เรียน อาจารย์ทั้งสองท่าน
มีพระสูตรหนึ่งเกี่ยวกับการเห็นที่พระผู้มีพระภาคฯทรงตรัสกับท่านพระพาหิยะ (ไม่ทราบว่าพระสูตรไหน) ขอความอนุเคราะห์ด้วยครับ
ขออนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 127
ข้อความบางตอนจาก
พาหิยสูตร
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพาหิยะ เพราะเหตุนั้นแล ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟังเมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ดูก่อนพาหิยะท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูก่อนพาหิยะ ในกาลใดแล เมื่อท่านเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มี ในกาลใด ท่านไม่มีในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้า ย่อมไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์. ลำดับนั้นแล จิตของพาหิยทารุจีริยกุลบุตรหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่นในขณะนั้นเอง ด้วยพระธรรมเทศนาโดยย่อนี้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนพาหิย ทารุจีริยกุลบุตร ด้วยพระโอวาทโดยย่อนี้แล้ว เสด็จหลีกไป
เห็นสักแต่ว่าเห็น ไม่ใช่สักแต่ว่าเห็นเฉยๆ เท่านั้น แต่เป็นเรื่องของปัญญาครับ เห็นแล้วก็รู้ว่าเห็นเป็นธรรมหรือเห็นความไม่เที่ยงของสภาพธรรมด้วยปัญญา แต่ไม่ใช่เห็นเฉยๆ ไม่รู้อะไร ดังคำที่นิยมพูดกันว่าเห็นแล้วก็อย่าปรุงแต่งเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ซึ่งไม่ถูก เป็นไปไม่ได้เมื่อเห็นแล้วจะไม่ปรุงแต่งเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด แต่ขณะที่เห็นปัญญาสามารถเกิดต่อรู้ว่าเป็นธรรม รู้ด้วยปัญญาจึงเป็นเห็นสักแต่ว่าเห็น เปรียบเหมือนจิตเห็นที่เห็นรูปแล้วก็ไม่ติดข้อง เพราะเป็นเพียงการเห็นฉันใด การเห็นสักแต่ว่าเห็นด้วยปัญญาก็ไม่มีกิเลสเกิดขึ้น สักแต่ว่าเห็นฉันนั้นครับ ส่วนคำว่าเห็นไม่รู้ว่าเห็นก็ไม่ได้รู้ตามความเป็นจริงว่าเป็นธรรม เป็นเรื่องของความไม่รู้ครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียด ลึกซึ้ง ยากที่จะเข้าใจ แต่ก็ไม่เหลือวิสัยสำหรับผู้ที่ตั้งใจศึกษา โดยมีจุดประสงค์ที่ถูกต้อง คือ เพื่อความเข้าใจถูก เห็นถูกตามความเป็นจริงไม่ใช่เพื่ออย่างอื่น เมื่อได้ศึกษาบ่อยๆ เนืองๆ ไม่ขาดการฟังไม่ขาดการพิจารณาไตร่ตรอง ความรู้ความเข้าใจก็จะค่อยๆ เจริญขึ้นไปตามลำดับ แม้แต่ในเรื่องของจิต ก็เช่นเดียวกัน จิตเป็นสภาพธรรมที่มีจริง จิตเป็นจิต เป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตน ในชีวิตประจำวัน ไม่มีขณะใดที่จะปราศจากจิตเลย มีจิตเกิดดับสืบต่ออยู่อย่างไม่ขาดสายเป็นชาติต่างๆ กล่าวคือ เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง เป็นวิบากบ้าง เป็นกิริยาบ้างแต่จะไม่ปะปนกันอย่างเด็ดขาด เพราะเป็นจิตคนละขณะกัน เป็นจิตที่ต่างประเภทกัน
จากข้อความที่ว่า เธอพึงศึกษาว่า จักขุวิญญาณเห็นซึ่งรูปในรูปเท่านั้น หาเห็นสภาพลักษณะมีอนิจจลักษณะ เป็นต้นไม่ เริ่มต้นต้องเข้าใจว่า จักขุวิญญาณ คืออะไร จักขุวิญญาณ คือ จิตเห็น จิตที่เห็นสีหรือสิ่งที่ปรากฏทางตา เกิดขึ้นเพียงชั่วขณะสั้นๆ แล้วก็ดับไป จิตเห็นนี้ เป็นอเหตุกจิต ไม่มีเหตุใดๆ เกิดร่วมด้วย เป็นจิตที่มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเพียง ๗ ประเภทเท่านั้น คือ ผัสสเจตสิก เวทนาเจตสิกสัญญาเจตสิก เจตนาเจตสิก เอกัคคตาเจตสิก ชีวิตินทริยเจตสิก และ มนสิการเจตสิกเท่านั้น จึงไม่มีความเห็นผิด รวมถึงไม่มีปัญญา ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่เข้าใจถูกเห็นถูกเกิดร่วมด้วยในจิตเห็นนี้เลย ธรรมเป็นเรื่องจริง ตรง และไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะ เป็นจริงอย่าไร ก็เป็นจริงอย่างนั้น ครับ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ
เห็นสักแต่ว่าเห็น คือ ไม่ยึดถือว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน ค่ะ
กราบอนุโมทนาครับ
เห็นเป็นเห็น เป็นอย่างอื่นไม่ได้ เป็นวิบากเพียงชั่วขณะ
ขออนุโมทนา
ขออนุโมทนาครับ