๕. ปฐมอวิชชาปัจจยสูตร ว่าด้วยสังขารมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
โดย บ้านธัมมะ  3 ก.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 36518

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 194

๕. ปฐมอวิชชาปัจจยสูตร

ว่าด้วยสังขารมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 194

๕. ปฐมอวิชชาปัจจยสูตร

ว่าด้วยสังขารมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

[๑๒๘] พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๑๒๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชรามรณะเป็นไฉน และชรามรณะนี้เป็นของใคร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ตั้งปัญหายังไม่ถูก ดูก่อนภิกษุ ผู้ใดพึงกล่าวว่า ชรามรณะเป็นไฉน และชรามรณะนี้เป็นของใคร หรือพึงกล่าวว่า ชรามรณะเป็นอย่างอื่น และชรามรณะนี้เป็นของผู้อื่น คำทั้งสองของผู้นั้นมีเนื้อความอย่างเดียวกัน ต่างแต่พยัญชนะเท่านั้น ดูก่อนภิกษุ เมื่อมีทิฏฐิว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือว่าเมื่อมีทิฏฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ดูก่อนภิกษุ ตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้น ดังนี้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ.

[๑๓๐] ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชาติเป็นไฉน และชาตินี้เป็นของใคร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ตั้งปัญหายังไม่ถูก ดูก่อนภิกษุ ผู้ใดพึงกล่าวว่า ชาติเป็นไฉน และชาตินี้เป็นของ


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 195

ใคร หรือพึงกล่าวว่า ชาติเป็นอย่างอื่น และชาตินี้เป็นของผู้อื่น คำทั้งสองของผู้นั้นมีเนื้อความอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ดูก่อนภิกษุ เมื่อมีทิฏฐิว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือว่าเมื่อมีทิฏฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ดูก่อนภิกษุ ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้น ดังนี้ว่า เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ.

[๑๓๑] ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภพเป็นไฉน และภพนี้เป็นของใคร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ตั้งปัญหายังไม่ถูก ดูก่อนภิกษุ ผู้ใดพึงกล่าวว่า ภพเป็นไฉน และภพนี้เป็นของใคร หรือพึงกล่าวว่า ภพเป็นอย่างอื่น และภพนี้เป็นของผู้อื่น คำทั้งสองของผู้นั้น มีเนื้อความอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ดูก่อนภิกษุ เมื่อมีทิฏฐิว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือเมื่อมีทิฏฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ดูก่อนภิกษุ ตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้น ดังนี้ว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ... เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน... เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา... เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา... เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ... เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป... เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ...

[๑๓๒] ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สังขาร


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 196

เป็นไฉน และสังขารนี้เป็นของใคร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ตั้งปัญหายังไม่ถูก ดูก่อนภิกษุ ผู้ใดพึงกล่าวว่า สังขารเป็นไฉน และสังขารนี้เป็นของใคร หรือพึงกล่าวว่า สังขารเป็นอย่างอื่น และสังขารนี้เป็นของผู้อื่น คำทั้งสองของผู้นั้น มีเนื้อความอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ดูก่อนภิกษุ เมื่อมีทิฏฐิว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือเมื่อมีทิฏฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ดูก่อนภิกษุ ตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้น ดังนี้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร.

[๑๓๓] ดูก่อนภิกษุ ทิฏฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึกอันบุคคลเสพผิด ส่ายหาไปว่า ชราและมรณะเป็นไฉน และชรามรณะนี้เป็นของใคร หรือว่าชรามรณะเป็นอย่างอื่น และชรามรณะนี้เป็นของผู้อื่น ว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ทิฏฐิเหล่านั้นทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ.

[๑๓๔] ดูก่อนภิกษุ ทิฏฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึกอันบุคคลเสพผิด ส่ายหาไปว่า ชาติเป็นไฉน และชาตินี้เป็นของใคร หรือว่าชาติเป็นอย่างอื่น และชาตินี้เป็นของผู้อื่น ว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ทิฏฐิเหล่านั้นทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 197

ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่มีเหลือ.

[๑๓๕] ดูก่อนภิกษุ ทิฏฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อันบุคคลเสพผิด ส่ายหาไปว่า ภพเป็นไฉน และภพนี้เป็นของใคร หรือว่าภพเป็นอย่างอื่น และภพนี้เป็นของผู้อื่น ว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ทิฏฐิเหล่านั้นทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ... อุปาทานเป็นไฉน... ตัณหาเป็นไฉน... เวทนาเป็นไฉน... ผัสสะเป็นไฉน... สฬายตนะเป็นไฉน... นามรูปเป็นไฉน... วิญญาณเป็นไฉน...

[๑๓๖] ดูก่อนภิกษุ ทิฏฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อันบุคคลเสพผิด ส่ายหาไปว่า สังขารเป็นไฉน และสังขารนี้เป็นของใคร หรือว่าสังขารเป็นอย่างอื่น และสังขารนี้เป็นของผู้อื่น ว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ทิฏฐิเหล่านั้นทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ.

จบปฐมอวิชชาปัจจยสูตรที่ ๕

อรรถกถาปฐมอวิชชาปัจจยสูตรที่ ๕

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมอวิชชาปัจจยสูตรที่ ๕ ต่อไป.


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 198

พระศาสดาทรงให้เทศนาจบลงในคำว่า สมุทโย โหติ นี้เอง.

เพราะเหตุไร.

เพราะเพื่อให้โอกาสแก่ผู้มีทิฏฐิ. เพราะว่า ในบริษัทนั้นผู้มีทิฏฐิมีจิตครุ่นคิดกังวลมีอยู่. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า "ผู้นั้นจักถามปัญหา ครั้นแล้วเราจักแก้แก่เขา" ดังนั้น จึงทรงพักเทศนาไว้ เพื่อให้ผู้นั้นเห็นโอกาส.

ข้อว่า "โน กลฺโล ปญฺโห ตั้งปัญหายังไม่ถูกต้อง" อธิบายว่า ปัญหานี้เป็นปัญหาที่ไม่ควร คือเป็นปัญหาที่เลว.

ก็ข้อที่ถามว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชรามรณะเป็นไฉน" นี้ เป็นการถามดีแล้วมิใช่หรือ.

ตอบว่า เป็นการถามที่ดีแล้วก็จริง แต่ก็เหมือนอย่างว่า เมื่อคนเอาก้อนคูถประมาณเท่ามะขามป้อมวางไว้ข้างบนสุดของโภชนะดีที่เขาตักใส่ถาดทองราคาตั้งแสน โภชนะทั้งหมดก็ต้องกลายเป็นโภชนะเลวควรทิ้ง ฉันใด แม้ปัญหานี้ก็เป็นปัญหาเลว เพราะกล่าวด้วยการเข้าไปยึดถือสัตว์นี้ว่า "ก็แลชรามรณะนี้เป็นของใคร." เหมือนโภชนะนั้นที่กลายเป็นโภชนะเลวเพราะก้อนคูถฉันนั้นแล.

บทว่า "พฺรหฺมจริยวาโส การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์" คือ อยู่ด้วยอริยมรรค.

ข้อว่า "ตํ ชีวํ ตํ สรีรํ ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น" อธิบายว่า ก็ผู้ใดมีความเห็นเช่นนี้ ผู้นั้นย่อมถือเอาว่า เมื่อชีพขาดสูญ สรีระก็ขาดสูญ เมื่อสรีระขาดสูญ ชีวิตก็ขาดสูญ" เมื่อถืออย่างนี้ ความเห็นนั้น จึงชื่อว่า อุจเฉททิฏฐิ เพราะได้ถือเอาว่า "สัตว์ย่อมขาดสูญ."

แต่ถ้าจะพึงถือเอาว่า "สังขารทั้งหลายแล ย่อมเกิดขึ้นและดับไปทั้งนั้น." ความเห็นที่หยั่งลงในพระศาสนาพึงเป็นสัมมาทิฏฐิ ก็ชื่อว่าอริยมรรคนี้ย่อมดับวัฏฏะ ตัดขาดวัฏฏะเกิดขึ้น.

เมื่อสภาวะแห่งอาการที่ถือเอาด้วยอุจเฉททิฏฐิยังมีอยู่ (ถ้า) เว้นมรรคภาวนาเสีย วัฏฏะนั้นแลย่อมดับได้ไซร้ เพราะ


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 199

เหตุนั้น มรรคภาวนา (การเจริญมรรค) ย่อมไม่มีประโยชน์. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี."

พึงทราบวินิจฉัยในนัยที่สอง.

ผู้ใดมีความเห็นอย่างนี้ว่า ชีพก็อย่างหนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่ง ผู้นั้นย่อมเป็นอันถือเอาว่า สรีระย่อมขาดสูญในโลกนี้เอง แต่ชีวิตย่อมไปตามสบาย เหมือนนกที่ออกจากกรงได้ก็ไปตามสบายของตนฉะนั้น. เมื่อถืออย่างนี้ ความเห็นนั้น จึงชื่อว่า สัสสตทิฏฐิ เพราะได้ถือเอาว่า "ชีวิตจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น" ก็อริยมรรคนี้เมื่อเว้นเสียซึ่งวัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓ ย่อมเกิดขึ้น.

เมื่อความเที่ยง ความแท้ ความคงที่แม้ในสังขารอย่างเดียวยังมีอยู่ อริยมรรคนั้น แม้เกิดขึ้นแล้วก็ไม่อาจทำให้วัฏฏะหยุดหมุนเวียนได้ เพราะฉะนั้น มรรคภาวนาจึงไม่มีประโยชน์.

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุ เมื่อมีความเห็นว่า ชีพก็อย่างหนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่ง การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี.

คำว่า "เป็นข้าศึก" เป็นต้น ล้วนเป็นไวพจน์ของมิจฉาทิฏฐิทั้งนั้น.

ก็มิจฉาทิฏฐินั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นข้าศึกเพราะรองรับตนเองเหมือนข้าศึก เพราะอรรถว่า ชำแรกสัมมาทิฏฐิ ตรัสเรียกว่า อันบุคคลเสพผิด เพราะไม่เป็นไปตามสัมมาทิฏฐิ แต่เป็นไปโดยเกลียดชังต่อสัมมาทิฏฐินั้น ตรัสเรียกว่า ดิ้นรนแกว่งส่ายไปผิดรูป เพราะบางคราวก็เป็นอุจเฉททิฏฐิถือความขาดสูญ บางคราวก็เป็นสัสตทิฏฐิถือความเที่ยงแท้.

บทว่า ตาลาวตฺถุกตานิ คือ ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน อธิบายว่า เหมือนตาลยอดด้วน เพราะอรรถว่า ไม่งอกขึ้นอีก และทำ


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 200

ให้เหมือนที่ที่ถอนตาลขึ้นทั้งรากตั้งไว้.

ข้อว่า อนภาวํ คตานิ แปลว่า ถึงความไม่มีในภายหลัง.

จบอรรถกถาปฐมอวิชชาปัจจยสูตรที่ ๕