การเข้าใจธรรม
โดย 2554  14 พ.ค. 2554
หัวข้อหมายเลข 18355

การเข้าใจธรรม ต้องเข้าใจอย่างไร



ความคิดเห็น 1    โดย paderm  วันที่ 14 พ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยอะไรคือ ธรรม

ธรรม ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงนั้น คือสภาพธรรมที่มีจริง มีจริงเพราะมีลักษณะ

ดังนั้นธรรมคือสิ่งที่มีจริง มีลักษณะให้รู้ได้ ธรรมจึงแบ่งเป็นสองอย่างคือนามธรรมและ

รูปธรรม นามธรรมคือสภาพธรรมที่รู้ ส่วนรูปธรรมคือสภาพธรรมที่ไม่รู้อะไรเลย ธรรมจะ

แบ่งเป็น จิต เจตสิก รูปและนิพพานก็ได้ครับ จิต เจตสิกและนิพพานเป็นนามธรรม รูป

เป็นรูปธรรม เป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้อะไรเลย ธรรมยังแบ่งละเอียดเป็นสภาพธรรมที่เป็น

กุศล อกุศล กิริยา เป็นต้น ดังนั้นอะไรคือ ธรรมก็คือสิ่งที่มีจริง มีลักษณะให้รู้ได้ สิ่งนั้น

เป็นธรรม

ต้นไม้ ภูเขา น้ำตกเป็นธรรมไหม ไม่เป็นครับ เหตุผลคือเพราะไม่มีลักษณะให้รู้ คำว่า

ลักษณะคือลักษณะของสภาพธรรมนั้น เช่น แข็งมีจริงเป็นธรรม เพราะมีลักษณะให้รู้คือ

ลักษณะแข็งเมื่อกระทบสัมผัส ส่วนต้นไม้ ไม่มีจริง แต่เพราะมีลักษณะสภาพธรรมที่

ประชุมรวมกันคือ แข็ง เป็นต้น จึงบัญญัติเรียกว่าต้นไม้ ดังนั้นต้นไม้ไม่มีจริงเพราะไม่มี

ลักษณะให้รู้ แต่แข็งมีจริงมีลักษณะให้รู้ครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ..... ธัมมะคืออะไร?


ความคิดเห็น 2    โดย paderm  วันที่ 14 พ.ค. 2554

การเข้าใจธรรม เข้าใจอะไร

การเข้าใจธรรม ก็เข้าใจถึงลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงซึ่งลักษณะของสภาพธรรม

ย่อมแบ่งเป็นสองอย่างคือ ลักษณะเฉพาะตัวและลักษณะทั่วไป ลักษณะเฉพาะตัว เช่น

แข็งมีลักษณะไม่เปลี่ยนแปลงมีลักษณะเฉพาะตัวคือแข็ง ไม่ใช่เย็น แต่มีลักษณะทั่วไป

คือทุกสภาพธรรมจะต้องมีลักษณะทั่วไปคือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา

การเข้าใจธรรมจึงเป็นการเข้าใจถึงสัจจะความจริงของสภาพธรรมที่ปรากฏในขณะนี้

ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา ไม่ใช่เรา เข้าใจถึงลักษณะของสภาพธรรรมที่เป็น

ลักษณะทั่วไปของทุกสภาพธรรม การเข้าใจอย่างนี้เพื่อไถ่ถอนความเห็นผิด ยึึดถือว่า

เป็นสัตว์ บุคคลตัวตน เพราะในความเป็นจริงไม่มีเรา มีแต่สภาพธรรรมที่เป็นนามธรรม

และรูปธรรมที่กำลังปรากฎในขณะนี้ครับ

การเข้าใจธรรรมก็เพื่อเข้าใจถึงตัวธรรมที่มีลักษณะให้รู้ ขณะนี้มีธรรม แต่ยังไม่รู้จัก

ธรรมเพราะยังเห็นเป็นคน เป็นสัตว์ บุคคล คน สัตว์ บุคคล สิ่งต่างๆ ไม่ใช่ธรรม เพราะ

ไม่ใช่สิ่งที่มีจริงเพราะไม่มีลักษณะให้รู้ครับ การเข้าใจธรรมจึงไม่พ้นไปจากการเข้าใจ

ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้นั่นเองครับ เข้าใจด้วยปัญญาว่าเป็นธรรมไม่

ใช่เรา


ความคิดเห็น 4    โดย 2554  วันที่ 14 พ.ค. 2554

การเข้าใจธรรมเข้าใจอย่างไร เข้าใจอะไร อะไรคือธรรม ธรรม ในพระพุทธศาสนา

ของ พระพุทธองค์ ทรงจำแนกแจกธรรม สมดังพระนาม ภควา จึงทรงสามารถแจกแจง

ได้อย่าง ละเอียด ลึกซึ้ง พระพุทธองค์ประกอบด้วย พระปัญญาคุณ พระกรุณาคุณ และ

พระบริสุทธิ์ คุณ จึงทรงวางหลักพระศาสนา เพื่อให้พระพุทธบริษัท ได้เดินรอยตามพระ

พุทธองค์ เพื่อเข้า ถึงที่สุดแห่งทุกข์ นั้นคือ ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร ต้องปฏิบัติเท่านั้น

จึงจะเข้าใจได้อย่างถูก ต้องตรงตามหลักของสัจธรรม ทั้ง ๔ หรืออริยสัจ ๔ ท่านผู้ใด

ปฏิบัติถูก ตรงตามแนว ทางที่พระองค์ทรงชี้แนะให้ไว้ ในอริยมรรค ทั้ง ๘ สัมมาทิฏฐิ

สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมา

สมาธิ ย่อมได้พบ ได้รู้ ได้เห็น ธรรม ตรงตามที่องค์พระศาสดาได้แสดงไว้ การที่จะเข้า

ใจธรรมของพระพุทธองค์ได้อย่างลึก ซึ้ง แแค่ไหน ขึ้นอยู่กับ สภาวะ ภูมิจิต ภูมิ ธรรม

หรือ ระดับ สติบัญญา ของท่านผู้นั้น ถ้า เข้า ใจแจ่มแจ้งจะสามารถอธิบายได้แจ่มแจ้ง

ถูกต้องและ สามารถคลายสงสัย แก้สงสัยได้ เข้า ใจคลุมเคลือ ก็ไม่อาจ แก้สงสัยหรือ

คลายสงสัยได้ ต้องปฏิบัติให้แจ้งแก่ใจ แล้วนำมายืนยันจึงเรียกได้ว่าเห็นพระพุทธองค์

อย่างแท้จริง...........


ความคิดเห็น 5    โดย paderm  วันที่ 14 พ.ค. 2554

ขออนุญาตร่วมสทนาในความเห็นที่ 4 ครับ

การจะรู้เข้าใจธรรมตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงจะต้องเริ่มจากการฟังให้เข้าใจ

เข้าใจอะไร เข้าใจว่าธรรมคืออะไร เมื่อฟัง ความเข้าใจเพิ่มขึ้นหรือปัญญาเพิ่มขึ้น ขณะ

นั้นธรรมกำลังทำหน้าที่ปรุงแต่งให้เกิดสติและปัญญารู้ความจริง เข้าใจธรรมในขณะนี้

เข้าใจอย่างไร เข้าใจว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ขณะนั้นปฏิบัติแล้ว อะไรปฏิบัติ ธรรมปฏิบัติ

นั่นคือสติและปัญญานั่นเองปฏิบัติหน้าที่รู้ความจริงของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ว่า

ไม่ใช่เรา เข้าถึงความเป็นอนัตตา ซึ่งไม่มีเราที่จะไปพยายามปฏิบัติ ต้องเข้าใจคำว่า

ปฏิบัติให้ถูกว่าไม่มีการทำ ไม่มีการเข้าห้องปฏิบัติ เพราะธรรมมีอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน

จะเข้าใจความจริงของธรรมก็ต้องเข้าใจความจริงในชีวิตประจำวัน ขณะที่เข้าใจรู้ความ

จริงในชีวิตประจำวัน ขณะนั้นก็ปฏิบัติแล้วครับ

การเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 หรือการเจริญสติปัฏฐาน 4 อันเป็นทางสายกลางที่พระ

พุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องธรรมจักรกัปปวตนสูตรคือให้หลีกเลี่ยงทางสุดโต่ง 2 ประการ

คือการยินดีบริโภคกามสุขและการทรมานตน ให้เดินทางสายกลางคือ อริยมรรค หรือ

สติปัฏฐาน ซึ่งการจะเดินทางสายกลางได้ จะขาดปัญญาไม่ไ่ด้เลยที่เป็นสัมมาทิฏฐิ

เพราะฉะนั้นจึงจะต้องเข้าใจว่าปัญญารู้อะไร ซึ่งได้กล่าวไว้แล้วคือรู้ความจริงของ

สภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา


ความคิดเห็น 6    โดย paderm  วันที่ 14 พ.ค. 2554

การเข้าใจความจริงเช่นนี้เป็นการเจริญสติปัฏฐานและชื่อว่าเจริญอริยมรรคมีองค์ 8

ขณะนั้นจะกล่าวว่าปฏิบัติก็ได้เพราะธรรมปฏิบัติหน้าที่ครับ เพราะฉะนั้นต้องเริ่มจาก

ปัญญา ความเข้าใจเป็นสำคัญ เริ่มจากปัญญาขั้นการฟัง ให้เข้าใจว่าธรรมคืออะไร

เมื่อเข้าใจว่าธรรมก็คือสิ่งที่มีจริง เช่น เห็น ได้ยิน เสียง ซึ่งมีอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน

จึงไม่ต้องไปที่ปฏิบัติ แต่อาศัยการฟังเรื่องสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ ปัญญาเจริญขึ้น

ปัญญาธรรมหน้าที่รู้ความจริงของสภาพธรรมทีมีจริงในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ขณะ

นั้นก็ปฏิบัติแล้วครับ ขออนุโมทนาครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ...... เราจะปฏิบัติ


ความคิดเห็น 7    โดย khampan.a  วันที่ 14 พ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ธรรม หมายถึง สิ่งที่มีจริงทุกอย่างทุกประการ สิ่งที่มีจริงทุกอย่างทุกประการมีจริงในชีวิตประจำวัน ที่สามารถจะศึกษาและเข้าใจได้ ทุกขณะของชีวิต เป็นธรรมทั้งหมด ตั้งแต่ตื่นจนหลับ ตั้งแต่เกิดจนตาย ล้วนเป็นธรรมทั้งสิ้น เมื่อกล่าวโดยประเภทใหญ่ๆ แล้ว ธรรม มี ๔ ประการ คือ จิต (สภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์) เจตสิก (สภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต) รูป (สภาพธรรมที่ไม่รู้อะไร) และ พระนิพพาน (สภาพธรรมที่ไม่เกิดไม่ดับ เป็นธรรมที่ดับกิเลส ดับทุกข์) เมื่อกล่าวโดยประมวลแล้ว ไม่พ้นไปจากนามธรรม กับ รูปธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสรู้ธรรม ตามความเป็นจริง พระองค์ไม่ได้เปลี่ยนธรรม แต่ธรรม เป็นจริงอย่างไร พระองค์ก็ทรงแสดงไปตามความเป็นจริงของธรรมแต่ละอย่างๆ และสิ่งที่มีจริง ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษา เพื่อให้พุทธบริษัทมีความเข้าใจถูก เห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ว่า เป็นสภาพธรรม ที่ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน การที่จะมีความเข้าใจพระธรรม เข้าใจความจริงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั้น ปัจจัยสำคัญ คือ ไม่ขาดการฟังพระธรรม นั่นเอง การฟังพระธรรม ซึ่งก็จะต้องเป็นการฟังด้วยดีตั้งใจฟัง เพื่อความเข้าใจในสิ่งที่กำลังฟัง ก็จะเป็นเหตุให้ปัญญา ความเข้าใจถูกเห็นถูก เจริญขึ้นไปตามลำดับ ปัญญาเกิดขึ้นทำกิจของปัญญา คือ เข้าใจถูกเห็นถูก รู้ธรรมตามความเป็นจริง ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 8    โดย ไตรสรณคมน์  วันที่ 14 พ.ค. 2554

เข้าใจธรรม.....คือเข้าใจ "ความจริง"

ความจริงที่ว่า ปรากฎให้รู้ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เท่านั้น

ดังนั้นธรรมจึงมีอยู่ตลอดเวลา ไม่ต้องหาวิธี ไม่ต้องไปปฏิบัติ

แต่ควรเข้าใจความจริงที่มีอยู่นั้นให้ "ถูกต้อง"

เป็นวิธีเดียวที่ปัญญาจะเจริญได้ค่ะ


ความคิดเห็น 9    โดย 2554  วันที่ 15 พ.ค. 2554

เรียนถามความคิดเห็นที่ ๘ คุณไตรสรณคมณ์ จะรู้ได้อย่างไรว่าเราเข้าใจความจริงได้ถูกต้องตรงตามสัจธรรม นอกจากคิดว่า ฟังว่า ไม่ ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เป็น อนัตตา ไม่มีแก่นสาร และจะรู้ได้อย่างไรว่าปัญญาของเราเจริญขึ้น หรือเสื่อมลงแล้ว เอาเกณฑ์อะไรมาวัด เอาเกณฑ์อะไรมาเป็นจุดสังเกต ว่าเราเข้าใจถึง ไหน ปัญญาของเราเข้าใจระดับไหน ถึงที่สุดแห่งทุกข์แล้วหรือยัง ........ ขอขอบคุณและขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 10    โดย wannee.s  วันที่ 15 พ.ค. 2554

ปัญญามีหลายระดับ ฟังธรรมเข้าใจก็ทำให้ปัญญาค่อยๆ เจริญขึ้น ถ้ากุศลเจริญขึน

ทั้ง ทาน ศีล ฯลฯ และอกุศล คือ โลภะ โทสะ โมหะ ลดลง ตามกำลังปัญญา

สติปัฏฐานเป็นปัญญาที่ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงๆ ที่ไม่ใช่สัตว์ บุคคล

สติปัฏฐานของใครจะเกิดหรือไม่เกิด รู้ได้เฉพาะตน ความเข้าใจธรรมสะสมไปในภพ

หน้าไม่ลืม ไม่เหมือนเรียรรู้ชื่อ ตายแล้วเกิดใหม่ก็ลืมค่ะ


ความคิดเห็น 11    โดย 2554  วันที่ 15 พ.ค. 2554
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 18355 ความคิดเห็นที่ 5 โดย paderm

ขออนุญาตร่วมสทนาในความเห็นที่ 4 ครับ

การจะรู้เข้าใจธรรมตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงจะต้องเริ่มจากการฟังให้เข้าใจ

เข้าใจอะไร เข้าใจว่าธรรมคืออะไร เมื่อฟัง ความเข้าใจเพิ่มขึ้นหรือปัญญาเพิ่มขึ้น ขณะ

นั้นธรรมกำลังทำหน้าที่ปรุงแต่งให้เกิดสติและปัญญารู้ความจริง เข้าใจธรรมในขณะนี้

เข้าใจอย่างไร เข้าใจว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ขณะนั้นปฏิบัติแล้ว อะไรปฏิบัติ ธรรมปฏิบัติ

นั่นคือสติและปัญญานั่นเองปฏิบัติหน้าที่รู้ความจริงของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ว่า

ไม่ใช่เรา เข้าถึงความเป็นอนัตตา ซึ่งไม่มีเราที่จะไปพยายามปฏิบัติ ต้องเข้าใจคำว่า

ปฏิบัติให้ถูกว่าไม่มีการทำ ไม่มีการเข้าห้องปฏิบัติ เพราะธรรมมีอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน

จะเข้าใจความจริงของธรรมก็ต้องเข้าใจความจริงในชีวิตประจำวัน ขณะที่เข้าใจรู้ความ

จริงในชีวิตประจำวัน ขณะนั้นก็ปฏิบัติแล้วครับ

การเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 หรือการเจริญสติปัฏฐาน 4 อันเป็นทางสายกลางที่พระ

พุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องธรรมจักรกัปปวตนสูตรคือให้หลีกเลี่ยงทางสุดโต่ง 2 ประการ

คือการยินดีบริโภคกามสุขและการทรมานตน ให้เดินทางสายกลางคือ อริยมรรค หรือ

สติปัฏฐาน ซึ่งการจะเดินทางสายกลางได้ จะขาดปัญญาไม่ไ่ด้เลยที่เป็นสัมมาทิฏฐิ

เพราะฉะนั้นจึงจะต้องเข้าใจว่าปัญญารู้อะไร ซึ่งได้กล่าวไว้แล้วคือรู้ความจริงของ

สภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา

เรียนคุณ paderm ขออ้างอิง .......ซึ่งการจะเดินทางสายกลางได้ จะขาดปัญญาไม่ได้เลยที่เป็นสัมมา ทิฏฐิ เพราฉะนั้นจึงจะต้องเข้าใจว่าปัญญารู้อะไร......... ขอเรียนถาม เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นธรรมที่ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เราดูจากตรงไหน เอา อะไรมาเป็นเกณฑ์ กำหนดดูว่าตัวเรารู้ รู้ความจริงในขณะนั้นได้แค่ไหน ใครเป้นผู้ปฎิบัติ ปัญญารู้อะไร แค่รู้ว่า เป็นธรรม ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เพียงพอหรือไม่ เรามีอะไรเป็น เกณฑ์บ้าง ขอบคุณและขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 12    โดย 2554  วันที่ 15 พ.ค. 2554
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 18355 ความคิดเห็นที่ 7 โดย khampan.a

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ธรรม หมายถึง สิ่งที่มีจริงทุกอย่างทุกประการ สิ่งที่มีจริงทุกอย่างทุกประการมีจริงในชีวิตประจำวัน ที่สามารถจะศึกษาและเข้าใจได้ ทุกขณะของชีวิต เป็นธรรมทั้งหมด ตั้งแต่ตื่นจนหลับ ตั้งแต่เกิดจนตาย ล้วนเป็นธรรมทั้งสิ้น เมื่อกล่าวโดยประเภทใหญ่ๆ แล้ว ธรรม มี ๔ ประการ คือ จิต (สภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์) เจตสิก (สภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต) รูป (สภาพธรรมที่ไม่รู้อะไร) และ พระินิพพาน (สภาพธรรมที่ไม่เกิดไม่ดับ เป็นธรรมที่ดับกิเลส ดับทุกข์) เมื่อกล่าวโดยประมวลแล้ว ไม่พ้นไปจากนามธรรม กับ รูปธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสรู้ธรรม ตามความเป็นจริง พระองค์ไม่ได้เปลี่ยนธรรม แต่ธรรม เป็นจริงอย่างไร พระองค์ก็ทรงแสดงไปตามความเป็นจริงของธรรมแต่ละอย่างๆ และสิ่งที่มีจริง ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษา เพื่อให้พุทธบริษัทมีความเข้าใจถูก เห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ว่า เป็นสภาพธรรม ที่ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน การที่จะมีความเข้าใจพระธรรม เข้าใจความจริงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั้น ปัจจัยสำคัญ คือ ไม่ขาดการฟังพระธรรม นั่นเอง การฟังพระธรรม ซึ่งก็จะต้องเป็นการฟังด้วยดี ตั้งใจฟัง เพื่อความเข้าใจในสิ่งที่กำลังฟัง ก็จะเป็นเหตุให้ปัญญา ความเข้าใจถูกเห็นถูก เจริญขึ้นไปตามลำดับ ปัญญาเกิดขึ้นทำกิจของปัญญา คือ เข้าใจถูกเห็นถูก รู้ธรรมตามความเป็นจริง ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

เรียนคุณ khampan.a ในทางปฏิบัติ การเข้าใจพระธรรมเข้าใจอย่างไร อย่างไรเรียกว่าเข้าใจความจริง อะไรคือ พระธรรม อะไรเป็น เหตุให้เกิดปัญญา เข้าใจถูก เห็นถูก นอกจากการฟังแล้ว มีอย่างอื่นอีก หรือไม่ที่เป็นเหตุให้เกิดปัญญา ปริยัติกับปฏิบัติต้องสอดคล้องกัน ปริยัติจริงอย่างไรปฏิบัติต้อง จริงอย่างนั้น จะไม่ขัดแย้งกัน ขอบคุณและขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 13    โดย khampan.a  วันที่ 15 พ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เรียน ความคิดเห็นที่ ๑๒ ครับ (ขอแสดงความคิดเห็นโดยรวม ดังนี้) ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าไม่มีตัวตนที่ไปปฏิบัติ แต่เป็นความเป็นไปของธรรมฝ่ายดีที่เกิดขึ้น กล่าวคือ สติและสัมปชัญญะ ที่เกิดขึ้นระลึกรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนั้น ซึ่งต้องอาศัยการฟังพระธรรม ฟังในสิ่งที่มีจริง สะสมปัญญาไปตามลำดับ ถ้าหากว่าไม่เข้าใจอะไรเลย แล้วไปปฏิบัติ ก็ย่อมจะไม่ถูกต้อง เพราะเริ่มต้นด้วยความไม่รู้ ก็จะไม่รู้ต่อไป ดังนั้น ทางที่ดี ขอให้ค่อยๆ เริ่มตั้งใจฟังพระธรรม ก่อน เพราะธรรมก็คือขณะนี้ ทุกขณะ เป็นธรรม ไม่ต้องไปแสวงหาธรรมที่ไหนเลย เช่น เห็นเป็นธรรม สิ่งที่ถูกเห็นเป็นธรรม โกรธเป็นธรรม ติดข้องเป็นธรรม ความเข้าใจถูก เป็นธรรม ความละอายต่ออกุศล เป็นธรรม เป็นต้น มีจริงในชีวิตประจำวันที่สามารถจะศึกษาได้ ความเข้าใจในขั้นของปริยัติ ซึ่งเป็นการเข้าใจพระธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมจะเกื้อกูลต่อความเข้าใจในขั้นของปฏิบัติ (ปฏิปัตติ หมายถึง การถึงเฉพาะลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ) ถ้าหากไม่มีความเข้าใจในขั้นปริยัติ ก็ไปถึงปฏิบัติไม่ได้ และ ไม่สามาถไปถึงปฏิเวธ คือ การประจักษ์แจ้งแทงตลอดสภาพธรรม ได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น จึงขอให้เริ่มต้นด้วยความเข้าใจที่ถูกต้องว่า ธรรม คือ สิ่งที่มีจริงทุกอย่างทุกประการ และสิ่งที่มีจริงเหล่านี้ สามารถรู้ตามความเป็นจริงได้ แต่ต้องรู้ได้ด้วยปัญญา ความเข้าใจถูก เห็นถูก เหตุใ้ห้ปัญญาเจริญ แสดงไว้อย่างกว้างๆ คือ การได้คบกับบุคคลผู้มีปัญญาที่สามารถจะอธิบายให้เข้าใจธรรม ได้ การได้ฟังพระธรรมจากกัลยาณมิตรนั้น การใส่ใจโดยถูกต้องแยบคาย (ซึ่งเป็นกุศล) และ การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม จุดประสงค์ของการศึกษาพระธรรม จะจากการฟัง การอ่าน การสนทนา การสอบถาม ก็เพื่อความเข้าใจธรรมตามความเป็นจริง ไม่ใช่เพื่ออย่างอื่น ปัญญาจะเจริญขึ้นได้ ต้องอาศัยการฟัง การศึกษาไปตามลำดับ ค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป ปัญญาเป็นพืชที่โตช้า จะฟังธรรมวันเดียว หรือ สองวันจะให้เข้าใจโดยตลอดถึงพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษา ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ จึงต้องค่อยๆ สะสมไปทีละเล็กทีละน้อย ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 14    โดย 2554  วันที่ 15 พ.ค. 2554

ขออนุโมทนากับคุณ khampan.a ที่ให้ความกระจ่าง เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจศึกษา ธรรม ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า การนำธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากล่าว หรือ มาขยาย ผู้ที่นำมากล่าวหรือมาขยาย เพื่อให้คลายสงสัย แก้ข้อขัดข้องที่เกิดขึ้น ต้องพิจาณาให้ ละเอียดรอบคอบ เพื่อให้เนื้อหาครอบคลุมไม่ขาดตกบกพร่องให้ถูกต้องครบตามพุทธพจน์ ตรงตามพุทธประสงค์ เพื่อประโยชน์กับผู้ซักถาม ปัญญาที่ได้จาการฟัง การ อ่าน การจำ และ ปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติองค์ความรู้ไม่เหมือนกัน ปัญญาที่แท้จริงต้องได้จากการปฏิบัติเท่า นั้น ผู้นำธรรมของพระพุทธองค์มาขยาย กล่าว พึงระมัดระวังพิจารณาให้รอบคอบ ต้องให้ เหมาะกับกาลเทศะ เหมาะกับบุคคล และสถานที่ เข้าใจได้ง่าย ถ้าเข้าใจได้กระจ่างจะ สามารถอธิบายได้กระจ่าง เข้าใจไม่ลึกก็อธิบายได้ไม่ลึก ขึ้นอยู่กับระดับสติปัญญาของผู้นั้น ได้พิจารณาจากการที่ท่านได้ตอบมานับว่าเป้นผู้ที่เข้าใจในธรรมได้ในระดับหนึ่ง ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 15    โดย paderm  วันที่ 15 พ.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 11 ครับ

จากคำถามที่ว่า

ขอเรียนถาม เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นธรรมที่ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เราดูจากตรงไหน เอา อะไรมาเป็นเกณฑ์ กำหนดดูว่าตัวเรารู้ รู้ความจริงในขณะนั้นได้แค่ไหน ใครเป้นผู้ปฎิบัติ ปัญญารู้อะไร แค่รู้ว่า เป็นธรรม ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เพียงพอหรือไม่ เรามีอะไรเป็น เกณฑ์บ้าง ขอบคุณและขออนุโมทนา

เกณฑ์คือปัญญา ปัญญาของผู้นั้นเองที่จะรู้ความจริงในขณะนี้ว่าเป็นะรรมไม่ใช่เรา

ขณะนี้มีธรรม มีเห็น แต่เป็นเราที่เห็น ขณะนี้มีสภาพธีรรมที่เป็นเพียงสี แต่เราเห็นเป็น

สัตว์ บุคคลครับ ความจริงขคือสี ไม่ใช่เราเป็นแต่เพียงสภาพธรรม ดังนั้นจะรู้ได้

อย่างไรไม่ใช่เราก็คือเมื่อปัญญาเกิดขึ้นรู้ความจริงในขณะที่กำลังเห็น ปัญญาที่เกิดขึ้น

ย่อมรู้ความจริงในขณะนั้นว่าเป็นเพียงวสีเท่านั้น เป็นเพียงเห็นเท่านั้นไม่ใช่เรา นี่คือ

ปัญญาที่เป้ฯทางสายกลางเป็นสติปัฏฐานครับ

ใครเป็นผู้ปฏิบัติ ไม่มีเราไปปฏิบัติครับ แต่มีธรรมเท่านั้นที่ทำหน้าที่ ขณะที่เข้าใจ

ขณะนั้นปัญญาทำหน้าที่ จึงไม่มีเราปฏฺบัติ ขณะที่รู้ความจริงในขณะนี้ว่าเป็ฯธรรมไม่ใช่

เรา เป้นสติและปัญญาทีู่้ความจริง สติและปัญญาเป็นธรรมไม่ใช่เราครับ ดังนั้นเกณฑ์

ที่เป็นเครื่องวัดจึงเป็นเรื่องของปัญญา ปัญญาของผู้ฟังเท่านั้นเป็นเกณฑ์วัดครับ ต้อง

เริ่มจากการฟังพระธรรมให้เข้าใจครับ ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 16    โดย ไตรสรณคมน์  วันที่ 15 พ.ค. 2554
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 18355 ความคิดเห็นที่ 9 โดย 2554

เรียนถามความคิดเห็นที่ ๘ คุณไตรสรณคมณ์ จะรู้ได้อย่างไรว่าเราเข้าใจความจริงได้ถูกต้องตรงตามสัจธรรม นอกจากคิดว่า ฟังว่า ไม่ ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เป็น อนัตตา ไม่มีแก่นสาร และจะรู้ได้อย่างไรว่าปัญญาของเราเจริญขึ้น หรือเสื่อมลงแล้ว เอาเกณฑ์อะไรมาวัด เอาเกณฑ์อะไรมาเป็นจุดสังเกต ว่าเราเข้าใจถึง ไหน ปัญญาของเราเข้าใจระดับไหน ถึงที่สุดแห่งทุกข์แล้วหรือยัง ........ ขอขอบคุณและขออนุโมทนา

ตรวจสอบเทียบเคียงกับพระธรรมวินัยได้ค่ะ เพราะสัจจธรรมคือความจริงที่พระ

พุทธองค์ทรงตรัสรู้ ไม่ใช่ความจริงที่เราจะรู้เองได้โดยไม่ต้องศึกษา ดังนั้นใน

เบื้องแรกหากมีความเข้าใจพระธรรมคำสอนอย่างถูกต้อง ย่อมเป็นปัจจัยให้มี

ความเข้าใจสภาพธรรมในชีวิตประจำวันอย่างถูกต้องไปด้วย และความเข้าใจ

ของเราจะต้องไม่ขัดกับพระธรรมวินัยค่ะ......ต้องไม่ลืมนะคะว่าเราตรัสรู้เองไม่ได้

จำเป็นต้องศึกษาธรรมจากผู้ที่ได้ตรัสรู้ก่อนค่ะ


ความคิดเห็น 17    โดย Yongyod  วันที่ 15 พ.ค. 2554
การศึกษาพระธรรมต้องเป็นผู้ละเอียดครับ ในความคิดของผม เราควรมองหลายๆ แง่ ไม่งั้นก็จะมีการถกเถึยงกันไม่สิ้นสุด ในเรื่องปฎิบัติไม่ปฎิบัติ เมื่อได้มาศึกษาธรรมะ ทำให้รู้ความจริงว่าโลกนี้มีทั้งจริงที่เป็นปรมัถธ กะจริงแบบบัญญัติ คนที่บอกว่า ปฏิบัติ จริงๆ ก็ ถูกก็จริงนะคือ ถูกแบบยังมีตัวตน ยังยึดถือบัญญัติ ว่า จิต เจตสิต รูป รวมกันเป็นตัวเป็นตนอยู่ที่จะปฎิบัติ ก็จริงแบบสมมติครับ ส่วน คนที่รู้ละเอียดมากขึ้น รู้ในระดับปรมัตธ ก็จะบอกว่า ไม่มีเราที่ปฎิบัติ มีแต่เพียงธรรมะที่ปฎิบัติหน้าที่ มันก็เลยเหมือนพูดกันคนละภาษา ก็จะเข้าใจกันอยากหน่อย สำหรับผม เข้าใจธรรม เข้าใจอะไร เป็นผมผมจะไม่ถามนะคำถามนี้ เพราะ ธรรมของแต่ละคนไม่เหมือนกันหรอก เพราะผมไม่สนใจที่จะไปรู้ ไปเสียเวลารู้ธรรมของคนอื่น เอาเวลามารู้ธรรมใน กาย ใจ รึ จิต เจตสิต เรานี้ดียิงขึ้น ดีกว่า พระธรรม คือสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ก็แค่เริ่่มต้นศึกษาว่า จริงๆ แล้วพระพุทธเจ้าสอนอะไร แล้วก็ประพฤติ ปฎิบัติตาม ก็เป็น ปริยัติ ปฎิบัติ ปฎิเวธ ตามลำดับ อย่าคิดว่าปฎิยัติไม่สำคัญครับ ทุกอย่างสำคัญครับ ปริยัติ เปรียบเหมือน แผนที่ให้เดินถูกทาง ปฎิบัติ เปรียบเหมือน การเดินทาง ถ้าไม่มีแผนที่จะเดินถูกทางโดยไม่เสียเวลาอย่างไร การเดินทางสายธรรมะไม่มีทางลัดคับ พระพุทธองค์ยังใช้เวลาสะสมมาตั้ง สี่อสงไขยแสนกลัป แล้วเราเป็นใครที่จะรู้เร็วๆ ได้ เมื่อเปรียบกับพระปัญญาของพระพุทธเจ้าครับ ปฎิเวธ เหมือนกับการถึงที่หมาย เป็นผลของการปฎิบัติ ซึ่งก็รู้เฉพาะได้ตนอีก ก็คิดดูละกัน สาวก คือ อะไร คือผู้ฟัง ฟังอะไร ฟังธรรม ธรรมคือ อะไร สิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสแสดงสอน สิ่งที่ทรงสอนประจำคือ อะไร คือ สิ่งมีจริงปรากฎในขณะนี้ ปรากฎที่ไหน ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ ปรากฎ เมื่อไร ก็ทุกครั้งที่ระลึกได้ กำหนดไม่ได้ แล้วแต่สติจะเกิด เพราะเป็นอนัตตา เหตุเกิดของสติบ่อยๆ คือการฟังธรรมบ่อยๆ เพราะเมื่อฟังบ่อยก็จะเป็นเหตุให้ระลึกได้ เช่นรู้ลักษณะว่าเป็นอย่างที่เคยได้ยินได้ฟังมาจิงๆ ศึกษาสบายๆ ครับ ถึงเมื่อไรก็เมื่อนั้น ไม่ต้องหวังครับ ยังไงสังสารวัฎยาวไกล เราไม่พ้นกันไปง่ายๆ หรอกครับ แต่ก็พยามให้ดีที่สุดก็แล้วกัน สักวันก็คงถึงฝั่งครับ สิกขาแปลว่า ศึกษา มีองค์ 3 ศีล สมาธิ ปัญญา ขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 18    โดย พรรณี  วันที่ 16 พ.ค. 2554

ขออนุโมทนากับทุกท่านค่ะ

ในความเห็นของดิฉันแต่ละคนที่ได้ฟังพระธรรมต่างมีความรู้ความเข้าใจในธรรมไม่เท่า

กันตามสติและปัญญา ผู้ที่มีความรู้แตกฉานจะต้องรู้มากกว่าผู้ที่เพิ่งฟังแน่นอน ฉะนั้นการ

ฟังให้เข้าใจก็คงต้องใช้เวลา และต้องมีความอดทนด้วยค่ะ


ความคิดเห็น 20    โดย ไตรสรณคมน์  วันที่ 16 พ.ค. 2554

ขอเสริมความเห็นของท่านอื่นในเรื่องปฏิบัติอีกนิดนึงค่ะ

การปฏิบัติเป็นเรื่องของความ "เข้าใจ" ค่ะ ไม่ใช่มี "เรา" หรือ ตัวตนที่ปฏิบัติ แต่เป็นเรื่องของสภาพธรรมล้วนๆ คือ สภาพธรรมที่เป็นฝ่ายกุศลโดยมี "ปัญญา" เป็นประธาน เช่นเดียวกับเวลาที่อกุศลจิตเกิด ไม่มี เรา ไปทำให้เกิดขึ้น แต่เป็นสภาพธรรมฝ่ายอกุศลเกิดขึ้นกระทำกิจของตนๆ สภาพธรรมนั้น เป็นเพียง จิต และ เจตสิก
ความเป็น "เรา" อยู่ที่ไหน?

ความคิดเห็น 21    โดย 2554  วันที่ 16 พ.ค. 2554
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 18355 ความคิดเห็นที่ 20 โดย ไตรสรณคมน์

ขอเสริมความเห็นของท่านอื่นในเรื่องปฏิบัติอีกนิดนึงค่ะ

การปฏิบัติเป็นเรื่องของความ "เข้าใจ" ค่ะ ไม่ใช่มี "เรา" หรือ ตัวตนที่ปฏิบัติ แต่เป็นเรื่องของสภาพธรรมล้วนๆ คือ สภาพธรรมที่เป็นฝ่ายกุศลโดยมี "ปัญญา" เป็นประธาน เช่นเดียวกับเวลาที่อกุศลจิตเกิด ไม่มี เรา ไปทำให้เกิดขึ้น แต่เป็นสภาพธรรมฝ่ายอกุศลเกิดขึ้นกระทำกิจของตนๆ สภาพธรรมนั้น เป็นเพียง จิต และ เจตสิก
ความเป็น "เรา" อยู่ที่ไหน?

เรียนถามคุณไตรสรณคมณ์ ในเมื่อต้องการจะสื่อ ความหมายว่า ไม่มีเรา ไม่มีความเป็นเรา หรือมีตัวตนที่ปฏิบัติ การปฏิบัติเป็นเรื่องของความเข้าใจ ขอถามว่า แล้วอะไรเป็นตัวเข้าใจ ใครเข้าใจ หรือจะบอกว่าเป็นเรื่องของสภาพธรรมล้วนๆ สภาพธรรมนั้น เป็นเพียง
จิต และ เจตสิก แล้วจิตและเจตสิกหรือสภาพธรรมล้วนๆ นั้น เกิดจากอะไร เป็นของใคร เกิดจากใคร ขอบคุณและขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 22    โดย Sensory  วันที่ 17 พ.ค. 2554

ต้องเข้าใจคำว่า ธรรมะ ก่อน

คำว่า ธรรมะ (ธัมมะ) คือสภาพที่มีจริงโดยปรมัตถ์ คือสภาพที่จริงแท้ จริงยิ่งกว่าความจริงทุกอย่างที่เคยรู้มา เวลาผ่านไปนานแค่ไหน ความจริงนี้ก็จะเป็นความจริงอยู่ตลอด คือมีอยู่จริงๆ ไม่ใช่เรื่องสมมติว่าจริง

หรือเรียกว่า ปรมัตถธรรม อันได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน

ที่ได้ยินบ่อยๆ ว่า "เป็นธรรม ไม่ใช่เรา" บางคนฟังตั้งนานนึกว่าพูดถึงความยุติธรรมหรือความดี งงอยู่ตั้งนานเพราะไม่เข้าใจความหมาย สับสนคำไทยคำบาลี เริ่มเสื่อมจากความหมายพยัญชนะ เข้าใจไปคนละทิศละทาง

"เป็นธรรม ไม่ใช่เรา" หมายถึงว่า เป็นเพียงสภาพธรรมะ ไม่ใช่เราซึ่งไม่มีอยู่จริง

ตัวตน สัตว์ บุคคล เรา เขา มีจริงโดยบัญญัติ

แต่ถ้าตามความเป็นจริงโดยปรมัตถ์ (จริงแท้) - ตัวตน สัตว์ บุคคล เรา เขา ไม่มีอยู่จริง

" ธรรมะทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา" ก็หมายถึง สภาพธรรมะทั้งปวง ไม่อยู่ในอำนาจ ปรมัตถธรรม (สภาพธรรมะ) ไม่ใช่สิ่งที่จะบังคับบัญชาได้ เพราะเป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่ใช่บุคคลมาทำให้เกิดขึ้น ต้องไม่ปะปนเรื่องนี้กับบัญญัติที่มีบุคคลทำอยู่ แต่โดยปรมัตถ์ไม่มีบุคคล ไม่มีเรา่-เขาที่จะทำ

ในบางแห่งเข้าใจผิด บอกว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น จึงให้ละทิ้งพระธรรมเสีย แล้วให้มาปฏิบัติเลย

ก็ไปกันใหญ่ เพราะไม่เข้าใจความหมายของคำว่า ธรรมะ

ส่วนคำว่า ปฏิบัติ ถ้ายังไม่ทราบความหมายคำนี้ ก็จะเอาไปปนกับภาษาไทย

จริงๆ คำนี้เป็นภาษาบาลี คือ ปฏิปัตติ เป็นการถึงเฉพาะลักษณะสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ (ปฏิปัตติธัมมะ) ไม่มีตัวตน สัตว์ บุคคล สถานที่ ท่าทาง ความจงใจที่จะทำ เพราะโดยปรมัตถ์ไม่มีเรายืน เราเดิน เรานั่ง เรานอน แขนเราเหยียด ตัวเราก้าวไป ฯลฯ ถ้ายังเป็นเราที่จะทำ ก็ยังไม่ใช่ปฏิปัตติธัมมะสักอย่าง

การเข้าใจผิดว่ามีเรากำลังปฏิปัตติธัมมะ จะเป็นปัญญาขั้นขัดเกลาได้อย่างไร (ปัญญาขั้นปรมัตถ์) ในเมื่อยังเป็นตัวเป็นตนที่จะปฏิปัตติธัมมะ ต้องแยกคำไทย (คำว่าปฏิบัติ) ออกไปก่อน

ปัญญาขั้นที่จะหลุดพ้นนั้นเป็น ปฏิปัตติธัมมะ รู้ชัดความจริงในปรมัตถธรรม (ลักษณะสภาพธรรม) ไม่ใช่บัญญัติที่จะไปปฏิบัติกิจการงานอะไรแบบเรื่องทั่วไป

ถ้ายังมีการนั่งทำ นอนทำ ยืนทำ ก็เป็นตัวที่จะทำอยู่ดี

นั่ง นอน ยืน เดิน เป็นปรมัตถ์ไม่ได้ เพราะมีตัวนั่ง นอน ยืน เดิน แน่ๆ ยังเป็นบัญญัติอยู่ ยังอยู่ในขอบเขตของบัญญัติ ซึ่งเป็นตัวตน สัตว์ บุคคลที่จะทำท่าทำทาง ยังไม่ใช่ปฏิปัตติธัมมะสักอย่าง

ปริยัติผิด ก็ปฏิปัตติผิด

แม้คำว่าปฏิปัตติธัมมะ ยังเอาไปปนกับภาษาไทย

ถ้ายังเป็นเราที่จะทำ พูดว่าจะไปปฏิบัติธรรม ทั้งๆ ที่สภาพธรรมะปฏิบัติกิจอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่เคยระลึกศึกษา จะไปหาสภาพธรรมะที่ป่าเขาแห่งไหน ในเมื่อมีอยู่จริงตลอดเวลา และไม่ใช่หน้าที่ของบัญญัติที่จะไปทำให้สภาพธรรมเกิดขึ้นหรือดัีบไป เป็นลักษณะปรมัตถ์ล้วนๆ

ปรมัตถ์ปะปนกับบัญญัติ ความเข้าใจก็สับสน คนละทิศละทาง

ทุกๆ ขณะคือปรมัตถธรรมทั้งนั้น เป็นศีล,ทาน,เมตตา,กตัญญู,อ่อนน้อมถ่อมตน ฯลฯ ก็มีปรมัตถธรรมอยู่ คือจิต เจตสิก รูป ต่างๆ เพียงแต่ปัญญาขั้นนั้นเป็นขั้นสมถภาวนาในชีวิตประจำวัน ปัญญาในขั้นนั้นยังไม่รู้ชัดในปรมัตถธรรม มีบัญญัติเป็นที่ตั้งให้เกิดกุศล เป็นความสงบจากอกุศลจิตที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน

ในขณะที่ปัญญาขั้นสมถภาวนาที่ไม่ใช่ชีวิตประจำวัน อันได้แก่ขั้นเจริญสมาธิที่ประกอบด้วยมหากุศลต่างๆ ฌานขั้นต่างๆ ก็ยังมีบัญญัติเป็นอารมณ์ แต่ความสงบจะแนบแน่นมากกว่าขั้นศีล,ทาน พอให้เป็นเครื่องอบรมความสงบให้เป็นสุขในชาติๆ นึง แต่ทั้งหมดยังไม่ได้ขัดเกลา จึงยังไม่ใช่ ปฏิปัตติธัมมะ

ปัญญาขั้นขัดเกลา (ปฏิปัตติธัมมะ) คือปัญญาที่เกิดจากการอบรมเจริญสติปัฏฐาน เกิดจากการฟัง การสะสมความเข้าใจในการระลึกศึกษาสภาพธรรมะ เป็นปรมัตถธรรมที่จะปฏิปัตติธัมมะ ไม่ใช่ตัวตน,แขน,ขา,ท่าทางที่จะปฏิปัตติธัมมะ ไม่ใช่เรื่องของบัญญัติที่จะปฏิปัตติธัมมะ

ทาน ศีล สมถภาวนา (ในชีวิตประจำวัน) ก็เป็นอาหารให้สติปัฏฐาน (ปฏิปัตติธัมมะ) บริบูรณ์ด้วย

ที่สำคัญคือแยกให้ออกด้วยว่าสิ่งที่กำลังคิดว่าปฏิบัติ เช่น ไปนั่งสมาธิ เดินจงกรม เป็นโลภะหรือกุศลกันแน่

คนส่วนใหญ่แค่หลบจากโทสะ ก็คิดว่าเป็นกุศลแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโลภะ พอใจที่จะได้นั่งแช่ อยู่เฉยๆ นิ่งๆ ด้วยโลภมูลจิต มีความสุขโสมนัสที่ประกอบด้วยโลภะอยู่ทั้งวัน เพราะโลภะเป็นสิ่งที่ทุกคนชอบ อยู่กันมานาน

จนแยกไม่ออกอะไรสุขจริง อะไรเศร้าหมอง

ส่วนใหญ่สะสมเหตุแห่งทุกขสัจจ์มากขึ้นทุกวันๆ เพราะชอบเหตุแห่งทุกข์กันมาก คือ โลภะ ซึ่งเป็นสมุทัยสัจจ์

นี่คือปริยัติขั้นต้น

หากเพียงคำว่า ธรรมะ - คำว่า ปฏิบัติ ยังไม่เข้าใจ ก็จะหาวิธีทำสิ่งต่างๆ ที่จะดับกิเลส ซึ่งเป็นไปไม่ได้หากเริ่มผิด เพราะการดับกิเลส ไม่ใช่การไปทำ


ความคิดเห็น 23    โดย Sensory  วันที่ 17 พ.ค. 2554

//dhammahome.com/webboard/topic/12697

สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา เป็นปัจจัยให้ภาวนามยปัญญาเกิดขึ้น เจริญขึ้น

ปัญญาต้องเป็นไปตามลำดับขั้น อยู่ๆ จะข้ามไปภาวนามยปัญญาไม่ได้

ที่สำคัญ ปัญญาทั้งหมดนี้ ไม่ใช่เรื่องไปทำ

สำหรับบางแห่งแค่ขั้นสุตมยปัญญา ก็ผิดทางแล้ว

ปฏิเสธปริยัติ มุ่งปฏิบัติอบรมเจริญโลภะ

...ไม่ต้องกล่าวถึงภาวนามยปัญญา


ความคิดเห็น 24    โดย วันชัย๒๕๐๔  วันที่ 18 พ.ค. 2554

"...สำหรับบางแห่งแค่ขั้นสุตมยปัญญา ก็ผิดทางแล้ว

ปฏิเสธปริยัติ มุ่งปฏิบัติอบรมเจริญโลภะ

...ไม่ต้องกล่าวถึงภาวนามยปัญญา..."

กราบอนุโมทนาขอรับ



ความคิดเห็น 38    โดย akrapat  วันที่ 23 พ.ค. 2554

ฟังเยอะๆ ก็ดี แต่อย่ามัวหลงไปในสิ่งที่ฟัง

ความเข้าใจก็ดีนะครับ แต่ระวังอย่าคิดเอาเอง

ความจำน่ะดี แต่บางทีจำมากๆ ก็เป็นภาระ

รู้ลึกก็ดี ก็ดีแต่อย่าติด ที่ความรู้

ปัญญาเยอะ ก็ดี แต่อย่ายึด ว่าเป็นเราเป็นของเรา

สติเกิดบ่อย ยิ่งดี ถ้าสตินั้นมันเป็น อนัตตา


ความคิดเห็น 41    โดย สามารถ  วันที่ 24 พ.ค. 2554

เราศึกษาเพื่อ เข้าใจธรรมชาติ

ธรรมชาติคือ ทุกสิ่งทุกอย่าง

"เราทำการศึกษาเพื่อให้เข้าใจทุกสิ่งทุกอย่าง"


ความคิดเห็น 42    โดย paderm  วันที่ 25 พ.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 41

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ..ธรรมะ กับ ธรรมชาติต่างกันอย่างไร


ความคิดเห็น 43    โดย สามารถ  วันที่ 25 พ.ค. 2554

ขอบคุณครับ


ความคิดเห็น 44    โดย new-interested  วันที่ 25 พ.ค. 2554

ทำอย่างไรถึงจะเข้าใจและประจักกับประโยคที่ว่า "รู้สภาพธรรมที่ปรากฎ เห็นก็สักแต่ว่า

เห็น ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน" และ ทำอย่างไร ถึงจะรู้ เข้าใจและเห็นว่า โลกนี้มันเป็นของ

ว่าง..? ท่านผู้รู้ช่วยกรุณาต่อผมเป็นการส่วนตัว จักเป็นพระคุณอย่างสูง

weerakaj1972@hotmail.com


ความคิดเห็น 45    โดย paderm  วันที่ 25 พ.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 44 ครับ

การประจักษ์ความจริงของสภาพธรรมที่มีจริง คือปัญญารู้ลักษณะของสภาพธรรม

ที่กำลังปรากฎ เห็นสักแต่ว่าเห็นคือ เห็นสภาพธรรมด้วยปัญญารู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา

และขณะที่เข้าใจ รู้ลักษณะของสภาพธรรมในขณะนั้นก็ค่อยๆ เข้าใจว่าโลกเป็นของ

ว่าง ว่างในที่นี้ไมไ่่่ด้หมายความว่าไม่มีอะไรเลย แต่ว่างจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัว

ตนเพราะขณะนั้นปัญญากำลังรู้ว่ามีแต่สภาพธรรมที่กำลังปรากฎจึงว่างจากความเป็น

เรา เป็นสัตว์ บุคคล ซึ่งตามที่กล่าวมาเป็นปัญญาระดับวิปัสนนา เป็นปัญญาระดับสูง

ครับ ซึ่งการจะไปถึงความรู้อย่างนั้นได้ ต้องอาศัยกาลเวลาและอาศัยการฟังพระธรรม

ไปเรื่อยๆ โดยเริ่มเข้าใจก่อนครับว่าธรรมคืออะไร ดังนั้นจึงต้องเริ่มจากปัญญาขั้นต้น

ก่อนครับ ก่อนที่จะถึงปัญญาขั้นสูงตามที่กล่าวมา ซึ่งเหตุที่จะให้ปัญญาเจริญถึงขั้น

นั้น จึงไม่ใช่การไปนั่งปฏิบัติทำอะไรซักอย่างครับ แต่ต้องเริ่มจากการฟังพระธรรม เมื่อ

เข้าใจขึ้นจากการฟัง ปัญญาก็เจริญขึ้น ปัญญาและสตินั่นเองก็จะเริ่มเกิดรู้ความจริง

ตามที่กล่าวมาครับ แต่เป็นเรื่องไกลและยากและต้องอาศัยระยะเวลา ซึ่งพระอริยสาวก

ในอดีต หากทราบประวัติของท่านก็จะรู้ว่าท่านใช้เวลาในการอบรมปัญญา เป็นกัป นับ

ชาติไม่ถ้วนครับ ดังนั้นต้องอาศัยการฟังพระธรรมยาวนาน เป็นการอบรมที่ยาวนานที่

เรียกว่าจิรกาลภาวนา การเริ่มที่ถูก และ ช้า เพราะธรรมเป็นเรื่องที่ยากดีกว่าเริ่มที่ผิด

และคิดว่าเร็วครับ อาศัยการฟังพระธรรม ค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไปธรรมคือปัญญาจะทำ

หน้าที่เองครับ ลองคลิกอ่านกระทู้ตามที่ผมลิ้้งค์มานะครับ เป็นประโยชน์มากครับ

ขออนุโมทนาที่สนใจที่จะเข้าใจพระธรรม

เชิญคลิกอ่านที่นี่..... แด่...ผู้เริ่มต้น

สำหรับผู้เริ่มต้น


ความคิดเห็น 46    โดย akrapat  วันที่ 26 พ.ค. 2554

เห็นสักแต่ว่าเห็น ได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน เป็นการประจักษ์สภาพธรรม ในระดับ เหนือสมมติ หรือ ปรมัตถ์ เป็นการประจักษ์ด้วย สัมมาสติ โดยการเจริญ สติปัฏฐาน


ความคิดเห็น 49    โดย สามารถ  วันที่ 29 พ.ค. 2554

ในความเห็นของผม

แก่นของพุทธศาสนา คือ การพ้นทุกข์

หัวใจของพระพุทธศาสนา คือ หนทางการพ้นทุกข์

พุทธะ ที่แท้ คือ ความรู้ (ในการพ้นทุกข์)

ธรรมะ ที่แท้ คือ สิ่งที่ปรากฎในปัจจุบันขณะ

เราอาจต้องพิจารณาต่อด้วยครับว่า

ตัวหนังสือ คืออะไร อักขรโวหาร คืออะไร

ติด ตำรับ ตำรา เป็นอย่างไร และให้ผลเป็นอย่างไร

ติดครูบาอาจารย์ เป็นอย่างไร ให้ผลเป็นอย่างไร

ฯลฯ

ครับ


ความคิดเห็น 50    โดย วิริยะ  วันที่ 30 พ.ค. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

ความคิดเห็น 52    โดย วินิจ  วันที่ 31 พ.ค. 2554

คุณSensory,คห.22,23พูดได้เฉียบคมสุดๆ ,สำนักต่างๆ พึงนำไปเป็นข้อคิดมุมมอง,การ

เน้นด้านใดด้านหนึงอาจไม่ถูกต้องเสมอไป,แต่เข้าใจว่า"เจโต"กับ"ปัญญา"หรือ"สมถะ"

กับ"วิปัสสนา"ก็อาศัย ("อุปการะ") กัน (มองมุมดี) ,"นั่ง"ไม่ทนก็"ฟังธรรม"ไม่ได้นาน,จะ

นอนฟังก็จะผลอยหลับเสียก่อน,ท่าจะเน้นแต่"นั่ง"ก็จะเป็นเหมือน"ฤาษี"สมัยพุทธกาล

ไม่อาจบรรลุธรรมได้,จริงๆ โดยปรมัตถ์,สังสารวัฏฏ์ไม่มีผิดไม่มีถูก,ผิดถูกเป็นสมมติ,เพียง

แต่อาจ"วน"หรือ"ถึงฝั่ง"เร็วช้ากว่ากันเท่านั้น... ("พุทธ"เป็นศาสนาแห่ง"ปัญญา")


ความคิดเห็น 56    โดย คนหลงเงา  วันที่ 31 พ.ค. 2554

การเรียนพระไตรปิฏกหรือพระอภิธรรม หรือการฟังธรรมจากครูอาจารย์เป็นสิ่งที่ดี แต่เรียนแล้วเข้าใจแล้ว ควรปฏิบัติให้เข้าถึง นั่นและคือเป้าของพระพุทธองค์ ละกิเลสที่ใจตนเองครับ


ความคิดเห็น 60    โดย วันชัย๒๕๐๔  วันที่ 2 มิ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ได้ติดตามอ่านความเห็นต่างๆ ในกระทู้นี้มาโดยตลอด จนบัดนี้

ยิ่งทำให้ได้ซาบซึ้งในแนวทางของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ มากขึ้นมั่นคงขึ้น

ให้ได้เห็นว่า ธรรมะที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ และ ทรงแสดง

เป็นเรื่องที่ละเอียด ลึกซึ้ง ยากที่ผู้ใดจะเข้าใจได้โดยง่ายจริงๆ

ผู้ที่ศึกษาด้วยความเคารพ โดยละเอียด จริงใจ ไม่เผิน และเป็นผู้ตรง เท่านั้น

จึงจะได้สาระจากพระธรรม ที่ได้ทรงมีพระมหากรุณา แสดงไว้ตลอด ๔๕ พรรษา

เป็นบุญที่ได้กระทำไว้แต่ปางก่อนจริงๆ ที่ได้พบพระธรรมที่ถูกต้องตรงตามที่ทรงแสดงไว้

พระธรรมที่ทรงตรัสรู้นั้น ไม่สาธารณะกับทุกคน และไม่ง่ายเลยจริงๆ

ขอกราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

ในความเมตตาอันไม่มีประมาณ ที่ได้นำพระธรรมที่เข้าใจได้ยากยิ่งนั้น

มาอธิบายให้พวกเราได้เข้าใจขึ้นบ้าง

กราบอนุโมทนาท่านอาจารย์อีกครั้ง ขอรับ


ความคิดเห็น 61    โดย สามารถ  วันที่ 2 มิ.ย. 2554

อยากให้มีการลองพิจารณากันครับว่า
หากเราใช้คำว่า "จิตสามารถแยกเยะ", "จิตจำเป็นต้องฝึกแยกแยะ", "ต้องใช้จิต"
เหล่านี้...ฟังดูแล้วเหมือนอย่างว่า
มีเราที่เป็นผู้กล่าวถึงจิต และมีจิตเป็นตัวๆ ทำกิจของจิตไป (คือกิจแยกแยะ)
มีเราที่ทำการฝึกหัดจิต และมีจิตที่ถูกฝึกหัด
มีเราที่ทำกิจการงานใช้จิต และมีจิตถูกใช้จริงอยู่เมื่อยังเป็นปุถุชน ย่อมยังไม่สามารถละความเห็นว่าเป็น "เรา" ได้
การมีเราเป็นผู้กล่าวถึงจิต ย่อมมี
การเห็นว่าจิตเป็นอย่างนั้นๆ เป็นตัว เป็นก้อน หรือมีลักษณะอย่างใดๆ อยู่ ย่อมมี
การเห็นว่ามีเรา ทำการ ฝึกหรือใช้จิตอยู่ ย่อมมี
การเห็นว่ามีจิตถูกฝึกหรือใช้อยู่ ย่อมมีและจากการศึกษาและพิจารณาผมเห็นว่าเป็นเพราะเหตุดังนี้คือ
การมีเราเป็นผู้กล่าวถึงจิต ย่อมมี เพราะสักกายะทิฏฐิ
การเห็นว่าจิตน่าจะมีลักษณะอย่างใดๆ อยู่ ย่อมมี เพราะยังไม่รู้แจ้งในลักษณะของจิต
การเห็นว่ามีเรา ทำการ ฝึกหรือใช้จิตอยู่ ย่อมมี เพราะยังไม่เข้าใจความเป็นอนัตตา

จากผลที่ควรจะเกิดขึ้นจากการศึกษาพระธรรมของพระพุทธเจ้า ความเข้าใจที่ถูกต้องควรจะเป็นดังนี้คือ
ความเข้าใจใน "ความเป็นเรา ลักษณะของธรรมะ (จิต) และความเป็นอนัตตา"

ผมเห็นว่าหากเรายังใช้คำว่า
มีเรา ทำการใช้จิต ทำการฝึกจิต มีจิตถูกใช้ แม้จะเป็นปุถุชนที่ยังมีความเป็นเราอยู่ก็ตาม แต่หากความเข้าใจเบื้องต้นคลาดเคลื่อนแล้ว เบื้องปลายก็ไม่มีทางถูกตรงได้จริงอยู่เราอาจมีความสงสัยลังเลที่จะพูดว่า "ไม่มีเรา" หรือ "อนัตตา"แต่ใครก็ตาม ถ้าได้พิจารณา ก็ย่อมสามารถเข้าใจถึงคำว่า "ไม่มีเรา" ได้ แม้เป็นปุถุชนผมเห็นว่า การใช้คำกล่าวข้างต้น เป็นความเห็นผิด ไม่ตรงตามเนื้อความในพระสัทธรรม ไม่สอดคล้องกับพระธรรมที่พระองค์ทรงแสดงครับด้วยความเป็นกัลยาณมิตรในที่แห่งนี้อยากให้ผู้อ่านได้ลองพิจารณาด้วยอโทสะ
สิ่งใดหากผิดพลาด คลาดเคลือน ของผู้รู้ได้แสดงแก้ไข สำหรับความเห็นนี้ครับ
นี้เป็นความเห็นส่วนบุคคล

ขออนุโมทนา

ความคิดเห็น 62    โดย 2554  วันที่ 3 มิ.ย. 2554

"ธรรมะที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสรู้และทรงแสดงไว้ เป็นเรื่องที่ละเอียด

ลึกซึ้ง ยากที่จะมีผู้เข้าใจได้โดยง่ายจริงๆ "


ความคิดเห็น 65    โดย เมตตา  วันที่ 17 ก.ค. 2554

ธรรมะที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสรู้และทรงแสดงไว้ เป็นเรื่องที่ละเอียด

ลึกซึ้ง ยากที่จะมีผู้เข้าใจได้โดยง่าย

แต่เมื่อมีผู้ศึกษาตาม พิจารณาไตร่ตรองตามพระธรรมที่ทรงตรัสรู้โดยไม่คิดเอา

เอง ก็ย่อมตรัสรู้ตามได้ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงพระธรรมซึ่งเป็นเรื่องละเอียด ลึก

ซึ้ง ยากที่จะมีผู้เข้าใจได้โดยง่าย พระพุทธองค์จึงทรงไม่น้อมพระทัยที่จะแสดงธรรม

แต่เมื่อยังมีผู้ที่มีธุลีในดวงตาน้อย สามารถที่จะเข้าใจตามได้จึงทรงแสดง พระอรหัน-

ตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมตลอด ๔๕ พรรษา ก็เพื่อให้เข้าใจสิ่งที่มีจริงที่กำลัง

ปรากฏขณะนี้ทางตา ทางหู...และทางใจ สภาพธรรมที่เกิดขึ้นเช่น จิตเห็น เกิดขึ้น

เพราะเหตุปัจจัย มีใครทำให้จิตเห็นเกิดขึ้นได้ไหม? มีใครสามารถทำให้ปัญญาเกิด

ขึ้นได้ไหม? การที่ปัญญาจะประจักษ์แจ้งความจริงได้นั้น ก็ต้องเริ่มจากการฟัง การ

ศึกษาให้เข้าใจว่าธรรมะคืออะไร อะไรเป็นธรรมะที่ปัญญาสามารถที่จะประจักษ์แจ้งได้

ไม่ใช่เราต้องปฏิบัติเพื่อปัญญาจะได้เกิด แต่ปัญญาเกิดขึ้นได้จากการค่อยๆ อบรมให้

มีขึ้น ซึ่งต้องเริ่มจากความเข้าใจสิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏขณะนี้ พิจารณาลักษณะที่

มีจริงๆ ของเห็น พิจารณาลักษณะของสิ่งที่เพียงปรากฏให้เห็นได้ (ได้ยิน เสียง...โดย

นัยเดียวกัน) เพื่อสัญญาจำลักษณะที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ เพราะสัญญาจำที่มั่นคง

นั้น (เป็นเหตุใกล้) เป็นปัจจัยให้สติเกิดระลึกตรงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

ตามปกติตามความเป็นจริง ไม่ใช่ศึกษาธรรมโดยไม่พิจารณาลักษณะที่มีจริงๆ ได้แต่

พูด ได้แต่คิดถึงเรื่องราวของธรรม แล้วเมื่อไหร่สัญญาที่เคยจำผิดว่าเป็นสิ่งต่างๆ สัตว์

บุคคลตัวตนว่าเที่ยง จะได้ทำกิจจำลักษณะที่มีจริงๆ ของธรรม

พระธรรมนั้นยาก ละเอียด ลึกซึ้งยิ่งนัก ไม่สามารถรู้ได้ด้วยการตรึกหรือคิดเอาได้

แต่สามารถที่จะรู้ได้ด้วยการค่อยๆ อบรมให้เข้าใจขึ้นๆ ทีละเล็กทีละน้อย ปัญญาที่เกิด

จากการค่อยๆ อบรมให้มีขึ้นเท่านั้นที่จะสามารถประจักแจ้งความจริงได้ไม่มีหนทางอื่น..

ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่...

กำลังศึกษาธรรมะอยู่หรือเปล่า

ขอกราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

ในความเมตตาอันไม่มีประมาณ ที่ได้นำพระธรรมที่เข้าใจได้ยากยิ่งนั้น

มาอธิบายให้พวกเราได้เข้าใจขึ้นบ้าง

...ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ...