[เล่มที่ 51] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 200
เถรคาถา ทุกนิบาต
วรรคที่ ๕
๓. พรหมาลิเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระพรหมาลิเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 51]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 200
๓. พรหมาลิเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระพรหมาลิเถระ
[๓๐๐] ได้ยินว่า พระพรหมาลิเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
อินทรีย์ของใครถึงความสงบแล้ว เหมือนม้าอันนายสารถีฝึกดีแล้ว แม้เทวดาทั้งหลาย ย่อมรักใคร่ต่อผู้นั้น ผู้มีมานะอันละแล้ว ไม่มีอาสวะ ผู้คงที่ อินทรีย์ทั้งหลายของเราก็ถึงความสงบแล้ว เหมือนม้าอันนายสารถีฝึกดีแล้ว แม้เทวดาทั้งหลายก็พากันรักใคร่ต่อเรา ผู้มีมานะอันละแล้ว ไม่มีอาสวะ ผู้คงที่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 201
อรรถกถาพรหมาลิเถรคาถา
คาถาของท่านพระพรหมาลิเถระ เริ่มต้นว่า กสฺสินฺทฺริยานิ สมลงฺคตานิ. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ทั้งหลาย สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้นๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า วิปัสสี บรรลุนิติภาวะแล้ว วันหนึ่ง เห็นพระศาสดาเสด็จเที่ยวไปบิณฑบาต มีใจเลื่อมใส ถวายบังคมแล้วได้ถวายผลมะม่วงกะล่อนทอง. พระศาสดาทรงกระทำอนุโมทนาแล้วเสด็จหลีกไป.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดในตระกูลพราหมณ์ แคว้นโกศล ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า พรหมาลี บรรลุนิติภาวะแล้ว อันเหตุสมบัติตักเตือนอยู่ เกิดความสลดใจในสงสาร บวชในพระพุทธศาสนา โดยอาศัยกัลยาณมิตรเช่นนั้น เรียนกรรมฐานที่เหมาะสม อยู่ในป่า เจริญวิปัสสนาแล้ว ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ต่อกาลไม่นานนัก เพราะความที่ตนเป็นผู้มีญาณแก่กล้าแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าว ไว้ในอปทานว่า
เราได้ถวายผลมะม่วงกะล่อนทอง แด่พระสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระฉวีวรรณเหมือนดังทองคำ ผู้สมควรรับเครื่องบูชา กำลังเสด็จดำเนินอยู่ในถนน ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 202
ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำ สอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระเป็นผู้มีอภิญญา ๖ แล้ว ยังกาลเวลาให้ล่วงไปด้วยความสุข อันเกิดแต่มรรค และด้วยความสุขอันเกิดแต่ผล วันหนึ่ง เมื่อจะกำหนดการประกอบความเพียร อันพระเถระผู้กำหนดความเพียรกล่าวไว้ เจาะจงเฉพาะภิกษุทั้งหลาย (ผู้อยู่) ในราวป่านั้น ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า
อินทรีย์ของใครถึงความสงบแล้ว เหมือนม้าอันนายสารถีฝึกดีแล้ว แม้เทวดาทั้งหลาย ย่อมรักใคร่ต่อผู้นั้น ผู้มีมานะอันละแล้ว ไม่มีอาสวะ ผู้คงที่ อินทรีย์ทั้งหลายของเราก็ถึงความสงบแล้ว เหมือนม้าอันนายสารถีฝึกดีแล้ว แม้เทวดาทั้งหลายก็พากันรักใคร่ต่อเรา ผู้มีมานะอันละแล้ว ไม่มีอาสวะเป็นผู้คงที่ ดังนี้.
คาถาทั้งสองนั้น มีอธิบายว่า เมื่อภิกษุทั้งหลายอยู่กันในราวป่านี้ อินทรีย์ทั้งหลายมีใจเป็นที่ ๖ ของใคร คือ ของภิกษุผู้เป็นเถระ หรือนวกะ หรือมัชฌิมะ ถึงความสงบ คือความเป็นอินทรีย์ที่ฝึกแล้ว ได้แก่ ความเป็นอินทรีย์ที่หมดพยศ เหมือนม้าอัสดรที่ถูกนายสารถีผู้ฉลาดฝึกแล้ว ฉะนั้น. แม้เทวดาก็กระหยิ่ม แม้มนุษย์ทั้งหลายก็ปรารถนาดี โดยการแสดงสัมมาปฏิบัติ เป็นต้น ต่อใคร คือผู้ชื่อว่ามีมานะอันละได้แล้ว เพราะละมานะมี ๙ อย่างได้ แล้วตั้งอยู่ ผู้ชื่อว่าไม่มีอาสวะ เพราะไม่มีอาสวะแม้ทั้ง ๔ อย่าง ผู้ชื่อว่าคงที่ ด้วยการปฏิบัติลักษณะของผู้คงที่ในอิฏฐารมณ์เป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 203
ก็โดยกึ่งหนึ่งของบาทแรกในคาถานั้น พระเถระถามถึงการบรรลุพระอนาคามิมรรค อธิบายว่า อินทรีย์ทั้งหลายแม้ของพระอนาคามี ย่อมชื่อว่า ถึงความสงบ คือหมดพยศ เพราะละกามราคะและพยาบาทได้แล้ว. การได้เฉพาะซึ่งพระอรหัตตมรรคย่อมมี ด้วยบาทคาถานอกนี้ เพราะว่า พระอรหันต์ ท่านเรียกว่า เป็นผู้ละมานะได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ และเป็นผู้คงที่.
ครั้งนั้น ท่านพระพรหมาลิเถระ กล่าวย้ำคาถามีอาทิว่า กสฺสินฺทฺริยานิ ซึ่งพระเถระผู้กำหนดความเพียรกล่าวไว้แล้ว เมื่อจะวิสัชนาความแห่งคาถานั้น ด้วยสามารถแห่งการน้อมเข้ามาในตน จึงพยากรณ์พระอรหัตตผล ด้วยคาถาที่ ๒ มีอาทิว่า มยฺหินฺทฺริยานิ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มยฺหินฺทฺริยานิ ได้แก่ อินทรีย์มีจักษุเป็นต้นของเรา. บทที่เหลือมีนัยดังข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วทั้งนั้น.
จบอรรถกถาพรหมาลิเถรคาถา