ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑- หน้าที่ 212
ข้อความบางตอนจาก มงคลสูตร
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจบเทศนาด้วยบทแห่งคาถาว่า ตํ เตสํ มงฺคลฺมุตฺตมํ.
ทรงจบอย่างไร. ทรงจบว่า ดูก่อนเทพบุตร
เพราะเหตุที่ชนผู้กระทำมงคล
เช่นที่กล่าวนี้ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทั้งปวงอย่างนี้
ฉะนั้น
ท่านจึงถือว่า มงคลทั้ง ๓๘ ประการ มีการไม่คบพาลเป็นต้นนั้นสูงสุด
ประเสริฐสุด ดีที่สุด สำหรับชนเหล่านั้น ผู้กระทำมงคลเช่นที่กล่าวมานี้.
ตอนสุดท้าย เทศนาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบอย่างนี้ เทวดา
แสนโกฎิบรรลุพระอรหัต. จำนวนผู้บรรลุโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล
นับไม่ได้. ครั้งนั้น
วันรุ่งขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก พระอานนท์เถระ มาตรัสว่า
ดูก่อนอานนท์ เมื่อคืนนี้ เทวดาองค์หนึ่งเข้ามาถามมงคลปัญหา
ครั้งนั้นเราได้กล่าวมงคล ๓๘ ประการแก่เทวดาองค์นั้น
ดูก่อนอานนท์
เธอจงเรียนมงคลปริยายนี้ ครั้นเรียนแล้วจงสอนภิกษุทั้งหลาย. พระเถระเรียน
แล้วก็สอนภิกษุทั้งหลาย. มงคลสูตรนี้นั้น อาจารย์นำสืบๆ กันมาเป็นไปอยู่
จนทุกวันนี้ พึงทราบว่า ศาสนพรหมจรรย์นี้มั่นคงเจริญแพร่หลาย
รู้กันมากคนหนาแน่น ตราบเท่าที่เทวดาและมนุษย์ประกาศดีแล้ว.
เพื่อความฉลาดในการสะสมความรู้ในมงคลเหล่านั้นเอง
บัดนี้ จะประกอบความตั้งแต่ต้นดังนี้.
สัตว์ทั้งหลายผู้ปรารถนาสุขในโลกนี้โลกหน้าและโลกุตรสุขเหล่านั้น
ละการคบคนพาลเสีย อาศัยแต่บัณฑิต,
บูชาผู้ที่ควรบูชา. อันการอยู่ในปฏิรูปเทส,
และความเป็นผู้ทำบุญไว้ในก่อนตักเตือนในการบำเพ็ญกุศล. ตั้งตนไว้ชอบ
มีอัตภาพอันประดับด้วยพาหุสัจจะ ศิลปะ และวินัย, กล่าวสุภาษิตอัน
เหมาะแก่วินัย.
ยังไม่ละเพศคฤหัสถ์ตราบใด, ก็ชำระมูลหนี้เก่าด้วยการบำรุง
มารดาบิดา, ประกอบมูลหนี้ใหม่ด้วยการสงเคราะห์บุตรและภรรยา ถึงความ
มั่งคั่งด้วยทรัพย์และข้าวเปลือก ด้วยความเป็นผู้มีการงานไม่อากูล,
ยึดสาระแห่งโภคะด้วยทาน และสาระแห่งชีวิตด้วยการประพฤติธรรม,
กระทำประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนของตน ด้วยการสงเคราะห์ญาติ
และประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนอื่นๆ ด้วยความเป็นผู้มีการงานอันไม่มีโทษ.
งดเว้นการทำร้ายผู้อื่น ด้วยการเว้นบาป
การทำร้ายตนเอง ด้วยการระวังในการดื่มกินของเมา,
เพิ่มพูนฝ่ายกุศล ด้วยความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย,
ละเพศคฤหัสถ์ด้วยความเป็นผู้เพิ่มพูนกุศล
แม้คงอยู่ในภาวะบรรพชิต ก็ยังวัตรสัมปทาไห้สำเร็จด้วยความเคารพใน
พระพุทธเจ้า สาวกของพระพุทธเจ้าและอุปัชฌายาจารย์เป็นต้น
และด้วยความถ่อมตน,
ละความละโมภในปัจจัยด้วยสันโดษ,
ตั้งอยู่ในสัปปุริสภูมิด้วยความเป็นผู้กตัญญู,
ละความเป็นผู้มีจิตหดหู่ด้วยการฟังธรรม,
ครอบงำอันตรายทุกอย่างด้วยขันติ, ทำคนให้มีที่พึ่ง ด้วยความเป็นผู้ว่าง่าย,
ดูการประกอบข้อปฏิบัติด้วยการเห็นสมณะ
บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย
ด้วยการสนทนาธรรม,
ถึงศีลวิสุทธิ ด้วยตปะคืออินทรียสังวร
ถึงจิตตวิสุทธิ ด้วยพรหมจรรย์คือสมณธรรม
และยังวิสุทธิ ๔ นอกนั้นให้ถึงพร้อม,
ถึงญาณทัสสนวิสุทธิอันเป็นปริยายแห่งการเห็นอริยสัจด้วยปฏิปทานี้
กระทำให้แจ้งพระนิพพานที่นับได้ว่าอรหัตตผล, ซึ่งครั้น กระทำให้แจ้งแล้ว
เป็นผู้มีจิตไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม ๘ เหมือนสิเนรุบรรพต ไม่หวั่นไหวด้วย
ลมและฝน ย่อมเป็นผู้ไม่เศร้าโศก ปราศจากละอองกิเลส
มีความเกษมปลอดโปร่ง และ ความเกษมปลอดโปร่งย่อมเป็นผู้
แม้แต่ศัตรูผู้หนึ่งให้พ่ายแพ้ไม่ได้ในที่ทั้งปวง
ทั้งจะถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน.
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
สัตว์ทั้งหลายกระทำมงคลเช่นที่กล่าวมานี้แล้ว
เป็นผู้อันมารให้พ่ายแพ้ไม่ได้ในที่ทั้งปวง
ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน
นั้นเป็นมงคลอุดมของสัตว์เหล่านั้น
จบพรรณนามงคลสูตร
แห่ง
ปรมัตถโชติกาอรรถกถาขุททกปาฐะ