและมรณะโดยความเป็นภัยเป็นต้นก็นัยนี้แหละ. ด้วยบทว่า อนุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ (เพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่งอกุศลบาปธรรม) เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความเพียรอันเป็นเหตุของภิกษุผู้เห็นชาติเป็นต้น โดยความเป็นภัยแล้วใคร่เพื่อจะพ้นไปจากชาติ ชราพยาธิและมรณะ. ส่วนเนื้อความแห่งบทภาชนีย์จักมีแจ้งในอรรถกถาวิภังคัฏฐกถา.

โดย : มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา วันที่ : 15-09-2549


ความคิดเห็น 108    โดย shumporn.t  วันที่ 23 ก.ย. 2549

ผู้ที่ศึกษาธรรม ย่อมต้องเข้าใจว่าพื้นฐานเป็นสิ่งที่สำคัญ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ต้องมา เป็นลำดับ คงไม่ต้องรีบปฏิบัติ เพราะทุกขณะจิตธรรมะปฏิบัติหน้าที่ของธรรมะอยู่แล้ว คำว่า "ปฏิบัติ" มาจากภาษาบาลีว่า ปฏิ + ปัตติ แปลว่า ถึงเฉพาะลักษณะของสภาพ ธรรมะ ตั้งแต่เกิดจนตายไม่เคยขาดสภาพธรรมะเลย ขณะนี้มีเห็น มีสิ่งที่ถูกเห็น มีได้ยิน มีเสียง สภาพธรรมเกิดดับเร็วมาก เมื่อเห็น ก็รู้ว่าเป็นคน สัตว์ สิ่งของทันที แค่รู้ว่าเป็น คนก็เป็นแล้วโลภะ ไม่รู้ว่าเป็นโลภะไปกี่วิถีจิตแล้ว ปฏิบัติธรรมคือขณะนี้ ขณะที่สภาพ ธรรมกำลังปรากฏ เมื่อฟังหรืออ่านมีความเข้าใจพอ ก็เป็นปัจจัยให้สติเกิดระลึกไปในสภาพ ธรรมขณะนี้ได้ สติจะเกิดระลึกไปในสภาพธรรมใดก็แล้วแต่สติ ไม่มีตัวเราไปค่อยจดจ้อง ต้องการให้สติเกิด สติเป็นสังขารขันธ์ สังขารขันธ์ปรุงแต่งไม่ใช่ตัวเราปรุงแต่ง ปฏิบัติไม่ ต้องนั่งหลับตา ไม่มีท่าทาง ไม่ต้องมีสถานที่ ไม่ต้องรีบปฏิบัติ เมื่อปัจจัยพร้อมสติปัญญา โสภณธรรมต่างๆ ปรุงแต่งเอง ไม่มีตัวตนรีบปฏิบัติ


ความคิดเห็น 110    โดย sutta  วันที่ 24 ก.ย. 2549

ท่านที่เข้าใจว่าการปฏิบัติธรรม เป็นเรื่องของการหาวิธีเพื่อที่จะปฏิบัติด้วยตัวเองนั้น ลองพิจารณาถึง เหตุเพื่อให้ได้ปัญญา ๘ ประการ ซึ่งเป็นพระพุทธพจน์ ดังนี้

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 298

๒. ปัญญาสูตร

[๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุ ๘ ประการ ปัจจัย ๘ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความงอกงามไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์ แห่งปัญญาที่ได้แล้วแล้ว ๘ ประการ เป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อาศัยพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่งผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ซึ่งเป็นที่เข้าไปตั้งความละอาย ความเกรงกลัวความรัก และความเคารพไว้อย่างแรงกล้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายนี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาได้แล้ว. เธออาศัยพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่งผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ซึ่งเป็นที่เข้าไปตั้งความละอาย ความเกรงกลัวความรัก และความเคารพไว้อย่างแรงกล้านั้นแล้ว เธอเข้าไปหาแล้วไต่ถาม สอบถามเป็นครั้งคราวว่า ข้าแต่ท่านเจริญ ภาษิตนี้เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งภาษิตนี้เป็นอย่างไร ท่านเหล่านั้นย่อมเปิดเผยข้อที่ยังไม่ได้เปิดเผย ทำให้แจ้งข้อที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้งและบรรเทาความสงสัยในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายประการแก่เธอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
เธอฟังธรรมนี้แล้ว ย่อมยังความสงบ ๒ อย่าง คือ ความ สงบกายและความสงบจิต ให้ถึงพร้อม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว. เธอเป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว. เธอเป็นพหูสูต ทรงจำสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมากทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว. เธอย่อมปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความพร้อมมูลแห่งกุศลธรรม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๖ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว. อนึ่ง เธอเข้าประชุมสงฆ์ ไม่พูดเรื่องต่างๆ ไม่พูดเรื่องไม่เป็นประโยชน์ ย่อมแสดงธรรมเองบ้าง ย่อมเชื้อเชิญผู้อื่นให้แสดงบ้าง ย่อมไม่ดูหมิ่นการนิ่งอย่างพระอริยเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๗ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.

อนึ่ง เธอพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่า รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้... สัญญาเป็นดังนี้ สังขารทั้งหลายเป็นดังนี้... วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๘ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความงอกงามไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.

ฯลฯ


ความคิดเห็น 120    โดย sutta  วันที่ 27 ก.ย. 2549

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสส

บุคคลสูงสุดที่เราควรเคารพบูชาและรับฟัง คือ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ..ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบแล้ว



ความคิดเห็น 122    โดย shumporn.t  วันที่ 27 ก.ย. 2549

สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

๗. อาณิสูตร

[๖๗๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ตะโพนชื่ออานกะของพวกกษัตริย์ผู้มีพระนามว่าทสารหะได้มีแล้ว เมื่อตะโพนแตก พวกทสารหะได้ตอกลิ่มอื่นลงไป สมัยต่อมาโครงเก่าของตะโพนชื่ออานกะก็หายไป ยังเหลือแต่โครงลิ่ม แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุในอนาคตกาล เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึกมีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ จักไม่ปรารถนาฟังจักไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้ และจักไม่สำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเล่าเรียน ควรศึกษาแต่ว่าเมื่อเขากล่าวพระสูตรอันนักปราชญ์รจนาไว้ อันนักปราชญ์ร้อยกรองไว้ มีอักษรอันวิจิตร มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นของภายนอก เป็นสาวกภาษิต อยู่ จักปรารถนาฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเรียน ควรศึกษา ฯ

[๖๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสูตรเหล่านั้น ที่ตถาคตกล่าวแล้วอันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม จักอันตรธานฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ พวกเราจักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้นว่า ควรเรียน ควรศึกษา ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ

จบสูตรที่ ๗


ความคิดเห็น 124    โดย shumporn.t  วันที่ 27 ก.ย. 2549

สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

๑๓. สัทธรรมปฏิรูปกสูตร

[๕๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นพระมหากัสสปนั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้เมื่อก่อนสิกขาบทมีน้อยและภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตตผลมีมาก และอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้บัดนี้สิกขาบทมีมาก และภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตตผลมีน้อย ฯ

[๕๓๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกัสสป ข้อนั้นเป็นอย่างนี้ คือเมื่อหมู่สัตว์เลวลง พระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป สิกขาบทจึงมีมากขึ้น ภิกษุที่ตั้งอยู่ในพระอรหัตตผลจึงน้อยเข้า สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด
ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป และสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ทองเทียมยังไม่เกิดขึ้นในโลก ตราบใดตราบนั้นทองคำธรรมชาติก็ยังไม่หายไป และเมื่อทองเทียมเกิดขึ้น ทองคำธรรมชาติจึงหายไป ฉันใด พระสัทธรรมก็ฉันนั้น สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป เมื่อสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นเมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ฯ

[๕๓๓] ดูกรกัสสป ธาตุดินยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ก็ยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ที่แท้โมฆบุรุษในโลกนี้ต่างหาก เกิดขึ้นมาก็ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป เปรียบเหมือนเรือจะอัปปาง ก็เพราะต้นหนเท่านั้น พระสัทธรรมยังไม่เลือนหายไปด้วยประการฉะนี้ ฯ [๕๓๔] ดูกรกัสสป เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการ
เป็นไฉน คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในพระศาสดา ๑ ในพระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑ ในสิกขา ๑ ในสมาธิ ๑เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ [๕๓๕] ดูกรกัสสป เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม เหตุ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา ๑ ในพระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑ ในสิกขา ๑ ในสมาธิ ๑เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือนไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ

จบสูตรที่ ๑๓

จบกัสสปสังยุตต์ที่ ๔


ความคิดเห็น 130    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 2 ต.ค. 2549

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรม ผู้ที่ศึกษาควรมีความเคารพนอบน้อมในพระธรรมที่ทรงแสดง และควรสอบทานพระธรรมวินัยที่ได้ยินได้ฟังว่า ตรงกับพระธรรมวินัยที่ทรงแสดงและสืบต่อมาถึงปัจจุบันอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ในพระไตรปิฎก ครับ

ขออนุโมทนาทุกท่านที่มีความตั้งใจศึกษาพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง


ความคิดเห็น 131    โดย วันชัย๒๕๐๔  วันที่ 2 ต.ค. 2549
อนุโมทนา

ความคิดเห็น 132    โดย wirat.k  วันที่ 3 ต.ค. 2549

อนุโมทนา


ความคิดเห็น 133    โดย pamali  วันที่ 1 ต.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 134    โดย chatchai.k  วันที่ 27 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ