[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 33
เถราปทาน
สีหาสนิยวรรคที่ ๒
ราหุลเถราปทานที่ ๖ (๑๖)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายเครื่องลาด
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 33
ราหุลเถราปทานที่ ๖ (๑๖)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายเครื่องลาด
[๑๘] เราได้ถวายเครื่องลาดในปราสาท ๗ ชั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ เชษฐบุรุษของโลก ผู้คงที่ พระมหามุนีผู้เป็นจอมแห่ชน เป็นนระผู้ประเสริฐ อันพระขีณาสพหนึ่งพันแวดล้อมแล้ว เสด็จเข้าพระคันธกุฏี พระศาสดาผู้ประเสริฐกว่าเทวดา เป็นนระผู้องอาจ ทรงยังพระคันธกุฎีให้รุ่งเรือง ประทับยืนในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัส พระคาถาเหล่านี้ว่า ที่นอนนี้ผู้ใดให้โชติช่วงแล้ว ดังกระจกเงา อันขัดดีแล้ว เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว ปราสาททองอันงดงาม หรือปราสาทแก้วไพฑูรย์เป็นที่รัก แห่งใจ จักบังเกิดแก่ผู้นั้น ผู้นั้นจักเป็นจอมเทวดา เสวย เทวรัชสมบัติอยู่ ๖๔ ครั้ง ในกัปที่ ๒๑ จักได้เป็นกษัตริย์ พระนามว่าวิมละ จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิทรงครอบครอง แผ่นดินสมุทรสาคร ๔ เป็นขอบเขต พระนครชื่อว่า เรณุวดี สร้างด้วยแผ่นอิฐ โดยยาว ๓๐๐ โยชน์ สี่เหลี่ยมจตุรัส ปราสาทชื่อว่าสุทัสนะ อันวิสสุกรรมเทพบุตรนิรมิตให้ ประกอบด้วยเรือนยอดอันประเสริฐ ประดับด้วยแก้ว ๗ ประการ วิทยาธรมีเสียงสิบอย่างต่างๆ กัน มาเกลื่อนกล่นอยู่ เหมือน จักเป็นนครชื่อว่าสุทัสนะของเหล่าเทวดา รัศมีแห่งนครนั้น เปล่งปลั่งดังเมื่อพระอาทิตย์อุทัย นครนั้นจักรุ่งเรืองจ้าโดย รอบ ๘ โยชน์อยู่เป็นนิจ ในแสนกัป พระศาสดาทรงพระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 34
นามว่าโคดมโดยพระโคตร ซึ่งมีสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก ผู้นั้นอันกุศลมูลตักเตือนแล้ว จักเคลื่อนจากภพดุสิต จักได้เป็นพระราชโอรสของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโคดม ถ้าจะพึงอยู่ครองเรือน ผู้นั้น พึงได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ แต่ข้อที่เขาจะถึงความยินดี ในเรือนนั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เขาจักออกบวชเป็น บรรพชิต เป็นผู้มีวัตรอันงาม จักได้เป็นพระอรหันต์มีนาม ว่าราหุล พระมหามุนีทรงพยากรณ์เราว่า มีปัญญา สมบูรณ์ ด้วยศีล เหมือนนกต้อยตีวิดรักษาไข่ ดังจามรีรักษาขนหาง เรารู้ทั่วถึงธรรมของพระองค์แล้ว ยินดีอยู่ในศาสนา เรา กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว ไม่มีอาสวะอยู่ คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้ง ชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.
ทราบว่า ท่านพระราหุลเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.
จบราหุลเถราปทาน
๑๖. อรรถกถาราหุลเถราปทาน
อปทานของท่านพระราหุลเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตรสฺส ภควโต ดังนี้.
ท่านผู้มีอายุแม้นี้ ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ ก่อน สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาลแห่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 35
พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระบังเกิดในเรือนมีตระกูล ถึงความเป็นผู้ รู้เดียงสาแล้ว ฟังพระธรรมเทศนาอยู่ในสำนักพระศาสดา เห็นพระศาสดา ทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่งไว้ในฐานะอันเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ใคร่ต่อการศึกษา เมื่อปรารถนาตำแหน่งนั้นด้วยตนเอง บำเพ็ญบุญอันยิ่งมีการชำระเสนาสนะ ทำให้สว่างไสวเป็นต้น แล้วได้ตั้งความปรารถนาไว้. ท่านจุติจากอัตภาพ นั้น แล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เสวยสมบัติทั้งสอง ในพุทธุปบาทกาลนี้ เพราะอาศัยพระโพธิสัตว์ของเรา จึงบังเกิดใน พระครรภ์ของพระนางยโสธราเทวี ได้นามว่าราหุลกุมาร ทรงเจริญด้วย ขัตติยบริวารเป็นอันมาก. วิธีบรรพชาของท่านมาแล้วในขันธกะนั้นเอง. ท่านบรรพชาแล้วได้รับพระโอวาทด้วยดี ด้วยสุตตบทเป็นอันมากในสำนัก พระศาสดา มีญาณแก่กล้า เจริญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัต. ก็ท่านเป็น พระอรหัต พิจารณาข้อปฏิบัติของตน เมื่อพยากรณ์พระอรหัตตผลจึงได้ ภาษิตคาถา ๔ คาถาเหล่านี้ว่า
ชนทั้งหลายย่อมรู้จักเราว่า พระราหุลผู้เจริญ สมบูรณ์ ด้วยคุณสมบัติ ๒ ประการคือ ชาติสมบัติ ๑ ปฏิปัตติสมาบัติ ๑ เพราะเป็นโอรสของพระพุทธเจ้า และเป็นผู้มีปัญญาเห็น ธรรมทั้งหลาย.
อนึ่ง เพราะอาสวะของเราสิ้นไป และภพใหม่ไม่มีต่อไป เราเป็นพระอรหันต์เป็นพระทักขิไณยบุคคล มีวิชชา ๓ เป็น ผู้เห็นอมตธรรม.
สัตว์ทั้งหลายเป็นดังคนตาบอด เพราะเป็นผู้ไม่เห็นโทษ ในก้าน ถูกข่ายคือตัณหาปกคลุมไว้ ถูกหลังคาคือตัณหา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 36
ปกปิด ถูกมารผูกแล้วด้วยเครื่องผูก คือประมาท เหมือนปลาในปากลอบฉะนั้น.
เราถอนกามนั้นขึ้นได้แล้ว ตัดเครื่องผูกของมารได้แล้ว ถอนตัณหาพร้อมทั้งรากขึ้นแล้ว เป็นผู้มีความเยือกเย็นดับ แล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุภเยเนว สมปนฺโน ความว่า ผู้ สมบูรณ์ คือประกอบด้วยคุณสมบัติทั้งสอง คือชาติสมบัติ ๑ ปฏิปัตติ- สมบัติ ๑. บทว่า ราหุลภทฺโทติ ม ํ วิทู ความว่า เพื่อนสพรหมจารี ทั้งหลาย รู้จักเราว่า ราหุลภัททะ. จริงอยู่ พระเจ้าสุทโธทนมหาราช ทรงทราบว่า พระราหุลนั้นประสูติแล้ว ทรงยึดเอาถ้อยคำที่พระโพธิสัตว์ ตรัสว่า ราหุ (เครื่องผูก) เกิดแล้ว เครื่องผูกพันเกิดแล้ว จึงยึดเอา พระนามว่าราหุลดังนี้. ในข้อนั้น พระองค์ทรงยึดเอาปริยายที่พระบิดา ตรัสแล้วแต่ต้นนั่งเอง จึงตรัสว่า ราหุลภทฺโทติ มํ วิทู ดังนี้. บทว่า ภทฺโท เป็นคำกล่าวสรรเสริญนั้นเอง. ในกาลต่อมา พระศาสดาทรงตั้ง ท่านไว้ในตำแหน่งอันเลิศ โดยภาวะเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาว่า ภิกษุ ทั้งหลาย ราหุลนี้เป็นผู้เลิศแห่งภิกษุสาวกของเราผู้ใคร่ต่อการศึกษา.
ท่านได้รับตำแหน่งเอทัคคะอย่างนี้แล้ว ระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส ประกาศถึงปุพพจริยาปทาน จึงตรัสว่า ปทุมุตฺตรสฺส ภควโต ดังนี้เป็นอาทิ. บทว่า สตฺตภูมิมฺหิ ปาสาเท ความว่า ชื่อว่า ปาสาทะ เพราะยังความเลื่อมใสคือยังความโสมนัสให้เกิด. ภูมิทั้ง ๗ ดังอยู่ ในชั้นสูงๆ ในปราสาทใด ปราสาทนี้นั้น ชื่อว่า สัตตภูมิ ปราสาท ๗ ชั้น บทว่า อาทาสํ สนฺถรึ อหํ ความว่า เราได้ทำพื้นแว่นให้สำเร็จ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 37
แล้วได้ลาดถวาย อธิบายว่า ได้ลาดบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐ ของโลกผู้คงที่. บทว่า ขีณาสวสหสฺเสหิ ความว่าเกลื่อนกล่นคือแวดล้อม ไปด้วยพระอรหันต์ ๑,๐๐๐ องค์. ชื่อว่า ทฺวิปทินฺโท เป็นจอมแห่งสัตว์ สองเท้า คือเป็นจอม เป็นเจ้าแห่งสัตว์สองเท้า เป็นผู้องอาจกว่านระ เป็นมหามุนี เข้าไปหาคือเข้าไปยังพระคันธกุฎี พร้อมด้วยสัตว์สองเท้า เหล่านั้น. บทว่า วิโรเจนฺโต คนฺธกุฏึ ความว่า พระศาสดาผู้ประเสริฐ ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพทั้งหลาย ชื่อว่า เทวเทโว, ผู้องอาจกว่านระทั้งหลาย ชื่อว่า นราสโภ ยังพระคันธกุฎีนั้นให้สว่างไสว ประทับนั่ง ณ ท่ามกลาง ภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสภาษิตพยากรณ์คาถาเหล่านี้. บทว่า เยนายํ โชติตา เสยฺยา ความว่า ที่นอนกล่าวคือปราสาทนี้ อันอุบาสกใดให้โชติช่วง แล้ว คือสว่างไสวรุ่งเรืองแล้ว. เราได้ลาดด้วยดี คือทำให้เสมอ เหมือน คันฉ่องทำพื้นให้ใสดุจกระจก อันสำเร็จด้วยสัมฤทธิ์และโลหะฉะนั้น. อธิบายว่า เราจักยกย่องอุบาสกนั้น คือจักกระทำให้ปรากฏ. คำที่เหลือรู้ ได้ง่ายทั้งนั้น.
บทว่า อฏฺานเมตํ ยํ ตาทิ ความว่า เป็นผู้คงที่ด้วยเหตุใด คือ ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ ได้ ประสบคือถึงความยินดี คือไม่เกียจคร้านในเรือนคือในการครองเรือน. อธิบายว่า แต่เหตุที่เขาจะคงที่ถึงความยินดีในเรือนนั้น ไม่เป็นฐานะที่จะ มีได้ คือไม่เป็นเหตุ.
บทว่า นิภฺขนิตฺวา อคารสฺมา ความว่า เขาจักออกจากการอยู่ ครองเรือน สละการครองเรือนนั้นเหมือนสละใบหญ้า ออกบวชเป็นผู้มี วัตรดีศึกษาดีงาม. บทว่า ราหุโล นาม นาเมน ความว่า ชื่อว่า ราหุล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 38
เพราะเป็นพระนามที่พระสิทธัตถะ พระราชบิดาตรัสว่า ราหุล (เครื่องผูก) เกิดแล้ว เครื่องผูกเกิดแล้ว เพราะสดับข่าวว่า พระกุมารประสูติแล้ว ที่พระเจ้าสุทโธทนมหาราชทรงส่งไป. พึงเห็นว่าพระองค์ตรัส ว่า ราหุล (เครื่องผูก) เกิดแล้ว โดยประสงค์ว่า พระกุมารนี้เกิดมาเหมือนทำอันตราย ต่อบรรพชา คือการออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่เป็นต้นของเรา เหมือนราหู จอมอสูรตั้งขึ้นเคลื่อนไป เพราะกระทำแสงสว่างแห่งวิมานแห่งพระจันทร์ และพระอาทิตย์ให้หม่นหมองฉะนั้น. บทว่า อรหา โส ภวิสฺสติ ความว่า ท่านคือผู้เช่นนั้น ผู้สมบูรณ์ด้วยธรรมอัน เป็นอุปนิสัย ประกอบการ ขวนขวายในวิปัสสนาจักเป็นพระอรหันตขีณาสพ.
บทว่า กิกีว อณฺฑํ รกฺเขยฺย ความว่า พึงเป็นผู้ไม่ประมาทรักษาศีล เหมือนนกด้อยตีวิดรักษาฟองไข่คือพืชฉะนั้น. บทว่า จามรี วิย วาลธึ ความว่า พึงสละแม้ชีวิต ไม่ทำลายศีลรักษาไว้ เหมือนจามรีรักษาขนหาง ไม่ดึงขนหาง คือเมื่อขนหางติดคล้องในท่อนไม้ก็ไม่ดึงมา เพราะกลัวขาด ยอมตาย. ปัญญาท่านเรียก นิปกะ ในบทว่า นิปโก สีลสมฺปนฺโน นี้. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ผู้ประกอบด้วยปัญญาเครื่อง รักษาตนนั้น ชื่อว่านิปกะ จักเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เพราะรักษาไว้ไม่ขาด ไม่ทำลายเป็นต้น. ท่านบรรลุพระอรหัตตผลอย่างนี้แล้ว วันหนึ่งนั่งในที่ อันสงัดกล่าวคำมีอาทิว่า เรารักษาพระมหามุนีอย่างนี้ด้วยสามารถแห่ง โสมนัส. คำที่เหลือรู้ได้ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาราหุลเถราปทาน