คำว่า สังขารขันธ์ เป็นชื่อของเจตสิก ๕๐ ประเภท คือ เจตสิกทั้งหมด เว้น สัญญาเจตสิก และเวทนาเจตสิก ที่เหลือเป็นสังขารขันธ์ทั้งหมด เช่น เจตนา เอกัคคตามนสิการ โลภะ โทสะ โมหะ ศรัทธา สติ วิริยะ ปัญญา เป็นต้น ส่วนความหมายสังขารธรรม มีความหมายกว้างมาก คือ หมายถึงธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งแล้วเกิดขึ้น ได้แก่ปรมัตถธรรม ๓ จิต เจตสิก รูป เกิดขึ้นเพราะมีปัจจัยปรุงแต่ง
เพราะเหตุใดสัญญา และเวทนา ไม่จัดเป็นสังขารขันธ์
หมายความว่าสังขารขันธ์จัดอยู่ในสังขารธรรม (ปรมัตถ์ ๓ คือ จิต เจตสิก รูป) และก็เป็นสังขารทุกข์ ใช่หรือไม่ค่ะ
ขอบพระคุณค่ะ
สัญญาเจตสิกและเวทนาเจตสิก พระพุทธองค์ทรงจำแนกเป็นสัญญาขันธ์ และเวทนา
ขันธ์ สังขารขันธ์เป็นเป็นสังขารธรรม และเป็นสังขารทุกข์ด้วย
ขอบพระคุณค่ะ
ที่ไม่จัดสัญญาและเวทนาเป็นสังขารขันธ์ก็เพราะว่า ในวันหนึ่งๆ เราให้ความสำคัญแก่เวทนามาก เพราะเราทุกคนชอบเวทนาที่เป็นความสุข ชอบอากาศดี ที่นอนที่นั่งสบาย และเราก็ให้ความสำคัญกับสัญญามาก เพราะเวลาที่ได้รับสุขเวทนา สัญญาก็จำ และก็ปรารถนาที่จะได้อีก