อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 70
อภิธัมมัตถสังคหบาลีแปล
(ปริเฉทที่ ๒ ชื่อเจตสิกสังคหวิภาค)
[สังคหคาถา]
ธรรม ๕๒ อย่าง ประกอบกับจิต มีการเกิดดับในที่เดียวกัน ทั้งมีอารมณ์ และวัตถุอย่างเดียวกัน บัณฑิตลงมติว่าเจตสิก ฯ
[สังคหคาถา]
ธรรม ๕๒ อย่าง คือ อัญญสมานา ๑๓ อกุศล ๑๔ และโสภณ ๒๕ (ท่านเรียกว่า เจตสิก) ฯ ต่อจากนี้ไป ข้าพเจ้าจะกล่าวสัมประโยคแห่งเจตสิกเหล่านั้น ที่ไม่แยกกันกับจิตตามที่ประกอบได้ในจิตตุปบาททั้งหลาย เฉพาะดวงหนึ่งๆ ฯ สัพพสาธารณเจตสิก ๗ ประกอบในจิตตุปบาททั้งปวง ปกิณณกเจตสิก (๖) ประกอบเข้าในจิตที่ควรประกอบ ตามสมควรแก่การประกอบ อกุศลเจตสิก ๑๔ ประกอบได้เฉพาะใน อกุศลจิต โสภณเจตสิก ๒๕ ประกอบได้ในโสภณจิต เท่านั้น ฯ
อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 81
พรรณนาความปริเฉทที่ ๒
[ลักษณะเจตสิก]
ธรรมเหล่าใด มีความเกิดและความดับในที่เดียวกันกับจิต ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า "เอกุปปาทนิโรธ" ฯ ธรรมเหล่าใด มีอารมณ์และวัตถุเป็นอันเดียวกัน ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า "เอกาลัมพนวัตถุ" ฯ สภาพที่ชื่อว่าธรรม เพราะทรงไว้ซึ่งลักษณะของตน ๕๒ ประการ ประกอบกับจิต คือสัมปยุตด้วยจิตโดยลักษณะ ๔ อย่างนี้ บัณฑิตลงมติว่า เจตสิก ทั้งที่ประกอบแน่นอน ทั้งที่ประกอบไม่แน่นอน ฯ บรรดาลักษณะ (มีความเกิดขึ้นในที่เดียวกัน เป็นต้น) เหล่านั้นเจตสิกธรรมทั้งหลาย ถ้าอธิบายว่า ประกอบด้วยจิต ด้วยสักว่าบังเกิดขึ้นในที่เดียวกันเท่านั้นไซร้ ความที่แม้รูปธรรมทั้งหลายที่เกิด พร้อมกับจิตในขณะนั้น ก็จะพลอยชื่อว่า ประกอบกับจิตไปด้วย เพราะฉะนั้น จึงเพิ่ม เอกนิโรธ ศัพท์เข้าด้วย ฯ ถึงแม้เมื่อเป็นเช่นนี้ (คือประกอบด้วยลักษณะ ๒ เกิดดับร่วมกัน) บัณฑิตไม่อาจห้ามความพ้องกันของ ๒ วิญญัติ (กายวิญญัติ วจีวิญญัติ) ที่ปริวัตรตมจิต ทั้งไม่อาจห้ามความพ้องกันแห่งรูปธรรมทั้งหลาย แม้เกิดก่อนแล้วดับอยู่หรือความดับในที่เดียวกัน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เอกุปปาทนิโรธ เพราะฉะนั้น จึงเพิ่ม เอกาลัมพน ศัพท์ เข้าด้วย ฯ และเพื่อจะแสดงว่า ธรรมที่มีลักษณะ ๓ อย่าง อย่างนี้ โดยนิยมเฉพาะ ที่มีวัตถุอันเดียวกันเท่านั้น จึงเพิ่ม เอกวัตถุ ศัพท์ เข้าด้วยดังนี้แล ฯ พอที่ไม่ควรจะชักข้าเกิดไป ฯ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น