ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ท่านผู้ฟัง ในเรื่อง สักกายทิฏฐิ ที่พระผู้พระภาค ทรงแสดงไว้แล้วพระองค์ตรัสว่า "บุคคล ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่ได้พบ สัตบุรุษ ไม่ได้รับคำแนะนำ ไม่ได้ฟัง ปุริสสัทธรรม ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนย่อมเห็นตน ในรูป ย่อมเห็นรูป ในตนย่อมเห็นว่ามีตน ในรูปย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตนย่อมเห็นวิญญาณ ในตน ย่อมเห็นตน ในวิญญาณ" ฯลฯ เรื่องนี้ อาจารย์ได้เคยบรรยายไปแล้วอาจารย์ก็ยังอุตส่าห์ค้นหาข้ออุปมา มาบรรยาย ว่า อุปมา เหมือนต้นไม้ มีเงา อุปมา เหมือนแสงสว่าง ในไฟ อุปมา เหมือนแก้วมณี ในขวด อุปมา เหมือนกลิ่นหอม ของดอกไม้
เรื่องนี้ ศึกษาแล้ว ก็เข้าใจอยู่ โดยเฉพาะท่านพระสารีบุตร ท่านอุปมา อีกเรื่องหนึ่ง แก่ท่านยมก ที่ท่านอุปมาว่า ท่านคหบดีเศรษฐีกับบุตร มีคนที่คิดจะปองร้ายเศรษฐีท่านนั้นเห็นว่า เศรษฐีท่านนั้น มีการคุ้มครองรักษาต่างๆ อย่างแน่นหนา การที่จะเข้าไปปองร้าย ไม่ใช่ของง่าย เลยคิดอุบายว่าจะเข้าไปรับใช้ท่านเศรษฐี เมื่อสมัครเข้าไปรับใช้ ท่านเศรษฐีก็รับไว้แล้วปฏิบัติงานอย่างดีทุกอย่าง คือ ตื่นก่อน นอนทีหลัง เมื่อรับคำสั่งแล้ว เวลาที่เศรษฐีอยู่ในที่เปลี่ยวผู้ร้ายนี้ก็จะฆ่าเสีย
อุปมา เหมือนว่า สักกายทิฏฐิ ๒๐ นี้ เป็นการฆ่าเราอยู่ตลอดเวลา คือเปรียบว่าเป็นคนร้ายตั้งแต่ที่เข้าไปสมัครงานนั้น ขณะนั้น ก็ชื่อว่า ฆ่าขณะที่ตื่นก่อน นอนทีหลัง ก็ชื่อว่า ฆ่าเมื่อรับคำสั่ง ก็ชื่อว่า ฆ่าเมื่อขณะ อยู่ในที่เปลี่ยว แล้วฆ่า ก็ชื่อว่า ฆ่าด้วยการศึกษา ก็เข้าใจทุกอย่าง แต่เวลาที่สักกายทิฏฐินี้ เกิดขึ้น
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า ผู้ที่ยังไม่ได้เป็นพระโสดาบัน สักกายทิฏฐิ ต้องมีอยู่ ตลอดเวลา ในขณะที่มีการหลงลืมสติ ขณะนั้น เราก็รู้อยู่แล้ว ว่า สักกายทิฏฐิอย่างใด อย่างหนึ่ง ในสักกายทิฏฐิ ๒๐ จะต้องเกิดขึ้น แก่เรา
กระผมเอง เวลาที่สติเกิด สังเกตเท่าไรๆ ว่าตอนนี้ สักกายทิฏฐิอันไหนที่มันเกิดขึ้นและมีความเห็นผิดอย่างไร สังเกต เท่าไรๆ ก็ยังไม่รู้ กระผม ขอความกรุณาอาจารย์ ช่วยยกตัวอย่างสัก ๔ อย่าง คือ
การกระทำด้วยกาย วาจา ใจ อย่างไหน ชื่อว่า มีความเห็นผิด ว่า รูป โดยความเป็นตน มีความเห็นผิด ว่า ตน มีรูป มีความเห็นผิด ว่า มีรูป ในตน มีความเห็นผิด ว่า มีตน ในรูป
ท่านอาจารย์ พระธรรม ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงแจ่มแจ้ง กับพระผู้มีพระภาค และสาวกที่ได้รู้แจ้งธรรมเหล่านั้นตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น การที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมไม่ใช่โดยการฟัง แล้วก็จะเข้าใจจนประจักษ์แจ้ง
แต่ หมายความว่า ผู้นั้น จะต้องอบรม เจริญสติ เพื่อที่จะ รู้ ลักษณะ ของสภาพธรรม ทั้งหลายตรง ตามความเป็นจริงมิฉะนั้นแล้ว ก็ย่อมเกิดความสงสัย เช่น สักกายทิฏฐิ.
สักกายทิฏฐิ นี้นะคะ มีแน่ๆ ยังไม่หมดสำหรับผู้ที่ยังไม่ใช่พระโสดาบันบุคคล
ก่อนที่จะได้มาฟังพระธรรมนี้นะคะความคิดเห็น เป็นอย่างไร เคยย้อยกลับไปคิดไหมคะ
ก่อนที่จะได้รู้ "เรื่องของปรมัตถธรรม"
ก่อนที่จะได้รู้ เรื่องจิต เรื่องเจตสิก เรื่องรูป เรื่องนามธรรม เรื่องรูปธรรมและ เรื่องสัตว์ บุคคล ตัวตน
ก่อนที่จะรู้ อย่างนี้ ก่อนที่จะเข้าใจ อย่างนี้ เคยมีความคิดอย่างไร เคยมีความเห็นอย่างไร
อย่างนั้นแหละ คือ สักกายทิฏฐิ
แล้วต่อมาภายหลัง แม้ว่าจะได้ฟัง "เรื่องของปรมัตถธรรม" คือเรื่องจิต เจตสิก รูปนามธรรม รูปธรรม ว่าเป็นอย่างไรได้ฟังว่า ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน นั้น เป็นอย่างไร โดยเพียงขั้นของการฟัง เท่านั้น ท่านได้ประจักษ์ ในสภาพธรรม ทั้งหลาย ที่ไม่ใช่ตัวตน ของนามธรรม และรูปธรรม ตรง ตามความเป็นจริง แล้วหรือยัง
เมื่อยังไม่ประจักษ์แจ้ง ก็ยังเห็นเป็นวัตถุ สิ่งหนึ่งสิ่งใด ยังคงเห็นเป็นสัตว์ เป็นบุคคลนั้น บุคคลนี้อยู่ ซึ่ง การที่จะดับความเห็นอย่างนี้ได้ ก็ต่อเมื่อปัญญา ได้อบรมเจริญ จนถึงขั้นที่รู้แจ้งอริยสัจจธรรมบรรลุเป็นพระโสดาบันบุคคลแล้ว เท่านั้น
.
แต่ ก่อนที่จะได้บรรลุเป็นพระโสดาบันบุคคลปัญญาจะต้องเกิด และรู้ ลักษณะของสภาพธรรม ที่ปรากฏพร้อมสติ (สติ-สัมปชัญญะ)
ไม่ใช่คนละขณะกัน นะคะ.!แต่ หมายความว่า ในขณะที่สติ กำลังระลึก ตรงลักษณะของสภาพธรรมใด ปัญญาก็ต้องรู้ด้วย
คือ รู้ในลักษณะของสภาพธรรมนั้น โดย ความไม่ใช่ตัวตนทีละเล็ก ทีละน้อย จนกว่าจะเป็นปัญญาที่คมกล้าซึ่งสามารถที่จะรู้แจ้งแทงตลอด ในสภาพความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้นที่กำลังปรากฏนั้นๆ หมายความว่า ปัญญา รู้ ความเกิดขึ้น และดับไป ความไม่เที่ยง ซึ่งเป็นทุกข์ และ เป็นอนัตตาของสภาพธรรมนั้นๆ .
.
เพราะฉะนั้นขณะใด ที่ปัญญา ไม่รู้สภาพธรรม ตรง ตามความเป็นจริงพร้อมสติ (สติ-สัมปชัญญะ)
โดยเพียงขั้นฟัง ว่า ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตนมีแต่สภาพธรรม เป็น นามธรรมบ้าง เป็น รูปธรรมบ้างแต่ยังไม่ประจักษ์ชัด ในสภาพธรรมเพราะฉะนั้น ในขณะเหล่านั้นความคิด อย่างนั้น ที่ยังเห็นว่า เป็นสิ่งหนึ่ง สิ่งใด ที่ยังเห็นว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตนอยู่นั้น.นั่นคือ ลักษณะของสักกายทิฏฐิ.
มีหลายท่าน ที่ได้ฟังแล้ว.........ก็เริ่มเจริญสติแต่ยังไม่รู้ลักษณะ ของนามธรรม และ รูปธรรม ก็พอจะรู้บ้าง โดยการฟัง.....แล้วเทียบเคียง ว่า
สิ่งที่ปรากฏทางตา ในขณะนี้.......ไม่ใช่สภาพรู้ เป็นของจริงแน่ๆ เพราะว่า กำลังปรากฏทางตา สิ่งที่มีลักษณะจริงๆ ปรากฏเป็นของจริงชนิดหนึ่ง สีสัน วัณณะ ต่างๆ ที่ปรากฏทางตา ทั้งหมดนั้น เป็นของจริง ที่ปรากฏได้ เฉพาะทางตาเท่านั้น จะไม่ปรากฏทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย.
เพราะฉะนั้น ลักษณะของสภาพธรรม ที่เป็นรูปธรรม ที่มีจริง ที่กำลังปรากฏ แต่ละลักษณะๆ ในแต่ละทางๆ ก็พอที่จะระลึกรู้ได้ ว่าเป็น "รูปธรรม" แต่ถ้าสติ ไม่ได้ระลึก ตรงลักษณะของ "สภาพที่กำลังรู้" ในสิ่งที่กำลังปรากฏ ในขณะนั้นๆ ผู้นั้น จะไม่เข้าใจ ลักษณะของ "นามธรรม" ซึ่งเป็นสภาพรู้ ว่าต่างกับ"รูปธรรม" อย่างไร
นามธรรม คือ ลักษณะของ "ธาตุรู้" มีลักษณะที่รู้อารมณ์ แต่ละทาง ตามทวารต่างๆ ทั้ง ๖ ทวาร คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ
เพราะฉะนั้น ถ้าไม่รู้อย่างนี้.!ยังเห็นรวมกันว่า เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน.นั่นคือลักษณะของสักกายทิฏฐิ
เพราะฉะนั้น ถ้ายังไม่ลืมว่า เมื่อก่อนครั้งที่ยังไม่ได้ศึกษาเรื่องของพระอภิธรรมแล้วสติก็ยังไม่เกิดยังไม่ได้มีการระลึก รู้ ลักษณะของสภาพธรรม ก็มีความมั่นใจ ในสิ่งที่กำลังปรากฏ ว่า เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน นั่นคือ ลักษณะของสักกายทิฏฐิ.
หรือ บางท่านได้ระลึกบ้างแล้วแต่ก็ยังอดที่จะสงสัยไม่ได้ ว่ารูปแข็ง ที่กำลังปรากฏนี้ นั่นหรือ ที่ดับไป มีแข็งก็ตาม มีอ่อนก็ตาม ที่กำลังปรากฏนี้ก็ยังอดสงสัยไม่ได้ว่า รูปนี้นั่นหรือที่จะดับ นั่นคือลักษณะของสักกายทิฏฐิ คือ ความสงสัย คือ ความไม่รู้ชัดในสภาพธรรม ที่เกิดดับ
ท่านผู้ฟัง ถ้าอย่างนี้ ก็พอจะเข้าใจครับ
แนวทางเจริญวิปัสสนาบรรยายโดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ถอดเทปโดย คุณย่าสงวน สุจริตกุล
ขออนุโมทนา
สาธุ
กราบอนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ