ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
อาบัติสังฆาทิเสสเป็นอาบัติหนักแต่แก้ไขได้โดยสงฆ์ คือ จะปลงอาบัติกับภิกษุเพียงรูปใดรูปหนึ่งไม่ได้ ต้องอาศัยสงฆ์ในการประพฤติเพื่อการออกจากอาบัตินั้น เช่น การให้ปริวาส ให้มานัต ต้องอาศัยสงฆ์อย่างน้อย ๔ รูปขึ้นไป
การอยู่ปริวาสกรรม มีความสำคัญแก่พระภิกษุที่ท่านต้องอาบัติหนัก คือ อาบัติสังฆาทิเสส เมื่อพระท่านต้องเข้าแล้วจะแก้ด้วยการปลงอาบัติไม่ได้ ต้องแก้ด้วยการอยู่กรรม (ปริวาส) เท่านั้น
หากสึกมาแล้ว และรู้ว่าต้องอาบัติสังฆาทิเสส ยังไม่ได้อยู่ปริวาสเมื่อบวชเป็นพระภิกษุใหม่ ต้องอยู่ปริวาสตามระยะเวลาที่ปกปิดอาบัตินั้นไว้ครับ เช่น ปกปิดอาบัติไว้เป็นระยะเวลา ๑ ปีแล้วก็สึกออกมา เมื่อกลับไปบวชใหม่ก็ต้องยู่ปริวาสเป็นระยะเวลา ๑ ปี เช่นกันจนกว่าจะบริสุทธิ์และสงฆ์รับเข้าหมู่ได้ครับ ดังนั้น เมื่อกลับเข้าไปบวชเป็นพระภิกษุอีก อาบัติที่เคยต้องในสมัยที่เคยบวชครั้งก่อนก็กลับมีเหมือนเดิม การนับวันที่ปกปิดก็นับเฉพาะเวลาที่อยู่ในเพศพระเท่านั้นครับ
หากสึกมาแล้ว ต้องการจะกลับมาบวชใหม่ แต่สงสัยว่าอาบัติสังฆาทิเสสหรือไม่ ก็สามารถอยู่ปริวาสที่เป็น สุทธันตปริวาส ได้ครับ แต่ไม่จำเป็นจะต้องบวชเป็นเณรก่อนครับ สามารถบวชเป็นพระภิกษุได้ แต่ อยู่ปริวาสครับ
ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
การบวช (ในสมัยปัจจุบันนี้) มี ๒ อย่าง คือ การบวชเป็นสามเณร และ การบวชเป็นพระภิกษุ การบวชเป็นพระภิกษุนั้น จะต้องบวชวิธีด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา สำเร็จด้วยหมู่สงฆ์ โดยไม่ต้องบวชเป็นสามเณรก่อน สามารถบวชเป็นพระภิกษุได้เลย เมื่อมีอายุตั้งแต่ ๒๐ ปีขึ้นไป ส่วนการบวชเป็นสามเณร ก็ด้วยการถึงสรณะ ๓ เป็นที่พึ่ง และสมาทานศึกษาในศีลของสามเณร คือ ศีล ๑๐ รวมไปถึงจะต้องศึกษามารยาทอันดีงามที่บรรพชิตจะต้องศึกษาและสำรวมตามด้วย การล่วงละเมิดสิกขาบทแต่ละข้อๆ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ ย่อมเป็นอาบัติสำหรับพระภิกษุรูปที่ล่วงละเมิด ตามความหนักเบาของสิกขาบทนั้นๆ อย่างหนัก ก็ทำให้ขาดจากความเป็นพระภิกษุ คือ ปาราชิก เช่น เสพเมถุน ฆ่ามนุษย์ขาดจากความเป็นพระภิกษุทันที อาบัติรองจากปาราชิก คือ สังฆาทิเสส เมื่อต้องเข้าแล้ว ต้องอยู่ปริวาสกรรม เท่านั้น ถึงจะออกจากอาิบัตินี้ได้ ในกรณีที่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ไม่ได้อยู่ปริวาสกรรม ลาสิกขาออกไปเป็นคฤหัสถ์ ย่อมไม่มีอาบัติติดตัวแต่อย่างใด แต่เมื่อกลับเข้ามาบวชใหม่ อาบัติทั้งหมดที่ต้องแล้ว ไม่ได้ทำการแก้ไข เมื่อบวชครั้งก่อน ก็จะมีเหมือนอย่างเดิม ต้องทำการแก้ไขด้วยการออกจากอาบัตินั้นๆ ตามสมควรแก่อาบัติชนิดนั้นๆ ที่ตนได้ล่วง กล่าวคือ ถ้าเป็นอาบัติสังฆาทิเสส ปกปิดไว้นานเท่าใด ก็ต้องอยู่ปริวาสกรรม เท่ากับจำนวนวันที่ตนเองต้อง ถึงจะออกจากอาบัตินั้นได้ ถ้าเป็นอาบัติปาจิตตีย์ ทุกกฏ เป็นต้น ก็แก้ไขด้วยการแสดงอาบัติต่อหน้าพระภิกษุด้วยกัน มีความจริงใจที่จะสำรวมระวังไม่ล่วงละเมิดสิกขาบทนั้นๆ อีก อาบัติที่ได้ต้องเข้าแล้ว เมื่อได้ทำการแก้ไขให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยแล้ว ก็จะไม่เป็นเครื่องกั้นสวรรค์ ไม่เป็นเครื่องกั้นในการรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ด้วยครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
เพื่อให้ท่านผู้ตั้งหัวข้อถาม เกิดความมั่นใจและสบายใจโปร่งใจ ในกรณีที่อาจจะยังมีผู้ข้องใจ ขอได้โปรดแสดงหลักฐานว่า ภิกษุที่ต้องอาบัติ (ตั้งแต่สังฆาทิเสสลงมา) ยังไม่ได้ทำคืนให้บริสุทธิ์ แล้วลาสิกขาออกไป เมื่อกลับมาบวชใหม่ อาบัติ (หรือความผิด) นั้น ก็กลับมามีอยู่เหมือนเดิม [เท่ากับพอบวช (ครั้งใหม่) เสร็จก็เป็นอาบัติทันที]
เผื่อใครแย้งนะครับว่า สึกแล้วก็น่าจะขาดตอนกันไปหมดแล้ว
อนึ่ง ในความคิดเห็นที่ 1 ข้อความตรงที่ว่า การให้ปริวาส ให้มานัต ต้องอาศัยสงฆ์อย่างน้อย ๔ รูปขึ้นไป กระผมเคยจำได้ว่า สังฆกรรมที่เกี่ยวกับอาบัติสังฆาทิเสสนี้ต้องใช้สงฆ์วีสติวรรค คือภิกษุอย่างน้อย ๒๐ รูปขึ้นไป หรือกระผมจะจำมาผิดก็ไม่ทราบ
ควรมิควรแล้วแต่จะพิจารณาครับ
เรียน ความเห็นที่ 4 ครับ
เป็น ๒๐ รูปตามที่ผู้ร่วมสนทนากล่าวถูกแล้วครับ ไม่ใช่ ๔ รูป
ขออนุโมทนา
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ