อยากจะถามว่า บางทีการพูดความจริง บางทีก็ทำให้เขาไม่พอใจ แต่ความตั้งใจของเราอยากให้เขาปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น คือผมมักจะพูดตรงๆ บางทีเขาก็มาถามผมว่ารู้สึกอย่างไรกับเขา จะให้เขาแก้ไขอะไรบ้าง แต่ผลกระทบที่ผมตอบไป กลับทำให้เขาไม่พูดกับผม แต่บางคนก็เป็นคนที่ใจกว้างไม่โกรธ
อยากจะทราบว่าจะพูดความจริงอย่างไรดีครับ
ควรพูดตามหลักวาจาสุภาษิต ดังนี้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 439
๘. วาจาสูตร
ว่าด้วยองค์แห่งวาจาสุภาษิต ๕ ประการ
[๑๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นทุพภาษิต และเป็นวาจาไม่มีโทษ วิญญูชนไม่ติเตียนองค์ ๕ ประการเป็นไฉน? คือวาจานั้นย่อมเป็นวาจาที่กล่าวถูกกาล ๑ เป็นวาจาที่กล่าวเป็นสัจ ๑ เป็นวาจาที่กล่าวอ่อนหวาน ๑ เป็นวาจาที่กล่าวประกอบด้วยประโยชน์ ๑ เป็นวาจาที่กล่าวด้วยเมตตาจิต ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นทุพภาษิต และเป็นวาจาไม่มีโทษ วิญญูชนไม่ติเตียน.
จบวาจาสูตรที่ ๘
ถ้าพูดตามหลักวาจาสุภาษิตนี้แล้ว ถ้าเขายังโกรธ ก็คงไปทำอะไรเขาไม่ได้
การพูดความจริงเป็นสิ่งทีดี ความจริงเป็นสิ่งที่ไม่ตาย แต่ต้องรู้จักกาลและประกอบด้วยประโยชน์ หรือไม่เป็นประโยชน์ ถ้าเราพูดความจริง เขาเป็นคนพาล เขาก็โกรธ ที่สำคัญ รักษาจิตของตัวเองให้เป็นกุศลค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ.
ประโยชน์คือ ให้เขาออกจากอกุศล โดยมุ่งประโยชน์เป็นสำคัญ แต่ก็ควรพิจารณา การพูดว่า ประกอบด้วยเมตตา และถูกกาลเวลาหรือไม่ครับ ขออนุโมทนา
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ
ยินดีในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ