มานะ ๓ อย่าง [อรรถกถาสังคีติสูตร]
โดย เมตตา  11 ธ.ค. 2552
หัวข้อหมายเลข 14642

[เล่มที่ 17] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 299
ข้อความบางตอนจาก

อรรถกถาสังคีติสูตร

ที่แปลว่า มานะนั้น. อันที่จริง มานะท่านเรียกว่า วิธา เพราะจัดแจงด้วยอำนาจที่ให้ถือว่าดีกว่าเขาเป็นต้น. ด้วยคำว่า เสยฺโย หมสฺมิ นี้ท่านกล่าวถึงมานะ ๓ อย่าง คือ ดีกว่าเขา เสมอเขา เลวกว่าเขา. แม้ในสทิสวิธา และหีนวิธา ก็มีนัยเดียวกันนี้.

ที่จริงมานะนี้มี ๙ อย่าง. คือ

คนดีกว่าเขามีมานะ ๓ อย่าง

คนเสมอเขามีมานะ ๓ อย่าง

คนเลวกว่าเขามีมานะ ๓ อย่าง.

บรรดามานะ ๙ อย่างนั้น สำหรับคนดีกว่าเขา มานะว่าเราดีกว่าเขา ย่อมเกิดขึ้นแก่พระราชาและบรรพชิต. พระราชาย่อมมีมานะเช่นนี้ว่า "ใครหรือจะมาสู้เราได้ ไม่ว่าจะทางราชอาณาเขต ทางราชทรัพย์ หรือว่าทางไพร่พลพาหนะ". ฝ่ายบรรพชิตก็ย่อมมีมานะเช่น นี้ว่า "ใครเล่าจะมาทัดเทียมเราได้ด้วยศีลคุณ และธุดงคคุณเป็นต้น". ... ฯลฯ

บรรดามานะเหล่านี้ คนดีกว่า มานะว่าเราดีกว่าเขา, คนเสมอเขา มานะว่าเราเสมอเขา และคนเลวกว่าเขา มานะว่า เราเลวกว่าเขา ทั้ง ๓ ประเภทนี้ได้ชื่อว่าเป็นมานะอย่างละเอียด จะฆ่าเสียได้ด้วยอรหัตตมรรค. ธรรมที่เหลือ ได้ชื่อว่าเป็นมานะอย่างไม่เป็นไปตามความจริง ฆ่าเสียได้ด้วยมรรค ชั้นต้น


ที่มา ... สังคีติสูตร เรื่อง การสังคายนาหลักธรรม



ความคิดเห็น 1    โดย chatchai.k  วันที่ 7 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 2    โดย yu_da2554hotmail  วันที่ 27 ต.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ