ถือมงคลจากเสียงที่ได้ยิน [สุตมังคลิกะ]
โดย เมตตา  2 ก.พ. 2553
หัวข้อหมายเลข 15352

[เล่มที่ 56] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 284

เขาเป็นผู้ทำอุปการะแก่ท่านเศรษฐี ทำกิจการทุกอย่าง เวลาที่เขามาสู่สำนักท่านเศรษฐี คนทั้งหลาย พากันกล่าวว่า หยุดเถิด กาฬกรรณี นั่งเถิดกาฬกรรณี กินเถิดกาฬกรรณี. อยู่มาวันหนึ่ง หมู่มิตรและอำมาตย์ของท่านเศรษฐี พากันเข้าไปหาท่านเศรษฐี แล้วพูดอย่างนี้ว่า อย่าเลี้ยงเขาไว้ใกล้ชิดอย่างนี้ เลย ท่านมหาเศรษฐี เพราะแม้ยักษ์เองก็ยังต้องหนีด้วยเสียงนี้ว่า หยุดเถิด กาฬกรรณี นั่งเถิด กาฬกรรณี กินเถิด กาฬกรรณี เขาเองก็มิได้เสมอกับท่าน ตกยาก เข็ญใจ ท่านจะเลี้ยงคนๆ นี้ ไว้ทำไม ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กล่าวว่า ธรรมดาว่าชื่อเป็น คำเรียกร้อง หมู่บัณฑิต มิได้ถือชื่อ เป็นประมาณ ไม่ควรจะเป็น คนประเภทที่ชื่อว่า "สุตมังคลิกะ" (ถือมงคลจากเสียงที่ได้ยิน) เราไม่อาจอาศัยเหตุเพียงแต่ชื่อ แล้วทอดทิ้ง เพื่อนผู้เล่นฝุ่นมาด้วยกัน ดังนี้แล้ว มิได้ยึดถือถ้อยคำของพวกนั้น



ความคิดเห็น 1    โดย chatchai.k  วันที่ 30 พ.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


ความคิดเห็น 2    โดย yu_da2554hotmail  วันที่ 8 มี.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ