เคยเข้าใจว่า “โมฆบุรุษ” เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคทรงใช้เพื่อติเตียนภิกษุผู้ประพฤติ ไม่เหมาะสมกับเพศสมณะ ทำให้ต้องทรงบัญญัติพระวินัยต่างๆ มากมาย หรือผู้มีความ เห็นผิดจากความเป็นจริง ไม่คิดว่าเกี่ยวข้องกับตนเองแต่อย่างไร คิดว่า “โมฆบุรุษ” บุรุษเปล่านั้น อยู่ห่างไกลจากตนเองมากทีเดียว หรือบางทีก็คอยสอดส่องว่าใครเป็น โมฆบุรุษบ้าง (ยกเว้นตนเอง)
เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๓ เม.ย. ๕๔ มูลนิธิฯ นำ “อธิปไตยสูตร” มาสนทนาในชั่วโมงพระสูตร มีตอนหนึ่งท่านอาจารย์กล่าวว่า การศึกษาพระวินัย พระ สูตร พระอภิธรรมทั้งหมดนั้น เพื่อให้เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตาม ความเป็นจริง ไม่ใช่ให้จำชื่อ จำเรื่องราว ฟังพระธรรมเพื่อค้นหาตนเอง จนพบว่า ไม่มี ตน มีแต่ธรรม ถ้าไม่มั่นคงว่า ทุกอย่างเป็นธรรม ก็ไม่ได้สาระจากพระธรรม เป็นโมฆบุรุษ อย่างนี้โมฆบุรุษก็อยู่ไม่ไกลเลย ตัวเรานั่นเอง เพราะยังไม่เคยระลึกได้เลยว่า ทุกอย่าง เป็นธรรม แม้จะได้ยินได้ฟังบ่อยๆ อย่างที่ท่านอาจารย์บอกว่า ต้องจรดไปถึงกระดูก นี่แค่ผิวหนังก็ยังไม่ได้ถูกสะกิดเลย ก็คงต้องฟังและพิจารณาต่อไปอีกนานแสนนาน แต่ก็ไม่ท้อถอยค่ะ เพราะแม้ทางนี้จะยาวไกล แต่ก็มีจุดหมายปลายทางที่ชัดเจนว่า เพื่อประจักษ์แจ้งจริงๆ ว่า ทุกอย่างเป็นธรรม
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
โมฆบุรุษมีหลายนัยดังอธิบายดังนี้ครับ
โมฆบุรุษคือบุคคลที่ว่างเปล่า ไม่มีแก่นสาร ว่างเปล่าจากอะไร
1. ว่างเปล่าจากกุศลธรรมในขณะนั้นคือขณะนั้นเป็นอกุศลที่มีกำลัง เป็นโมฆบุรุษใน ขณะนั้น
2. ว่างเปล่าจากความเห็นถูกคือเป็นผู้มีความเห็นผิด เป็นโมฆบุรุษ
3. ว่างเปล่าเพราะไม่มีอุปนิสัยที่จะได้บรรลุมรรคผลในชาตินั้นคือไม่มีทางบรรลุในชาติ นั้นก็ชื่อว่าเป็นโมฆบุรุษ
4. ว่างเปล่าแม้จะมีอุปนิสัยจะได้บรรลุในชาตินั้นและท้ายที่สุดได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ แต่ขณะนั้นเป็นอกุศลจึงว่างเปล่าจากการบรรลุในขณะนั้น ขณะนั้นก็ชื่อว่าเป็นโมฆบุรุษ
5. ผู้ที่ศึกษาธรรมผิดทางเปรียบเหมือนจับงูพิษที่หางก็เป็นโมฆบุรุษ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 70
บทว่า โมฆปุริโส ความว่าบุรุษเปล่า จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายเรียกบุรุษผู้ ไม่มีอุปนิสัยแห่งมรรคและผลในอัตภาพนั้นว่าโมฆบุรุษ. ครั้นเมื่ออุปนิสัยแม้มีอยู่ แต่ มรรคหรือผล ไม่มีในขณะนั้น ก็เรียกว่า โมฆบุรุษเหมือนกัน.
นัยที่ 1 คือ ว่างเปล่าจากกุศลธรรมในขณะนั้นคือขณะนั้นเป็นอกุศลที่มีกำลัง เป็น โมฆบุรุษในขณะนั้น ยกตัวอย่างเช่น ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีด่าว่ากันและกัน ขณะนั้น เป็นอกุศลที่มีกำลัง เป็นโมฆบุรุษว่างเปล่าจากกุศลธรรม พระพุทธเจ้าทรงเรียกเหล่า ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีว่าโมฆบุรุษ
นัยที่ 2 คือว่างเปล่าจากความเห็นถูกคือเป็นผู้มีความเห็นผิด เป็นโมฆบุรุษ พระ พุทธเจ้า ทรงเรียกครูมักขลิโคสาลผู้ที่มีความเห็นผิดอย่างมากว่าเป็นโมฆบุรุษ
นัยที่ 3 คือว่างเปล่าเพราะไม่มีอุปนิสัยที่จะได้บรรลุมรรคผลในชาตินั้นคือไม่มีทางบรรลุในชาตินั้นก็ชื่อว่าเป็นโมฆบุรุษ ผู้ที่ว่างจากการบรรลุในชาตินั้นจึงเป็นโมฆบุรุษ
นัยที่ 4 คือ ว่างเปล่าแม้จะมีอุปนิสัยจะได้บรรลุในชาตินั้นและท้ายที่สุดได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ แต่ขณะนั้นเป็นอกุศล จึงว่างเปล่าจากการบรรลุในขณะนั้น ขณะนั้นก็ชื่อว่าเป็นโมฆบุรุษ ในพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าทรงติเตียนท่านพระอุปเสนวังคันตบุตร ว่าเป็นโมฆบุรุษเพราะเป็นผู้มักมาก ท่านสะสมบริขารมีบาตรและจีวรมากมาย ทำให้เป็น ผู้มักมากในขณะนั้น ขณะนั้นจึงว่างเปล่าจากการบรรลุ ว่างเปล่าจากกุศลธรรมจึงเป็น โมฆบุรุษ ซึ่งท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรท่านมีอุปนิสัยได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ในชาติ นั้นและต่อมาไม่นานที่พระพุทธเจ้าทรงติเตียนว่าโมฆบุรุษ ท่านก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ครับ
นัยที่ 5 ผู้ที่ ศึกษาธรรมผิดทางเปรียบเหมือนจับงูพิษที่หางก็เป็นโมฆบุรุษ ผู้ที่ศึกษา ธรรม ไม่ใช่เพื่อประโยชน์คือการขัดเกลากิเลส แต่มุ่งเพื่อได้ มุ่งเพื่อจำชื่อมากๆ ไม่ เป็นไปเพื่อน้อมระลึกสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ ก็ไม่ได้สาระจากพระธรรม ก็ย่อมเป็น โมฆบุรุษว่างเปล่าจากความเห็นถูก ว่างเปล่าจากคุณธรรมเพราะศึกษาธรรมไปในทางที่ ผิดครับ เพราฉะนั้นประโยชน์สูงสุดของการศึกษาพระธรรมคือเข้าใจความจริงในขณะนี้ และน้อมประพฤติปฏิบัติตามพระธรรม ตามกำลังของปัญญา ด้วยความเคารพในพระ ธรรมครับ
เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ...
โมฆบุรุษ
โมฆบุรุษ
โมฆบุรุษจึงมีหลายระดับ หลากหลายนัยตามที่กล่าวมาครับ จึงเป็นเครื่องเตือน ว่าแต่ละท่านนั้นเป็นโมฆบุรุษหรือไม่ และเมื่อรู้ตามความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่จะทำให้ละ ความเป็นโมฆบุรุษได้คืออะไร
ถ้าไม่ใช่การฟังพระธรรมในหนทางที่ถูกต้องอันเป็นไปเพื่อความเข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้และน้อมประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมด้วยความเคารพครับ
ขออนุโมทนา อาจารย์กาญจนาและกุศลจิตของทุกท่านครับ
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขออนุโมทนาที่ให้ความละเอียดของคำว่า "โมฆบุรุษ" ทำให้ได้รับความรู้ ความเข้าใจ (ใน เรื่องชื่อและเรื่องราว) มากขึ้น ส่วนการเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมหรือไม่นั้น ขึ้นกับการ สะสมความเข้าใจมากพอหรือยังค่ะ ขอบคุณค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ประเด็นเรื่อง "โมฆบุรุษ" เป็นเครื่องเตือนใจที่ดีเป็นอย่างยิ่ง เพราะเมื่อกล่าวอย่างกว้างๆ แล้ว ผู้ที่เป็นโมฆบุรุษ คือ ผู้ว่างเปล่า ได้แก่ ว่างเปล่าจากคุณธรรมว่างเปล่าจากคุณความดี บุคคลผู้ที่ไม่ได้น้อมประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ชื่อว่า เป็นโมฆบุรุษ
การฟังพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ประโยชน์ คือ เพื่อเข้าใจธรรมตามความเป็นจริง เพื่อเห็นโทษของอกุศลธรรม และเห็นคุณประโยชน์ของกุศลธรรม ไม่ใช่เพื่ออย่างอื่น ไม่ใช่เพื่อลาภ สักการะ สรรเสริญ จนกว่าจะเป็นผู้ถูกฝึกด้วยพระธรรม เป็นผู้ว่าง่ายและน้อมประพฤติปฏิบัติตามพระธรรม จึงจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากพระธรรม ค่อยๆ ขัดเกลาความเป็นโมฆบุรุษ ต่อไป ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของอาจารย์กาญจนา และ ทุกๆ ท่านครับ...
...ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ...
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
ในพระไตรปิฏกมีแสดงไว้ ท่านพระโปฐิละ ท่านเป็นผู้ทรงพระไตรปิฏก แต่ไม่ได้ น้อมประพฤติปฏิบัติตามพระธรรม พระพุทธเจ้าตรัสเรียกพระโปฐิละว่า ใบลานเปล่า ภายหลังท่านสำนึก แล้วน้อมประพฤติปฏิบัิติตามพระธรรม ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ค่ะ
หนทางที่จะก้าวไปสู่เป็นผู้ที่ดับกิเลสก็ต้องเริ่มต้นตั้งแต่ขณะนี้ แม้หลายๆ ครั้งจะต้องตกเป็นทาสของกิเลส แต่ถ้าตั้งจิตที่แน่วแน่และบำเพ็ญสร้างบารมีอย่างต่อเนื่อง ย่อมผ่านพ้นกิเลสไปได้ และพ้นการเป็นโมฆะบุรุษได้อย่างเด็ดขาดอย่างแน่นอน
ขออนุโมทนาครับ
เป็นมาหลายกัปแล้วครับ และอาจเป็นต่อไปถ้ายังไม่เข้าใจในสภาพธรรม
นโม กีฏาคิริสุตฺตสฺส
ขอนอบน้อมแด่กีฏาคิริสูตร สวัสดีครับ, ขอนำเสนอ เรื่องโมฆะบุรุษด้วยคน ครับ. ข้อความในสูตรต่อไปนี้ ควรทรงจำไว้ จะได้ไม่ปฏิบัติผิดลำดับ ผิดกฎเกณฑ์นะครับ.
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ การตั้งอยู่ในอรหัตตผล
[๒๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวการตั้งอยู่ในอรหัตตผล ด้วยการไปครั้งแรกเท่านั้นหามิได้ แต่การตั้งอยู่ในอรหัตตผลนั้น ย่อมมีได้ ด้วยการศึกษาโดยลำดับ ด้วยการทำโดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติ โดยลำดับ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การตั้งอยู่ ในอรหัตตผล ย่อมมีได้ด้วยการศึกษา โดยลำดับ ด้วยการทำโดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับอย่างไร?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรในธรรมวินัยนี้ .- เกิดศรัทธาแล้วย่อมเข้าไปใกล้ เมื่อเข้าไปใกล้ย่อมนั่งใกล้ เมื่อนั่งใกล้ย่อมเงี่ยโสตลง เมื่อเงี่ยโสตลงแล้วย่อมฟังธรรม ครั้นฟังธรรมย่อมทรงธรรมไว้ ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงไว้แล้ว เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมทนได้ซึ่งความพินิจ เมื่อธรรมทนความพินิจได้อยู่ ฉันทะย่อมเกิด เมื่อเกิดฉันทะแล้ว ย่อมอุตสาหะครั้นอุตสาหะแล้ว ย่อมไตร่ตรอง ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมตั้งความเพียร เมื่อมีตนส่งไปแล้ว ย่อมทำให้แจ้งชัดซึ่งบรมสัจจะด้วยกาย และย่อมแทงตลอดเห็นแจ้ง บรมสัจจะนั้นด้วยปัญญา.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศรัทธาก็ดี การเข้าไปใกล้ก็ดี การนั่งใกล้ก็ดี การเงี่ยโสตลงก็ดี การฟังธรรมก็ดี การทรงธรรมไว้ก็ดี ความพิจารณา เนื้อความก็ดี ธรรมอันทนได้ซึ่งความพินิจก็ดี ฉันทะก็ดี อุตสาหะก็ดี การไตร่ตรองก็ดี การตั้งความเพียรก็ดี นั้นๆ ไม่ได้มีแล้ว เธอทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติพลาดย่อมเป็นผู้ปฏิบัติผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษเหล่านี้ ได้หลีกไปจากธรรมวินัยนี้ ไกลเพียงไร.