[เล่มที่ 57] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 300
๖. กุรุงคมิคชาดก
ว่าด้วยการร่วมมือกัน
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 57]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 300
๖. กุรุงคมิคชาดก
ว่าด้วยการร่วมมือกัน
[๒๖๑] ดูก่อนเต่า เราขอเตือน ท่านจงกัดบ่วงอันมีเกลียวแข็งด้วยฟัน เราจักทำอุบายไม่ให้นายพรานมาถึงเร็วได้.
[๒๖๒] เต่าก็ลงน้ำไป กวางก็เข้าป่าไป นกสตปัตตะไปถึงต้นไม้แล้ว ก็พาลูกๆ ไปอยู่ในที่ห่างไกล.
จบ กุรุงคมิคชาดกที่ ๖
อรรถกถากุรุงคมิคชาดกที่ ๖
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อิงฺฆ วทฺธมยํ ปาสํ ดังนี้.
ความย่อมีอยู่ว่า ในครั้งนั้นพระศาสดาทรงสดับว่า พระเทวทัตพยายามจะปลงพระชนม์พระองค์ จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัตพยายามจะปลงชีวิตของเรา มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็พยายามเหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.
ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ถือกำเนิดเป็นกวางอาศัยอยู่ที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 301
ละเมาะแห่งหนึ่ง ไม่ไกลสระแห่งหนึ่งในป่า. ไม่ไกลสระนั้นมีนกชื่อสตปัตตะ จับอยู่ที่ยอดไม้ต้นหนึ่ง. ก็ที่สระมีเต่าอาศัยอยู่. สัตว์ทั้งสามนั้นเป็นสหายกัน ต่างอยู่กันด้วยความรัก. ครั้งนั้น พรานเนื้อคนหนึ่งท่องเที่ยวไปในป่า พบรอยเท้าพระโพธิสัตว์ที่ท่าลงน้ำดื่ม จึงดักบ่วงมีเกลียวแข็งแรงราวกับโซ่เหล็ก แล้วกลับไป. พระโพธิสัตว์มาดื่มน้ำ ติดที่บ่วงแต่ยามต้น จึงร้องให้รู้ ว่าติดบ่วงเข้าแล้ว. นกสตปัตตะได้ยินเสียงพระโพธิสัตว์ จึงลง จากยอดไม้ เต่าก็ขึ้นจากน้ำ ปรึกษากันว่า จะควรทำอย่างไรดี. นกสตปัตตะจึงบอกเต่าว่า สหายท่านมีฟันจงแทะบ่วงนี้เถิด เราจะไปคอยกันไม่ให้พรานมา ได้ด้วยความพยายามที่เราทั้งสองทำอย่างนี้ สหายของเราจักรอดชีวิต เมื่อจะประกาศเนื้อความนี้ จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-
ดูก่อนเต่าเราขอเตือน ท่านจงกัดบ่วงอันมีเกลียวแข็งด้วยฟัน เราจักทำอุบายไม่ให้นายพรานมาถึงเร็วได้.
เต่าจึงเริ่มแทะเชือกหนัง นกสตปัตตะก็จับคอยอยู่บนต้นไม้ ไม่ไกลจากบ้านที่นายพรานอยู่. นายพรานถือหอกออกแต่เช้าตรู่. นกรู้ว่านายพรานออกก็โฉบปรบปีก เอาปากจิกนายพรานผู้จะออกทางประตูหน้า. นายพรานคิดว่าเราถูกนกกาฬกัณณีตีเข้าให้แล้ว จึงกลับไปนอนเสียหน่อยหนึ่ง แล้วลุกขึ้นถือหอกไปอีก. นกรู้ว่านายพรานนี้ออกไปทางประตูหน้า บัดนี้คงจะออกไปทาง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 302
ประตูหลัง จึงไปจับที่เรือนด้านหลัง ฝ่ายนายพรานคิดว่า เมื่อเราออกทางประตูหน้าก็พบนกกาฬกัณณี บัดนี้เราจะออกทางประตูหลัง จึงออกไปทางประตูหลัง. นกก็โฉบลงเอาปากจิกอีก. นายพรานคิดว่า เราถูกนกกาฬกัณณีตีอีก. บัดนี้นกนี้คงไม่ให้เราออก นอนรอจนอรุณขึ้น จึงถือหอกออกไปในเวลาอรุณขึ้น. นกรีบไปบอกแก่พระโพธิสัตว์ว่า พรานกำลังเดินมา. ในขณะนั้น เต่ากัดเชือกขาดยังเหลืออีกเกลียวเดียว. แต่ฟันของเต่าชักจะเรรวนจวนจะร่วง ปากก็ฟูมไปด้วยเลือด. พระโพธิสัตว์เห็นบุตรนายพรานถือหอก เดินมาด้วยความเร็วดุจฟ้าแลบ จึงกัด เกลียวนั้นขาดเข้าป่าไป. นกจับอยู่บนยอดไม้. แต่เต่าคงนอน อยู่ในที่นั้นเอง เพราะบอบช้ำมาก. พรานเห็นเต่า จึงจับใส่ กระสอบแขวนไว้ที่ตอไม้ต้นหนึ่ง. พระโพธิสัตว์กลับมาดูรู้ว่า เต่าถูกจับไปจึงคิดว่า เราจักให้ช่วยชีวิตสหาย จึงทำเป็นคล้าย จะหมดกำลังแสดงตนให้พรานเห็น. พรานคิดว่า เนื้อนี้คงหมดแรง เราจักฆ่ามันเสียแล้วถือหอกติดตามไป. พระโพธิสัตว์ไปไม่ไกลไม่ใกล้นัก ล่อพรานเข้าป่าไป. ครั้นรู้ว่าพรานไปไกลแล้ว จึงเหยียบรอยเท้าลวงไว้ แล้วไปเสียทางอื่นด้วยความเร็วราวกะลมพัด เอาเขายกกระสอบขึ้นแล้วทิ้งลงบนพื้นดิน ขวิดฉีกขาดนำเต่าออกมาได้. แม้นกสตปัตตะก็ลงจากต้นไม้. พระโพธิสัตว์เมื่อจะให้โอวาทแก่สัตว์ทั้งสอง จึงกล่าวว่า เราได้ชีวิตก็เพราะอาศัยพวกท่าน กิจที่ควรทำแก่สหาย พวกท่านก็ได้ทำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 303
แก่เราแล้ว บัดนี้พรานคงจะมาจับท่านอีก เพราะฉะนั้น สหายสตปัตตะท่านจงพาลูกเล็กๆ ของท่านไปอยู่ที่อื่นเสียเถิด สหายเต่า แม้ท่านก็จงลงน้ำไปเถิด. สัตว์ทั้งสองได้ทำตาม.
พระศาสดาตรัสรู้แล้ว ตรัสคาถาที่ ๒ ว่า :-
เต่าก็ลงน้ำไป กวางก็เข้าป่าไป นกสตปัตตะไปถึงต้นไม้แล้ว ก็พาลูกๆ ไปอยู่ในที่ห่างไกล.
แม้พรานมายังที่นั้น ไม่เห็นใครๆ หยิบกระสอบที่ขาดขึ้นแล้วก็เสียใจ กลับเรือนของตน. สัตว์ทั้งสามสหายก็มิได้ตัดความสนิทสนมกันจนตลอดชีวิต แล้วต่างก็ไปกันตามยถากรรม.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดก. นายพรานในครั้งนั้นได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้ นกสตปัตตะ ได้เป็นสารีบุตร เต่าได้เป็นโมคคัลลานะ ส่วนกวาง คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถากุรุงคมิคชาดกที่ ๖