๖. เอสุการีสูตร
โดย บ้านธัมมะ  28 ส.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 36101

[เล่มที่ 21] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 372

๖. เอสุการีสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 21]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 372

๖. เอสุการีสูตร

[๖๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล เอสุการีพราหมณ์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๖๖๒] ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว เอสุการีพราหมณ์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติการบําเรอ ๔ ประการ คือ บัญญัติการบําเรอพราหมณ์ ๑ บัญญัติการบําเรอกษัตริย์ ๑ บัญญัติการบําเรอแพศย์ ๑ บัญญัติการบําเรอศูทร ๑ ท่านพระโคดม ในการบําเรอทั้ง ๔ ประการนั้น พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติการบําเรอพราหมณ์ไว้ว่า พราหมณ์พึงบําเรอพราหมณ์ กษัตริย์พึงบําเรอพราหมณ์ แพศย์พึงบําเรอพราหมณ์ หรือศูทรพึงบําเรอพราหมณ์ พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติการบําเรอพราหมณ์ไว้เช่นนี้. พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติการบําเรอกษัตริย์ไว้ว่า กษัตริย์พึงบําเรอกษัตริย์ แพศย์พึงบําเรอกษัตริย์ หรือศูทรพึงบําเรอกษัตริย์ พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติการบําเรอกษัตริย์ไว้เช่นนี้. พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติการบําเรอแพศย์ไว้ว่า แพศย์พึงบําเรอแพศย์ หรือศูทรพึงบําเรอแพศย์ พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติการบําเรอแพศย์ไว้เช่นนี้. พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติการบําเรอศูทรไว้ว่า ศูทรเท่านั้นพึงบําเรอศูทรด้วยกัน ใครอื่นจักบําเรอศูทรเล่า. พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติการบําเรอศูทรไว้เช่น


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 373

นี้. ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติการบําเรอ ๔ ประการนี้ ท่านพระโคดมเล่า ตรัสการบําเรอนี้อย่างไร.

[๖๖๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พราหมณ์ ก็โลกทั้งปวงยอมอนุญาตข้อนั้นแก่พราหมณ์ทั้งหลายว่า จงบัญญัติการบําเรอ ๔ ประการนี้หรือ.

เอ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม.

พ. พราหมณ์ เปรียบเหมือนบุรุษขัดสน ไม่มีของของตน ยากจน ชนทั้งหลายพึงแขวนก้อนเนื้อไว้เพื่อบุรุษนั้นผู้ไม่ปรารถนาว่า บุรุษผู้เจริญ ท่านพึงเคี้ยวกินก้อนเนื้อนี้เสียและพึงใช้ต้นทุน ฉันใด พราหมณ์ทั้งหลายก็ฉันนั้น ย่อมบัญญัติการบําเรอ ๔ ประการนี้แก่สมณพราหมณ์เหล่านั้น โดยไม่ได้รับปฏิญาณ. พราหมณ์ เราย่อมไม่กล่าวว่า พึงบําเรอสิ่งทั้งปวง แต่เราก็ไม่กล่าวว่า ไม่พึงบําเรอสิ่งทั้งปวง ก็เมื่อบุคคลบําเรอสิ่งใดอยู่ เพราะเหตุแห่งการบําเรอ พึงมีแต่ความชั่ว ไม่มีความดี เรากล่าวสิ่งนั้นว่าควรบําเรอหามิได้ แต่เมื่อบุคคลบําเรอสิ่งใดอยู่ เพราะเหตุแห่งการบําเรอ พึงมีแต่ความดี ไม่มีความชั่ว เรากล่าวสิ่งนั้นว่าควรบําเรอ. ถ้าแม้ชนทั้งหลายจะพึงถามกษัตริย์อย่างนี้ว่า เมื่อท่านบําเรอสิ่งใดอยู่ เพราะเหตุแห่งการบําเรอ พึงมีแต่ความชั่ว ไม่มีความดี หรือว่าเมื่อท่านบําเรอสิ่งใดอยู่ เพราะเหตุแห่งบําเรอ พึงมีแต่ความดี ไม่มีความชั่ว ในกรณีเช่นนี้ท่านจะพึงบําเรอสิ่งนั้น แม้กษัตริย์เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ ก็พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า เมื่อข้าพเจ้าบําเรอสิ่งใดอยู่ เพราะเหตุแห่งการบําเรอ พึงมีแต่ความชั่ว ไม่มีความดี ข้าพเจ้าไม่พึงบําเรอสิ่งนั้น เมื่อข้าพเจ้าบําเรอสิ่งใดอยู่ เพราะเหตุแห่งการบําเรอ พึงมีแต่ความดี ไม่มีความชั่ว ข้าพเจ้าพึงบําเรอสิ่งนั้น ถ้าแม้ชนทั้งหลายพึงถามพราหมณ์... แพศย์... ศูทร อย่างนี้ว่า เมื่อท่านบําเรอสิ่งใดอยู่ เพราะเหตุแห่งการบําเรอ พึงมีแต่ความชั่ว ไม่พึงมีความดี ท่านพึงบําเรอสิ่งนั้น หรือ


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 374

ว่าเมื่อท่านบําเรอสิ่งใดอยู่ เพราะเหตุแห่งการบําเรอ พึงมีแต่ความดี ไม่พึงมีความชั่ว ในกรณีเช่นนี้ ท่านจะพึงบําเรอสิ่งนั้น แม้ศูทรเมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ ก็พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า เมื่อข้าพเจ้าบําเรอสิ่งใดอยู่ เพราะเหตุแห่งการบําเรอ พึงมีแต่ความชั่ว ไม่พึงมีความดี ข้าพเจ้าไม่พึงบําเรอสิ่งนั้น ส่วนว่าเมื่อข้าพเจ้าบําเรอสิ่งใดอยู่ เพราะเหตุแห่งการบําเรอ พึงมีแต่ความดี ไม่พึงมีความชั่ว ข้าพเจ้าพึงบําเรอสิ่งนั้น.

[๖๖๔] พราหมณ์ เราจะได้กล่าวว่าประเสริฐเพราะความเป็นผู้เกิดในสกุลสูงก็หามิได้ แต่จะได้กล่าวว่า เลวทราม เพราะความเป็นผู้เกิดในสกุลสูงก็หามิได้ เราจะได้กล่าวว่าประเสริฐเพราะความเป็นผู้มีวรรณะอันยิ่งหามิได้ แต่จะได้กล่าวว่าเลวทรามเพราะความเป็นผู้มีวรรณะอันยิ่งก็หามิได้ จะได้กล่าวว่าประเสริฐเพราะความเป็นผู้มีโภคะมากหามิได้ แต่จะได้กล่าวว่าเลวทรามเพราะความเป็นผู้มีโภคะมากก็หามิได้. พราหมณ์ เพราะว่าบุคคลบางคนในโลกนี้ แม้เกิดในสกุลสูง ก็ยังเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคําหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มักโลภ มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฐิ เพราะฉะนั้น เราจึงไม่กล่าวว่าประเสริฐเพราะความเป็นผู้เกิดในสกุลสูง บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้เกิดในสกุลสูง ก็เป็นผู้เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคําหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่โลภ ไม่มีจิตพยาบาท เป็นสัมมาทิฐิ เพราะฉะนั้น เราจึงไม่กล่าวว่าเลวทรามเพราะความเป็นผู้เกิดในสกุลสูง พราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้มีวรรณะอันยิ่งก็ยังเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคําหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มีความโลภ มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฐิ เพราะฉะนั้น เราจึงไม่กล่าวว่าประเสริฐเพราะความเป็นผู้มีวรรณะอันยิ่ง. พราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้มีวรรณะ


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 375

อันยิ่ง ก็เป็นผู้เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคําหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่มีความโลภ ไม่มีจิตพยาบาท เป็นสัมมาทิฐิ เพราะฉะนั้น เราจึงไม่กล่าวว่าเลวทรามเพราะความเป็นผู้มีวรรณะอันยิ่ง. พราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้มีโภคะมาก ก็ยังเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคําหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มีความโลภ มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฐิ เพราะฉะนั้น เราจึงไม่กล่าวว่าประเสริฐเพราะความเป็นผู้มีโภคะมาก. พราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้มีโภคะมาก ก็เป็นผู้เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคําหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่มีความโลภ ไม่มีจิตพยาบาท เป็นสัมมาทิฐิ เพราะฉะนั้น เราจึงไม่กล่าวว่าเลวทราม เพราะความเป็นผู้มีโภคะมาก พราหมณ์ เราย่อมไม่กล่าวว่า พึงบําเรอสิ่งทั้งปวง แต่เราก็ไม่กล่าวว่า ไม่พึงบําเรอสิ่งทั้งปวง ก็เมื่อบุคคลบําเรอสิ่งใดอยู่ เพราะเหตุแห่งการบําเรอ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญาย่อมเจริญ สิ่งนั้นเรากล่าวว่าพึงบําเรอ.

[๖๖๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว เอสุการีพราหมณ์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติทรัพย์ ๔ ประการ คือ ย่อมบัญญัติทรัพย์อันเป็นของมีอยู่ของพราหมณ์ ๑ ทรัพย์อันเป็นของมีอยู่ของกษัตริย์ ๑ ทรัพย์อันเป็นของมีอยู่ของแพศย์ ๑ ทรัพย์อันเป็นของมีอยู่ของศูทร ๑ ท่านพระโคดม ในข้อนั้น พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติทรัพย์อันเป็นของมีอยู่ของพราหมณ์ คือ การเที่ยวไปเพื่อภิกษา แต่พราหมณ์เมื่อดูหมิ่นทรัพย์อันเป็นของมีอยู่ คือ การเที่ยวไปเพื่อภิกษา


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 376

ชื่อว่าเป็นผู้ทํากรรมมิใช่กิจ เหมือนคนเลี้ยงโค ถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้ฉะนั้น พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติทรัพย์อันเป็นของมีอยู่ของพราหมณ์นี้แล. ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติทรัพย์อันเป็นของมีอยู่ของกษัตริย์ คือ แล่งธนู แต่กษัตริย์เมื่อดูหมิ่นทรัพย์อันเป็นของมีอยู่ คือ แล่งธนู ชื่อว่าเป็นผู้ทํากรรมมิใช่กิจ เปรียบเหมือนคนเลี้ยงโคถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้ฉะนั้น พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติทรัพย์อันเป็นของมีอยู่ของกษัตริย์นี้แล. ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติทรัพย์อันเป็นของมีอยู่ของแพศย์ คือ กสิกรรมและโครักขกรรม แต่แพศย์เมื่อดูหมิ่นทรัพย์อันเป็นของมีอยู่ คือ กสิกรรมและโครักขกรรม ชื่อว่าเป็นผู้ทํากรรมมิใช่กิจ เปรียบเหมือนคนเลี้ยงโคถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้ฉะนั้น พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติทรัพย์อันเป็นของมีอยู่ของแพศย์นี้แล. ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติทรัพย์อันเป็นของมีอยู่ของศูทร คือ เคียวและไม้คาน แต่ศูทรเมื่อดูหมิ่นทรัพย์อันเป็นของมีอยู่ คือ เคียวและไม้คาน ชื่อว่าเป็นผู้ทํากรรมมิใช่กิจ เปรียบเหมือนคนเลี้ยงโคถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้ฉะนั้น พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติทรัพย์อันเป็นของมีอยู่ของศูทรนี้แล. ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติทรัพย์ ๔ ประการนี้ ในเรื่องนี้ ท่านพระโคดมจะตรัสว่ากระไร.

[๖๖๖] พราหมณ์ ก็โลกทั้งปวงย่อมอนุญาตข้อนี้แก่พราหมณ์ทั้งหลายว่า จงบัญญัติทรัพย์ ๔ ประการนี้หรือ.

เอ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม.

พ. พราหมณ์ เปรียบเหมือนบุรุษขัดสน ไม่มีของของตน ยากจน ชนทั้งหลายพึงแขวนก้อนเนื้อไว้ให้แก่บุรุษนั้นผู้ไม่ปรารถนาว่า บุรุษผู้เจริญ ท่านพึงเคี้ยวกินก้อนเนื้อนี้เสียและพึงใช้ทุนฉันใด พราหมณ์ทั้งหลายก็ฉันนั้น


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 377

ย่อมบัญญัติทรัพย์ ๔ ประการนี้แก่สมณพราหมณ์เหล่านั้น โดยไม่ได้รับปฏิญาณ พราหมณ์ เราย่อมบัญญัติโลกุตตรธรรมอันเป็นอริยะ ว่าเป็นทรัพย์อันเป็นของมีอยู่ของบุรุษ. เมื่อเขาระลึกถึงวงศ์สกุลเก่าอันเป็นของมารดาบิดา อัตภาพบังเกิดขึ้นในวงศ์สกุลใดๆ บุรุษนั้นย่อมถึงความนับตามวงศ์สกุลนั้นๆ. ถ้าอัตภาพบังเกิดในสกุลกษัตริย์ ก็ย่อมถึงความนับว่าเป็นกษัตริย์. ถ้าอัตภาพบังเกิดในสกุลพราหมณ์ ก็ย่อมถึงความนับว่าเป็นพราหมณ์. ถ้าอัตภาพบังเกิดในสกุลแพศย์ ก็ย่อมถึงความนับว่าเป็นแพศย์. ถ้าอัตภาพบังเกิดในสกุลศูทรย่อมถึงความนับว่าเป็นศูทร เปรียบเหมือนไฟอาศัยปัจจัยใดๆ ติดอยู่ ย่อมถึงความนับตามปัจจัยนั้นๆ. ถ้าไฟอาศัยไม้ติดอยู่ ก็ย่อมถึงความนับว่าไฟติดไม้. ถ้าไฟอาศัยหยากเยื่อติดอยู่ ก็ย่อมถึงความนับว่าไฟติดหยากเยื่อ. ถ้าไฟอาศัยหญ้าติดอยู่ ก็ย่อมถึงความนับว่าไฟติดหญ้า. ถ้าไฟอาศัยโคมัยติดอยู่ ก็ย่อมถึงความนับว่าไฟติดโคมัย ฉันใด เราก็ฉันนั้นแล ย่อมบัญญัติโลกุตตรธรรมอันเป็นอริยะ ว่าเป็นทรัพย์อันเป็นของมีอยู่ของบุรุษ. เมื่อเขาระลึกถึงวงศ์สกุลเก่าอันเป็นของมารดาบิดา อัตภาพบังเกิดในสกุลใดๆ ก็ย่อมถึงความนับตามสกุลนั้นๆ. ถ้าอัตภาพบังเกิดในสกุลกษัตริย์ ก็ย่อมถึงความนับว่าเป็นกษัตริย์. ถ้าอัตภาพบังเกิดในสกุลพราหมณ์ ก็ย่อมถึงความนับว่าเป็นพราหมณ์. ถ้าอัตภาพบังเกิดในสกุลแพศย์ ก็ย่อมถึงความนับว่าเป็นแพศย์. ถ้าอัตภาพบังเกิดในสกุลศูทร ก็ย่อมถึงความนับว่าเป็นศูทร.

[๖๖๗] พราหมณ์ ถ้าแม้กุลบุตรออกจากสกุลกษัตริย์บวชเป็นบรรพชิต และเขาอาศัยธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคําหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่มีความโลภ ไม่มีจิตพยาบาท


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 378

เป็นสัมมาทิฐิ ยินดีกุศลธรรมเครื่องนําออกจากทุกข์ ถ้าแม้กุลบุตรออกจากสกุลพราหมณ์... จากสกุลแพศย์... จากสกุลศูทร บวชเป็นบรรพชิต และเขาอาศัยธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคําหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่มีความโลภ ไม่มีจิตพยาบาท เป็นสัมมาทิฐิ ยินดีกุศลธรรมเครื่องนําออกจากทุกข์ พราหมณ์! ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน พราหมณ์เท่านั้นหรือสามารถเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ในที่นั้น กษัตริย์ แพศย์ ศูทร ไม่สามารถหรือ.

เอ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม แม้กษัตริย์ก็สามารถเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวรไม่มีความเบียดเบียนในที่นั้นได้ แม้พราหมณ์.. แม้แพศย์... แม้ศูทร... แม้วรรณะ ๔ ทั้งหมด ก็สามารถเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนในที่นั้นได้.

[๖๖๘] พ. พราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกันแล ถ้าแม้กุลบุตรออกจากสกุลกษัตริย์บวชเป็นบรรพชิต และเขาอาศัยธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคําหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่มีความโลภ ไม่มีจิตพยาบาท เป็นสัมมาทิฐิ ยินดีกุศลธรรมเครื่องนําออกจากทุกข์ ถ้าแม้กุลบุตรออกจากสกุลพราหมณ์... จากสกุลแพศย์... จากสกุลศูทร บวชเป็นบรรพชิต เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคําหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 379

ไม่มีความโลภ ไม่มีจิตพยาบาท เป็นสัมมาทิฐิ ยินดีกุศลธรรมเครื่องนําออกจากทุกข์ พราหมณ์ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน พราหมณ์เท่านั้นหรือสามารถถือเอาเครื่องสีตัวสําหรับอาบน้ำไปยังแม่น้ำแล้วลอยละอองธุลี กษัตริย์ แพศย์ ศูทร ไม่สามารถหรือ.

เอ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม แม้กษัตริย์ก็สามารถถือเอาเครื่องสีตัวสําหรับอาบน้ำ ไปยังแม่น้ำแล้วลอยละอองธุลีได้ แม้พราหมณ์... แม้แพศย์... แม้ศูทร แม้วรรณะ ๔ ทั้งหมด ก็สามารถถือเอาเครื่องสีตัวสําหรับอาบน้ำ ไปยังแม่น้ำแล้วลอยละอองธุลีได้.

[๖๖๙] พ. พราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกันแล ถ้าแม้กุลบุตรออกจากสกุลกษัตริย์บวชเป็นบรรพชิต และเขาอาศัยธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ย่อมเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมณ์ เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคําหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่มีความโลภ ไม่มีจิตพยาบาท เป็นสัมมาทิฐิ ยินดีกุศลธรรมเครื่องนําออกจากทุกข์ได้ ถ้าแม้กุลบุตรออกจากสกุลพราหมณ์... จากสกุลแพศย์... จากสกุลศูทร บวชเป็นบรรพชิต และเขาอาศัยธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ย่อมเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคําหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่มีความโลภ ไม่มีจิตพยาบาท เป็นสัมมาทิฐิ ยินดีกุศลธรรมเครื่องนําออกจากทุกข์ได้ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน พระราชาผู้เป็นกษัตริย์ได้มูรธาภิเษกแล้วในโลกนี้ รับสั่งให้บุรุษซึ่งมีชาติต่างๆ กัน ๑๐๐ คน มาประชุมกันว่า จงมานี่แน่ะ ท่านทั้งหลาย ในท่านทั้งหลาย ผู้ใดเกิดแต่สกุลกษัตริย์ แต่สกุลพราหมณ์


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 380

แต่สกุลเจ้า ผู้นั้นจงเอาไม้สัก ไม้สาละ ไม้สน ไม้จันทน์ หรือไม้ทับทิม มาทําเป็นไม้สีไฟ จงสีไฟให้เกิดขึ้น จงสีไฟให้ติด ส่วนท่านเหล่าใดเกิดแต่สกุลคนจัณฑาล แต่สกุลนายพราน แต่สกุลช่างจักสาน แต่สกุลช่างรถ แต่สกุลคนเทหยากเยื่อ ท่านเหล่านั้นจงเอาไม้รางสุนัข ไม้รางสุกร ไม้รางย้อมผ้า หรือไม้ละหุ่ง มาทําเป็นไม้สีไฟ จงสีไฟให้เกิดขึ้น จงสีไฟให้ติด พราหมณ์ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน ไฟที่บุคคลผู้เกิดแต่สกุลกษัตริย์ แต่สกุลพราหมณ์ แต่สกุลเจ้า เอาไม้สัก ไม้สาละ ไม้สน ไม้จันทน์ หรือไม้ทับทิม มาทําเป็นไม้สีไฟ สีไฟเกิดลุกขึ้น ไฟนั้นเท่านั้นหรือเป็นไฟมีเปลว มีสี และมีแสง อาจทํากิจที่ต้องทําด้วยไฟนั้นได้ ส่วนไฟที่คนเกิดแต่สกุลคนจัณฑาล สกุลนายพราน แต่สกุลช่างจักสาน แต่สกุลช่างรถ แต่สกุลคนเทหยากเยื่อ เอาไม้รางสุนัข ไม้รางสุกร ไม้รางย้อมผ้า หรือไม้ละหุ่ง มาทําเป็นไม้สีไฟ สีไฟเกิดลุกขึ้น ไฟนั้นเป็นไฟไม่มีเปลว ไม่มีสี ไม่มีแสง และไม่อาจทํากิจที่ต้องทําด้วยไฟนั้นหรือ.

เอ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม ไฟที่บุคคลเกิดแต่สกุลกษัตริย์ แต่สกุลพราหมณ์ แต่สกุลเจ้า เอาไม้สัก เอาไม้สาละ ไม้สน ไม้จันทน์ หรือไม้ทับทิม มาทําเป็นไม้สีไฟ สีไฟเกิดขึ้น ไฟนั้นเป็นไฟมีเปลว มีสี มีแสง และอาจทํากิจที่ต้องทําด้วยไฟนั้นได้ แม้ไฟที่บุคคลเกิดแต่สกุลจัณฑาล แต่สกุลนายพราน แต่สกุลช่างจักสาน แต่สกุลช่างรถ แต่สกุลคนเทหยากเยื่อ เอาไม้รางสุนัข ไม้รางสุกร ไม้รางย้อมผ้า หรือไม้ละหุ่ง มาทําเป็นไม้สีไฟ สีไฟเกิดลุกขึ้น ไฟนั้นก็เป็นไฟมีเปลว มีสี มีแสง และอาจทํากิจที่ต้องทําด้วยไฟแม้ทั้งหมดได้.

[๖๗๐] พ. พราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกันแล ถ้าแม้กุลบุตรออกจากสกุลกษัตริย์บวชเป็นบรรพชิต และเขาอาศัยธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศ


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 381

แล้ว ย่อมเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคําหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่มีความโลภ ไม่มีจิตพยาบาท เป็นสัมมาทิฐิ ยินดีกุศลธรรมเครื่องนําออกจากทุกข์ ถ้าแม้กุลบุตรออกจากสกุลพราหมณ์... จากสกุลแพศย์... จากสกุลศูทร บวชเป็นบรรพชิต และเขาอาศัยธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ย่อมเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคําหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่มีความโลภ ไม่มีจิตพยาบาท เป็นสัมมาทิฐิ ยินดีกุศลธรรมเครื่องนําออกจากทุกข์ได้.

[๖๗๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว เอสุการีพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ํา เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระองค์กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญ โปรดทรงจําข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฉะนี้แล.

จบเอสุการีสูตรที่ ๖


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 382

อรรถกถาเอสุการีสูตร

เอสุการีสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

บรรดาบทเหล่านั้น คําว่า พึงแขวนส่วน คือ พึงให้แขวนส่วน. ทรงแสดงชื่อว่า สัตถธรรม คือธรรมของพ่อค้าเกวียนด้วยคํานี้.

ได้ยินว่า พ่อค้าเกวียนเดินทางกันดารมาก. เมื่อโคตายในระหว่างทาง ก็ถือเอาเนื้อมันมาแล้ว แขวนไว้สําหรับผู้ต้องการเนื้อทั้งปวงว่า ใครๆ เคี้ยวกินเนื้อนี้ จงให้ราคาเท่านี้. ธรรมดาว่าเนื้อโค คนกินได้ก็มี กินไม่ได้ก็มี ผู้สามารถให้ต้นทุนก็มี ผู้ไม่สามารถก็มี. พ่อค้าเกวียนซื้อโคมาด้วยราคาใด เพื่อให้ราคานั้น จึงให้ส่วนแก่คนทั้งปวงโดยพลการแล้ว เอาแต่ต้นทุน. นี้เป็นธรรมของพ่อค้าเกวียน.

เพื่อแสดงว่า แม้พราหมณ์ทั้งหลายก็อย่างนั้นเหมือนกัน ถือเอาปฏิญญาของชาวโลก แล้วบัญญัติการบําเรอ ๔ ประการโดยธรรมดาของตนเองดังนี้ จึงตรัสว่าอย่างนั้นเหมือนกันแล ดังนี้เป็นต้น.

คําว่า พึงมีแต่ความชั่ว คือ พึงเป็นความชั่วช้าอย่างยิ่ง.

คําว่า พึงมีแต่ความดี คือ พึงมีแต่ประโยชน์เกื้อกูล.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ชั่ว คือ พึงเป็นอัตตภาพชั่ว คือ ลามก.

บทว่า ดี คือ ประเสริฐสุด ได้แก่ สูงสุด.

บทว่า ประเสริฐ คือ ประเสริฐกว่า.

บทว่า เพราะความเป็นผู้เกิดในตระกูลสูง คือ ประเสริฐ เพราะความเป็นผู้เกิดในตระกูลสูง.

บทว่า ชั่วช้า คือ เลวทราม.

ความเป็นผู้เกิดในตระกลสูงเทียว ย่อมควรในตระกูลทั้งสอง คือ ตระกูลกษัตริย์ และตระกูลพราหมณ์. ความเป็นผู้มีวรรณะอันยิ่ง ย่อมควรในตระกูลทั้งสาม. เพราะแม้แพศย์ก็ย่อมเป็นผู้มีวรรณะอันยิ่งได้. ความเป็นผู้มีโภคะมากย่อมควรแม้ในตระกูลทั้ง ๔. เพราะแม้ศูทรจนชั้นที่สุด แม้คนจัณฑาลก็ย่อมเป็นผู้มีโภคะ


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 13 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 383

มากได้เหมือนกัน.

บทว่า เที่ยวไปเพื่อภิกษา ความว่า อันพราหมณ์แม้มีทรัพย์เป็นโกฏิก็ต้องเที่ยวขอภิกขา. พราหมณ์แต่เก่าก่อนแม้มีทรัพย์ตั้ง ๘๐ โกฏิ ก็ย่อมเที่ยวภิกขาเพลาหนึ่ง.

ถามว่า เพราะเหตุไร.

ตอบว่า ข้อครหาว่า เดี๋ยวนี้เริ่มเที่ยวขอภิกษา ดังนี้ จักไม่มีแก่โปราณกพราหมณ์ทั้งหลายในเวลาเข็ญใจ.

บทว่า ดูหมิ่น ความว่า พราหมณ์ละวงศ์การเที่ยวภิกษา แล้วเลี้ยงชีวิตด้วยสัตถาชีพ (อาชีพขายศัสตรา) กสิกรรม และพาณิชกรรมเป็นต้นนี้ ชื่อว่า ดูหมิ่น.

บทว่า เหมือนคนเลี้ยงโค ความว่า เหมือนคนเลี้ยงโคลักของที่ตนต้องรักษา เป็นผู้ทําในสิ่งที่มิใช่หน้าที่ฉะนั้น.

พึงทราบเนื้อความในวาระทั้งปวงโดยนัยนี้.

บทว่า มีดและไม้คาน คือ มีดสําหรับเกี่ยวหญ้า (คือเคียว) และไม้คาน.

บทว่า ระลึกถึง ความว่า ระลึกถึงวงศ์ตระกูลเก่าอันเป็นของมารดาบิดาที่ตนเกิดนั้น.

คําที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาเอสุการีสูตรที่ ๖