เท่าที่ผมได้ศึกษา และสนทนาธรรม ประเด็นที่ได้เรียนรู้ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่อง
ของความแตกต่าง เช่น บุคคลต่างกันไปตามการสะสมของกรรมและกิเลส และผลทั้ง
หลายแตกต่างกันเพราะเหตุที่ต่างกัน
เมื่อมีคำถามจากคนรู้จัก เกี่ยวกับความเท่าเทียมกัน ความเสมอภาคกัน (ซึ่ง
ผมคิดว่าน่าจะรวมไปถึงความยุติธรรมในสังคม) ตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา
ผมจึงอยากจะขอความกรุณาทุกท่านช่วยแสดงทรรศนะ และให้ความคิดเห็นในเรื่องนี้
เพื่อประโยชน์ในการศึกษาและพิจารณาต่อไปครับ
ความคิดเกี่ยวกับความเท่าเทียมกัน ความเสมอภาคกันในสังคม คงเป็นเพียงแค่ความคิดเท่านั้น เพราะสัตว์ทั้งหลายมีเหตุที่สะสมมาต่างกัน ผลที่เกิดขึ้นย่อมต่างกัน
จะให้ทุกๆ คนมีความสุข มีความทุกข์เสมอกัน มีอะไรทุกอย่างเท่ากันหมดคงเป็นไปไม่
ได้ แม้แต่เทวดา และพระพรหมยังมีความต่างกันด้วยอายุ วรรณะ เป็นต้นต่างกันครับ
แต่ถ้าลึกลงไปกว่านั้นก็คือ สัพพสิ่งเสมอกันโดยความเป็นธาตุ เป็นเพียงธัมมะเป็นไปตามกฏของไตรลักษณ์ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
การเกิดในภพภูมิที่ต่างๆ กัน ย่อมเป็นไปตามกรรม กรรมหนึ่งกรรมใดที่ได้กระทำแล้วในอดีตทำให้เกิด ไม่มีใครรู้ว่าการเกิดในสุคติภูมิ เช่นเกิดเป็นมนุษย์ในชาตินี้เป็นผลของทาน หรือเป็นผลของศีล หรือเป็นผลของการเจริญภาวนา ส่วนการเกิดใน
นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย หรือสัตว์ดิรัจฉานก็เป็นผลของอกุศลกรรม เมื่อเกิดมา
แล้วแต่ละคนก็ยังสุข ทุกข์ต่างกัน แม้แต่สัตว์ดิรัจฉานยังมีรูปร่างลักษณะที่แตกต่างกันมากมาย ส่วนมนุษย์ก็มีหน้าตาผิวพรรณ รูปร่างแตกต่างกัน ที่แตกต่างกันก็ต่าง
กันตามความวิจิตรของกรรม สภาพธรรมที่เกิดขึ้นล้วนเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย
ที่ได้กระทำไว้แล้วทั้งสิ้น ขออนุโมทนาค่ะ
เท่าที่เคยศึกษา...
พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอน เรื่องกรรมและผลของกรรม ไว้มากเช่นสัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นแดนเกิดมีกรรมเป็นเผ่าพันธ์ มีกรรมเป็นของของตน ฯสัตว์โลก เป็นที่ดูผลของบุญและบาป ฯ
เป็นต้น.
.
ตราบใดที่ทุกสรรพชีวิต ไม่รู้จักสภาพธรรมตามความเป็นจริงว่า ผล ย่อมมาจาก เหตุอันสมควรแก่ผล และ ไม่เข้าใจ ว่า กรรมเป็นสภาพธรรมที่ปกปิดและยังมีความยึดถือในสภาพธรรมว่าเป็นเรา-เป็นเขาอย่างเหนียวแน่นที่สำคัญคือ ยังไม่รู้หนทางที่จะละคลายความยึดมั่นนั้นด้วยความสงบสุขอย่างแท้จริงจะมีได้อย่างไรถ้ายังเป็น "ปุถุชน" อยู่.!
.
นานมาแล้ว.........มนุษย์พยายามแสวงหา ความเสมอภาค ความยุติธรรมแสวงหาความสุขจากภายนอก แต่ไม่ได้ศึกษาเข้ามาที่ภายใน.............เช่น มีความพยายามศึกษา หาหลักในการปกครองสังคมที่ดีที่สุด โดยนักคิดต่างๆ เพื่อให้ทุกคนเสมอภาค (โดยคิดเอาเอง) แต่เมื่อนำมาใช้จริง...ก็เป็นไปไม่ได้.!
.
และจากการศึกษาอีกเช่นกัน ข้าพเจ้าเข้าใจ ว่า........พระพุทธศาสนา ไม่ขัดกับความเสมอภาคถ้าคำว่าเสมอภาคในที่นี้ คือ เสมอกัน โดยความเป็นนามธรรม และ รูปธรรมและ สิ่งที่ ยุติธรรม เสมอ...คือ กรรมและผลของกรรม.
แต่ การ "ยุติ" ความคิด ความเห็นที่ผิด โดยเห็นถูกตามความเป็นจริง ว่าทุกอย่างเป็น "ธรรม" ได้จริงๆ นั้นคุณแซม เข้าใจว่าหมายถึง ".....?" หรือคะ.ขอร่วมสนทนาด้วยค่ะ.
....................???...................
ขอเชิญคลิกอ่านที่นี่ค่ะ แต่ละบุคคล มีอัธยาศัยที่ต่างกันตามการสะสม
ความเท่าเทียม ความเสมอภาค ความยุติธรรม
ล้วนเป็นเพียงบัญญัติ
ทุกชีวิตน่าจะมีสิ่งที่เท่าเทียมอย่างเดียว คือ เวลา
หรือ ปัจจุบันขณะของจิตเกิดดับที่เท่ากัน ครับ
ความเท่าเทียมกัน ความเสมอภาคกัน (ซึ่งผมคิดว่าน่าจะรวมไปถึงควายุติ
ธรรมในสังคม) ตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา ..
หากกล่าวกันในแง่ของกฏหมายหรือสิทธิมนุษยชนที่กำหนดไว้ให้
ทุกคนได้รับสิทธิเสมอกันแต่ตามความเป็นจริงเช่นในทางกฏหมายผู้ที่ไม่มีความผิด
อาจถูกตัดสินลงโทษได้..เพราะอะไรหากไม่ใช่ผลของกรรม.ทุกสิ่งที่กำหนดโดย
มนุษย์..เป็นเพียงบัญญัติซึงแปรเปลี่ยนได้...แต่กรรมและผลของกรรมเป็นสิ่งที่แปร
เปลี่ยนไม่ได้เพราะเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงเป็นปรมัติสัจจะ....กรรมยุติธรรมเสมอให้ผลโดย
เสมอภาคไม่เลือกชั้นวรรณะ เส้นใหญ่หรือเส้นเล็กตามควรแก่เหตุไม่ว่าต่อหน้าหรือ
ลับหลัง
.เชิญคลิกอ่าน.....กรรมยุติธรรมเสมอ
หลักความเสมอภาคกันของมนุษย์ขัดกับพุทธศาสนา..?
พระพุทธศาสนาสอนให้รู้จักทุกอย่างตาม
ความเป็นจริงและยอมรับสิ่งที่มีอยู่จริง.... สอนโดยผู้มีปัญญาสูงสุด
ในโลก...แต่ความเสมอภาคของมนุษย์กำหนดโดยใคร...จะเทียบกับความเสมอภาค
และยุติธรรมของพระธรรมซึ่งผู้ถ่ายทอดพระผู้มีพระภาคเจ้าได้หรือไม่....
ดังนั้นความเสนอภาคของมนุษย์จะมีเท่ากันกันเมื่อกระทำกรรมเหมือนกันเท่ากันเท่านั้น
ผมเห็นว่าทุกชีวิตเสมอกันนะครับ
ทุกชีวิต เสมอกันด้วย รูป ที่ไม่รู้อะไร
และ เสมอกันด้วย นาม ที่เพียงรับรู้
และ เสมอกันด้วย ไตรลักษณะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
คงต้องแยกว่าอะไรเสมอกัน อะไรไม่เสมอกัน
เสมอกันด้วยสภาพธรรมทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เสมอกันเพราะเป็นสิ่งที่จริง เหมือนกันในแต่ละบุคคล เสมอด้วยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา
ไม่เสมอกันคือกิเลสที่สะสมมา อัธยาศัยของแต่ละบุคคล ปัญญาของแต่ละบุคคล
ส่วนจะขัดกับหลักความเสมอภาคที่บัญญัติกันขึ้นมาหรือไม่นั้น คงไม่ขัดเพราะความเสมอกันที่เป็นธรรมนั้นเป็นสัจจะความจริง ไม่เปลี่ยนแปลง แต่สิ่งที่มนุษย์บัญญัติต่างหากที่ขัดกับหลักความจริง สำคัญว่ามีชาย หญิง สำคัญว่ามีเรา จึงสำคัญผิดต่อไป ว่าต้องเป็นอยางนั้นอย่างนี้ แท้ที่จริงก็เป็นเพียงธรรมเท่านั้นะครับ ขออนุโมทนา อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
นับเหตุการณ์ เพียงชาติเดียวดูเหมือนไม่ยุติธรรม ไม่เสมอภาค
ถ้านับเหตุการณ์ทั้งหมดในสังสารวัฏฏ์ กรรมและการให้ผลของกรรม ย่อมยุติธรรม ย่อมเสมอภาค ผลย่อมสมควรแก่เหตุ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาค่ะ