วันนี้เป็นอีกวันที่มีความเข้าใจในพระสัทธรรมที่ท่านอาจารย์สุจินต์ได้บรรบายให้
เข้าใจถึงความลึกซึ้ง ความละเอียดของพระธรรม โดยมากคนมักจะอยากมีสติแทน
ที่จะเข้าใจ หรือคิดว่าสติเกิดระลึกในสภาพธรรม ขณะนั้นเป็นอกุศลจิต ความอยากหรือความคิดไม่สามารถรู้ลักษณะสภาพธรรมที่กำลังปรากฏได้เลย เพระฉะนั้น
เลิกหวัง เลิกอยาก ไม่ต้องไปพูดถึงสติปัฏฐาน แต่ความเข้าใจในสิ่งที่มีอยู่จริงๆ ที่
กำลังปรากฏที่เกิดจากการฟังที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้นๆ เป็นปัจจัยให้สติตามรู้ในสิ่งที่มีอยู่
จริงๆ ที่กำลังปรากฏ โดยที่ไม่ใช่ตามคิด เพราะตามคิดมีแต่เรื่องราวของสภาพธรรมที่ดับไปแล้ว ไม่ได้รู้ในตัวลักษณะธรรมจริงๆ ... ตามรู้ไม่ใช่ตาม
คิด... ความรู้ความเข้าใจเท่านั้นเป็นปัจจัยให้สติตามรู้ในลักษณะสภาพ
ธรรมที่กำลังปรากฏ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขณะที่ตามคิดนั้นสิ่งที่ปรากฏดับไปแล้ว..จึงไม่รู้สภาพธัมมะที่ปรากฏตามความเป็นจริงตามรู้หมายถึงรู้สิ่งที่ปรากฏขณะนั้นตามรู้หรือตามคิดบังคับบัญชาไม่ได้..เกิดตามเหตุปัจจัย...สังขารธรรมทำหน้าที่ปรุงแต่งให้ตามรู้หรือตามคิด...ปัญญาที่สะสมจากการฟังการศึกษาธรรมะด้วยความเข้าใจจะเป็นสังขารที่ปรุงแต่งให้ตามรู้ธรรมะตามความเป็นจริง
ขออนุโมทนา
การที่บางท่านบอกว่าตามรู้ตลอดทั้งวัน บางครั้งอาจจะเป็นแค่ขั้นคิดนึกก็ได้ เพราะการเจริญสติปัฏฐานไม่ได้มีบัญญัติเป็นอารมณ์ ด้วยความสะสมคุ้นเคยกับบัญญัติเรื่องราวหรือชื่อ มานานตั้งแต่อดีตชาตินับไม่ถ้วน จนหนาแน่น แยกไม่ออกว่า
อะไรคือปรมัตถ์หรือบัญญัติ โลภะนั้นละเอียดมาก แค่ขยับตัวไปข้างหน้า ก็ขยับไป
ด้วยโลภะ ด้วยความเป็นเรา โดยที่ไม่รู้ว่าขณะนั้นกำลังเป็นเรา บางท่านคิดว่านี่ไม่ใช่
เรา แต่นั่นก็เป็นเพียงขั้นคิดนึก เพราะสภาพธรรมเกิดดับไวมาก จนไม่รู้ว่านี่คือคิดหรือ
รู้ บางท่านตามรู้โดยบอกว่าขณะนี้รูปกำลังนั่งเก้าอี้หรือ แขนกำลังงอนี่ก็ไม่ใช่การตามรู้
แต่เป็นเพียงขั้นคิดนึก ที่อาจเข้าใจผิดว่าเป็นขั้นรู้ เพราะเหตุนี้จึงขาดการศึกษาพระ
ธรรมในส่วนละเอียดไม่ได้เลย (ปรมัตถธรรม) เพื่อเป็นอาหารบำรุงสติปัฏฐานให้เจริญ
ตามปกติในชีวิตประจำวัน
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ถ้าเข้าใจผิดว่า ตามคิด คือ สติตามระลึกรู้
ก็เป็นเครื่องกั้นการเจริญของปัญญา
การจดจ้อง ความต้องการ เป็นธรรมเครื่องเนิ่นช้า คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ค่ะ
อนุโมทนาค่ะ...
โดยส่วนตัว เวลาเผลอไปแล้วรู้สึกตัว ก็แค่ชั่วแวบเดียว หลังจากนั้นเริ่มจงใจแล้วค่ะ เป็นบ่อยเลยค่ะ อาศัยระลึกรู้ว่าจงใจ หรือเผลอคิด ก็พอช่วยให้ไม่หลงนานได้ เพราะมันเป็นไปตามกิเลสความเคยชิน บังคับไม่ได้จริงๆ ค่ะ
"ตามรู้ไม่ใช่ตามคิด" เป็นคำใหม่ เข้าใจด้วยการเปรียบเทียบความแตกต่างสองลักษณะผมขอทราบว่าท่านอาจารย์กล่าวไว้จริงหรือไม่ โปรดอ้างอิงด้วยเป็นหัวข้อที่น่าสนใจ ขออนุโมทนา
ขออนุโมทนาค่ะ
สภาพธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ไม่ว่าจิตเห็น จิตได้ยิน จิตรู้กลิ่น จิตรู้รส จิตรู้-
เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว หรือ จิตคิดนึก ล้วนเกิดเพราะเหตุปัจจัยทั้งสิ้น ไม่มีใครทำเห็นให้เกิดขึ้นได้ เช่นเดียวกับไม่มีใครทำคิดให้เกิดขึ้นได้ เมื่อได้
อบรมความเห็นถูกในลักษณะสภาพธรรมที่มีจริง ว่าเป็นเป็นสภาพธรรมไม่ใช่เรา แม้จิตที่คิดก็เป็นสภาพธรรมที่มีจริง สติตามรู้จิตที่คิดว่าเป็นเป็นสภาพ-นามธรรมอย่างหนึ่ง ไม่ใช่เราที่คิด เพราะสติก็เกิดเพราะเหตุปัจจัย
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ท่านอาจารย์กล่าวเสมอว่าท่านเป็นผู้ถ่ายทอดพระธรรม..คำว่าตามรู้มีอยู่ในพระไตรปิฏกหลายหน้า..ขอยกเป็นตัวอย่างคะ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 322
ซึ่งธรรมทั้งสี่ ธรรมทั้งสี่เป็นไฉน ? เพราะไม่รู้ตาม ไม่ แทงตลอด ซึ่งศีลอันเป็นอริยะ ซึ่งสมาธิอันเป็นอริยะ ซึ่งปัญญา อันเป็นอริยะ ซึ่งวิมุติอันเป็นอริยะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ศีลอันเป็นอริยะ สมาธิอันเป็นอริยะ ปัญญาอันเป็นอริยะ วิมุติอันเป็นอริยะ นี้ อันเรารู้ตามแล้ว แทงตลอดแล้ว เราจึงถอนตัณหาในภพเสียได้แล้ว ตัณหาอันจะนำไปสู่ภพสิ้นไปแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี ดังนี้ (พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไวยากรณพจน์นี้ ครั้นแล้วจึงได้ตรัสคำอันท่านประพันธ์เป็นคาถาในภายหลัง ความว่าดังนี้)
ธรรมเหล่านี้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ เป็นธรรมอันยอดเยี่ยม อันพระโคดมผู้มียศทรงตามรู้แล้ว พระพุทธเจ้าทรงรู้ยิ่งด้วยประการฉะนี้แล้ว ได้ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายเป็นศาสดาผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ ผู้มีจักษุ ปรินิพพานแล้ว ดังนี้๑เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่ หรือ ?
สาธุ