๘. มัจฉสูตร ว่าด้วยโทษของการฆ่าสัตว์
โดย บ้านธัมมะ  30 ต.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 39365

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 567

ปฐมปัณณาสก์

สาราณิยาทิวรรคที่ ๒

๘. มัจฉสูตร

ว่าด้วยโทษของการฆ่าสัตว์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 567

๘. มัจฉสูตร

ว่าด้วยโทษของการฆ่าสัตว์

[๒๘๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไป ในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำเนินไปตามหนทางไกล ได้ทอดพระเนตรเห็นชาวประมง ผูกปลา ฆ่าปลาขายอยู่ ณ ท้องถิ่นแห่งหนึ่ง ได้เสด็จแวะลงจากทาง แล้วประทับนั่งลงบนอาสนะ ที่ได้ปูลาดไว้ ณ โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย เห็นชาวประมงผูกปลา ฆ่าปลาขาย อยู่ที่แห่งโน้นหรือ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอทั้งหลายได้เห็น หรือได้ฟังมาบ้างไหมว่า ชาวประมงผูกปลา ฆ่าปลาขายอยู่


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 568

ย่อมขี่ช้าง ขี่ม้า ขี่รถ ขึ้นยาน เป็นเจ้าของโภคะ หรือครอบครองกองโภคสมบัติ เป็นอันมากอยู่ เพราะกรรมนั้น เพราะอาชีพนั้น.

ภิ. หามิได้ พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดีละ ข้อนั้นแม้เราก็ไม่ได้เห็น ไม่ได้ฟังมาว่า ชาวประมงผูกปลา ฆ่าปลาขายอยู่ ย่อมขี่ช้าง ขี่ม้า ขี่รถ ขึ้นยาน เป็นเจ้าของโภคะ หรือครอบครองกองโภคสมบัติเป็นอันมากอยู่ เพราะกรรมนั้น เพราะอาชีพนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าเขาย่อมเพ่งดูปลาเหล่านั้น ที่พึงฆ่า ที่นำมาเพื่อฆ่า ด้วยใจที่เป็นบาป ฉะนั้น เขาจึงไม่ได้ขี่ช้าง ขี่ม้า ขี่รถ ขึ้นยาน ไม่ได้เป็นเจ้าของโภคะ ไม่ได้ครอบครองโภคสมบัติเป็นอันมาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอทั้งหลาย ได้เห็น หรือได้ฟังมาบ้างไหมว่า คนฆ่าโค ฆ่าโคขายอยู่ ย่อมขี่ช้าง ขี่ม้า ขี่รถ ขึ้นยาน เป็นเจ้าของโภคะ หรือครอบครอง กองโภคสมบัติเป็นอันมากอยู่ เพราะกรรมนั้น เพราะอาชีพนั้น.

ภิ. หามิได้ พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดีละ ข้อนั้นแม้เราก็ไม่ได้เห็น ไม่ได้ฟังมาว่า คนฆ่าโค ฆ่าโคขายอยู่ ย่อมขี่ช้าง ขี่ม้า ขี่รถ ขึ้นยาน เป็นเจ้าของโภคะ หรือครอบครอง กองโภคสมบัติ เป็นอันมากอยู่ เพราะกรรมนั้น เพราะอาชีพนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าเขาย่อมเพ่งดูโคเหล่านั้น ที่พึงฆ่า ที่นำมาเพื่อฆ่า ด้วยใจที่เป็นบาป ฉะนั้น เขาจึงไม่ได้ ขี่ช้าง ขี่ม้า ขี่รถ ขึ้นยาน ไม่ได้เป็นเจ้าของโภคะ ไม่ได้ครอบครอง กองโภคสมบัติเป็นอันมากอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอทั้งหลาย ได้เห็น หรือได้ฟังมาบ้างไหมว่า คนฆ่าแพะ ฯลฯ คนฆ่าสุกร พรานนก


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 569

พรานเนื้อ ฆ่าเนื้อขายอยู่ ย่อมขี่ช้าง ขี่ม้า ขึ้นยาน เป็นเจ้าของโภคะ หรือครอบครองกองโภคสมบัติ เป็นอันมากอยู่ เพราะกรรมนั้น เพราะอาชีพนั้น.

ภิ. หามิได้ พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดีละ ข้อนั้นแม้เราก็ไม่ได้เห็น ไม่ได้ฟังมาว่า พรานเนื้อ ฆ่าเนื้อขายอยู่ ย่อมขี่ช้าง ขี่ม้า ขี่รถ ขึ้นยาน เป็นเจ้าของโภคะ หรือครอบครองกองโภคสมบัติเป็นอันมากอยู่ เพราะกรรมนั้น เพราะอาชีพนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าเขาย่อมเพ่งดูเนื้อเหล่านั้น ที่พึงฆ่า ที่นำมาเพื่อฆ่า ด้วยใจที่เป็นบาป ฉะนั้น เขาจึงไม่ได้ขี่ช้าง ขี่ม้า ขี่รถ ขึ้นยาน ไม่ได้เป็นเจ้าของโภคะ ไม่ได้ครอบครอง กองโภคสมบัติเป็นอันมากอยู่ ก็เขาย่อมเพ่งดูสัตว์ ดิรัจฉานเหล่านั้นที่พึงฆ่า ที่นำมาเพื่อฆ่า ด้วยใจที่เป็นบาป ฉะนั้น เขาจึงไม่ได้ขี่ช้าง ขี่ม้า ขี่รถ ขึ้นยาน ไม่ได้เป็นเจ้าของโภคะ หรือครอบครอง กองโภคสมบัติเป็นอันมากอยู่ จะกล่าวอะไร ถึงบุคคลผู้เพ่งดูมนุษย์ที่พึงฆ่า ที่นำมาเพื่อฆ่า ด้วยใจที่เป็นบาปเล่า เพราะผลข้อนั้น ย่อมเป็นไป เพื่อสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานแก่เขา เมื่อตายไปแล้วย่อม เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯลฯ

จบมัจฉสูตรที่ ๘

อรรถกถามัจฉสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในมัจฉสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า มจฺฉิกํ ได้แก่ ผู้ฆ่าปลา. บุคคลชื่อว่า หตฺถียายี เพราะไปด้วยช้าง. แม้ศัพท์ต่อไปข้างหน้า ก็มีนัยนี้. บทว่า วชฺเฌ แปลว่า ที่จะต้องฆ่า. บทว่า วธายานีเต ความว่า สัตว์ที่เขานำไปเพื่อฆ่า. บทว่า


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 570

ปาปเกน มนสา ความว่า ด้วยจิตคิดจะฆ่าอันลามก. แต่ในพระบาลี ท่านเขียนไว้ว่า วธายุปนีเต. บทว่า มาควิโก ได้แก่ ผู้ฆ่าเนื้อ.

บทว่า โก ปน วาโท มนุสฺสภูตํ ความว่า สำหรับผู้ที่มีใจลามก เข้าไปเพ่งเล็งมนุษย์ ไม่มีอะไรที่จะต้องพูดถึง ในความไม่มีสมบัติ. ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อทรงแสดงถึง ความที่บาปกรรม มีผลที่ไม่ปรารถนา. แต่เมื่อแม้ผู้ใดกระทำบาปกรรมเช่นนั้น ผู้นั้นกลับได้ยศ ข้อนั้น พึงเข้าใจว่ากุศลให้ผลแก่เขาเหล่านั้น โดยอาศัยอกุศลนั้น แต่วิบากจะไม่ยั่งยืน ไปตลอดกาลนาน เพราะเขาจะถูกอกุศลกรรมนั้นตัดรอน. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรม ที่เป็นฝ่ายอกุศลไว้อย่างเดียว.

จบอรรถกถา มัจฉสูตรที่ ๘