สู่กุสินารา
27 พ.ย.55
วันนี้ตื่นตั้งแต่ตี 4 เพื่อเดินทางไปชมแม่น้ำคงคา เหมือนเดิมที่เคยไป คือ ลงจากรถ แล้วต้องเดินไปตามถนนแคบๆ ที่สกปรกรกรุงรัง มีทั้งคนนอน วัวนอน คนขายของ น้ำลาย น้ำหมาก ปัสสาวะ อุจจาระ และมูลวัวเกลื่อนถนน ต้องคอยระวังหลบหลีกให้ดี กี่ ปีๆ ก็ไม่เคยเปลี่ยนแปลง คนที่เพิ่งไปครั้งแรกชมเราว่า เก่งนะ มาตั้งหลายครั้งแล้ว ยัง มาอีก ถ้าเป็นเธอคงมาครั้งเดียวก็พอแล้ว
มายืนรอเรือที่ท่าน้ำใหญ่ มีผู้แสวงบุญชาวไทยมากมาย มีพระคุณเจ้าที่ยืนใกล้ๆ กัน ประกาศเรียกโยมให้ลงเรือด้วยภาษาไทย จึงกราบนมัสการ ท่านถามว่า มาจากไหน บอก ว่า เป็นลูกศิษย์ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธ ศาสนา ส่วนท่านอยู่สำนักปฏิบัติแก้วมณี อำเภอลาดบัวหลวง อยุธยา (บ้านเกิดของคุณ พ่อตัวเองพอดี) ท่านตื่นเต้น บอกว่าที่สำนักได้นำซีดีธรรมของท่านอาจารย์ไปเปิดให้ลูก ศิษย์ฟัง พร้อมกับบอกญาติโยมด้วยว่า นี่ลูกศิษย์อาจารย์สุจินต์ ได้ไหว้อนุโมทนากัน และกัน พลอยได้หน้าได้ตาขึ้นด้วยเพราะอาศัยชื่อท่านอาจารย์
ทุกคนลงเรือลำใหญ่ลำเดียวกัน (เพิ่งทราบว่า พี่เดือนฉายและพรรคพวกอีก 6 คน ลง มารอที่ล็อบบี้โรงแรม เมื่อรถออกไปแล้ว จึงพลาดการชมแม่น้ำคงคา ด้วยความเข้าใจผิด เพราะหลายคนสมัครใจไม่ไป เนื่องจากเคยไปมาหลายครั้งแล้ว หรือไม่อยากตื่นเช้ามืด และอากาศก็หนาวเย็นด้วย)
คราวนี้ขอให้พาไปดูฝั่งนรก คือฝั่งตะวันตกของแม่น้ำคงคา ที่มองเห็นเนินทรายสูง ไม่ เห็นอะไรหลังเนินทราย และไม่มีผู้คนเลย ลงจากเรือ ปีนเนินทรายขึ้นไป ก็เห็นทุ่ง มัสตาร์ดกว้างใหญ่ ออกดอกสีเหลืองสวยงาม
เมื่อมองไปทางฝั่งสวรรค์ที่มีปราสาท ตึกรามทั่วไปนั้น ก็ได้เห็นภูมิทัศน์ที่สวยงามไป อีกแบบ เพราะมองจากมุมต่าง สิ่งที่ปรากฏทางตาก็แปลกไปกว่าเดิม แต่ทั้งหมดนั้นก็ยัง ไม่รู้ว่า เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น ไม่ใช่ปราสาท ตึกรามบ้านช่อง หรือผู้คนที่ กำลังอาบน้ำล้างบาป ที่คิดว่ามีจริงๆ ไม่ต่างอะไรกับภาพวาดบนกระดานเลย เพราะมี สีสันต่างๆ กัน จึงทำให้เห็นเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ ถ้าเป็นสีเดียวกันหมด เช่นเป็นสีขาว ก็เป็น กระดาษเปล่า ถ้าเป็นสีดำอย่างเดียว ก็เป็นกระดาษดำเท่านั้นเอง แม้จะทรงแสดงโดย ละเอียดอย่างไร ก็ยังไม่รู้อยู่นั่นแหละ ธรรมก็ยังลึกซึ้งเพราะเห็นยากอยู่ดี (สำหรับปุถุชน ผู้มืดบอดเช่นเรา)
รับประทานอาหารเช้าที่โรงแรมแล้ว ก็เดินทางไปกุสุนารา ซึ่งใช้เวลาเดินประมาณ 8 ชั่วโมง คนใกล้ตัวดีใจมากที่จะได้บรรยายธรรมในรถนานๆ ส่วนเราก็เตรียมตัวหลับในรถ ให้สบายตามเคย
หลังจากไหว้พระสวดมนต์ตามธรรมเนียมที่ตกลงกันแล้ว ก็ได้โอกาสที่จะอธิบายถึงที่ มาของการสวด นโม ตัสสะ ภควโต อร หโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ซึ่งข้อความในพระ สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค สักกปัญหสูตร กล่าวถึงท้าวสักกะได้เข้าเฝ้า พระผู้มีพระภาคที่ถ้ำอินทสาละ ณ เวทิยกบรรพต พระนครราชคฤห์ เพื่อทูลถามปัญหา 10 ข้อ ซึ่งมีข้อความโดยย่อจากพระไตรปิฎกฉบับประชาชน ย่อโดยท่านอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพว่า
๘ . สักกปัญหาสูตรสูตรด้วยปัญหาของท้าวสักกะ
พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ถ้ำอินทสาละ ใกล้เวทยิกบรรพต ทางทิศเหนือของหมู่ บ้านพราหมณ์ ชื่ออัมพสณฑ์ ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ. ท้าวสักกะใคร่จะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค จึงเรียกปัญจสิขะบุตรคนธรรพ์มา ชวนให้ ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคด้วยกัน ปัญจสิขะถือพิณมีสีเหลืองเหมือนผลมะตูมไปด้วย เมื่อไป ถึงที่ประทับแล้ว ท้าวสักกะจึงให้ปัญจสิขะบุตรคนธรรพ์หาทางทำความพอพระทัยให้พระ ผู้มีพระภาคก่อนที่จะได้เข้าไปเฝ้า.
ปัญจสิขะบุตรคนธรรพ์ถือพิณเข้าไปยืน ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ไม่ไกลหรือใกล้เกินไป ดีดพิณ กล่าวคาถาด้วยพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระอรหันต์ และกาม. พระผู้มีพระภาคตรัสชมแก่ปัญจสิขะบุตรคนธรรพ์ว่า เสียงพิณกับเสียงเพลงขับเข้า กันดี แล้วตรัสถามว่า คาถาอันเกี่ยวด้วยพระพุทธ เป็นต้นนี้ แต่งไว้ตั้งแต่ครั้งไร . ปัญจสิ ขะกราบทูลว่า ตั้งแต่ครั้งพระผู้มีพระภาคตรัสรู้ใหม่ๆ ประทับที่ต้นอชปาลนิโครธ ใกล้ฝั่ง น้ำเนรัญชรา.
ครั้นได้โอกาส ท้าวสักกะพร้อมด้วยบริวารก็เข้าไปเฝ้า เมื่อได้ตรัสสัมโมทียกถาพอ สมควรแล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรงให้ท้าวสักกะกราบทูลถามปัญหาได้ ต่อไปนี้เป็นคำถาม และพระพุทธดำรัสตอบ.
๑. ถาม เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ และหมู่สัตว์เป็นอันมากอื่นๆ ถูก อะไรผูกมัด แม้ตั้งใจว่าจะไม่จองเวร ไม่ใช้อาชญา ไม่มีศัตรู ไม่เบียดเบียน อยู่อย่างไม่ มีเวร แต่ก็ต้องจองเวร ใช้อาชญา มีศัตรู เบียดเบียน และอยู่อย่างมีเวร.
ตอบ มีความริษยาและความตระหนี่เป็นเครื่องผูกมัด.
๒. ถาม ความริษยาและความตระหนี่เกิดจากอะไร.
ตอบ เกิดจากสิ่งเป็นที่รักและสิ่งอันไม่เป็นที่รัก เมื่อไม่มีสิ่งเป็นที่รักและไม่ที่รัก ก็
ไม่มีความริษยาและความตระหนี่.
๓. ถาม สิ่งเป็นที่รักและไม่และเป็นที่รักเกิดจากอะไร.
ตอบ เกิดจากความพอใจ เมื่อไม่มีความพอใจ ก็ไม่มีสิ่งที่เป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก.
๔. ถาม ความพอใจเกิดจากอะไร.
ตอบ เกิดจากความตรึก (วิตก) เมื่อไม่มีความตรึก ก็ไม่มีความพอใจ.
๕. ถาม ความตรึกเกิดจากอะไร .
ตอบ เกิดจากตัณหา ความทะยานอยาก มานะ ความถือตัว ทิฏฐิ ความเห็นผิด เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
๖. ถาม ภิกษุปฏิบัติอย่างไร จึงเชื่อว่าปฏิบัติข้อที่ปฏิบัติที่สมควร ที่ให้ถึงความดับ ส่วนแห่งความกำหนดหมายกิเลสเป็นเหตุให้เนิ่นช้า.
ตอบ โสมนัส (ความดีใจ) โทมนัส (ความเสียใจ) อุเบกขา (ความวางเฉย) มีอยู่ ๒ อย่าง อย่างหนึ่งควรส้องเสพ อีกอย่างหนึ่งไม่ควรส้องเสพ คือเมื่อส้องเสพโสมนัส เป็น ต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง กุศลธรรมเสื่อมไป อกุศลธรรมเจริญขึ้น สิ่งนั้นก็ไม่ควรส้องเสพ ถ้าอกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญขึ้นสิ่งนั้นก็ควรส้องเสพ . ธรรมที่ควรส้องเสพนั้น คือที่มีวิตก (ความตรึก) มีวิจาร (ความตรอง) ที่ไม่มีวิตก วิจาร แต่ประณีตขึ้นไปกว่า (หมายถึงโสมนัส เป็นต้น อันเกิดเพราะเนกขัมมะบ้าง เพราะวิปัสสนาบ้าง เพราะอนุสสติ บ้าง เพราะปฐมฌาน เป็นต้นบ้าง) ภิกษุปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่าปฏิบัติข้อปฏิบัติที่สมควร ที่ ให้ถึงความดับส่วนแห่งความกำหนดหมายกิเลสเป็นเหตุให้เนิ่นช้า
๗. ถาม ภิกษุปฏิบัติอย่างไร จึงเชื่อว่าปฏิบัติเพื่อสำรวมปาติโมกข์ (ศีลที่เป็นใหญ่ เป็นประธาน)
ตอบ ความประพฤติทางกาย (กายสมาจาร) ความประพฤติทางวาจา (วจีสมาจาร) และการแสวงหา (ปริเยสนา) อย่างหนึ่งควรส้องเสพ อีกอย่างหนึ่งไม่ควรส้องเสพ คือ เมื่อส้องเสพความประพฤติทางกายเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง กุศลธรรมเสื่อมไป อกุศล ธรรมเจริญขึ้น สิ่งนั้นก็ไม่ควรส้องเสพ ถ้าอกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญขึ้น สิ่ง นั้นก็ควรส้องเสพ ภิกษุผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อสำรวมปาติโมกข์.
๘. ถาม ภิกษุปฏิบัติอย่างไร จึงชื่อว่าปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์ (คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
ตอบ อารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั้น มี ๒ อย่าง อย่างหนึ่งควร ส้องเสพ อีกอย่างหนึ่งไม่ควรส้องเสพ. (พอตรัสถึงเพียงนี้ ท้าวสักกะก็กราบทูลถามว่า เข้าใจความหมายว่า ที่ไม่ควรส้องเสพ และควรส้องเสพนั้น กำหนดด้วยเมื่อส้องเสพ แล้วอกุศลธรรมหรือกุศลธรรมจะเจริญ)
๙. ถาม สมณพราหมณ์ทั้งปวงมีวาทะ มีศีล มีฉันทะ มีจุดหมายปลายทางอย่าง เดียวกันใช่หรือไม่.
ตอบ ไม่ใช่ เพราะโลกธาตุเป็นอเนก มีธาตุต่างๆ กัน สัตว์ยึดถือธาตุอันใด ก็กล่าว เพราะความยึดถือธาตุนั้นว่า นี้แลจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ.
๑๐. ถาม สมณพราหมณ์ทั้งปวงมีความสำเร็จ มีความปลอดโปร่งจากกิเลสเครื่อง ยึด (โยคักเขมี) เป็นพรหมจารี มีที่สุดล่วงส่วน ใช่หรือไม่ (คำว่า ล่วงส่วน หมายความว่า เด็ดขาด ไม่กลับกำเริบหรือแปรปรวนอีก) .
ตอบ ไม่ใช่ จะมีความสำเร็จ เป็นต้น ล่วงส่วน ก็เฉพาะผู้ที่พ้นแล้วจากตัณหา (ความทะยานอยาก) เท่านั้น.
ท้าวสักกะจึงกราบทูลว่า ตัณหาอันทำให้หวั่นไหว เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร ย่อม ฉุดคร่า บุรุษเพื่อให้เกิดในภพนั้นๆ ถึงความสูงบ้าง ต่ำบ้าง ครั้นแล้วได้แสดงความพอ ใจที่พระผู้มีพระภาคทรงตอบปัญหาแก้ความสงสัยได้ เท่าที่เคยไปถามสมณพราหมณ์ เหล่าอื่น แทนที่จะตอบ กลับมาย้อนถามว่า เป็นใคร ครั้นรู้ว่าเป็นท้าวสักกะ ก็กลับถาม ปัญหายิ่งๆ ขึ้นว่า ทำกรรมอะไรไว้จึงเกิดเป็นท้าวสักกะ ท้าวสักกะก็ตอบไปตามที่ได้ฟัง ที่เล่าเรียนมา สมณพราหมณ์เหล่านั้นก็อิ่มเอิบใจ ว่าได้เห็นท้าวสักกะ ได้ถามปัญหา และ ท้าวสักกะได้ตอบแก่เรา กลายมาเป็นสาวกของข้าพระองค์ไป
ครั้นแล้วกล่าววาจาสุภาษิตอีกหลายประการ ในที่สุดได้เอามือลูบแผ่นดิน แล้ว เปล่งอุทานว่า นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ขอนอบน้อมแด่พระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าพระพระองค์นั้น รวม ๓ ครั้ง
ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน บังเกิดขึ้นแก่ท้าวสักกะจอมเทพว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา และบังเกิดขึ้นแก่เทวดาแปดหมื่นพวกอื่น ด้วย และในอีกสูตรหนึ่ง คือ พรหมายุสูตร ในพระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มิชฌิม ปัณณาสก์ มีข้อความที่พรหมายุพราหมณ์กล่าวแสดงความนอบน้อมแด่พระอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า ด้วยคำว่า นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส 3 ครั้ง ข้อความโดย ย่อมีว่า
พรหมายุสูตรสูตรว่าด้วยพราหมณ์ชื่อพรหมายุ
๑. พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นวิเทหะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่. พรหมายุพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้เฒ่า เป็นพราหมณ์ผู้ใหญ่ เชี่ยวชาญไตรเวท รู้จักศาสตร์ ว่า ด้วยคดีโลกและมหาปุริสลักษณะได้ยินกิตติศัพท์เกี่ยวกับพระผู้มีพระภาค จึงใช้อุตตรมา ณพ (ผู้เป็นศิษย์) ให้ไปติดตามดูมหาปุริสลักษณะ เมื่ออุตตรมาณพได้ไปสังเกตเห็นเป็น ส่วนมาก บางส่วนที่เห็นยาก พระผู้มีพระภาคก็ทรงแสดงอิทธาภิสังขาร (แสดงโดยฤทธิ์) ให้เห็น และบางข้อก็ไม่ต้องแสดงฤทธิ์ เพียงแต่เปิดโอกาสให้เห็นอย่างธรรมดา นอก จากนั้นอุตตรมาณพยังติดตามดูความเป็นไปของพระผู้มีพระภาคทุกอิริยาบถตลอดเวลา ๗ เดือน แล้วไปแจ้งให้พรหมายุพราหมณ์ทราบถึงลักษณะ ๓๒ ประการ และความเป็นไป แห่งอิริยาบถทั้งปวง.
๒. พรหมายุพราหมณ์ก็ลุกจากอาสนะ ทำผ้าห่มเฉวียงบ่า ประคองอัญชลีไปยังทิศที่ พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ เปล่งอุทานนอบน้อมพระผู้มีพระภาค (นโม ตสฺส ภควโต อร หโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ๓ ครั้ง) แล้วได้เดินทางไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงป่ามะม่วงของ พระเจ้ามฆเทพ เมื่อไปถึงแล้วได้ใช้อุตตรมาณพเข้าไปกราบทูลก่อน (ด้วยถือว่าเป็น มารยาทที่จะเข้าไปเฝ้าต่อเมื่อได้รับอนุญาตหรือเชื้อเชิญ) เมื่อมาณพไปเฝ้ากราบทูล และพระผู้มีพระภาคทรงเปิดโอกาสแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพิจารณาดูมหาปุริสลักษณะ เมื่อ ได้เห็นครบทั้งสามสิบสองประการแล้ว จึงทูลถามปัญหา.
๓. ปัญหาที่ทูลถามนั้นเกี่ยวกับคุณธรรมของพราหมณ์ผู้รู้เวท ผู้มีไตรวิชชา ผู้มี ความสวัสดี ผู้เป็นพระอรหันต์ เป็นเกวลี (ผู้มีความบริบูรณ์สิ้นเชิง) ผู้เป็นมุนี ผู้เป็น พุทธะ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบแสดงคุณธรรมเหล่านั้นแล้ว พรหมายุพราหมณ์ก็หมอบ แทบพระบาทด้วยเศียรเกล้า เอาปากจุมพิตพระบาท เอามือนวดฟั้นพระบาท ประกาศ นามของตน
๔. พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอนุปุพพิกถา (ถ้อยคำที่กล่าวโดยลำดับ) และ เรื่องอริยสัจ ๔ พรหมายุพราหมณ์ได้บรรลุธรรมแล้ว จึงนิมนต์พระผู้มีพระภาค พร้อมด้วย ภิกษุสงฆ์ไปฉันในวันรุ่งขึ้น เมื่อเสด็จไปฉันแล้วพักอยู่ในแคว้นวิเทหะนั้นอีก ๗ วัน ก็ เสด็จจากไป ต่อมาไม่ช้าพรหมายุพราหมณ์ก็ถึงแก่กรรม เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลถาม ถึงคติ จึงตรัสตอบว่า เป็นอนาคามีบุคคล ไม่กลับมาสู่โลกนี้อีก
เพิ่งเริ่มต้นเล่าที่มาของการสวด นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ก็ยาว เหยียดแล้วค่ะ อาจจะมีกล่าวในสูตรอื่นๆ อีกที่ยังค้นไม่พบ แต่ผู้ที่จะกล่าวคำนอบน้อม อย่างสูงสุดด้วยใจอย่างนี้ได้ จะต้องมีดวงตาเห็นธรรม คือประจักษ์ลักษณะของสภาพ ธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนั้นจริงๆ จึงจะซาบซึ้งในพระปัญญาคุณ ในพระมหากรุณา คุณ และในพระบริสุทธิคุณได้ เพราะเห็นว่า ไม่มีผู้ใดจะสามารถแสดงธรรมให้ประจักษ์ ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏอย่างพระองค์ได้ เราเพียงแต่ได้ยินได้ฟังพระ ธรรมซึ่งไม่เคยฟังมาก่อน ก็กล่าวตามด้วยความนอบน้อมระดับหนึ่ง เมื่อเข้าใจมากขึ้น ก็ นอบน้อมอีกระดับหนึ่ง จึงขออนุโมทนาผู้นำมาบรรยายให้ฟังในรถ เพราะบางท่านก็ยังไม่ ทราบที่มาและแม้แต่คำแปลของคำสวดก็มี เมื่อได้ทราบที่มาและคำแปล ก็จะเป็นปัจจัย ให้เกิดความนอบน้อมมากขึ้นตามระดับของความเข้าใจนั้น
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมนาพี่แดงและท่านอาจารย์สงบด้วยครับ
ขอขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอกราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณพ่อสงบ และคุณแม่แดง ที่กรุณาบรรยายธรรมตลอดการเดินทางไปสังเวนียสถานทั้ง 4 เมื่อปีที่แล้วอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย ท่านทั้งสองได้กรุณาสนทนา ตอบข้อซักถามธรรมให้กระจ่าง และเล่าถึงประวัติ ความเป็นมาของแต่ละสถานที่ ก็ยิ่งทำให้เกิดความศรัทธา เลื่อมใสและที่สำคัญคือมีความมั่นคงในพระธรรมมากยิ่งขึ้นว่า ไม่มีอะไรประเสริฐยิ่งกว่า "ปัญญา" แล้ว จึงขอกราบขอบพระคุณและอนุโมทนาในกุศลจิตของท่านทั้งสองอีกครั้ง
เชื่อว่าการบรรยายธรรมตลอดการเดินทางครั้งนี้ จะเป็นปัจจัยให้อีกหลายท่านได้มีความศรัทธาในพระธรรมมากยิ่งขึ้นค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ