๑๐. เทวทัตตสูตร ว่าด้วยพระเทวทัตเยียวยาไม่ได้เพราะอสัทธรรม ๓
โดย บ้านธัมมะ  10 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40114

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 548

ติกนิบาต

วรรคที่ ๔

๑๐. เทวทัตตสูตร

ว่าด้วยพระเทวทัตเยียวยาไม่ได้เพราะอสัทธรรม ๓


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 548

๑๐. เทวทัตตสูตร

ว่าด้วยพระเทวทัตเยียวยาไม่ได้เพราะอสัทธรรม ๓

[๒๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเทวทัตผู้อันอสัทธรรม ๓ ประการ ครอบงำย่ำยีจิตแล้ว เป็นผู้เกิดในอบาย เกิดในนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป เยียวยา ไม่ได้ อสัทธรรม ๓ ประการเป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเทวทัต ผู้อันความเป็นผู้มีความปรารถนาลามกครองงำย่ำยีจิตแล้ว เป็นผู้เกิดในอบาย เกิดในนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป เยียวยาไม่ได้ พระเทวทัตผู้อันความเป็นผู้มีมิตร


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 549

ชั่วครอบงำย่ำยีจิตแล้ว เป็นผู้เกิดในอบาย เกิดในนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป เยียว ยาไม่ได้ ก็เมื่อมรรคและผลที่ควรการทำให้ยิ่งมีอยู่ พระเทวทัตถึงความพินาศ เสียในระหว่าง เพราะการบรรลุคุณวิเศษมีประมาณเล็กน้อย ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย พระเทวทัตผู้อันอสัทธรรม ๓ ประการนี้แล ครอบงำย่ำยีจิตแล้ว เป็น ผู้เกิดในอบาย เกิดในนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป เยียวยาไม่ได้.

ขอใครๆ อย่าได้เป็นผู้มีความ ปรารถนาลามก อุบัติในโลกเลย คติของ บุคคลผู้มีความปรารถนาลามกเช่นไรท่าน ทั้งหลายจงรู้คติเช่นนั้นด้วยเหตุแม้นี้ เรา ได้สดับมาแล้วว่า พระเทวทัต โลกรู้กัน ว่า เป็นบัณฑิต ยกย่องกันว่า มีตนอัน อบรมแล้ว ดุจรุ่งเรืองอยู่ด้วยยศ ดำรงอยู่ แล้ว พระเทวทัตนั้นประพฤติตามความ ประมาท เบียดเบียนพระตถาคตพระองค์ นั้น ถึงอเวจีนรกอันมีประตู ๔ น่าพึงกลัว ก็ผู้ใดพึงประทุษร้ายต่อบุคคลผู้ไม่ประทุษ ร้ายผู้ไม่กระทำกรรมอันลามก ผลอันลามก ย่อมถูกต้องผู้นั้นแล ผู้มีจิตประทุษร้าย ผู้ ไม่เอื้อเฟื้อ ผู้ใดพึงสำคัญสมุทรว่าจะประทุษร้ายได้ด้วยหม้อยาพิษ (หม้อเดียว) ผู้ นั้นพึงประทุษร้ายด้วยหม้อยาพิษนั้นไม่ได้ เพราะว่าสมุทรที่น่ากลัว ใหญ่มากฉันใด


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 550

ผู้ใดย่อมเบียดเบียนพระตถาคต ผู้ดำเนิน ไปโดยชอบมีจิตสงบระงับ ด้วยความ ประทุษร้าย ความประทุษร้ายย่อมไม่งอก งามในพระตถาคตพระองค์นั้น ฉันนั้น ภิกษุผู้ดำเนินไปตามทางของพระพุทธเจ้า หรือของพระสาวก ของพระพุทธเจ้าใด พึงถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์ ภิกษุผู้เป็น บัณฑิต พึงกระทำ ผู้เช่นนั้น ให้เป็น มิตร และพึงส้องเสพผู้นั้น.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบเทวทัตตสูตรที่ ๑๐

จบวรรคที่ ๔

อรรถกถาเทวทัตตสูตร

ในเทวทัตตสูตรที่ ๑๐ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ในพระสูตร มีอาทิว่า ตีหิ ภิกฺขเว อสทฺธมฺเมหิ อภิภูโต มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร.

มีเรื่องพิสดารว่า เมื่อพระเทวทัต ตกอเวจีมหานรกแล้ว ภิกษุผู้เป็น พวกของพระเทวทัต และพวกอัญญเดียรดีย์ทั้งหลาย ได้พากันโพนทะนาว่า


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 551

พระเทวทัตถูกพระสมณโคดมสาปแช่ง จึงถูกแผ่นดินสูบ. คนทั้งหลายได้ฟังดัง นั้นแล้ว พวกไม่เลื่อมใสในพระศาสนา เกิดความสงสัยขึ้นว่า ข้อนี้จะพึงเป็น เหมือนที่คนทั้งหลายพูดหรือไม่. ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลพฤติการณ์นั้น แด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า. ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสปฏิเสธความเข้าใจ ผิดของคนเหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตไม่ให้การสาปแช่งแก่ใครๆ เพราะฉะนั้น พระเทวทัตจึงไม่ใช่ถูกเราตถาคตสาปแช่ง พระเทวทัตตกนรก โดยกรรมของตนนั่นแหละ ดังนี้ จึงตรัสพระสูตรนี้โดยเป็นเหตุเกิดแห่งเรื่องนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสทฺธมฺเมหิ ได้แก่ธรรมของอสัตบุรุษ. บทว่า อเตกิจฺโฉ ความว่า เยียวยาไม่ได้ อธิบายว่า แก้ไขไม่ได้ เพราะ การเกิดในอเวจี ไม่มีการแก้ไข เหตุที่พระเทวทัตเป็นผู้ไม่ควรที่พระพุทธเจ้า ทั้งหลายจะให้กลับใจ. พระเทวทัต ชื่อว่า ปาปิจฺโฉ เพราะมีความปรารถนา ลามกเป็นไป โดยประสงค์จะประกาศคุณความดี (ของตน) ที่ไม่มีอยู่. ภาวะ ของผู้มีความปรารถนาลามกนั้น ชื่อว่า ปาปิจฺฉตา. ถูกความปรารถนาลามก นั้น (ครอบงำแล้ว). พระเทวทัตนั้นเกิดความปรารถนาขึ้นว่า เราจักเป็น พระพุทธเจ้า เราจักปกครองหมู่สงฆ์. พระเทวทัตชื่อว่า มิตรเลวทราม เพราะมีมิตรเลวทราม คือลามก มีพระโกถาลิกะเป็นต้น. ภาวะของผู้มีมิตร ลามกนั้น ชื่อว่า ปาปมิตฺตตา. ถูกความเป็นผู้มีมิตรลามกนั้นครอบงำแล้ว. บทว่า อุตฺตริกรณีเย ความว่า เมื่อมรรคผลอันเป็นกรณียกิจเบื้องสูง อัน บุคคลพึงบรรลุด้วยฌานและอภิญญา อันตนยังไม่ได้บรรลุแล้วมีอยู่ อธิบายว่า ยังไม่ได้บรรลุมรรคผลนั้น ด้วยอาการอย่างนั้น. บทว่า โอรมตฺตเกน ความว่า เพียงเล็กน้อย คือเพียงฌานและอภิญญาเท่านั้น. บทว่า วิเสสาธิคเมน ความว่า เพราะบรรลุอุตตริมนุสสธรรม. บทว่า อนฺตรา แปลว่า


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 552

ในท่ามกลาง. บทว่า โวสานํ อาปาทิ ความว่า ยังไม่เสร็จกิจเลย แต่ สำคัญว่า เราเสร็จกิจแล้ว จึงถึงความพินาศจากสมณธรรม.

ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง ประกาศโทษในความเป็นปุถุชนโดยพิเศษด้วยพระสูตรนี้ว่า ความเป็นปุถุชน ของเขาหนักเพราะเหตุที่จะยังสมบัติ มีฌาน และอภิญญาเป็นที่สุดให้เกิดขึ้นได้ แต่ก็ยังละเหตุแห่งทุกข์มีอย่างต่างๆ อันจะนำอนัตถะมาให้มิใช่น้อย การอวดคุณ ความดีที่ไม่มีอยู่ การคบหาอสัตบุรุษ และการประกอบความเกียจคร้านเนืองๆ ไม่ได้จักได้ประสบโทษที่แก้ไขไม่ได้ ตั้งอยู่ตลอดกัป ในอเวจีมหานรก ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้. ศัพท์ว่า มา เป็นนิบาต ใช้ในอรรถว่าปฏิเสธ. บทว่า ชาตุ แปลว่า โดยส่วนเดียว. บทว่า โกจิ เป็นคำเรียกรวมทั้งหมด. บทว่า โลกสฺมึ ได้แก่ ในสัตวโลก. ท่านอธิบาย ไว้ว่า ขอบุคคลไรๆ ในสัตวโลกนี้ อย่าได้มีความปรารถนาลามกโดยส่วนเดียว. บทว่า ตทิมินาปิ ชานาถ ปาปิจฺฉานํ ยถา คติ ความว่า คติอย่างไร คือความสำเร็จอย่างไร ได้ผลในภายหน้าเช่นใด ของบุคคลผู้มีความปรารถนา ลามก เธอทั้งหลายจงรู้คตินั้น แม้ด้วยเหตุนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงอ้างพระเทวทัตเป็นตัวอย่าง จึงตรัสอย่างนี้.

บทว่า ปณฺฑิโตติ สมญฺาโต ความว่า ที่รู้กันว่าเป็นบัณฑิต เพราะเป็นคนคงแก่เรียน. บทว่า ภาวิตตฺโตติ สมฺมโต ความว่า ที่ยกย่อง กันว่ามีตนอันอบรมแล้ว ด้วยฌานและอภิญญาทั้งหลาย. จริงอย่างนั้น พระเทวทัตนั้น ในชั้นต้นได้เป็นผู้ที่แม้พระธรรมเสนาบดีก็สรรเสริญว่า เป็น โคธิบุตร ผู้มีฤทธิ์มาก เป็นโคธิบุตร ผู้มีอานุภาพมาก. บทว่า ชลํว ยสสา อฏฺา เทวทตฺโตติ วิสฺสุโต ความว่า ได้มีชื่อระบือ คือปรากฏอย่างนี้ว่า พระเทวทัตเป็นเหมือนรุ่งเรือง เป็นเหมือนเด่นอยู่ ดำรงอยู่แล้ว ด้วยเกียรติ


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 553

และบริวารของตน. ปาฐะว่า เม สุตํ ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า ข้าพเจ้าได้ฟังแล้ว คือเพียงได้ฟังมาได้แก่ การที่พระเทวทัตเป็นบัณฑิตเป็นต้นนั้น เป็นเพียงที่ ข้าพเจ้าฟังมาเท่านั้น เพราะพระเทวทัตเป็นอย่างนั้น โดยสองสามวันเท่านั้น.

บทว่า โส ปมาทมนุจิณฺโณ อาสชฺช นํ ตถาคตํ ความว่า พระเทวทัตนั้นเป็นอย่างนี้ ไม่รู้ประมาณของตน ถึงความประมาท โดยแต่งตั้ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้เสมอกับตน ว่า ถึงพระพุทธเจ้าจะเป็นศากยบุตร แม้ เราก็เป็นศากยบุตร ถึงพระพุทธเจ้าจะเป็นพระสมณะ แม้เราก็เป็นพระสมณะ ถึงพระพุทธเจ้าจะเป็นผู้มีฤทธิ์ แม้เราก็เป็นผู้มีฤทธิ์ ถึงพระพุทธเจ้าจะมี ทิพจักษุ แม้เราก็มีทิพจักษุ ถึงแม้พระพุทธเจ้าจะมีทิพโสต แม้เราก็มีทิพโสต ถึงแม้พระพุทธเจ้าจะได้เจโตปริยญาณ แม้เราก็ได้เจโตปริยญาณ ถึงแม้ พระพุทธเจ้าจะรู้ธรรมที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน แม้เราก็รู้ธรรม เหล่านั้น ดังนี้ กระทบกระทั่ง เบียดเบียนพระตถาคตเจ้า เพราะถูกมาร ดลใจ (ให้ฮึกเหิม) ว่าบัดนี้ เราจักเป็นพระพุทธเจ้า เราจักบริหารภิกษุสงฆ์. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ปมาทมนุชิโน ดังนี้บ้าง. คำนั้นก็มีใจความว่า เมื่อถึงความประมาทตามนัยที่กล่าวแล้ว อาศัยความประมาท เสื่อมคลายจาก ฌานและอภิญญา พร้อมกับจิตตุปบาทที่วางตนคู่กัน (ตีเสมอ) พระพุทธเจ้า ทีเดียว. บทว่า อวีจินิรยํ ปตฺโต จตุทฺวารํ ภยานกํ ความว่า ถึงนรก ใหญ่ที่ได้นามว่า อเวจี เพราะเปลวไฟ หรือสัตว์ที่เกิดในนรกนั้น มีอยู่เป็น นิรันดร ชื่อว่า มี ๔ ประตู เพราะประกอบด้วยประตูใหญ่ ๔ ประตู ในด้าน ทั้ง ๘ อันน่ากลัวยิ่งนัก ด้วยสามารถแห่งการถือปฏิสนธิ. สมดังทีพระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 554

(ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย) ก็มหานรก นั้น มี ๔ มุม ๔ ประตู แยกออกเป็นห้องๆ มีกำแพงเหล็กเป็นขอบเขต ครอบด้วย ฝาเหล็ก มีพื้นปูด้วยเหล็ก ไฟลุกโชน ประกอบด้วยเปลว แผ่ไปไกล ๑๐๐ โยชน์ โดยรอบ ตั้งอยู่ทุกเมื่อ ดังนี้.

บทว่า อทุฏสฺส ได้แก่ ผู้มีจิตไม่ถูกโทสะประทุษร้ายแล้ว. บทว่า ทุพฺเภ ได้แก่ ทุสฺเสยฺย (แปลว่า พึงประทุษร้าย). บทว่า ตเมว ปาปํ ผุสติ ความว่า ผลชั่ว คือ ผลของบาปที่ต่ำทราม จะถูกต้องคือถึง ได้แก่ ครอบงำคนเลวทราม ผู้ประทุษร้ายต่อผู้ไม่ประทุษร้ายนั้นนั่นแหละ. บทว่า เภสฺมา ความว่า ทะเลเป็นเสมือนให้คนกลัว เพราะความกว้างและความลึก อธิบายว่า ทั้งกว้างทั้งลึก. บทว่า วาเทน ได้แก่ด้วยโทสะ. บทว่า วิหึสติ ความว่า เบียดเบียน คือ รุกราน. บทว่า วาโท ตมฺหิ น รูหติ ความว่า โทสะที่ผู้อื่นปลูกฝังในพระตถาคตเจ้านั้น จะไม่งอกขึ้นคือจะไปตั้งอยู่ อธิบาย ว่า จะไปให้เกิดความพิการ (ความกระเทือนพระทัย) แก่พระองค์ เหมือน หม้อยาพิษ (หม้อเดียว) จะทำให้เกิดความแปรเปลี่ยนแก่สมุทรหาได้ไม่ ฉะนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงว่า พระเทวทัตเป็นผู้ไม่พ้นไป จากทุกข์ ด้วยการทรงแสดงว่า พระเทวทัตผู้ประกอบด้วยความปรารถนาลามก เป็นต้น ได้เข้าถึงนรกแล้ว ด้วยคาถา ๖ คาถาอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะ ทรงแสดงเหตุสิ้นทุกข์ ของผู้ประกอบด้วยธรรมที่ตรงกันข้ามกับความปรารถนา ลามกนั้น จึงได้ตรัสคาถาสุดท้ายไว้ว่า ตาทิสํ มิตฺตํ เป็นต้น.


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 555

พระคาถาสุดท้ายมีเนื้อความว่า ภิกษุเดินตามทาง คือดำเนินตาม ทางเดินของผู้ใดที่ปฏิบัติชอบแล้ว ได้แก่ปฏิบัติโดยชอบแล้ว จะพึงถึงความ สิ้นไป คือความสิ้นสุดแห่งวัฏทุกข์ทั้งสิ้น ด้วยการประกอบ ด้วยคุณความดี มีความปรารถนาน้อยเป็นต้น ภิกษุผู้เป็นบัณฑิตคือ ผู้มีปัญญาควรทำผู้เช่นนั้น คือพระพุทธเจ้าหรือสาวกของพระพุทธเจ้า ให้เป็นมิตรของตน คือทำความ สนิทสนมกับท่าน และควรคบหาสมาคม คือควรเข้าไปนั่งใกล้ท่านนั่นเอง.

จบอรรถกถาเทวทัตตสูตรที่ ๑๐

เป็นอันว่าในวรรคนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสวิวัฏฏะไว้ในสูตรที่ ๖ และที่ ๗ และตรัสทั้งวัฏฏะและวิวัฏฏะไว้ในสูตรทั้งหลาย นอกจากนี้.

จบวรรควรรณนาที่ ๔

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. วิตักกสูตร ๒. สักการสูตร ๓. สัททสูตร ๔. จวมานสูตร ๕. โลกสูตร ๖. อสุภสูตร ๗. ธรรมสูตร ๘. อันธการสูตร ๙. มลสูตร ๑๐. เทวทัตตสูตร และอรรถกถา.