[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 506
๓. อนมตัคคสังยุต
ปฐมวรรคที่ ๑
๑. ติณกัฏฐสูตร
ว่าด้วยที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายของสงสาร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 506
๓. อนมตัคคสังยุต
ปฐมวรรคที่ ๑
๑. ติณกัฏฐสูตร
ว่าด้วยที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายของสงสาร
[๔๒๑] ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย... แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ.
[๔๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า บุรุษตัดทอนหญ้า ไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ในชมพูทวีปนี้ แล้วจึงรวมกันไว้ ครั้นแล้ว พึงกระทำให้เป็นมัดๆ ละ ๔ นิ้ว วางไว้ สมมติว่า นี้เป็นมารดาของเรา นี้เป็นมารดาของมารดาของเรา โดยลำดับ มารดาของมารดาแห่งบุรุษนั้นไม่พึงสิ้นสุด ส่วนว่า หญ้า ไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ในชมพูทวีปนี้ พึงถึงการหมดสิ้นไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 507
พวกเธอได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้า ตลอดกาลนาน เหมือนฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านั้น พอทีเดียวที่จะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้.
จบติณกัฏฐสูตรที่ ๑
อนมตัคคสังยุต
ปฐมวรรคที่ ๑
อรรถกถาติณกัฏฐสูตรที่ ๑
พึงทราบวินิจฉัยในติณกัฏฐสูตรที่ ๑ แห่งอนมตัคคสังยุต ดังต่อไปนี้.
บทว่า อนมตคฺโค แปลว่า มีที่สุดเบื้องต้นอันบุคคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้.
อธิบายว่า สงสารแม้จะตามไปด้วยญาณร้อยปี พันปี มีที่สุด รู้ไม่ได้ คือมีที่สุดอันทราบไม่ได้. สงสารนั้นใคร่ไม่อาจรู้ที่สุดข้างนี้ หรือข้างโน้นได้ คือมีเบื้องต้นเบื้องปลายกำหนดไม่ได้.
บทว่า สํสาโร ได้แก่ ลำดับแห่งขันธ์เป็นต้นที่เป็นไปกำหนดไม่ได้.
บทว่า ปุพฺพา โกฏิ น ปญฺายติ ได้แก่ เขตแดนเบื้องต้น ไม่ปรากฏ ก็ที่สุดเบื้องต้นของสงสารนั้น ย่อมไม่ปรากฏด้วยที่สุดใด. แม้ที่สุดเบื้องปลาย ก็ย่อมไม่ปรากฏด้วยที่สุดนั้นเหมือนกัน. ส่วนสัตว์ทั้งหลาย ย่อมท่องเที่ยวไปในท่ามกลาง.
บทว่า ปริยาทานํ คจฺเฉยฺย นี้ ท่านกล่าวว่า เพราะเป็นอุปมาด้วยสิ่งน้อย. ส่วนในพาหิรสมัย ประโยชน์ (๑) มีน้อย อุปมามีมาก.
เมื่อท่านกล่าวว่า โคนี้เหมือนช้าง สุกรเหมือนโค สระเหมือนสมุทร
(๑) ฎีกา-: อตฺโถ ปริตฺโต โหติ ยถาภตาวโพธาภาวโต.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 508
ประโยชน์เหล่านั้น จะมีประมาณเช่นนั้นก็หามิได้.
ส่วนในพุทธสมัย อุปมามีน้อย. ประโยชน์มีมาก.
แท้จริง เพราะในบาลีที่ท่านถือเอาชมพูทวีปแห่งเดียว.
หญ้าเป็นต้น พึงถึงการหมดสิ้นไป ด้วยความพยายามของชาวชมพูทวีปเห็นปานนี้ในร้อยปีบ้าง พันปีบ้าง แสนปีบ้าง. ส่วนมารดาของคน พึงถึงการหมดสิ้นไป ก็หามิได้แล.
บทว่า ทุกฺขํ ปจฺจนุภูตํ ได้แก่ ท่านเสวยทุกข์.
บทว่า ติปฺปํ เป็นไวพจน์ของบทว่า อนุภูตํ นั้นแล.
บทว่า พฺยสนํ ได้แก่ หลายอย่างมีความเสื่อมแห่งญาติเป็นต้น.
บทว่า กฏสิ ได้แก่ ปฐพีที่เป็นป่าช้า. สัตว์เหล่านั้น เมื่อตายบ่อยๆ ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้านั้น ด้วยการทิ้งสรีระไว้.
บทว่า อลํ แปลว่า พอเท่านั้น.
จบอรรถกถาติณกัฏฐสูตรที่ ๑