[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 411
๔. เวทนาสูตร
ว่าด้วยความต่างแห่งเวทนา
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 411
๔. เวทนาสูตร
ว่าด้วยความต่างแห่งเวทนา
[๓๓๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับประอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย... แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ ก็ความต่างแห่งธาตุเป็น
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 412
ไฉน จักขุธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ.
[๓๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ เป็นไฉน จักขุสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุธาตุ จักขุสัมผัสสชาเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุสัมผัส ฯลฯ มโนสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนธาตุ มโนสัมผัสสชาเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนสัมผัส ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ อย่างนี้แล.
จบเวทนาสูตรที่ ๔
อรรถกถาเวทนาสูตรที่ ๔
พึงทราบวินิจฉัยในเวทนาสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้.
บทว่า จกฺขุสมฺผสฺสชา เวทนา ท่านอธิบายว่า ตั้งแต่สัมปฏิจฉันนมโนธาตุ เวทนาแม้ทั้งปวง พึงเป็นไปในทวารนั้น แต่การถือสัมปฏิจฉันนเวทนาในลำดับ เพื่อความผาสุกในการเกิด ก็ควร.
บทว่า มโนสมฺผสฺสํ ปฏิจฺจ มีอธิบายดังนี้ว่า ปฐมชวนะเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยอาวัชชนะสัมผัส ในมโนทวาร ทุติยชวนะเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยปฐมชวนะสัมผัส ดังนี้แล.
จบอรรถกถาเวทนาสูตรที่ ๔