ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ทรงห่างไกลจากกิเลส ทรงตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง ไม่ว่าจะเป็นส่วนใด ของพระไตรปิฎกก็ตาม ถ้าหากได้ศึกษาพิจารณาตามอย่างละเอียดแล้ว เป็นประโยชน์เกื้อกูลในชีวิตประจำวัน เป็นอย่างมาก เป็นไปเพื่อการขัดเกลากิเลสของตนเองทั้งสิ้น แม้แต่ในเรื่อง ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความเคารพ การลุกรับ การต้อนรับบุคคลต่างๆ นั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ควรกระทำ ซึ่งไม่ควรที่จะละเลย เพระเหตุว่า นั่นย่อมเป็นโอกาสที่จะทำให้กุศลธรรมเจริญ ครับ
ขอเชิญคลิกอ่านข้อความโดยตรงจากพระไตรปิฎกที่นี่ครับ ..เรื่องความเคารพ
หลายท่านเวลาใส่บาตรตอนเช้า คงจะได้ยินพระกล่าวคาถาเหล่านี้เป็นประจำคือ อภิวาทนสีลิสฺส นิจฺจํ วุฑฺฒาปจายิโน จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ
(อะภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง) "ธรรม ๔ ประการ คือ
อายุ วรรณะ สุขะ พละ เจริญแก่บุคคลผู้กราบไหว้เป็นปกติ ผู้อ่อนน้อมต่อท่านผู้เจริญเป็นนิตย์"
ขอเชิญคลิกอ่านข้อความโดยตรงจากพระไตรปิฎกที่นี่ครับ... ธรรม ๔ ประการย่อมเจริญแก่บุคคลผู้มีปกติไหว้กราบ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ความเป็นผู้อ่อนน้อม เคารพด้วยการแสดงออกทางกาย วาจา และแม้ใจ ซึ่งเป็นคุณธรรมที่ดี ควรอบรมในชีวิตประจำวันครับ ซึ่งแม้พระอินทร์ผู้เป็นจอมเทพในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ก็เป็นผู้ที่อ่อนน้อม และเคารพในบุคคลต่างๆ ซึ่งเป็นคุณธรรมเมื่อชาติก่อนๆ ของพระอินทร์ได้ประพฤติมา ซึ่งถ้าเราเป็นผู้อ่อนน้อม มีความเคารพซึ่งกันและกัน รู้จักสิ่งใดควรไม่ควร ก็ย่อมขัดเกลากิเลสต่างๆ ได้มากมายและไม่ประมาทในการเจริญกุศลแม้เล็กน้อยครับ
เชิญคลิกอ่านข้อความในพระไตรปิฎกเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
เรื่องท้าวสักกะ .. ความประพฤติที่ดี ๗ ประการ
การไหว้ เป็นสิ่งที่คนไทยประพฤติเป็นประจำ การไหว้บุคคลที่ควรไหว้ เช่น บิดา มารดาหรือบุคคต่างๆ อันเป็นที่ตั้งในฐานะครูหรือพระพุทธเจ้า จึงเป็นสิ่งที่ควรประพฤติควรทำเพราะควรแก่การกราบไหว้ และท่านรู้ไหมว่าเวลาที่พระอินทร์ออกจากปราสาทท่านไหว้ใคร?
เชิญคลิกอ่านข้อความในพระไตรปิฎกเรื่องการไหว้
และเรื่องพระอินทร์ท่านไหว้ใครก่อนออกจากปราสาท
ทุติยสักกนมัสสนสูตร .. ก่อนออกจากบ้านท่านไหว้ใครบ้าง วันทนาสูตร .. ว่าด้วยการไหว้ ๓ อย่าง ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขออนุโมทนาครับ