[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 265
๗. ตรุณรุกขสูตร
ว่าด้วยต้นไม้อ่อนกับภิกษุมีความพอใจในธรรม
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 265
๗. ตรุณรุกขสูตร
ว่าด้วยต้นไม้อ่อนกับภิกษุมีความพอใจในธรรม
[๒๑๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ฯลฯ ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.
[๒๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้อ่อนยืนต้นอยู่ บุรุษพึงพรวนดินใส่ปุ๋ย รดน้ำเสมอๆ ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้อ่อนนั้น มีอาหารอย่างนั้น มีเชื้ออย่างนั้น พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ แม้ฉันใด
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 266
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหาย่อมเจริญ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.
[๒๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นโทษเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหาย่อมดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.
[๒๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้อ่อนยืนต้นอยู่อย่างนั้น ทีนั้นบุรุษเอาจอบและภาชนะ ฯลฯ หรือลอยในแม่น้ำมีกระแสอันเชี่ยว ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ต้นไม้อ่อนนั้น ถูกตัดรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี ไม่เกิดอีกต่อไป แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นโทษเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหาย่อมดับ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.
จบตรุณรุกขสูตรที่ ๗
อรรถกถาตรุณรุกขสูตรที่ ๗
ในตรุณรุกขสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ตรุโณ ได้แก่ ยังไม่เผล็ดผล.
บทว่า ปลิสชฺเชยฺย แปลว่า พึงชำระ.
ข้อว่า "ปํสุํ ทเทยฺย ใส่ปุ๋ย." ได้แก่ เอาปุ๋ยที่แข็งและหยาบออก ใส่ปุ๋ยที่หวานเจือปนด้วยโคมัยอ่อนและฝุ่นละเอียดลงไป.
บทว่า วุฑฺฒิํ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 267
ได้แก่ ถึงความเจริญงอกงาม ควรจะเก็บดอกก็ได้เก็บดอก ควรจะเก็บผลก็ได้เก็บผล.
ก็ในข้อนี้มีการเทียบเคียงด้วยข้ออุปมาดังนี้.
วัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓ เหมือนต้นไม้อ่อน ปุถุชนอาศัยวัฏฏะเหมือนบุรุษบำรุงต้นไม้ การประมวลมาซึ่งกรรมที่เป็นกุศลและอกุศลทางทวาร ๓ เหมือนการสืบต่อแห่งรากและผลไม้เป็นต้น ความเป็นไปแห่งวัฏฏะในภพต่อๆ ไปของปุถุชนผู้ประมวลมาซึ่งกรรมทางทวาร ๓ เหมือนต้นไม้ที่ถึงความเจริญงอกงาม.
วิวัฏฏะ (พระนิพพาน) พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วแล.
จบอรรถกถาตรุณรุกขสูตรที่ ๗