[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 131
ปฐมปัณณาสก์
อุปาลิวรรคที่ ๔
๓. อุพพาหสูตร
ว่าด้วยภิกษุประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้รื้อฟื้นอธิกรณ์
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 131
๓. อุพพาหสูตร
ว่าด้วยภิกษุประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้รื้อฟื้นอธิกรณ์
[๓๒] อุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุประกอบด้วยธรรมเท่าไรหนอแล สงฆ์พึงสมมติเพื่อให้เป็นผู้รื้อฟื้นอธิกรณ์.
พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ประกอบธรรม ๑๐ ประการแล สงฆ์พึงสมมติเพื่อให้เป็นผู้รื้อฟื้นอธิกรณ์ ๑๐ ประการเป็นไฉน คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษทั้งหลายอันมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑ เป็นพหูสูตร ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้สดับมาก ทรงไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ ซึ่งธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑ ปาติโมกข์ทั้งสองเป็นอุเทศอันภิกษุนั้นจำดีแล้ว จำแนกดีแล้ว กล่าวดีแล้ว โดยพิสดาร วินิจฉัยดีแล้วโดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ ๑ อนึ่ง ภิกษุนั้น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 132
เป็นผู้เคร่งครัดในวินัยไม่ง่อนแง่น ๑ เป็นผู้สามารถเพื่ออันยังอยู่คู่ความทั้งสองฝ่ายให้ยินยอม ให้ตรวจดู ให้เห็นเหตุผล ให้เลื่อมใสได้ ๑ เป็นผู้ฉลาดในการยังอธิกรณ์อันเกิดขึ้นให้ระงับ ๑ รู้อธิกรณ์ ๑ รู้เหตุเป็นที่เกิดขึ้นแห่งอธิกรณ์ ๑ รู้ความดับแห่งอธิกรณ์ ๑ รู้ทางปฏิบัติเป็นเครื่องถึงความดับอธิกรณ์ ๑ ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ นี้แล สงฆ์พึงสมมติเพื่อให้เป็นผู้รื้อฟื้นอธิกรณ์.
จบอุพพาหสูตรที่ ๓
อรรถกถาอุพพาหสูตรที่ ๓
อุพพาหสูตรที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อุพฺพาหิกาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่การชักขึ้นยกขึ้นไว้ เพื่อระงับอธิกรณ์ที่มาถึงแล้ว. บทว่า วินเย โข ปน ิโต โหติ ได้แก่ เป็นผู้ตั้งอยู่ในลักษณะแห่งวินัย. บทว่า อสํหิโร ได้แก่ ไม่ละทิ้งลัทธิของตนด้วยเหตุเพียงคำพูดของบุคคลอื่น. บทว่า ปฏิพโล ได้แก่ ประกอบด้วยกำลังกายบ้าง กำลังความรู้บ้าง. บทว่า สญฺาเปตุํ ได้แก่ ให้ยินยอม. บทว่า นิชฺฌาเปตุํ ได้แก่ ให้เพ่งดู. บทว่า เปกฺขาตุํ ได้แก่ ให้เห็น. บทว่า ปสาเทตุํ ได้แก่ กระทำให้เกิดความเลื่อมใสเอง. บทว่า อธิกรณํ ได้แก่ อธิกรณ์ ๔ มีวิวาทาธิกรณ์เป็นต้น. บทว่า อธิกรณสมุทยํ ได้แก่ เหตุเกิดอธิกรณ์มีมูลวิวาทเป็นต้น. บทว่า อธิกรณนิโรธํ ได้แก่ ระงับอธิกรณ์. บทว่า อธิกรณนิโรธคามินีปฏิปทํ ได้แก่ อธิกรณสมถะ ๗ อย่าง.
จบอรรถกถาอุพพาหสูตรที่ ๓