[เล่มที่ 48] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 441
๒. ปุริสวิมานวัตถุ
มหารถวรรคที่ ๕
๓. ฉัตตมาณวกวิมาน
ว่าด้วยฉัตตมาณวกวิมาน
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 48]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 441
๓. ฉัตตมาณวกวิมาน
ว่าด้วยฉัตตมาณวกวิมาน
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะฉัตตมาณพว่า
[๕๓] บรรดาผู้กล่าวสอนอยู่ (ศาสดา) ผู้ใดเป็นผู้ประเสริฐในมนุษย์ เป็นศากยมุนี เป็นภควา ผู้ทำกิจเสร็จแล้ว ถึงฝั่งแล้ว พรั่งพร้อมด้วยพละและวิริยะ เธอจงเข้าถึงผู้นั้น ผู้เป็นสุคต เป็นสรณะ เธอจงเข้าถึงพระธรรมที่สำรอกราคะ ไม่หวั่นไหว ไม่เศร้าโศก เป็นอสังขตธรรม ไม่ปฏิกูล ไพเราะ ซื่อตรง จำแนกไว้ นี้เป็นสรณะ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวทานที่ถวายในท่านเหล่าใดว่ามีผลมาก ท่าน เหล่านั้น คือ อริยบุคคลสี่คู่ เป็นบุคคลแปด ผู้แสดงธรรม เธอจงเข้าถึงพระสงฆ์นี้เป็นสรณะ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามเทพบุตรว่า
พระอาทิตย์ในท้องฟ้าก็ไม่สว่าง พระจันทร์ก็ไม่สว่าง ดาวฤกษ์ผุสสะก็ไม่สว่างเหมือนวิมานนี้ มีรัศมีสว่างมากไม่มีที่เปรียบ ท่านเป็นใคร จากดาวดึงส์มาสู่แผ่นดิน มีรัศมีเกิน ๒๐ โยชน์ ตัดรังสีพระอาทิตย์ และทำกลางคืนให้เป็นเหมือนกลางวัน วิมานของท่านงามบริสุทธิ์ผุดผ่อง มีดอกปทุมมาก มีดอกบุณฑิกงาม เกลื่อนกลาดไปด้วยดอกไม้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 442
ทั้งหลาย งามไม่น้อย คลุมด้วยข่ายทองที่ปราศจากละอองธุลี สว่างอยู่ในอากาศ เหมือนดวงอาทิตย์ วิมานของท่านบริบูรณ์ด้วยเหล่าอัปสร ผู้ทรงผ้าแดง และผ้าเหลือง หอมตลบด้วยกฤษณา ประยงค์ และจันทน์ มีองค์และผิวพรรณเปล่งปลั่งดังทอง เหมือนท้องฟ้าเต็มไปด้วยดวงดาวทั้งหลาย ทวยเทพบุตรและเทพธิดาในวิมานนี้มีมาก หลายหลากวรรณะ มีอาภรณ์ประดับด้วยดอกไม้ มีใจดี มีกรองทอง นุ่งห่มด้วยอาภรณ์ที่เป็นทอง โชยกลิ่นหอมลอยไปตามลม นี้เป็นวิบากแห่งการสำรวมอะไร ท่านเกิดในวิมานนี้ด้วยผลแห่งกรรมอะไร และท่านได้วิมานนี้โดยวิธีใด ท่านถูกเราถามแล้ว เชิญบอกตามสมควรแก่วิธีนั้น ด้วยเถิด.
เทพบุตรกราบทูลว่า
พระศาสดาเสด็จมาพบมาณพในทางนี้ด้วยพระองค์เอง เมื่อทรงอนุเคราะห์ได้ตรัสสอนแล้ว ฉัตตมาณพฟังธรรมของพระองค์ผู้เป็นรัตนะอันประเสริฐ ได้กราบทูลว่า ข้าพระองค์จักกระทำตามพระองค์ตรัสสอนว่า เธอจงเข้าถึงพระชินวรผู้ประเสริฐ ทั้งพระธรรมและภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญู ทีแรกข้าพระองค์ได้กล่าวว่า ไม่รู้ แต่ภายหลังได้กระทำตามพระดำรัสของพระองค์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 443
อย่างนั้นทีเดียว พระองค์ตรัสสอนว่า จงอย่าฆ่าสัตว์ อย่าประพฤติกรรมไม่สะอาดต่างๆ ผู้มีปัญญาทั้งหลายไม่สรรเสริญความไม่สำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ได้กล่าวว่า ไม่รู้ แต่ภายหลังได้กระทำตามพระดำรัสของพระองค์อย่างนั้นทีเดียว พระองค์ตรัสสอนว่า อย่าเป็นผู้มีความสำคัญของที่เจ้าของมิได้ให้ แม้ที่ชนอื่นรักษาไว้ ว่าเป็นของควรถือเอา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ได้กล่าวว่า ไม่รู้ แต่ภายหลังได้กระทำตามพระดำรัสของพระองค์อย่างนั้นทีเดียว พระองค์ตรัสสอนว่า อย่าได้ล่วงเกินภริยาของคนอื่น ที่คนอื่นรักษา นั่นเป็นสิ่งไม่ประเสริฐ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ได้กล่าวว่า ไม่รู้ แต่ภายหลังได้กระทำตามพระดำรัสของพระองค์อย่างนั้นทีเดียว พระองค์ตรัสสอนว่า อย่าได้กล่าวเรื่องจริงเป็นเท็จ ผู้มีปัญญาทั้งหลายไม่สรรเสริญมุสาวาทเลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่แรกข้าพระองค์ได้กล่าวว่า ไม่รู้ แต่ภายหลังได้กระทำตามพระดำรัสของพระองค์อย่างนั้นทีเดียว พระองค์ตรัสสอนว่า จงงดเว้นน้ำเมา ซึ่งเป็นเครื่องให้คนปราศจากสัญญานั้นทั้งหมด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ได้กล่าวว่า ไม่รู้ แต่ภายหลังได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 444
กระทำตามพระดำรัสของพระองค์อย่างนั้นทีเดียว ข้าพระองค์นั้นถือสิกขาบท ๕ ในศาสนานี้ ปฏิบัติในธรรมของพระตถาคต ได้ไปยังทางสองแพร่ง ท่ามกลางพวกโจร พวกโจรเหล่านั้นฆ่าข้าพระองค์ที่ทางนั้นเพราะโภคะเป็นเหตุ.
ข้าพระองค์ระลึกถึงกุศลนี้เพียงเท่านี้ กุศลอื่นนอกจากนั้นของข้าพระองค์ไม่มี ด้วยกรรมอันสุจริตนั้น ข้าพระองค์จึงเกิดในหมู่เทวดาชาวไตรทิพย์ พรั่งพร้อมด้วยสิ่งที่ปรารถนา ขอพระองค์โปรดดูวิบากแห่งการสำรวมชั่วขณะครู่หนึ่ง ด้วยการปฏิบัติธรรมตามสมควร ซึ่งเหมือนรุ่งเรืองอยู่ด้วยยศ คนเป็นอันมากผู้มีกรรมต่ำทรามเพ่งดูข้าพระองค์ ก็นึกกระหยิ่ม โปรดดูเถิด ข้าพระองค์ถึงสุคติและถึงความสุขด้วยเทศนาเล็กน้อย ก็เหล่าสัตว์ผู้ที่ฟังธรรมของพระองค์ติดต่อกันเหล่านั้น เห็นทีจะสัมผัสพระนิพพานอันเป็นแดนเกษมเป็นแน่ กรรมที่ทำแม้น้อยก็มีวิบากใหญ่ไพบูลย์ เพราะธรรมของพระตถาคตแท้ๆ โปรดดูเถิด เพราะเป็นผู้ได้ทำบุญไว้ ฉัตตมาณพจึงเปล่งรัศมีสว่างตลอดแผ่นปฐพี เหมือนดังดวงอาทิตย์.
คนพวกหนึ่งประชุมปรึกษากันว่า กุศลนี้เป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 445
อย่างไร พวกเราจะประพฤติกุศลอะไร พวกเรานั้นได้ความเป็นมนุษย์แล้ว พึงปฏิบัติมนุษยธรรม มีศีล กันอยู่อีกทีเดียว พระศาสดาทรงมีอุปการะมาก ทรง อนุเคราะห์อย่างนี้ เมื่อข้าพระองค์ถูกโจรฆ่าชิงทรัพย์ ยังกลางวันแสกๆ อยู่เลย ข้าพระองค์นั้นเป็นผู้เข้าถึงพระผู้มีพระนามอันเป็นสัจจะ ขอพระองค์โปรดอนุเคราะห์เถิด พวกข้าพระองค์ทั้งหลายขอฟังธรรมอีก ชนเหล่าใดในศาสนานี้ละกามราคะ อนุสัย คือภวราคะ และโมหะ ละได้ขาด ซนเหล่านั้นย่อมไม่ต้องนอนในครรภ์ คือเกิดอีก เพราะถึงปรินิพพานดับทุกข์ เย็นสนิทแล้ว.
จบอัตตมาณวกวิมาน
อรรถกถาอัตตมาณวกวิมาน
ฉัตตมาณวกวิมาน มีคาถาว่า โย วทตํ ปวโร มนุเชสุ เป็นต้น. ฉัตตมาณวกวิมาณเกิดขึ้นอย่างไร?
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน กรุงสาวัตถี สมัยนั้น มีมาณพพราหมณ์ชื่อฉัตตะ เป็นบุตรที่ได้มาโดยยากของพราหมณ์คนหนึ่ง ในเสตัพยนคร มาณพนั้นเจริญวัยแล้ว บิดาส่งไปอุกกัฏฐนคร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 446
เรียนมนต์และฐานวิชาทั้งหลายในสำนักของพราหมณ์ชื่อโปกขรสาติ ไม่นานนักก็สำเร็จการศึกษาในศิลปพราหมณ์ เพราะเป็นคนมีปัญญาและไม่เกียจคร้าน เขากล่าวกะอาจารย์ว่า กระผมศึกษาศิลปะในสำนักของท่านอาจารย์แล้ว กระผมจะให้ทักษิณาค่าบูชาครูแก่ท่านอาจารย์อย่างไร อาจารย์กล่าวว่า ธรรมดาทักษิณาค่าบูชาครู ต้องพอเหมาะแก่ทรัพย์สมบัติของอันเตวาสิก เธอจงนำกหาปณะมาพันหนึ่ง ฉัตตมาณพกราบอาจารย์กลับไปเสตัพยนคร ไหว้บิดามารดา บิดามารดาก็ชื่นชมยินดีกระทำปฏิสันถารต้อนรับ เขาบอกความนั้นแก่บิดา กล่าวว่า โปรดให้ของที่ควรจะให้แก่ฉันเถิด ฉันจักให้ค่าบูชาครูในวันนี้แหละแล้วจักกลับมา บิดามารดา ล่าวกะเขาว่า ลูก วันนี้ค่ำแล้ว พรุ่งนี้ค่อยไป แล้วนำกหาปณะทั้งหลายออกมาผูกเป็นห่อแล้ววางไว้.
พวกโจรรู้เรื่องนั้น แอบอยู่ในป่าชัฏแห่งหนึ่ง ในทางที่ฉัตตมาณพจะไป ด้วยคิดว่า จักฆ่ามาณพแล้วชิงเอากหาปณะทั้งหลายเสีย.
เวลาใกล้รุ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากมหากรุณาสมาบัติ ทรงตรวจดูโลกอยู่ ทรงเห็นว่า ฉัตตมาณพจะดำรงอยู่ในสรณะและศีล เขาจักถูกพวกโจรฆ่าตายไปบังเกิดในเทวโลก มาจากเทวโลกกับวิมาน และบริษัทที่ประชุมกันในที่นั้นจะตรัสรู้ธรรม จึงเสด็จไปก่อนประทับนั่ง ณ โคนค้นไม้แห่งหนึ่ง ในทางเดินของมาณพ มาณพถือเอาทรัพย์ค่าบูชาอาจารย์ ไปจากเสตัพยนคร มุ่งหน้าไปอุกกัฏฐนคร เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งอยู่ในระหว่างทาง จึงเข้าไปเฝ้ายืนอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เธอจักไปไหน กราบทูลว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์จักไปอุกกัฏฐนคร เพื่อให้ทักษิณาค่าบูชาครูแก่โปกขรสาติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 447
พราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์ของข้าพระองค์ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มาณพ เธอรู้สรณะ ๓ และศีล ๕ หรือ เมื่อมาณพกราบทูลว่า ข้าพระองค์ไม่รู้สรณะ ๓ และศีล ๕ เหล่านั้นว่ามีและเป็นเช่นไร ทรงประกาศผลานิสงส์ของการถึงสรณะและการสมาทานศีล ๕ ว่า นี้เป็นเช่นนี้ แล้วตรัสว่า มาณพ เธอจงเรียนวิธีถึงสรณะก่อน มาณพทูลขอว่า สาธุ ข้าพระองค์จักเรียน ขอพระองค์โปรดตรัสบอกเถิด พระเจ้าข้า เมื่อทรงแสดงวิธีถึงสรณะโดยประพันธ์เป็นคาถาสมควรแก่อัธยาศัยของมาณพนั้น ได้ตรัสคาถา ๓ คาถาว่า
บรรดาผู้กล่าวสอนอยู่ [ศาสดา] ผู้ใดเป็นผู้ประเสริฐในมนุษย์ เป็นศากยมุนี เป็นภควา ผู้ทำกิจเสร็จแล้ว ถึงฝั่งแล้ว พรั่งพร้อมด้วยพละและวิริยะ เธอจงเข้าถึงผู้นั้น ผู้เป็นสุคต เป็นสรณะ เธอจงเข้าถึงพระธรรมที่สำรอกราคะ ไม่หวั่นไหว ไม่เศร้าโศก เป็นอสังขตธรรม ไม่ปฏิกูล ไพเราะ ซื่อตรง จำแนกไว้ดีนี้ เป็นสรณะ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวทานที่ถวายในท่านเหล่าใดว่ามีผลมาก ท่านเหล่านั้น คือ อริยบุคคลสี่คู่ เป็นบุคคลแปด ผู้แสดงธรรม เธอจงเข้าถึงพระสงฆ์นี้เป็นสรณะ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โย เป็นคำไม่กำหนดแน่. ด้วยบทว่า ตํ นี้ พึงทราบกำหนดแน่ของบทนั้น. บทว่า วทตํ แปลว่า ผู้กล่าวอยู่. บทว่า ปวโร แปลว่า ประเสริฐ อธิบายว่า สูงสุดของผู้กล่าวทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 448
คือประเสริฐในหมู่นักพูด. บทว่า มนุเชสุ เป็นการแสดงไขอย่างอุกฤษฏ์ เหมือนบทว่า สตฺถา เทวมนุสฺสานํ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ประเสริฐของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบ้าง ของพรหมทั้งหลายบ้าง ของเหล่าสัตว์ทั้งปวงบ้าง. อนึ่ง บทว่า มนุเชสุ ท่านกล่าวเพราะความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอุบัติในหมู่มนุษย์ในภพก่อน เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านจึงกล่าวว่า สกฺยมุนี. บทว่า สกฺยมุนี ความว่า ชื่อว่า สักยะ เพราะเป็นโอรสของราชตระกูลสักยะ ชื่อว่า มุนี เพราะประกอบด้วยกายโมเนยย (ความนิ่งทางกาย) เป็นต้น และเพราะรู้ไญยธรรมหมดสิ้นไม่เหลือเลย เหตุนั้นจึงชื่อว่า ศากยมุนี. ชื่อว่า ภควา เพราะเหตุ ๔ ประการ มีความเป็นผู้มีภาคยะเป็นต้น ชื่อว่า ทำกิจเสร็จแล้ว เพราะทำคือให้สำเร็จกิจ ๑๖ อย่าง ต่างโดยมีปริญญากิจเป็นต้น ที่จะต้องทำด้วยมรรค ๔ ชื่อว่า ปารคตะ (ถึงฝั่งแล้ว) เพราะถึงคือบรรลุด้วย ญาณของพระสยัมภู ผู้ตรัสรู้เองซึ่งฝั่ง คือฝั่งโน้นของสักกายะ ได้แก่ นิพพาน ชื่อว่า พรั่งพร้อมด้วยพละและวิริยะ เพราะประกอบด้วยพลังกายซึ่งไม่มีใครเหมือน ด้วยพลังญาณอันไม่สาธารณ์ทั่วไปแก่ผู้อื่น และด้วยความเพียรคือสัมมัปปธาน ๔ อย่าง ชื่อว่า สุคต เพราะเสด็จถึงฐานะที่ดี เพราะเสด็จไปโดยชอบ และเพราะตรัสโดยชอบ เธอจงถึง จงเข้าถึงซึ่งท่านผู้นั้น ผู้เป็นสุคต เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นสรณะ คือเป็นที่พึ่ง เป็นที่เป็นไปเบื้องหน้า เป็นที่ช่วยต่อต้านทุกข์ในอบายและทุกข์ในวัฏฏะ จำเดิมแต่วันนี้ไป เธอจงคบคือจงเสพว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ เป็นสรณะ เป็นที่ช่วยต่อต้าน เป็นที่เร้น เป็นที่ไปในเบื้องหน้า เป็นคติ เป็นที่พึ่งอาศัย ของเรา ดังนี้ ด้วยการกลับจากสิ่งที่ไม่เป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 449
ประโยชน์ ด้วยการพัฒนาเจริญแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ เธอจงรู้อย่างนี้ หรือจงคบหา [เสพ] เนื้อความมีดังนี้.
ท่านกล่าวอริยมรรค ด้วยบทว่า ราควิราคํ จริงอยู่ พระอริยะทั้งหลายย่อมสำรอกราคะแม้ที่อบรมมาตลอดกาลที่ไม่มีเบื้องต้น ด้วยอริยมรรคนั้น. บทว่า อเนญฺชมโสกํ ได้แก่ อริยผล จริงอยู่ อริยผลนั้น ท่านเรียกว่า อเนญชะ อโสกะ เพราะสงบตัณหากล่าวคือความอยากเหลือเกิน และกิเลสทั้งหลายที่มีความโศกเป็นนิมิตส่วนที่เหลือได้ โดยประการทั้งปวง. บทว่า ธมฺมํ ได้แก่ สภาวธรรมที่พึงถือเอา จริงอยู่ ธรรมที่พึงถือเอาโดยสภาวะนี้ ก็คือมรรคผลและนิพพาน ไม่พึงถือเอา โดยเป็นบัญญัติธรรม เหมือนอย่างปริยัติธรรม. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ธมฺมํ ได้แก่ ปรมัตถธรรม อธิบายว่า พระนิพพานที่ปัจจัยเป็นอันมากประชุมกันกระทำ ชื่อ สังขตะ. ชื่อ อสังขตะ เพราะปัจจัยเป็นอันมากประชุมกันทำมิได้ อสังขตะนั้นแหละ คือพระนิพพาน ชื่อว่าไม่เป็นที่ปฏิกูล เพราะเป็นที่ไม่มีสิ่งปฏิกูลแม้อะไรๆ ชื่อว่าไพเราะ เพราะปรารถนากันนักแม้ทุกเวลา ไม่ว่าเวลาฟัง เวลาสอบสวน เวลาปฏิบัติ ชื่อว่า ซื่อตรง เพราะทรงประกาศไว้ดี เหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศด้วยปฏิภาณสัมปทาที่มีพระสัพพัญญุตญาณเป็นที่พึ่งพาอาศัยและเพราะเป็นธรรมละเอียด อ่อน ชื่อว่า จำแนกไว้ดี เพราะจำแนกได้ด้วยดีซึ่งเนื้อความที่ควรจำแนก โดยเป็นขันธ์เป็นต้น โดยเป็นกุศลเป็นต้น และเป็นอุทเทสเป็นต้น ด้วยบททั้งสาม ก็ตรัสเฉพาะปริยัติธรรมเท่านั้น ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ จึงตรัสบทว่า อิมํ เพื่อทรงแสดงให้ประจักษ์ทั้งสองฝ่าย ต่อหน้าเขาซึ่งแม้กำลังฟังอยู่เหมือนที่พระองค์ตรัสอยู่ แม้ในเวลาที่โจรฆ่าชิงทรัพย์เหมือน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 450
เวลาเหตุการณ์มาปรากฏในพระญาณ. บทว่า ธมฺมํ ความว่า ชื่อว่าธรรม เพราะอรรถว่า ทรงไว้ซึ่งเหล่าสัตว์ผู้ปฏิบัติจริง ไม่ให้ตกไปสู่ทุกข์ในอบาย บทนี้เป็นคำทั่วไปแก่ธรรมทั้ง ๔ อย่าง จริงอยู่ ถึงปริยัติธรรมก็ทรงสัตว์ ไว้ไม่ให้ตกไปสู่ทุกข์ในอบาย เพราะการปฏิบัติจริง แม้เพียงดำรงอยู่ในสรณะและศีลทั้งหลาย และวิมานนี้แหละ พึงทราบว่า สาธกความข้อนี้ เพื่อทรงแสดงธรรมตามที่กล่าวแล้วให้ประจักษ์ชัดโดยภาวะทั่วๆ ไป จึงได้ตรัสว่า อิมํ อีก.
บทว่า ยตฺถ ได้แก่ ในอริยสงฆ์ใด. บทว่า ทินฺนํ ได้แก่ ไทยธรรมมีข้าวเป็นต้นที่บริจาคแล้ว. ในบทว่า ทินฺนมหปฺผลํ ท่านลบนิคหิตเพื่อสะดวกในการผูกคาถา ในคู่บุรุษสี่ ที่กล่าวไว้โดยคำเป็นต้นว่า พระโสดาบัน พระผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ดังนี้ ชื่อว่าผู้สะอาด เพราะหมดจดจากของไม่สะอาดคือกิเลสอย่างเด็ดขาดทีเดียว. บทว่า อฏฺ ได้แก่ บุคคลแปด เพราะกำหนดเป็นคนๆ โดยมิได้จัดท่านที่ตั้งอยู่ในมรรคกับท่านที่ตั้งอยู่ในผลเป็นคู่ๆ และในบทว่า ปุคฺคลธมฺมทสา นี้ ท่านทำให้สั้นแสดงไว้ ก็เพื่อสะดวกในการผูกคาถานั่นเอง. บทว่า ธมฺมทสา ได้แก่ ผู้เห็นธรรมคืออริยสัจ ๔ และธรรมคือนิพพานโดยประจักษ์ ชื่อว่าสงฆ์ เพราะเบียดเสียดไม่ใช่เสียดสีด้วยทิฏฐิสามัญญตา.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวิธีถึงสรณะพร้อมด้วยทรงชี้คุณของสรณะ ด้วยคาถา ๓ คาถาอย่างนี้แล้ว มาณพเมื่อจะประกาศวิธีถึงสรณะตั้งอยู่ในหทัยของตน โดยมุขคือระลึกถึงคุณของสรณะนั้นๆ ขึงน้อมรับคาถานั้นๆ โดยนัยเป็นต้นว่า โย วทตํ ปวโร ในลำดับแห่งคาถานั้นๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศสิกขาบท ๕ ทั้งโดยปฐมทั้งโดยผลานิสงส์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 451
ได้ตรัสวิธีสมาทานสิกขาบทเหล่านั้น แก่มาณพผู้น้อมรับอย่างนี้แล้ว มาณพนั้นทบทวนแม้วิธีสมาทานนั้นด้วยดี มีใจเลื่อมใส กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์จักไปละ แล้วระลึกคุณพระรัตนตรัย เดินไปตามทางนั้นเอง แม้พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระพุทธดำริว่า กุศลเพียงเท่านี้ของมาณพนี้ พอที่จะให้เกิดในเทวโลก แล้วได้เสด็จไปพระวิหารเชตวันอย่างเดิม.
เมื่อมาณพมีจิตเลื่อมใส ตั้งอยู่ในสรณะทั้งหลายด้วยความเป็นผู้มีจิตตุปบาทเป็นไปว่า ข้าพเจ้าเข้าถึงสรณะ ดังนี้ โดยกำหนดคุณพระรัตนตรัย และตั้งอยู่ในศีลทั้งหลาย ด้วยอธิฐานศีล ๕ ตามนัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้นั้นแล กำลังเดินระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยตามนัยนั่นแล พวกโจรก็กรูกันมาที่หนทาง มาณพไม่ใส่ใจพวกโจรเหล่านั้น เดินระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยอย่างเดียว โจรคนหนึ่งยืนซ่อนในระหว่างพุ่มไม้ เอาลูกธนูอาบยาพิษแทงอย่างฉับพลัน ทำให้เขาสิ้นชีวิต แล้วยึดห่อกหาปณะ หลีกไปพร้อมกับพวกสหายของตน ฝ่ายมาณพทำกาละแล้วตายไปบังเกิดในวิมานทอง ๓๐ โยชน์ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเหมือนหลับแล้วตื่นขึ้น มีอัปสรพันหนึ่งแวดล้อม มีอัตภาพประดับด้วยเครื่องประดับมีภาระ ๖๐ เล่มเกวียน รัศมีของวิมานนั้นแผ่ไปกว่า ๒๐ โยชน์.
ครั้งนั้น พวกมนุษย์ชาวเสตัพยนครเห็นมาณพทำกาละแล้ว จึงไปเสตัพยนคร บอกแก่บิดามารดาของมาณพนั้น พวกชาวบ้านอุกกัฏฐะก็ไปอุกกัฏฐนคร บอกแก่โปกขรสาติพราหมณ์ บิดามารดาของมาณพนั้น พวกญาติและมิตรและโปกขรสาติพราหมณ์พร้อมด้วยบริวารมีน้ำตาไหลอาบหน้าร้องไห้ไปประเทศนั้น ส่วนมากชาวเสตัพยะ ชาวอุกกัฏฐะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 452
และชาวอิจฉานังคละ ก็ได้ประชุมกัน.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระดำริว่า เมื่อเราไปฉัตตมาณพเทพบุตรจะมาพบเรา เราจักให้เขาผู้มาแล้วกล่าวถึงกรรมที่ทำไว้ ให้ทำผลแห่งกรรมให้ประจักษ์ แล้วเราจักแสดงธรรม มหาชนจักตรัสรู้ธรรมด้วยอาการอย่างนี้ ครั้นมีพระดำริแล้ว พร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่เสด็จเข้าไปยังประเทศนั้น ประทับนั่งเปล่งพระพุทธรังสีมีพรรณ ๖ ประการ ณ โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง ครั้งนั้น แม้ฉัตตมาณพเทพบุตรตรวจดูสมบัติของตน ทบทวนเหตุแห่งสมบัตินั้น เห็นการถึงสรณะและการสมาทานศีล เกิด ความประหลาดใจ เกิดความเลื่อมใสมากในพระผู้มีพระภาคเจ้า คิดว่า เราจักไปถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า และไหว้ภิกษุสงฆ์ในบัดนี้แหละ และจักทำคุณพระรัตนตรัยให้ปรากฏแก่มหาชน เทพบุตรอาศัยความเป็นผู้กตัญญู กระทำประเทศแห่งป่านั้นทั้งหมดให้มีแสงสว่างเป็นอันเดียวกัน มาพร้อมกับวิมาน ลงจากวิมาน ปรากฏองค์ให้เห็นพร้อมด้วยบริวารหมู่ใหญ่ เข้าไปหมอบถวายบังคมด้วยเศียรเกล้าแทบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วยืนประคองอัญชลีอยู่ มหาชนเห็นดังนั้นมีความประหลาดอัศจรรย์ว่า นี้ใครหนอ เทวดาหรือพรหมพากันเข้าแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงทำบุญกรรมที่เทพบุตรนั้นกระทำไว้ให้ปรากฏ ได้ตรัสไต่ถามเทพบุตรนั้นว่า
พระอาทิตย์ในท้องฟ้าก็ไม่สว่าง พระจันทร์ก็ไม่สว่าง ดาวฤกษ์ผุสสะก็ไม่สว่างเหมือนวิมานนี้ มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 453
รัศมีสว่างมาก ไม่มีที่เปรียบ ท่านเป็นใคร จากดาวดึงส์มาสู่แผ่นดิน รัศมีมีเกิน ๒๐ โยชน์ ตัดรังสีพระอาทิตย์ และทำกลางคืนให้เป็นเหมือนกลางวัน วิมานของท่านงามบริสุทธิ์ผุดผ่อง มีดอกปทุมมาก มีดอกบุณฑริกงามเกลื่อนกลาดไปด้วยดอกไม้ทั้งหลาย งามไม่น้อย คลุมด้วยข่ายทองที่ปราศจากละอองธุลี สว่างอยู่ในอากาศ เหมือนดวงอาทิตย์ วิมานของท่านบริบูรณ์ด้วยเหล่าอัปสรผู้ทรงผ้าแดงและผ้าเหลือง หอมตลบด้วยกฤษณา ประยงค์ และจันทน์ มีองค์และผิวพรรณเปล่งปลั่งดังทอง เหมือนท้องฟ้าเต็มไปด้วยดวงดาวทั้งหลาย ทวยเทพบุตรและเทพธิดาในวิมานนี้มีมาก หลายหลากวรรณะ มีอาภรณ์ ประดับด้วยดอกไม้ มีใจดี มีกรองทอง นุ่งห่มด้วยอาภรณ์ที่เป็นทอง โชยกลิ่นหอมลอยไปตามลม นี้เป็นวิบากแห่งการสำรวมอะไร ท่านเกิดในวิมานนี้ ด้วยผลแห่งกรรมอะไร และท่านได้วิมานนี้โดยวิธีใด ท่านถูกเราถามแล้ว เชิญบอกตามสมควรแก่วิธีนั้นด้วยเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตปติ แปลว่า ย่อมสว่าง. บทว่า นภสฺมึ แปลว่า ในอากาศ. บทว่า ผุสฺโส แปลว่า หมู่ดาวฤกษ์ผุสสะ. บทว่า อตุลํ แปลว่า ไม่มีที่เปรียบหรือประมาณไม่ได้ ท่านอธิบายคำนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 454
ไว้ว่า วิมานของท่านนี้ไม่มีที่เปรียบ ประมาณไม่ได้ สว่างมาก คือสว่างไปในอากาศ จากวิมานนั้นๆ แหละ เพราะผ่องใสฉันใด ดวงดาวทั้งหลายย่อมไม่สว่างเหมือนฉันนั้น พระจันทร์ก็ไม่สว่าง ดาวเหล่านั้นไม่ต้องพูดถึง แม้พระอาทิตย์ก็ยังไม่สว่างเท่า ท่านเป็นใครถึงได้เป็นอย่างนี้ จากเทวโลกมายังภูมิประเทศนี้ ขอจงบอกกล่าวแก่มหาชนนี้ ทำความข้อนั้นให้ปรากฏ.
บทว่า ฉินฺทติ แปลว่า ตัดขาด ความว่า ต่อต้านไม่ให้เป็นไป. บทว่า รํสี แปลว่า รัศมีทั้งหลาย. บทว่า ปภงฺกรสฺส แปลว่า ของดวงอาทิตย์ ก็รัศมีของวิมานนั้นแผ่ไปโดยรอบ ๒๕ โยชน์ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า สาธิกวีสติโยชนานิ อาภา ดังนี้. บทว่า รตฺติมฺปิ จ ยถา ทิวํ กโรติ ความว่า วิมานของท่านกำจัดความมืดด้วยรัศมีของตน ทำแม้ภาคราตรีให้เป็นเหมือนภาคกลางวัน ชื่อว่า บริสุทธิ์ เพราะสะอาดทั้งภายในและภายนอก โดยรอบๆ ชื่อว่า ผุดผ่อง เพราะไม่มีมลทินโดยประการทั้งปวง ชื่อว่า งาม เพราะดี.
บทว่า พหุปทุมวิจิตฺรปุณฺฑรีกํ ได้แก่ ดอกบัวแดงหลายอย่างมากมาย และดอกบัวขาวมีสีงดงาม อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ดอกบัวขาว ชื่อว่าปทุม ดอกบัวแดงชื่อว่า บุณฑริก. บทว่า โวกิณฺณํ กุสุเมหิ ความว่า เกลื่อนไปด้วยดอกไม้อื่นๆ นานาชนิด. บทว่า เนกจิตฺตํ ความว่า งามอย่างต่างๆ ด้วยมาลากรรมและลดากรรมเป็นต้น. บทว่า อรชวิรชเหม ชาลจฺฉนฺนํ ความว่า ปราศจากละอองเอง และคลุมด้วยข่ายทองที่ปราศจากธุลี ไม่มีโทษ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 455
บทว่า รตฺตกมฺพลปีตวาสสาหิ แปลว่า ด้วยผ้าแดงทั้งหลาย และด้วยผ้าเหลืองทั้งหลาย จริงอยู่ เทพธิดาองค์หนึ่งนุ่งห่มผ้าทิพย์สีแดง ย่อมทำให้ผ้าทิพย์สีเหลือง เหลืองยิ่งขึ้น อีกองค์หนึ่งนุ่งห่มผ้าทิพย์สีเหลือง ย่อมทำให้ผ้าทิพย์สีแดง แดงยิ่งขึ้น ท่านหมายความดังนั้น จึงกล่าวว่า รตฺตกมฺพลปีตวาสสาหิ ดังนี้. บทว่า อครุปิยงฺคุจนฺทนุสฺสทาหิ ความว่า หอมฟุ้งด้วยกลิ่นกฤษณา ด้วยดอกประสงค์ และด้วยกลิ่นจันทน์ทั้งหลาย อธิบายว่า อบอวลไปด้วยกลิ่นกฤษณาอันเป็นทิพย์เป็นต้น. บทว่า กญฺจนตนุนฺนิภตฺตจาหิ แปลว่า มีผิวละเอียดอ่อนคล้ายทอง. บทว่า ปริปูรํ ความว่า เต็มไปด้วยเทพธิดาผู้เที่ยวไปในที่นั้นๆ และขับร้องเสียงประสาน.
บทว่า พหุเกตฺถ แปลว่า ในวิมานนี้มาก. บทว่า อเนกวณฺณา แปลว่า มีรูปต่างๆ. บทว่า กุสุมวิภูสิตาภรณา ความว่า มีทิพยาภรณ์ประดับด้วยดอกไม้ทิพย์ทั้งหลาย เพื่อโชยกลิ่นหอมเป็นพิเศษ. บทว่า เอตฺถ แปลว่า ในวิมานนี้. บทว่า สุมนา แปลว่า มีใจดี คือมีจิตเบิกบาน. บทว่า อนิลปมุญฺจิตา ปวนฺติ สุรภึ ความว่า ย่อมโชยกลิ่น หอมของดอกไม้ทั้งหลายที่มีกลิ่นลอยไปตามลม เพราะเป็นดอกไม้แก่และบานแล้ว เหมือนพวงกลีบหลุดด้วยลม อาจารย์บางท่านกล่าวว่า อนิลปธูปิตา อันลมขจัดแล้วดังนี้ก็มี ความว่า ดอกไม้ทองถูกลมพัดแผ่วๆ ชื่อว่า มีกรองทอง เพราะเครื่องประดับมีเปลือกไม้ทองเป็นต้นแผ่ไปที่ช้องผมเป็นต้น ชื่อว่า นุ่งห่มด้วยอาภรณ์ที่เป็นทอง เพราะมีสรีระปกปิดด้วยอาภรณ์อันเป็นทองโดยมาก ด้วยบทว่า นรนาริโย ทรงแสดงว่า ในวิมานของท่านนี้มีเทพบุตรและเทพธิดามาก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 456
บทว่า อิงฺฆ เป็นนิบาต ในอรรถว่า เตือน. บทว่า ปุฏฺโ แปลว่า อันเราถามแล้ว อธิบายว่า เพื่อผลกรรมประจักษ์ชัดแก่มหาชนนี้.
ลำดับนั้น เทพบุตรได้พยากรณ์ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า
พระศาสดาเสด็จมาพบมาณพในทางนี้ด้วยพระองค์เอง เมื่อทรงอนุเคราะห์ ได้ตรัสสอนแล้ว ฉัตตมาณพฟังธรรมของพระองค์ผู้เป็นรัตนะอันประเสริฐ ได้กราบทูลว่า ข้าพระองค์จักกระทำตามพระองค์ตรัสสอนว่า เธอจงเข้าถึงพระชินวรผู้ประเสริฐ ทั้งพระธรรมและภิกษุสงฆ์ เป็นสรณะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ได้กล่าวว่า ไม่รู้ แต่ภายหลังได้กระทำตามพระดำรัสของ พระองค์อย่างนั้นทีเดียว พระองค์ตรัสสอนว่า จงอย่าฆ่าสัตว์ อย่าประพฤติกรรมไม่สะอาดต่างๆ ผู้มีปัญญาทั้งหลายไม่สรรเสริญความไม่สำรวมในสัตว์ทั้งหลายเลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ได้กล่าวว่า ไม่รู้ แต่ภายหลังได้กระทำตามพระดำรัสของพระองค์อย่างนั้นทีเดียว พระองค์ตรัสสอนว่า อย่าเป็นผู้มีความสำคัญของที่เจ้าของมิได้ให้ แม้ที่ชนอื่นรักษาไว้ว่าเป็นของควรถือเอา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ได้กล่าวว่า ไม่รู้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 457
แต่ภายหลังได้กระทำตามพระดำรัสของพระองค์อย่างนั้นทีเดียว พระองค์ตรัสสอนว่า อย่าได้ล่วงเกินภริยาของคนอื่นที่คนอื่นรักษา นั่นเป็นสิ่งไม่ประเสริฐ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ได้กล่าวว่า ไม่รู้ แต่ภายหลังได้กระทำตามพระดำรัสของพระองค์อย่างนั้นทีเดียว พระองค์ตรัสสอนว่า อย่าได้กล่าว เรื่องจริงเป็นเท็จ ผู้มีปัญญาทั้งหลายไม่สรรเสริญมุสาวาทเลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ได้กล่าวว่า ไม่รู้ แต่ภายหลังได้กระทำตามพระดำรัส ของพระองค์อย่างนั้นทีเดียว พระองค์ตรัสสอนว่า จงงดเว้นน้ำเมาซึ่งเป็นเครื่องให้คนปราศจากสัญญานั้นทั้งหมด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ได้ กล่าวว่า ไม่รู้ แต่ภายหลังได้กระทำตามพระดำรัสของพระองค์อย่างนั้นทีเดียว ข้าพระองค์นั้นถือสิกขาบท ๕ ในศาสนานี้ ปฏิบัติในธรรมของพระตถาคตได้ไปยังทางสองแพร่ง ท่ามกลางพวกโจร พวกโจรเหล่านั้นฆ่าข้าพระองค์ ที่ทางนั้น เพราะโภคะเป็นเหตุ ข้าพระองค์ระลึกถึงกุศลนี้เพียงเท่านี้ กุศลอื่นนอกจากนั้น ของข้าพระองค์ไม่มี ด้วยกรรมอันสุจริตนั้น ข้าพระองค์จึงเกิดในหมู่เทวดาชาวไตรทิพย์ พรั่งพร้อมด้วยสิ่งที่น่าปรารถนา ขอพระองค์โปรดดูวิบากแห่งการสำรวมชั่วขณะครู่หนึ่ง ด้วยการปฏิบัติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 458
ธรรมตามสมควร ซึ่งเหมือนรุ่งเรืองอยู่ด้วยยศ คนเป็นอันมากผู้มีกรรมต่ำทรามเพ่งดูข้าพระองค์ ก็นึกกระหยิ่ม โปรดดูเถิด ข้าพระองค์ถึงสุคติ และถึงความสุข ด้วยเทศนาเล็กน้อย ก็เหล่าสัตว์ผู้ที่ฟังธรรมของพระองค์ติดต่อกันเหล่านั้น เห็นทีจะสัมผัสพระนิพพานอันเป็นแดนเกษมเป็นแน่ กรรมที่ทำแม้น้อย ก็มีวิบากใหญ่ไพบูลย์ เพราะธรรมของพระตถาคตแท้ๆ โปรดดูเถิด เพราะเป็นผู้ได้ทำบุญไว้ ฉัตตมาณพจึงเปล่งรัศมีสว่างตลอดแผ่นปฐพี เหมือนดังดวงอาทิตย์ คนพวกหนึ่งประชุมปรึกษากันว่า กุศลนี้เป็นอย่างไร พวกเราจะประพฤติกุศลอะไร พวกเรานั้นได้ความเป็นมนุษย์แล้ว พึงปฏิบัติมนุษยธรรม มีศีลกันอยู่อีกทีเดียว พระศาสดาทรงมีอุปการะมาก ทรงอนุเคราะห์อย่างนี้ เมื่อข้าพระองค์ถูกโจรฆ่าชิงทรัพย์ ยังกลางวันแสกๆ อยู่เลย ข้าพระองค์นั้นเป็นผู้เข้าถึงพระผู้มีพระนามอัน เป็นสัจจะ ขอพระองค์โปรดอนุเคราะห์เถิด พวกข้าพระองค์ทั้งหลายขอฟังธรรมอีก ชนเหล่าใดในศาสนานี้ละกามราคะ อนุสัย คือภวราคะ และโมหะ ละได้ขาด ชนเหล่านั้นย่อมไม่ต้องนอนในครรภ์ คือ เกิดอีก เพราะถึงปรินิพพานดับทุกข์ เย็นสนิทแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 459
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สยมิธ ปเถ สเมจฺจ มาณเวน ความว่า มาประชุมกัน คือร่วมกันกับมาณพกุมารพราหมณ์ ผู้เข้าไปหาเองทีเดียว ในที่นี้ที่ทางนี้ คือที่ทางใหญ่นี้ ประกอบบทว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า ศาสดา เพราะทรงสั่งสอนเหล่าสัตว์ด้วยทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ สัมปรายิกัตถประโยชน์และปรมัตถประโยชน์ ตามควร ทรงเอ็นดูอนุเคราะห์สั่งสอนมาณพใดตามธรรม มาณพนั้นชื่อฉัตตะ คือมาณพที่ชื่อว่าฉัตตะ กล่าวแล้วกราบทูลแล้วว่า ข้าพระองค์ฟังธรรมนั้นของพระองค์ผู้เป็นรัตนะอันประเสริฐ คือของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นรัตนะชั้นเลิศ จักกระทำตามธรรมนั้น คือปฏิบัติตามที่ทรงสั่งสอน ดังนี้อย่างนี้.
เทพบุตรแสดงกรรมตามที่ถูกถามโดยเหตุการณ์อย่างนี้แล้ว เมื่อแสดงกรรมนั้นทั้งรวมๆ ทั้งแยกเป็นส่วนๆ จึงกล่าวว่า ชินวรปวรํ เป็นต้น เพื่อแสดงว่าตนถูกพระศาสดาทรงชักชวน และที่ตนตั้งมั่นในสรณะและศีลนั้นภายหลัง. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โนติ ปมํ อโวจหํ ภนฺเต ความว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ข้าพระองค์ถูกพระองค์ตรัสถามว่า เธอรู้สรณคมน์หรือ ทีแรกได้กราบทูลว่า ไม่ คือ ไม่รู้. บทว่า ปจฺฉา เต วจนํ ตเถวกาสึ ความว่า ภายหลังข้าพระองค์ เมื่อทบทวนพระดำรัสก็ได้กระทำคือปฏิบัติตามพระดำรัสของพระองค์อย่างนั้นทีเดียว อธิบายว่า ได้เข้าถึงสรณะทั้งสาม.
บทว่า วิวิธํ ได้แก่ สูงและต่ำ ความว่า มีโทษน้อยและมีโทษมาก. บทว่า มาจรสฺสุ ได้แก่ อย่าได้กระทำ. บทว่า อสุจึ ได้แก่ ไม่สะอาด เพราะเจือปนด้วยของไม่สะอาดคือกิเลส. บทว่า ปาเณสุ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 460
อสญฺตํ ได้แก่ ไม่งดเว้นจากการฆ่าสัตว์. บทว่า น หิ อวณฺณยึสุ ได้แก่ ในปัจจุบันก็ไม่สรรเสริญ ความจริง บทนี้เป็นคำอดีตกาล ลงในอรรถปัจจุบันกาล อีกอย่างหนึ่ง คำว่า อวณฺณยึสุ เป็นกำหนดกาลทั้งสิ้นแต่โดยเอกเทศ เพราะฉะนั้น ท่านจึงอธิบายว่า ไม่สรรเสริญมาแล้วในอดีตกาลฉันใด ก็ไม่สรรเสริญอยู่ในปัจจุบันกาล จักไม่สรรเสริญ แม้ในอนาคตกาลฉันนั้น.
บทว่า ปรชนสฺส รกฺขิตํ ได้แก่ ของที่เจ้าของหวงแหน เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อทินฺนํ เขาไม่ให้. บทว่า มา อคมา แปลว่า อย่าล่วงละเมิด. บทว่า วิตถํ ได้แก่ ไม่แท้ อธิบายว่า เท็จ. บทว่า อญฺถา แปลว่า โดยประการอื่นเทียว อธิบายว่า มีความสำคัญว่าไม่แท้ คือรู้อยู่ว่าไม่แท้อย่างนี้ อย่าได้กล่าวอย่างนี้.
บทว่า เยน ได้แก่ เพราะน้ำเมาใด อธิบายว่า ที่ดื่มเข้าไป บทว่า อเปติ แปลว่า ไปปราศ. บทว่า สญฺา ได้แก่ ธรรมสัญญา หรือโลกสัญญานั่นเอง. บทว่า สพฺพํ ความว่า ไม่เหลือเลย ตั้งแต่พืช.
บทว่า สฺวาหํ ความว่า ข้าพระองค์ คือเป็นฉัตตมาณพครั้งนั้น. บทว่า อิธ ได้แก่ ในที่แห่งทางนี้. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อิธ ได้แก่ ในศาสนาของพระองค์นี้ เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวว่า ตถาคตสฺส ธมฺเม. บทว่า ปญฺจ สิกฺขา ได้แก่ สิกขาบท ๕. บทว่า กริตฺวา ความว่า ถือ คืออธิษฐาน. บทว่า เทฺวปถํ ได้แก่ ทางที่อยู่กลางเขตบ้าน ๒ ตำบล อธิบายว่า ทางระหว่างเขต. บทว่า เต ได้แก่ พวกโจรเหล่านั้น. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ตรงทางระหว่างเขตนั้น. บทว่า โภคเหตุ ได้แก่ เพราะเห็นแก่อามิส.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 461
ความว่า ไม่มี คือไม่ได้กุศลอื่น นอกเหนือไปจากนั้น คือจากกุศลตามที่กล่าวแล้ว ที่ข้าพระองค์ระลึกได้. บทว่า กามกามี แปลว่า พรั่งพร้อมด้วยกามคุณตามที่ปรารถนา.
บทว่า ขณมุหุตฺตสญฺมสฺส ได้แก่ รักษาศีลชั่วขณะครู่เดียว. บทว่า อนุธมฺมปฏิปตฺติยา ความว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์โปรดดูวิบากของบุคคลผู้ปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่ผลตามที่ได้บรรลุแล้ว อีกอย่างหนึ่ง ขอพระองค์โปรดดูวิบากแห่งการถึงสรณะ และแห่งการสมาทานศีล ด้วยการปฏิบัติธรรมอันสมควรแก่ธรรม คือโอวาทของพระองค์ โดยทำนองที่กล่าวแล้วนั่นแล. บทว่า ชลมิว ยสสา ความว่า เหมือนรุ่งเรืองอยู่ด้วยฤทธิ์และด้วยปริวารสมบัติ. บทว่า สเมกฺขมานา แปลว่า เห็นอยู่. บทว่า พหุกา แปลว่า มาก. บทว่า ปิหยนฺติ ความว่า ย่อมปรารถนาว่า ทำอย่างไรหนอพวกเราถึงจะเป็น เช่นนี้. บทว่า หีนกมฺมา ความว่า มีโภคะเลวกว่าสมบัติของเรา.
บทว่า กติปยาย แปลว่า น้อย. บทว่า เย ได้แก่ ภิกษุทั้งหลายด้วย อุบาสกเป็นต้นด้วยเหล่าใด จ ศัพท์ลงในอรรถพยติเรก. บทว่า เต แปลว่า ของพระองค์. บทว่า สตตํ ได้แก่ ทุกๆ วัน.
บทว่า วิปุลํ ได้แก่ ผลโอฬาร อานุภาพไพบูลย์. บทว่า ตถาคตสฺส ธมฺเม ประกอบความว่า ตั้งอยู่ในโอวาทคำสอนของพระตถาคตกระทำตามแล้ว. เนื้อความที่กล่าวไว้ในได้ยกอะไรแสดงเลยอย่างนี้ เทพบุตรเมื่อแสดงโดยยกตนขึ้นแสดง จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ปสฺส ดังนี้. ด้วยคำว่า ปสฺส ในคำนั้น เทพบุตรกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า อีกอย่างหนึ่ง กล่าวถึงตนเองนั่นแหละ แต่ทำเหมือนเป็นผู้อื่น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 462
บทว่า กิมิทํ กุสลํ กิมาจเรม ความว่า ธรรมดาว่ากุศลนี้มีสภาพย่างไร คือเป็นเช่นไร อีกอย่างหนึ่ง พวกเราพึงประพฤติกุศลนั้นอย่างไร. บทว่า อิจฺเจเก หิ สเมจฺจ มนฺตยนฺติ ความว่า คนพวกหนึ่งมาประชุม คือมาร่วมกันปรึกษา คือวิจารณ์ว่าทำได้แสนยากเหมือนพลิกแผ่นดิน และเหมือนยกเขาสินรุ [พระสุเมรุ] อธิบายว่า แต่พวกเราพึงประพฤติกันได้อีกโดยไม่ยากเย็นเลย เพราะเหตุนั้นแหละเทพบุตรจึงกล่าวว่า มยํ เป็นต้น.
บทว่า พหุกาโร แปลว่า มีอุปการะมาก หรือมีอุปการะใหญ่. บทว่า อนุกมฺปิโก ได้แก่ มีความกรุณา ม อักษรทำหน้าที่เชื่อมบท. บทว่า อิติ แปลว่า อย่างนี้เทพบุตรกล่าวหมายถึงอาการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปฏิบัติในตน. บทว่า เม สติ ความว่า เมื่อข้าพระองค์มี คือมีอยู่ถูกพวกโจรฆ่าทีเดียว. บทว่า ทิวา ทิวสฺส แปลว่า กลางวันแม้ของวัน อธิบายว่า ยังกลางวันอยู่. บทว่า สฺวาหํ ได้แก่ ข้าพระองค์ผู้เป็นฉัตตมาณพนั้น. บทว่า สจฺจนามํ ความว่า ผู้มีพระนามไม่เท็จ คือมีพระนามที่เป็นจริง โดยพระนามว่า ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้น. บทว่า อนุกมฺปสฺสุ แปลว่า โปรดอนุเคราะห์. บทว่า ปุนปิ ความว่า พึง ฟังแม้ยิ่งๆ ขึ้น อธิบายว่า พึงฟังธรรมของพระองค์.
เทพบุตรตั้งอยู่ในความเป็นผู้กตัญญู เมื่อแสดงความไม่อิ่มด้วยดี ด้วยการเข้าไปใกล้ และด้วยการฟังธรรม จึงกล่าวคำนั้นทั้งหมด ด้วยประการฉะนี้ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูอัธยาศัยของเทพบุตร และบริษัทที่ประชุมกันในที่นั้นแล้วทรงแสดงอนุปุพพิกถา ทรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 463
ทราบว่าชนเหล่านั้นมีจิตสงบ จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่ทรงยกขึ้นแสดงเอง (อริยสัจ) จบเทศนา เทพบุตรและบิดามารดาตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลและมหาชนหมู่ใหญ่ได้ตรัสรู้ธรรม.
เทพบุตรตั้งอยู่ในปฐมผล เมื่อประกาศความเคารพหนักของตนในมรรคชั้นสูง และความที่การบรรลุมรรคนั้นมีอานิสงส์มาก จึงกล่าวคาถาสุดท้ายว่า เย จิธ ปชหนฺติ กามราคํ ดังนี้ เนื้อความของคาถานั้นว่า ชนเหล่าใดดำรงอยู่ในศาสนานี้ ย่อมละ คือย่อมถอนกามราคะได้ขาดไม่เหลือเลย ชนเหล่านั้นย่อมไม่ต้องนอนในครรภ์อีก เพราะถอนโอรัมภาคิยสังโยชน์ [สังโยชน์เบื้องต่ำได้แล้ว] อนึ่ง ชนเหล่าใดละโมหะ คือ เพิกถอนโดยประการทั้งปวง ชื่อว่าละภวราคานุสัยได้ด้วย จึงไม่มีคำที่จะ ต้องกล่าวว่า ชนเหล่านั้นย่อมต้องนอนในครรภ์อีก ดังนี้ เพราะเหตุไร. เพราะถึงปรินิพพานดับทุกข์ เป็นผู้เย็นสนิทแล้ว. จริงอยู่ ชนเหล่านั้นเป็นอุดมบุรุษถึงปรินิพพานดับทุกข์ ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ดังนั้น จึงเป็นผู้เย็นสนิทแล้ว เพราะความเร่าร้อนทุกอย่างที่สัตว์ทั้งปวงเสวยสิ้นสุดไปในปรินิพพานนั้นนั่นเอง.
เทพบุตรเมื่อประกาศความที่ตนถึงกระแสอริยะแล้ว จับเอายอดเทศนาด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำประทักษิณแล้วแสดงความนับถือแก่ภิกษุสงฆ์ ลาบิดามารดาแล้วกลับเทวโลกอย่างเดิม แม้พระศาสดาทรงลุกจากพุทธอาสน์แล้ว เสด็จไปพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ บิดามารดาของมาณพ โปกขรสาติพราหมณ์และมหาชนทั้งหมด ส่งเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วพากันกลับ พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 464
เสด็จไปพระวิหารเชตวัน ตรัสวิมานนี้โดยพิสดารแก่บริษัทที่ประชุมกัน เทศนานั้นได้เป็นประโยชน์แก่มหาชนแล.
จบอรรถกถาฉัตตมาณวกวิมาน