[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 459
ตติยปัณณาสก์
อาสาวรรคที่ ๑
สูตรที่ ๑ ว่าด้วยความหวัง ๒ อย่าง 363/459
สูตรที่ ๒ ว่าด้วยความหวัง ๒ อย่าง 364/459
สูตรที่ ๓ ว่าด้วยความหวัง ๒ อย่าง 365/459
สูตรที่ ๔ ว่าด้วยความหวัง ๒ อย่าง 366/460
สูตรที่ ๕ ว่าด้วยคนพาล ๒ จําพวก 367/460
สูตรที่ ๖ ว่าด้วยความหวัง ๒ อย่าง 368/460
สูตรที่ ๗ ว่าด้วยความหวัง ๒ อย่าง 369/460
สูตรที่ ๘ ว่าด้วยความหวัง ๒ อย่าง 370/461
สูตรที่ ๙ ว่าด้วยความหวัง ๒ อย่าง 371/461
สูตรที่ ๑๐ ว่าด้วยความหวัง ๒ อย่าง 372/461
สูตรที่ ๑๑ ว่าด้วยความหวัง ๒ อย่าง 373/462
สูตรที่ ๑๒ ว่าด้วยความหวัง ๒ อย่าง 374/462
อรรถกถาสูตรที่ ๑ 462
อรรถกถาสูตรที่ ๒ 463
อรรถกถาสูตรที่ ๓ 463
อรรถกถาสูตรที่ ๔ 464
อรรถกถาสูตรที่ ๕ 464
อรรถกถาสูตรที่ ๖ 464
อรรถกถาสูตรที่ ๗ 464
อรรถกถาสูตรที่ ๘ 464
อรรถกถาสูตรที่ ๙ 465
อรรถกถานอกนั้น ง่ายทั้งนั้น 465
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 459
ตติยปัณณาสก์
อาสาวรรคที่ ๑
สูตรที่ ๑
[๓๖๓] ๑๑๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความหวัง ๒ อย่างนี้ ละได้ยาก ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความหวังในลาภ ๑ ความหวังในชีวิต ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความหวัง ๒ อย่างนี้แล ละได้ยาก.
จบสูตรที่ ๑
สูตรที่ ๒
[๓๖๓] ๑๑๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้ หาได้ยากในโลก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ บุพพการีบุคคล ๑ กตัญญูกตเวทีบุคคล ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้แล หาได้ยากในโลก.
จบสูตรที่ ๒
สูตรที่ ๓
[๓๖๔] ๑๑๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้ หาได้ยากในโลก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่พอใจ ๑ คนที่อิ่มหนำ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้แล หาได้ยากในโลก.
จบสูตรที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 460
สูตรที่ ๔
[๓๖๖] ๑๒๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้ ให้อิ่มได้ยาก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลผู้เก็บสิ่งที่ได้ไว้แล้วๆ ๑ บุคคลผู้สละสิ่งที่ได้แล้วๆ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้แล ให้อิ่มได้ยาก.
จบสูตรที่ ๔
สูตรที่ ๕
[๓๖๗] ๑๒๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้ ให้อิ่มได้ง่าย ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลผู้ไม่เก็บสิ่งที่ตนได้ไว้แล้วๆ ๑ บุคคลผู้ไม่สละสิ่งที่ตนได้แล้วๆ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้แล ให้อิ่มได้ง่าย.
จบสูตรที่ ๕
สูตรที่ ๖
[๓๖๘] ๑๒๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งราคะ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุภนิมิต ๑ อโยนิโสมนสิการ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งราคะ ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๖
สูตรที่ ๗
[๓๖๙] ๑๒๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งโทสะ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ปฏิฆนิมิต ๑ อโยนิโสมนสิการ ๑
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 461
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งโทสะ ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๗
สูตรที่ ๘
[๓๗๐] ๑๒๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมิจฉาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การโฆษณาแต่บุคคลอื่น ๑ อโยนิโสมนสิการ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมิจฉาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๘
สูตรที่ ๙
[๓๗๑] ๑๒๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การโฆษณาแต่บุคคลอื่น ๑ โยนิโสมนสิการ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๙
สูตรที่ ๑๐
[๓๗๒] ๑๒๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาบัติ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ลหุกาบัติ ๑ ครุกาบัติ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาบัติ ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 462
สูตรที่ ๑๑
[๓๗๓] ๑๒๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาบัติ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ อาบัติชั่วหยาบ ๑ อาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาบัติ ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๑๑
สูตร ๑๒
[๓๗๔] ๑๒๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาบัติ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ อาบัติที่มีส่วนเหลือ ๑ อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาบัติ ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๑๒
จบอาสาวรรคที่ ๑
ตติยปัณณาสก์
อาสาวรรคที่ ๑
อรรถกถาสูตรที่ ๑
ตติยปัณณาสก์ สูตรที่ ๑ (ข้อ ๓๖๓) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อาสา ได้แก่ ตัณหา ความอยาก. บทว่า ทุปฺปชหา ได้แก่ ละได้ยาก คือ นำออกได้ยาก. สัตว์ทั้งหลายใช้เวลา ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๖๐ ปีบ้าง รับใช้พระราชา ทำกสิกรรมเป็นต้น เข้าสู่สงความที่สองฝ่ายรบประชิดกัน ดำเนินอาชีพเลี้ยงแพะและทำหอกเป็นต้น แล่นเรือไปยังมหาสมุทร ด้วยหวังว่า พวกเราจักได้วันนี้ พวก
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 463
เราจักได้พรุ่งนี้ ดังนี้ เพราะความหวังในลาภเป็นเรื่องละได้ยาก แม้เมื่อถึงเวลาจะตาย ก็ยังสำคัญตนว่าจะอยู่ได้ ๑๐๐ ปี แม้จะเห็นกรรมและกรรมนิมิตเป็นต้น มีผู้หวังดีตักเตือนว่า จงให้ทาน จงทำการบูชาเถิด ก็ไม่เชื่อคำของใครๆ ด้วยหวังอย่างนี้ว่า เราจักยังไม่ตาย นี้เพราะความหวังในชีวิตเป็นเรื่องละได้ยาก.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑
อรรถกถาสูตรที่ ๒
ในสูตรที่ ๒ (ข้อ ๓๖๔) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ปุพฺพการี ได้แก่ ผู้ทำอุปการะก่อน.
บทว่า กตฺูกตเวที ได้แก่ ผู้รู้อุปการะที่เขาทำแล้วตอบแทนภายหลัง. ในสองท่านนั้น ผู้ทำอุปการะก่อน ย่อมสำคัญว่า เราให้กู้หนี้ ผู้ตอบแทนภายหลัง ย่อมสำคัญว่า เราชำระหนี้.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๒
อรรถกถาสูตรที่ ๓
ในสูตรที่ ๓ (ข้อ ๓๖๕) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ติตฺโต จ ตปฺเปตา จ ความว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระขีณาสพผู้เป็นสาวกของพระตถาคต ชื่อว่าผู้อิ่มแล้ว. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าผู้อิ่มแล้วด้วย ผู้ทำคนอื่นให้อิ่มด้วย.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 464
อรรถกถาสูตรที่ ๔
ในสูตรที่ ๔ (ข้อ ๓๖๖) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ทุตฺตปฺปยา ความว่า ทายกทำให้อิ่มได้ยาก คือ การทำให้เขาอิ่ม ทำไม่ได้ง่าย. บทว่า นิกฺขิปติ ได้แก่ ไม่ให้ใคร ไม่ใช้สอยเอง. บทว่า วิสชฺเชติ ได้แก่ ให้แก่ผู้อื่น.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๔
อรรถกถาสูตรที่ ๕
ในสูตรที่ ๕ (ข้อ ๓๖๗) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า น วิสชฺเชติ ความว่า ไม่ให้แก่ผู้อื่นเสียทั้งหมดทีเดียว แต่ให้ถือเอาพอเยียวยาอัตภาพตน เหลือนอกนั้นไม่ให้.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๕
อรรถกถาสูตรที่ ๖
ในสูตรที่ ๖ (ข้อ ๓๖๘) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สุภนิมิตฺตํ ได้แก่ อารมณ์ที่น่าปรารถนา.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๖
อรรถกถาสูตรที่ ๗
ในสูตรที่ ๗ (ข้อ ๓๖๙) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ปฏิฆนิมิตฺตํ ได้แก่ นิมิตที่ไม่น่าปรารถนา.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๗
อรรถกถาสูตรที่ ๘
ในสูตรที่ ๘ (ข้อ ๓๗๐) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 465
บทว่า ปรโต จ โฆโส ได้แก่ การฟังอสัทธรรมจากสำนักของผู้อื่น.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๘
อรรถกถาสูตรที่ ๙
ในสูตรที่ ๙ (ข้อ ๓๗๑) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ปรโต จ โฆโส ได้แก่ การฟังพระสัทธรรมจากสำนักของผู้อื่น.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๙
คำที่เหลือในบททั้งปวง ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอาสาวรรคที่ ๑