[เล่มที่ 17] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 170
อธิบายคำว่า ปุถุชน
ในคำว่า เยน ปุถุชโน นี้ มีคำอธิบาย ดังต่อไปนี้ พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ตรัสว่า ปุถุชนมี ๒ พวก คือ อันธปุถุชน ๑ กัลยาณปุถุชน ๑ ดังนี้ ในปุถุชน ๒ พวกนั้น บุคคลผู้ไม่มีการเรียน การสอบสวน การฟังการทรงจำ และการพิจารณาในขันธ์ ธาตุ และอายตนะเป็นต้น นี้ชื่อว่า อันธปุถุชน บุคคลผู้มีกิจเหล่านั้น ชื่อว่า กัลยาณปุถุชน. อนึ่ง ปุถุชนทั้ง ๒ พวกนี้ ชื่อว่า ปุถุชน ด้วยเหตุทั้งหลาย มีการยังกิเลสมากมาย ให้เกิดเป็นต้น ชนนี้เป็นพวกหนึ่ง เพราะหยั่งลง ภายในของปุถุชน ดังนี้. ฯลฯ
บทว่า กตํ กรณียํ ความว่า กิจทั้ง ๑๖ อย่าง คือปริญญาการกำหนดรู้. ปหานะ การละ, สัจฉิกิริยา การทำให้แจ้ง และภาวนาการทำให้เกิดมี ด้วยมรรค ๔ ในสัจจะ ๔ อันเราตถาคตให้สำเร็จลงแล้ว เพราะว่า พระเสขะ ๗ จำพวก รวมทั้งกัลยาณปุถุชน กำลังทำกิจนั้นอยู่ (ส่วน) พระขีณาสพมีกิจที่ควรทำนั้น ทำเสร็จแล้ว เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาอยู่ถึงกิจที่ควรทำของพระองค์ จึงทรงทราบว่า กิจที่ควรทำเราตถาคตได้ทำเสร็จแล้ว
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ
ขออนุโมทนาครับ