พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกาศเพียงบุญจริยา ที่ทำได้ยากของ พระองค์ในอัตภาพนี้แก่พระมหาเถระในวรรคนี้ ด้วยประการฉะนี้. แต่ใน เทศนาชาดก ท่านประกาศถึงท้าวสักกะเข้าไปหาในวันที่สี่ แล้วทรงทราบ อัธยาศัยของพระโพธิสัตว์ การประทานพร การแสดงธรรมของพระโพธิ- สัตว์ด้วยหัวข้อการรับพร และความหวังไทยธรรมและทักขิไณยบุคคล และ การไม่มาของท้าวสักกะ. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-
ท้าวสักกะผู้เป็นภูตบดี ทอดพระเนตร เห็นท่านอกิตติดาบส พักสำราญอยู่ จึงถามว่า ข้าแต่มหาพรหม พระคุณเจ้าปรารถนาอะไรจึง อยู่ผู้เดียวในฤดูร้อน.
ท่านท้าวสักกรินทรเทพความเกิดใหม่ เป็นทุกข์ การแตกทำลายแห่งสรีระ เป็นทุกข์ การตายด้วยความหลง เป็นทุกข์ เพราะฉะนั้น อาตมาจึงอยู่ผู้เดียว.
ข้าแต่ท่านกัสสปะ เมื่อพระคุณเจ้ากล่าว คำสุภาษิตอันสมควรนี้แล้ว พระคุณเจ้า ปรารถนาอะไร ข้าพเจ้าจะให้พรนั้นแก่ท่าน.
เนื่องจากพระสูตรนี้ยาวจึงขอตอบเป็นตอนๆ เพื่อความเข้าใจง่ายนะครับ
ท้าวสักกะได้เสด็จมาหาท่านอกิตติดาบส ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ ได้สนทนากัน และท้าวสักกะประทานพรแก่ท่านอกิตติดาบสด้วย ที่จรืงการขอพร คือการขอโอกาศที่จะทำกุศล นะครับ ไม่ใช่ไปขอให้ผู้อื่นมาขอให้ผลของกรรมดีเช่น มั่งคั่งร่ำรวย หรือมีสุขภาพดี และอื่นๆ เกิดแก่ผู้ขอ โดยผู้ขอนั้นได้ทำเหตุหรือเปล่าก็ไม่ทราบ และเหตุสมควรแก่ผลไหม ตอนแรกนี้ ท้าวสักกะถามว่า พระคุณเจ้าปราถนาอะไร จึงอยู่ผู้เดียว ท่านอกิตติดาบส ตอบ ความเกิดใหม่เป็นทุกข์ การแตกทำลายแห่งสรีระ เป็นทุกข์ การตายด้วยความหลง เป็นทุกข์ เพราะฉะนั้น อาตมาจึงอยู่ผู้เดียว ท้าวสักกะฟัง คำสุภาษิตอันสมควแล้ว จะให้พรแก่ท่านอกิตติดาบส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 48
ท่านท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพทั้งหลาย หากท่านจะให้พรแก่อาตมา ขอจงให้พรดังนี้ คนทั้งหลายได้บุตร ภรรยา ทรัพย์สมบัติ และ ของเป็นที่รักด้วยความโลภใดแล้วไม่เดือดร้อน ขอความโลภนั้นไม่พึงอยู่ในอาตมาเลย.
ท่านอกิตติดาบส ขอพร ว่า การได้บุตร ภรรยา ทรัพย์สมบัติ และของที่เป็นที่รัก แล้วไม่เดือดร้อน ขออาตมาอย่าได้มีความโลภอย่างนั้นเลย หมายความว่า แม้แต่ความโลภ ความยินดีพอใจ ที่ถูกต้องทำนองคลองธรรม แล้วไม่เดือดร้อน ซึ่งคนทั้งหลาย ชอบและต้องการกันทั้งนั้น ท่านอกิตติดาบสขออย่าให้มีความโลภนั้นเลย คือท่านไม่ต้องการ บุตร ภรรยา ทรัพย์สมบัติ และของที่เป็นที่รัก ท่านจะมีความสุขความสบายใจมาก พราะไม่ต้องคี้นรนขวนขวายทำกิจการงานเหน็จเหนื่อย วิตกกังวล เดือดร้อนทั้งกายและใจ แสดงว่าท่านไม่ต้องการให้ความโลภทีไม่เดือดร้อนเกิดกับท่าน เป็นการขัดเกลาไม่ให้ติดในโลภะมากขึ้น เพราะยีงได้ยิ่งติด และท่านอาจจะเห็นโทษของโลภนั้น จึงขอ ให้ความโลภนั้นอย่าอยู่ในท่านเลย
ข้าแต่ท่านกัสสปะ เมื่อพระคุณเจ้ากล่าว ดีแล้ว ฯลฯ พระคุณเจ้าปรารถนาอะไรอีก. ท่านท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพทั้งหลาย หากท่านจะให้พรแก่อาตมา ขอจงให้พรดังนี้ นา ไร่ ทอง โค ม้า ทาสและบุรุษ ย่อม เสื่อมไปด้วยโทษใด โทษนั้น ไม่พึงอยู่ใน อาตมาเลย.
ท่านอกิตติดาบส ขอพรว่า โทษอย่ามีในท่านเลย ซึ่งหมายถึงอกุศลที่เป็นเหตุให้ นา ไร่ ทอง โค ม้าทาสและบุรุษย่อมเสื่อมไป ท่านขอโอกาศที่ไม่ทำ อกุศลใด ซึ่งเป็นเหตุที่ ทำให้ นา ไร่ ทอง โค ม้า ทาสและบุรษ เสื่อมเสียไป ขออกุศลนั้นไม่พึงอบู่ในท่านเลย
ข้าแต่ท่านกัสสปะ ฯลฯ พระคุณเจ้า ปรารถนาอะไรอีก. ท่านท้าวสักกะหากท่านจะให้พรแก่อาตมา ขอจงให้พรดังนี้ บุคคลไม่พึงเห็น ไม่พึงได้ยิน คนพาล ไม่พึงอยู่ร่วมด้วยคนพาล ไม่พึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 49
กระทำ และไม่พึงชอบใจการสนทนาปราศรัย ด้วยคนพาล
ข้าแต่ท่านกัสสปะ เพราะอะไรท่านจึง ไม่ชอบคนพาล ขอจงบอกเหตุ เพราะเหตุไร พระคุณเจ้าจึงไม่ปรารถนาที่จะเห็นคนพาล. คนพาลย่อมแนะนำสิ่งไม่ควรแนะนำ ย่อมขวนขวายในกิจอันไม่ใช่ธุระ คนพาล แนะนำให้ดีได้ยาก พูดดีหวังจะให้เขาเป็นคน ประเสริฐกลับโกรธ คนพาลนั้นไม่รู้วินัย การ ไม่เห็นคนพาลได้เป็นความดี. ข้าแต่ท่านกัสสปะ พระคุณเจ้าปรารถนา อะไรอีก.
ท่านท้าวสักกะจอมเทพ หากท่านจะให้ พรแก่อาตมา ขอจงให้พรดังนี้ บุคคลพึงเห็น นักปราชญ์ พึงฟังนักปราชญ์ พึงอยู่ร่วมกับ นักปราชญ์ พึงกระทำและพึงชอบใจการ สนทนาปราศรัยกับนักปราชญ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 50
ข้าแต่ท่านกัสสปะ เพราะเหตุไร พระคุณเจ้าจึงชอบใจนักปราชญ์ ขอจงบอกเหตุนั้น เพราะเหตุไร พระคุณเจ้าจึงปรารถนาจะเห็น นักปราชญ์.
นักปราชญ์แนะนำสิ่งที่ควรแนะนำไม่ ขวนขวายในกิจที่มิใช่ธุระ นักปราชญ์แนะนำ ได้ง่าย พูดหวังจะให้ดีก็ไม่โกรธ นักปราชญ์ ย่อมรู้จักวินัย การสมโคมกับนักปราชญ์เป็น ความดี.
พระคุณเจ้าปรารถนาอะไรอีก. ท่านท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพ หากท่าน จะให้พรแก่อาตมา ขอจงให้พรดังนี้ เมื่อราตรี หมดไป ดวงอาทิตย์ขึ้นเป็นเจ้าโลก ของ บริโภคอันเป็นทิพย์ฟังปรากฏ ผู้ขอฟังเป็นผู้มี ศีล. เมื่ออาตมาให้ ของบริโภคไม่หมดสิ้นไป ครั้นให้แล้วอาตมาไม่พึงเดือดร้อน เมื่อให้จิต พึงผ่องใส ท่านท้าวสักกะขอจงให้พรนี้เถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 51
พระคุณเจ้าปรารถนาอะไรอีก. ท่านท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพ หากท่าน จะให้พรแก่อาตมา ขอจงให้พรดังนี้ ท่านไม่ พึงกลับมาหาอาตมาอีก ท่านท้าวสักกะ ขอจง ให้พรนี้เถิด.
เทพบุตร หรือเทพธิดา ปรารถนาจะเห็น ด้วยการประพฤติพรตเป็นอันมาก อะไรจะเป็น ภัยในการเห็นของอาตมา. ตบะพึงแตกไป เพราะเห็นสีสรรของ พวกเทพเช่นนั้น ผู้ล้วนแล้วไปด้วยความสุข สมบูรณ์ในกามนี้เป็นภัยในการเห็นของพระ- คุณเจ้า.
ลำดับนั้นท้าวสักกะตรัสว่า ดีแล้วพระคุณเจ้า ตั้งแต่บัดนี้ไปข้าพเจ้า จักไม่มาหาพระคุณเจ้าอีกแล้ว ทรงกราบพระดาบสนั้นเสด็จกลับไป. พระมหาสัตว์อยู่ ณ การทวีปนั้นตลอดชีวิต เมื่อสิ้นอายุก็ไปบังเกิดในพรหมโลก. ในครั้งนั้นพระอนุรุทธเถระเป็นท้าวสักกะ. พระโลกนาถเจ้าเป็น อกิตติบัณฑิต.
ในพระไตรปิฏกก็มีแสดงไว้ คำสาปแช่งของฤาษี เป็นที่ปรารถนาของปุถุชน เช่น
ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ผู้ได้ลักเอาเหง้าบัวของท่านไป
ขอให้ผู้นั้นจงเป็นคฤหัสถ์มีธัญชาติมากมายสมบูรณ์ด้วยกสิกรรม มียศ
จงได้บุตรทั้งหลาย จงมีทรัพย์ ได้กามคุณทุกอย่าง
จงอยู่ครองเรือนอย่างไม่เห็นความเสื่อมเลย ฯลฯ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
พระโพธิสัตว์ (อกิตติดาบส) ขอพร ไม่ได้หมายความว่าจะได้ในสิ่งที่ขอ ทุกอย่างเป็น เรื่องของกรรม แต่พระโพธิสัตว์ขอพร แสดงถึงความมั่นคงและความคิดของท่าน ที่เห็น โทษในอกุศล เห็นโทษของการคบคนพาล เป็นต้น ดังนั้นจึงไม่ใช่จะได้อะไรมาด้วย การขอพรจากเทวดา แต่เป็นเรื่องของกรรม แต่ชาดกนี้แสดงถึงความมั่นคงและความ คิดของพระโพธิสัตว์ที่เป็นไปในทางกุศลและการขัดเกลากิเลสเพื่อดับกิเลสจนหมด
ขออนุโมทนาครับ
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขออวยพรให้ เจริญในกุศลทุกประการ
ขออนุโมทนา
ขออนุโมทนาค่ะทีจริง การขอพร คือการขอโอกาสที่จะทำกุศลถ้าอย่างนั้นเวลาที่พระท่านมักกล่าวว่า "เจริญพรคุณโยม" น่าจะหมายถึง "จงเจริญในกุศลยิ่งๆ ขึ้นไปเถิดคุณโยม" หรือ "จงเจริญในกุศลที่กระทำเถิดคุณโยม" ทำนองนี้สินะคะ ที่จริงเป็นคำที่ดีมากๆ เลยนะคะ ถ้าจะได้รู้ความหมายที่ถูกต้อง เกิดความเข้าใจถูก คนจะได้ไม่ต้องขอพรพระแบบตามๆ กันไป หวังร่ำรวยเพราะว่าขอพรไว้แต่ไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วตนเองกำลังขออะไร และกำลังทำอะไร (สมัยเด็กนั้นดิฉันก็ทำอยู่บ่อยๆ แม่บอกว่าให้พูดยังไง ก็ว่ายังงั้น ขนาดปัจจุบันนี้บางทีก็ยังเผลอ แล้วก็นึกขึ้นได้ว่า ไม่ได้สร้างเหตุไว้ จะไปเอาผลมาจากที่ไหนกัน)
ผมจำ ประโยคที่ว่า "การขอพร คือการขอโอกาศที่จะทำความดี หรือกุศล"มาจากการบรรยายธรรม ของท่าน อจ สุจินต์ คร้บจากการขอพรของท่านอกิตติดาบส ท่านก็ขอที่จะไม่มีโลภะเหมือนผู้อื่นพรข้อที่สอง ท่านก็ขอพรที่จะไม่มีอกุศลใดๆ คือไม่ทำอกุศลใดๆ ที่เป็นเหตุของการเสื่อมของ
โภคสมบัติ ข้าทาส บริวาร ดังนั้นการขอพรคือขอไม่ทำอกุศลหรือการขอทำกุศล
ขอบคุณ ครับ
.. การขอพร คือการขอโอกาสที่จะทำความดีหรือการเจริญกุศล
อนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ