๑. มหากัจจายนเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระมหากัจจายนเถระ
โดย บ้านธัมมะ  20 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40636

[เล่มที่ 52] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 277

เถรคาถา อัฏฐกนิบาต

๑. มหากัจจายนเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระมหากัจจายนเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 52]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 277

เถรคาถา อัฏฐกนิบาต

๑. มหากัจจายนเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระมหากัจจายนเถระ

[๓๖๖] ภิกษุไม่ควรทำการงานให้มาก ควรหลีกเร้นหมู่ชน ไม่ควรขวนขวายเพื่อยังปัจจัยให้เกิด เพราะภิกษุใดเป็นผู้ ติดรสอาหาร ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้ขวนขวายเพื่อยังปัจจัย ให้เกิด และชื่อว่าละทิ้งประโยชน์อันจะนำความสุขมาให้ พระอริยะทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น กล่าวการไหว้ การบูชาในสกุลทั้งหลายว่า เป็นเปือกตม เป็นลูกศรอัน ละเอียดที่ถอนได้ยาก เพราะสักการะอันบุรุษชั่วละได้ยาก ภิกษุไม่ควรแนะนำสัตว์อันให้ทำกรรมอันเป็นบาป และ ไม่พึงซ่องเสพกรรมนั้นด้วยตนเอง เพราะสัตว์มีกรรม เป็นเผ่าพันธุ์ คนเราย่อมไม่เป็นโจรเพราะคำของบุคคล อื่น ไม่เป็นมุนีเพราะคำของบุคคลอื่น บุคคลรู้จักตนเอง ว่าเป็นอย่างไร แม้เทพเจ้าทั้งหลายก็รู้จักบุคคลนั้นว่าเป็น อย่างนั้น ก็คนพวกอื่นย่อมไม่รู้สึกตัวว่า พวกเราที่สมาคม นี้ จักพากันยุบยับในหมู่ชนพวกนั้น พวกใดมารู้สึกตัวว่า พวกเราจักพากันไปสู่ที่ใกล้มัจจุราช ความทะเลาะวิวาท ย่อมระงับไปเพราะพวกนั้น บุคคลผู้มีปัญญา ถึงจะสิ้น ทรัพย์ก็ยังเป็นอยู่ได้ ส่วนบุคคลถึงจะมีทรัพย์ก็เป็นอยู่ ไม่ได้ เพราะไม่ได้ปัญญา บุคคลย่อมได้ยินเสียงทุกอย่าง


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 278

ด้วยหู ย่อมเห็นสิ่งทั้งปวงด้วยจักษุ แต่นักปราชญ์ย่อม ไม่ควรละทิ้งสิ่งทั้งปวงที่ได้เห็นได้ฟังมาแล้ว ผู้มีปัญญา ถึงมีตาดี ก็ทำเหมือนคนตาบอด ถึงมีหูดี ก็ทำเหมือน คนหูหนวก ถึงมีปัญญา ก็ทำเหมือนคนใบ้ ถึงมีกำลัง ก็ทำเหมือนคนทุรพล แต่เมื่อประโยชน์นี้เกิดขึ้น ถึงจะ นอนอยู่ในเวลาใกล้ตาย ก็ยังทำประโยชน์นั้นได้.

จบมหากัจจายนเถรคาถา

อรรถกถาอัฏฐกนิบาต

อรรถกถามหากัจจายนเถรคาถาที่ ๑

ในอัฏฐกนิบาต คาถาของท่านพระมหากัจจายนเถระ มีคำเริ่มต้น ว่า กมฺมํ พหุกํ ดังนี้. เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร?

ท่านพระมหากัจจายนเถระแม้นี้ เป็นผู้มีอธิการได้บำเพ็ญมาแล้ว ในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง พระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในตระกูลคฤหบดีมหาศาล เจริญวัยแล้ว วันหนึ่ง กำลังฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา พบภิกษุรูปหนึ่งที่พระศาสดาทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้จำแนกอรรถ ที่พระศาสดาตรัสไว้โดยย่อ ให้พิสดาร แม้ตนเองก็ปรารถนาตำแหน่งนั้น ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สุเมธะ เป็นผู้ทรงวิชา ไป ทางอากาศ เห็นพระศาสดาประทับนั่งในไพรสณฑ์แห่งหนึ่ง ใกล้ภูเขา


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 279

หิมวันต์ มีใจเลื่อมใส ทำการบูชาด้วยดอกกรรณิการ์หลายดอก.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านวนเวียนไปๆ มาๆ ในสุคตินั้นนั่นแหละ ใน กาลแห่งพระทศพลเจ้า ทรงพระนามว่ากัสสปะ (ท่าน) ได้บังเกิดใน เรือนมีตระกูล ในกรุงพาราณสี เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ทำการบูชาในที่สร้างเจดีย์ทองคำ ด้วยแผ่นอิฐทองคำ อันมีค่าแสนหนึ่ง แล้ว ตั้งความปรารถนาไว้ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอให้สรีระของ ข้าพระองค์ จงมีสีเหมือนทองคำ ในที่ที่ข้าพระองค์เกิดแล้วเถิด.

ต่อแต่นั้นมา ก็บำเพ็ญแต่กุศลกรรมจนตลอดชีวิต ท่องเที่ยวไป ในเทวโลกและมนุษยโลก ตลอดพุทธันดรหนึ่ง ในพุทธุปบาทกาลนี้ ท่านบังเกิดในบ้านปุโรหิตของพระเจ้าจัณฑปัชโชต ในกรุงอุชเชนี, ใน วันตั้งชื่อทารกนั้น มารดาคิดว่า บุตรของเรามีสีกายเหมือนทองคำ พา เอาชื่อของตนมาแล้ว ดังนี้ จึงตั้งชื่อว่า กัญจนมาณพ นั่นแล. ทารกนั้น เจริญวัยแล้ว ก็ศึกษาเล่าเรียนไตรเพทจนจบ พอบิดาล่วงไป ก็ได้ตำแหน่ง เป็นปุโรหิต. เขาปรากฏชื่อว่า กัจจายนะ ด้วยอำนาจแห่งโคตร. พระเจ้า จัณฑปัชโชตทรงสดับว่า พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้น จึงส่งเขาไปว่า อาจารย์ ท่านจงไปในที่นั้น นำเสด็จพระศาสดามาในที่นี้เถิด.

กัจจายนะนั้น มีตนเป็นที่ ๘ เข้าไปเฝ้าพระศาสดา. พระศาสดา ทรงแสดงธรรมแก่เขา ในที่สุดแห่งเทศนา เขาพร้อมทั้งชนอีก ๗ คน ก็ดำรงอยู่ในพระอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย. ด้วยเหตุนั้น ท่าน จึงกล่าวไว้ในอปทาน๑ว่า:-


๑. ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๑๒๑.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 280

พระพิชิตมารพระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้ปราศจากตัณหา ทรงชำนะสิ่งที่ใครๆ เอาชนะไม่ได้ เป็นพระผู้นำ ได้เสด็จ อุบัติขึ้นในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้ พระองค์เป็นผู้แกล้วกล้า สามารถ มีพระอินทรีย์เสมือนใบบัว มีพระพักตร์ปราศ- จากมลทินคล้ายพระจันทร์ มีพระฉวีวรรณปานดังทองคำ มีพระรัศมีซ่านออกจากพระองค์ เหมือนรัศมีพระอาทิตย์ เป็นที่ติดตาตรึงใจของสัตว์ ประดับด้วยพระลักษณะอัน ประเสริฐ ล่วงทางแห่งคำพูดทุกอย่าง อันหมู่มนุษย์และ อมรเทพสักการะ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ทรงยังสัตว์ให้ ตรัสรู้ ทรงนำไปได้อย่างรวดเร็ว มีพระสุรเสียงไพเราะ มีพระสันดานมากไปด้วยพระกรุณา ทรงแกล้วกล้าในที่ ประชุม พระองค์ทรงแสดงธรรมอันไพเราะ ซึ่งประกอบ ด้วยสัจจะ ๔ ทรงฉุดขึ้นซึ่งหมู่สัตว์ที่จมอยู่ในเปือกตม คือโมหะ.

ครั้งนั้น เราเป็นดาบสสัญจรไปแต่คนเดียว มีป่า หิมพานต์เป็นที่อยู่อาศัย เมื่อไปสู่มนุษยโลกทางอากาศ ก็ได้พบพระพิชิตมาร เราได้เข้าไปเฝ้าพระองค์ แล้วสดับ พระธรรมเทศนาของพระธีรเจ้า ผู้ทรงพรรณนาคุณอัน ใหญ่ของพระสาวกอยู่ว่า เราไม่เห็นสาวกองค์อื่นใด ใน พระธรรมวินัยนี้ ที่จะเสมอเหมือนกับกัจจายนภิกษุนี้ ผู้ ซึ่งประกาศธรรมที่เราแสดงแล้วแต่โดยย่อ ได้โดยพิสดาร


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 281

ทำบริษัทและเราให้ยินดี เพราะฉะนั้น กัจจายนภิกษุนี้จึง เลิศกว่าภิกษุผู้เลิศในการกล่าวธรรมได้โดยพิสดาร ซึ่ง อรรถแห่งภาษิตที่เรากล่าวไว้แต่โดยย่อนี้ ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงทรงจำไว้อย่างนี้เถิด.

ครั้งนั้น เราได้ฟังพระดำรัสอันรื่นรมย์ใจแล้ว เกิด ความอัศจรรย์ จึงไปป่าหิมพานต์ นำเอากลุ่มดอกไม้มา บูชาพระผู้เป็นที่พึ่งของโลก แล้วปรารถนาฐานันดรนั้น ครั้งนั้น พระผู้ทรงละกิเลสเป็นเหตุให้ร้องไห้ ทรงทราบ อัธยาศัยของเราแล้ว ได้ทรงพยากรณ์ว่า จงดูฤๅษีผู้ประเสริฐนี้ ซึ่งเป็นผู้มีผิวพรรณเหมือนทองคำที่ไล่มลทินออก แล้ว มีโลมชาติชูชันและใจโสมนัส ยืนประณมอัญชลีนิ่ง ไม่ไหวติง ร่าเริง มีนัยน์ตาเต็มดี มีอัธยาศัยน้อมไปใน คุณของพระพุทธเจ้า มีธรรมเป็นธง มีหทัยร่าเริง เหมือน กับถูกรดด้วยน้ำอมฤต เขาได้สดับคุณของกัจจายนภิกษุ เข้า จึงได้ปรารถนาฐานันดรนั้น ในอนาคตกาล ฤๅษีผู้นี้จัก ได้เป็นธรรมทายาทของพระโคดม มหามุนี เป็นโอรส อันธรรนเนรมิต จักเป็นพระสาวกของพระศาสดา มีนามว่า กัจจายนะ เขาจักเป็นพหูสูตมีญาณใหญ่ รู้อธิบายแจ้งชัด เป็นนักปราชญ์ จักถึงฐานันดรนั้น ดังที่เราได้พยากรณ์ ไว้แล้ว.

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 282

เราท่องเที่ยวอยู่แต่ในสองภพ คือในเทวดาและมนุษย์ คติอื่นเราไม่รู้ นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา เราเกิดในสอง สกุล คือสกุลกษัตริย์และสกุลพราหมณ์ เราไม่เกิดใน สกุลที่ต่ำทราม นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.

และในภพสุดท้าย เราเกิดเป็นบุตรของติริติวัจฉ- พราหมณ์ ผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าจัณฑปัชโชต ใน พระนครอุชเชนีอันน่ารื่นรมย์ เราเป็นคนฉลาดเรียนจบ ไตรเพท ส่วนมารดาของเราชื่อจันทนปทุมา๑ เราชื่อ กัจจายนะ เป็นผู้มีผิวพรรณงาม เราอันพระเจ้าแผ่นดิน ทรงส่งไปเพื่อพิจารณาพระพุทธเจ้า ได้พบพระผู้นำซึ่ง เป็นประตูของโมกขบุรี เป็นที่สั่งสมคุณ และได้สดับ พระพุทธภาษิตอันปราศจากมลทิน เป็นเครื่องชำระล้าง เปือกตมคือคติ จึงได้บรรลุอมตธรรมอันสงบ ระงับ พร้อม กับบุรุษ ๗ คนที่เหลือ เราเป็นผู้รู้อธิบายในพระมติอัน ใหญ่ ของพระสุคตเจ้าได้แจ้งชัด และพระศาสดา ทรงตั้งไว้ตำแหน่งเอตทัคคะ เราเป็นผู้มีความปรารถนา สำเร็จด้วยดีแล้ว เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว... ฯลฯ. .. พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ลำดับนั้น พระศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์ตรัสว่า ท่านทั้งหลาย จงเป็นภิกษุมาเถิด. ในขณะนั้นนั่นเอง ท่านเหล่านั้นมีผมและหนวดเพียง ๒ องคุลี ทรงบาตรและจีวรที่สำเร็จด้วยฤทธิ์ ได้เป็นผู้คล้ายพระเถระมี


๑. บางแห่งเป็น จันทิมา.


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 283

พรรษา ๖๐ พรรษา พระเถระทำประโยชน์ของตนให้สำเร็จด้วยประการ ฉะนี้แล้ว จึงกราบทูลแด่พระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าจัณฑปัชโชตทรงปรารถนาเพื่อจะไหว้ที่พระบาท และเพื่อจะทรงสดับ ธรรมของพระองค์. พระศาสดาตรัสว่า ภิกษุ เธอนั่นแหละ จงไปในที่นั้น แม้เมื่อเธอไปแล้ว พระราชาก็จักเลื่อมใสเอง.

พระเถระมีตนเป็นที่ ๘ ไปในที่นั้นตามพระดำรัสสั่งของพระศาสดา ทำให้พระราชาทรงเลื่อมใสแล้ว ให้ประดิษฐานพระศาสนาในแคว้น อวันตีชนบทแล้ว ไปเฝ้าพระศาสดาอีกครั้งหนึ่ง วันหนึ่ง ท่านเห็นภิกษุ เป็นอันมากละสมณธรรมมายินดีในการงาน ยินดีในการคลุกคลี พอใจ ในรสตัณหา และอยู่ด้วยความประมาท ด้วยการที่จะโอวาทภิกษุเหล่านั้น จึงกล่าวคาถา ๒ คาถา๑ว่า :-

ภิกษุไม่ควรทำการงานให้มาก ควรหลีกเร้นหมู่ชน ไม่ควรขวนขวายเพื่อให้ปัจจัยเกิดขึ้น เพราะภิกษุใดเป็น ผู้ติดรสอาหาร ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้ขวนขวาย เพื่อให้ ปัจจัยเกิดขึ้น และข้อว่าละทิ้งประโยชน์อันจะนำความสุข มาให้ พระอริยะทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น กล่าว การไหว้ การบูชาในสกุลทั้งหลายว่า เป็นเปือกตม เป็น ลูกศรอันละเอียด ถอนได้ยาก เพราะสักการะอันบุรุษชั่ว ละได้ยาก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กมฺมํ พหุกํ น การเย ความว่า ภิกษุ


๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๓๖.


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 284

ไม่พึงปรารถนานวกรรมที่ใหญ่ มีการให้สร้างที่อยู่ใหม่เป็นต้น อันเป็น เหตุพัวพันต่อการบำเพ็ญสมณะธรรม, ส่วนการปฏิสังขรณ์สิ่งชำรุดทรุดโทรมที่จะลงมือทำเล็กๆ น้อยๆ เพื่อบูชาพระดำรัสของพระศาสดาก็ควร ทำทีเดียว.

บทว่า ปริวชฺเชยฺย ชนํ ความว่า ควรหลีกเว้นหมู่ชน ด้วยอำนาจ การคลุกคลีด้วยหมู่คณะ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ชนํ ความว่า เมื่อภิกษุ เสวนาคบหา เข้าไปนั่งใกล้บุคคลเช่นใด กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป อกุศลธรรมย่อมเจริญขึ้น ภิกษุควรหลีกเว้นหมู่ชนผู้ไม่ใช่กัลยาณมิตรเช่นนั้น เสีย.

บทว่า น อุยฺยเม ความว่า ภิกษุไม่พึงพยายาม ด้วยการสงเคราะห์ สกุลเพื่อให้ปัจจัยเกิดขึ้น. เพราะบทว่า โส อุสฺสุกฺโก รสานุคิทฺโธ อตฺถํ ริญฺจติ โย สุขาธิวาโห ความว่า ภิกษุใดเป็นผู้ติดรสอาหาร คือติดรส อาหารด้วยอำนาจตัณหา เป็นผู้ขวนขวายเพื่อให้ปัจจัยเกิดขึ้น ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้ขวนขวายเพื่อสงเคราะห์สกุล เมื่อสกุลมีความสุข ตนเองก็พลอย มีความสุข เมื่อสกุลประสบความทุกข์ ตนเองก็พลอยมีความทุกข์ไปด้วย เมื่อกิจการงานของสกุลเกิดขึ้น ก็เอาตนเข้าไปพัวพัน ย่อมละเว้น ประโยชน์ มีศีลเป็นต้น อันจะนำความสุขมาให้ คืออันจะนำความสุขที่เกิดจากสมถะ วิปัสสนา มรรคผล และนิพพานมาให้ คือแตกตนออกจากประโยชน์นั้น โดยส่วนเดียว.

พระเถระโอวาทว่า ท่านจงเว้นความยินดีในการงาน ความยินดีใน การคลุกคลี และความติดใจในปัจจัย ด้วยคาถาแรกอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะติเตียนถึงความมุ่งหวังสักการะ จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ไว้.


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 285

เนื้อความแห่งคาถาที่ ๒ นั้นว่า การไหว้และการบูชานี้ใด ที่หมู่ชน ตามเรือนในสกุล ทำเพื่อยกย่องคุณของบรรพชิตผู้เข้าไปเพื่อภิกษา เพราะ พระอริยะทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น กล่าวชี้แจงหรือประกาศให้รู้ถึง การไหว้และการบูชานั้นว่า เป็นเปือกตม เพราะอรรถว่า ยังผู้ที่มิได้อบรม ตนให้จมลง และเพราะอรรถว่าทำความมัวหมองให้ และเพราะกล่าวถึง การมุ่งสักการะ ของอันธปุถุชนผู้ยังไม่รู้ทั่วถึงขันธ์ ว่าเป็นลูกศรอัน ละเอียดที่ถอนขึ้นได้ยาก เพราะเกิดเป็นความเบียดเบียน เพราะข่มขื่นภายใน และเพราะถอนขึ้นได้ยาก ด้วยเหตุเป็นสภาวะอันบุคคลรู้ได้โดยยาก ฉะนั้น นั่นแล สักการะอันบุรุษชั่วละได้ยาก คือพึงละได้โดยยาก เพราะไม่ ดำเนินไปตามข้อปฏิบัติเป็นเครื่องละสักการะนั้น, เพราะสักการะ จะเป็น อันบุรุษละได้ ก็ด้วยการละความมุ่งสักการะ ฉะนั้น ท่านจึงแสดงว่า การประกอบความเพียร เพื่อการละสักการะนั้น เป็นกรณียะที่ภิกษุควร ทำแล.

ภิกษุไม่ควรแนะนำสัตว์อื่นให้ทำกรรมชั่ว และไม่พึง ซ่องเสพกรรมนั้นด้วยตนเอง เพราะสัตว์มีกรรมเป็น เผ่าพันธุ์ คนเราย่อมไม่เป็นโจรเพราะคำของบุคคลอื่น ไม่เป็นมุนีเพราะคำของบุคคลอื่น บุคคลอื่นรู้จักตนเองว่า เป็นอย่างไร แม้เทพเจ้าทั้งหลายก็รู้อักบุคคลนั้นว่าเป็น อย่างนั้น ก็คนพวกอื่นย่อมไม่รู้สึกตัวว่า พวกเราที่สมาคม นี้ จักพากันย่อยยับ ในหมู่ชนพวกนั้น พวกใดมารู้สึก ตัวว่า พวกเราจักพากันไปสู่ที่ใกล้มัจจุราช ความทะเลาะ


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 286

วิวาท ย่อมระงับไปเพราะพวกนั้น บุคคลผู้มีปัญญาถึง จะสิ้นทรัพย์ก็ยังเป็นอยู่ได้ ส่วนบุคคลถึงจะมีทรัพย์ก็เป็น อยู่ไม่ได้ เพราะไม่ได้ปัญญา บุคคลย่อมได้ยินเสียงทุก อย่างด้วยหู ย่อมเห็นสิ่งทั้งปวงด้วยจักษุ แต่นักปราชญ์ ย่อมไม่ควรละทิ้งสิ่งทั้งปวง ที่ได้เห็นได้ฟังมาแล้ว ผู้มี ปัญญาถึงมีตาดี ก็ทำเหมือนคนตาบอด ถึงมีหูดี ก็ทำ เหมือนคนหูหนวก ถึงมีปัญญา ก็ทำเหมือนคนใบ้ ถึง มีกำลัง ก็ทำเหมือนคนทุรพล แต่เมื่อประโยชน์เกิดขึ้น ถึงจะนอนอยู่ในเวลาใกล้ตาย ก็ยังทำประโยชน์นั้นได้.

ได้ยินว่า พระราชาพระองค์นั้น ทรงเชื่อพวกพราหมณ์ แล้วรับสั่ง ให้ฆ่าสัตว์บูชายัญ ไม่ทรงสอบสวนการกระทำให้ถ่องแท้ ลงอาชญาผู้คน หลายคนที่มิใช่โจร ด้วยความสำคัญผิดคิดว่าเป็นโจร และในการตัดสิน คดีความ ก็ทรงตัดสินทำผู้คนที่มิได้เป็นเจ้าของ ให้เป็นเจ้าของ และทรง ตัดสินทำผู้ที่เป็นเจ้าของเดิม ไม่ให้ได้เป็นเจ้าของ. เพราะเหตุนั้น เพื่อ จะชี้แจงความนั้นกะพระราชา พระเถระจึงกล่าวคาถา ๖ คาถา โดยมีนัย เป็นต้นว่า น ปรสฺส ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ปรสฺสุปนิธาย กมฺมํ มจฺจสฺส ปาปกํ ความว่า ภิกษุไม่ควรทำการแนะนำสัตว์อื่น ให้ซ่องเสพกรรมชั่ว มีการฆ่าและการจองจำเป็นต้น คือไม่ควรชักชวนบุคคลอื่นให้ทำ.

บทว่า อตฺตนา ตํ น เสเวยฺย ความว่า แม้ตนเองก็ต้องไม่ทำ กรรมชั่วนั้น. เพราะอะไร? เพราะสัตว์มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ ความว่า


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 287

สัตว์เหล่านี้ย่อมเป็นทายาทของกรรม เพราะฉะนั้น ตนเองต้องไม่ทำกรรม ชั่วอะไรๆ เลย ทั้งไม่ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมชั่วนั้นด้วย.

บทว่า น ปเร วจนา โจโร ความว่า ตนเองไม่ได้กระทำโจรกรรม จะชื่อว่าเป็นโจรเพียงถ้อยคำของบุคคลอื่นนั้นหามิได้. ไม่เป็นมุนีเพราะคำ ของบุคคลอื่น ก็เช่นกัน คือมุนีจะเป็นผู้มีกายสมาจาร วจีสมาจาร และ มโนสมาจารบริสุทธิ์ด้วยดี ด้วยเหตุเพียงถ้อยคำของบุคคลอื่นนั้นไม่ได้ เลย.

ก็บทว่า ปเร ในคาถานี้ ท่านแสดงไว้เพราะไม่ทำการลบวิภัตติ. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า เมื่อท่านควรจะกล่าวว่า ปเรสํ แต่แสดงไว้ ว่า ปเร เพราะทำการลบ สํ อักษรเสีย.

บทว่า อตฺตา จ นํ ยถา เวที ความว่า บุคคลรู้คน คือจิตที่ข้อง แล้วนั้นว่าเป็นอย่างไร คือรู้แจ้ง รู้ชัด ตามความเป็นจริงว่า เราบริสุทธิ์ หรือว่าไม่บริสุทธิ์ ดังนี้.

บทว่า เทวาปิ นํ ตถา วิทู ความว่า วิสุทธิเทพ และอุปปัตติเทพ ย่อมรู้แจ่มชัดบุคคลนั้นว่าเป็นเช่นนั้น เพราะฉะนั้น ตนเองและเทพเช่นนั้น จึงเป็นประมาณแห่งความบริสุทธิ์และความไม่บริสุทธิ์ ในเพราะการรู้ว่า บริสุทธิ์ และไม่บริสุทธิ์ อธิบายว่า สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่ถูกความอยาก และโทสะครอบงำแล้ว หารู้แจ่มชัดได้ไม่.

บทว่า ปเร ความว่า เว้นบัณฑิตเสีย คนพวกอื่นนอกจากบัณฑิต นั้น คือผู้ไม่รู้จักกุศล อกุศล กรรมอันมีโทษและไม่มีโทษ กรรมและผล แห่งกรรม ความไม่งดงามแห่งร่างกาย และความที่สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ชื่อว่า คนพวกอื่นในที่นี้. พวกเราในสมาคมนี้นั้น คือในชีวโลกนี้จักพา


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 288

กันยุบยับ คือจักพากันละเว้น ได้แก่ไม่รู้ว่า พวกเราจักพากันไปสู่ที่ใกล้ มัจจุราช อัน เป็นสถานที่สงบแล้วเนืองๆ.

บทว่า เย จ ตตฺถ วิชานนฺติ ความว่า ก็ในหมู่ชนพวกนั้น พวกใด คือพวกที่เป็นบัณฑิตย่อมรู้สึกตัวว่า พวกเราจักไปสู่ที่ใกล้แห่งมัจจุราช.

บทว่า ตโต สมฺมนฺติ เมธคา ความว่า ก็ชนพวกนั้น ที่รู้จักตัว แล้วอย่างนั้น ย่อมปฏิบัติเพื่อสงบระงับการทะเลาะวิวาท คือการเบียดเบียน ผู้อื่นได้ขาด ทั้งคนพวกอื่นนอกจากตนเอง ย่อมไม่ทะเลาะวิวาทกัน ไม่ เบียดเบียนกัน. ท่านแม้ทำคนที่มิใช่เป็นโจรให้เป็นโจร เพราะเหตุแห่ง ชีวิต ด้วยการลงอาชญา ทั้งทำคนที่เป็นเจ้าของ ไม่ให้ได้เป็นเจ้าของ เบียดเบียนจนถึงความเสื่อมทรัพย์ เพราะความบกพร่องแห่งปัญญา. บุคคลผู้ไม่ทำตามนั้น ชื่อว่า ผู้มีปัญญา ถึงจะสิ้นทรัพย์ก็ยังเป็นอยู่ได้ คือ ถึงทรัพย์จะหมดสิ้นไป แต่ก็ยังมีปัญญา สันโดษยินดีด้วยปัจจัยตามมีตาม ได้ เลี้ยงชีวิตด้วยการงานที่ปราศจากโทษอย่างเดียวนี้ ชื่อว่า ชีวิตของ บุคคลผู้มีปัญญา.

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า นักปราชญ์ทั้งหลาย กล่าวความเป็นอยู่ด้วยปัญญาว่า เป็นชีวิตที่ประเสริฐสุด. ส่วนบุคคลผู้มี ปัญญาทราม ถึงจะมีทรัพย์ ก็ทำทรัพย์ที่เป็นทิฏฐธรรมและสัมปรายิกธรรม ให้ล้มเหลวไป เป็นอยู่ไม่ได้ เพราะไม่ได้ปัญญา คือจะชื่อว่าเป็นอยู่ด้วย ความเป็นไปแห่งถ้อยคำมีคำครหาเป็นต้น หามิได้ แต่กลับทำทรัพย์ที่ ได้แล้วให้พินาศไป แม้ชีวิตก็ไม่สามารถจะดำรงอยู่ได้ เพราะค่าที่ตนไร้ อุบาย.

ได้ยินว่า พระเถระได้กล่าวคาถาทั้ง ๔ คาถาเหล่านี้ แด่พระราชา


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 289

ผู้กำลังทรงบรรทมอยู่. พระราชาทรงเห็นพระสุบิน กำลังนมัสการพระเถระอยู่นั้นแล ก็ทรงตื่นขึ้น พอราตรีล่วงแล้ว เสด็จเข้าไปหาพระเถระ ทรงไหว้แล้ว ทรงเล่าถึงความฝันตามที่พระองค์ทรงเห็นแล้วให้ฟัง พระเถระสดับเรื่องความฝันนั้นแล้ว ภาษิตเฉพาะคาถานั้นแล้ว จึงโอวาทพระราชาด้วยคาถา ๒ คาถา มีคำเริ่มต้นว่า สพฺพํ สุณาติ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า สพฺพํ สุณาติ โสเตน ในที่นี้ หมายความว่า บุคคลผู้ไม่หนวกย่อมได้ยินเสียงที่พอจะได้ยินชัด ทั้งหมด ที่มาปรากฏ คือทั้งที่เป็นคำสุภาษิต ทั้งที่เป็นคำทุพภาษิตได้ ด้วยโสตประสาท. บุคคลผู้ไม่บอดก็เหมือนกัน ย่อมเห็นรูปทั้งหมด คือที่ดีและ ไม่ดีได้ด้วยจักษุประสาทนี้ จัดว่าเป็นสภาวะแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย.

ก็บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น จ ทิฏฺํ สุตํ ธีโร สพฺพํ อุชฺฌิตุํ นี้ เป็นเพียงอุทาหรณ์เท่านั้น ความว่า นักปราชญ์ คือผู้มีปัญญา ไม่ควร ละทิ้ง สละ หรือยึดถือ รูปทั้งหมดที่ได้เห็นมา หรือเสียงทั้งหมดที่ได้ยิน มาแล้ว. ก็นักปราชญ์พิจารณาถึงคุณและโทษ ในรูปและเสียงนั้นแล้ว ควรละทิ้งเฉพาะสิ่งที่ควรจะทิ้ง และควรยึดถือสิ่งที่ควรยึดถือ เพราะฉะนั้น คนมีปัญญา ถึงมีตาดี ก็ทำเหมือนคนตาบอด คือแม้จะมีตาดีก็ทำเหมือน คนตาบอด คือทำทีเหมือนว่ามองไม่เห็น ในสิ่งที่เห็นแล้ว ควรละทิ้ง แม้จะมีหูดีก็เช่นเดียวกัน ทำเหมือนคนหูหนวก คือทำทีเหมือนว่าไม่ได้ ยิน ในสิ่งที่ได้ยินแล้ว ควรละทิ้ง.

บทว่า ปฺวาสฺส ยถา มูโค ความว่า คนมีปัญญา แม้จะฉลาด ในถ้อยคำ ก็พึงทำเหมือนคนใบ้ ในเมื่อไม่ควรจะพูด เพราะมีปัญญาเป็น เครื่องพิจารณา. คนมีกำลัง คือถึงพร้อมด้วยกำลัง ก็พึงทำเหมือนคน


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 290

ทุรพล ในเมื่อไม่ควรจะทำ. อักษร กระทำการเชื่อมบท ได้แก่พึง ทำเหมือนคนไร้ความสามารถ.

บทว่า อถ อตฺเถ สมุปฺปนฺเน สเยถ มตสายิกํ ความว่า เมื่อ ประโยชน์ที่ตนควรทำให้เกิดขึ้น คือปรากฏขึ้น ถึงจะนอนอยู่ในเวลาใกล้ ตาย ได้แก่แม้จะอยู่ในเวลาใกล้จะตาย ก็ยังต้องพิจารณาถึงประโยชน์นั้น นั่นแล คือไม่ยอมให้ประโยชน์นั้นล้มเหลวไป.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อถ อตฺเถ สมุปฺปนฺเน ความว่า เมื่อ ประโยชน์ คือกิจที่ตนไม่ควรทำให้เกิดขึ้น คือปรากฏขึ้น ถึงจะนอนอยู่ ในเวลาใกล้ตาย ได้แก่แม้จะนอนอยู่ในเวลาใกล้จะตายแล้ว ก็ไม่ยอมทำ สิ่งที่ไม่ควรทำนั้นเลย. พระราชาได้รับโอวาทจากพระเถระอย่างนี้ว่า ก็ บัณฑิตไม่ควรทำสิ่งที่ไม่ควรทำ ดังนี้แล้ว ทรงละสิ่งที่ไม่ควรทำ ได้ทรง ประกอบเฉพาะสิ่งที่ควรทำเท่านั้นแล.

จบอรรถกถามหากัจจายนเถรคาถาที่ ๑