ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สนทนาธรรมที่เขาเต่า ๑ - ๔ สิงหาคม ๒๕๓๗
ท่านผู้ฟัง ขณะที่เราได้กลิ่นเหม็น แล้วเราก็ ทนไม่ได้เราทนไม่ได้ ทุกครั้ง ทนไม่ได้ตลอดไปแน่ แต่ถ้าหากว่าเราต้องทน อยู่ ในที่ๆ ต้องทนล่ะ
ท่านอาจารย์ ท่านผู้ฟัง มีสิทธิ์ทุกอย่าง ที่จะไม่ต้องทน แต่ ความรู้สึกของท่านผู้ฟัง ตลอดเวลานั้นน่ะค่ะมีความสงบ หรือ มีความเดือดร้อนใจ ระดับไหน เป็น อกุศลจิต ระดับไหน อกุศล มีหลายระดับ
ท่านผู้ฟัง ผมยอมรับ ว่าเดือดร้อน แต่ไม่ได้โกรธ ท่านผู้ฟัง ท่านอื่น ท่านถามว่า ถ้าผม ต้องทนเหม็นอยู่อย่างนี้ นานๆ จะเป็นยังไง ผมก็ว่า ปวดศรีษะได้เลย และถ้ามากๆ ก็สลบได้เลย
ท่านอาจารย์ เป็นเพราะ ผลของอกุศลกรรม ที่ได้เคยกระทำแล้ว แน่นอน จึงมี อกุศลวิบากจิต ที่ต้องเห็น ต้องได้ยิน ต้องได้กลิ่น อย่างนี้ แต่ หลังจากนั้น คือ "ขณะ" ที่ก่อให้เกิด "สังสารวัฏฏ์" ต่อๆ ไป หมายความว่าขณะนี้ ท่านผู้ฟัง กำลังรับผลของกรรม เป็น อกุศลวิบากจิตหลังจากนั้น "กิเลส" เกิด ใช่ไหมคะ แต่ไม่ถึงกับ เป็น "กรรม" ใช่ไหมคะ เพราะท่านผู้ฟัง ไม่ได้เบียดเบียน ไม่ได้ทำร้ายเขา ก็ไม่ใช่ "อกุศลกรรมบถ" เพราะฉะนั้น ท่านผู้ฟัง ก็มี "วิบาก" กับ "กิเลส" ถ้าท่านผู้ฟังโกรธมากกว่านี้ อกุศลจิตมีกำลังมากกว่านี้ สุดท้าย ก็เป็นอกุศลกรรม
เพราะฉะนั้น สังสารวัฏฏ์ ก็หมุนวน อย่างนี้.! (กิเลส กรรม วิบาก) ขณะนี้ "วิบากจิต" มีแล้ว แน่นอนหลังจาก "วิบากจิต" (ซึ่งเป็นผลของกรรม) เป็น "กุศลจิต" หรือ "อกุศลจิต" คือ กิเลส (ซึ่งเป็นเหตุของกรรม) เป็นอนัตตา เพราะบังคับบัญชาไม่ได้สภาพธรรมทั้งหลาย เกิดแล้วดับ เป็นไป ตามเหตุ ตามปัจจัย เพราะฉะนั้น อะไรก็ไม่ดีเท่ากับ "สติ" เพราะ "สติ" เป็นเกาะ คือ เป็นที่พึ่ง หมายความว่า แทนที่ จะมี กุศลจิต และ อกุศลจิต "สติ" ก็เกิด ระลึก ตรง "ลักษณะ" ของสภาพธรรมตามปกติ ตามความเป็นจริง "กรรม" เป็น "กัมมปัจจัย" ซึ่งทำให้มี "ฆานปสาทรูป" .. "อกุศลกรรม" เป็น "ปัจจัย" ทำให้ได้รับ "อกุศลวิบาก" ใน "ลักษณะ" นี้ "อกุศลวิบากจิต" เกิดทางทวารไหนก็ได้ทั้งนั้น
มี "วิบากจิต" คือ ผลของกรรม มี ๒ ประเภทคือ "กุศลวิบากจิต" และ "อกุศลวิบากจิต" ถ้ามีการได้รับ "อกุศลวิบากจิต" ใน "ขณะนั้" แล้ว มี "ปัจจัย" ที่ทำให้ "สติเกิด" .. "ปัญญา" รู้ ว่า เป็นสภาพธรรมชนิดหนึ่ง เกิดแล้วดับ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ก็ไม่เดือดร้อน ดีกว่า ไปตกนรก เพราะว่า มี "ปัจจัย" ที่จะทำให้สามารถที่จะล่วง "อกุศลกรรมบถ" (อันเป็นเหตุ ให้ไปเกิดในนรกได้ ถ้าประมาท คือ สติไม่เกิด) ถ้าเราเข้าใจ ใน "ลักษณะ" ของสภาพธรรม เราจะไม่มีปัญหาเลย ขณะที่ สติ ระลึก ตรง ปรมัตถธรรม และ มี "ความเข้าใจ" ใน "ลักษณะ" ของ ปรมัตถธรรม "ลักษณะ" ของ กุศลจิต และ อกุศลจิตต่างกันอย่างไร ก็เข้าใจได้ เพราะ "สติ" ระลึก ตรง "ลักษณะ" นั้นๆ และ "ปัญญา" รู้ สภาพธรรม ที่เป็นปรมัตถธรรมซึ่งก็คือ กุศลจิต และอกุศลจิต นั้นเอง คือ รู้ ว่า มี "ลักษณะ" ต่างกัน และมี "ความเข้าใจจริงๆ " ว่ามีคุณ มีโทษ ต่างกันอย่างไร และ "ความรู้" นี้ จะต้องรู้ เพิ่มขึ้นๆ ด้วยการอบรม เจริญ สติปัฏฐาน คือ "สติ" ระลึก ตรง "ลักษณะ" ของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ ขณะนี้ ตามปกติ ตามความเป็นจริง ขณะที่ "สติ" เกิด ระลึก รู้ "ลักษณะ" ของสภาพธรรมเป็น "ขณะ" ที่สั้นมาก เพียงนิดเดียวเท่านั้น เพราะ "สติ" เกิดแล้ว ดับไปทันทีอย่างรวดเร็ว แล้วก็มีการคิดนึก เป็น "เรื่องราว" จนกระทั่ง "ปิดบัง" ความเกิดดับสืบต่ออย่างรวดเร็วของสภาพธรรม "ความจริง" คือ สภาพธรรมเกิด และ ดับสูญไปหมด ผ่านไปแล้ว หมด ไม่เหลือเลย
คุณย่าสงวน อาจารย์บอกให้เรารู้ "ผลของกรรม" คือ "วิบากจิต" ที่กำลังเกิดปรากฏ และหลังจากที่เป็น "วิบากจิต" แล้วที่สำคัญมาก ก็คือ "จิต" ที่เกิดต่อจากวิบากจิต นั้นเป็น "จิต" อะไร เป็นกุศลจิต หรือ เป็น อกุศลจิต อันนี้ อาจารย์ว่า สำคัญ และถ้าเราเข้าใจจริงๆ ว่าโดยปกติแล้ว อกุศลจิต เกิดบ่อยกว่า กุศลจิต รู้อย่างนี้ เพื่อ เห็นโทษของอกุศลจิต และถ้า รู้ ว่า เป็นอกุศลจิตบ่อยๆ ก็คงจะเห็นโทษของอกุศลจิตได้ เพราะกุศลจิต เกิดน้อยเหลือเกิน ถ้ามี "สติ" ระลึก รู้ "ลักษณะ" ของ อกุศลจิต บ่อยๆ ก็คงจะเห็นโทษของอกุศลจิต ได้มากขึ้น
ท่านอาจารย์ แต่การที่จะ "เข้าใจ" และ เห็นโทษ ของอกุศล จริงๆ ต้อง "เข้าใจ" ปรมัตถธรรม ก่อน มิฉะนั้น ก็ "เป็นเรา" ที่มีอกุศล "เป็นเรา" ที่เห็นโทษของอกุศล
(ขออนุโมทนา ท่าน ... ผู้เอื้อเฟื้อรูปภาพ)
... ขออนุโมทนา ...
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
กราบอนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
กราบอนุโมทนาครับ
กราบอนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
"ความจริง" คือสภาพธรรมเกิด และ ดับสูญไปหมดผ่านไปแล้ว หมด ไม่เหลือเลย
สาธุ
ขออนุโมทนาครับ