[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 496
ข้อความบางตอนจาก...
๑๐. สัพพลหุสสูตร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งการดื่มสุราและเมรัยอย่างเบาที่สุด ย่อมยังความเป็นบ้าให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์
จบ สัพพลหุสสูตรที่ ๑๐
ถ้าผู้ใดรู้ว่าการล่วงศีลมีโทษถึงตกนรก และยังต้องได้รับวิบากอย่างเบาหลังจากมา เกิดเป็นมนุษย์จริงๆ คนนั้นก็จะงดเว้นไม่ทำบาป แต่ก็ขึ้นอยู่กับกำลังของกิเลสด้วย ว่าติดข้องมากถึงกับล่วงศีลหรือไม่ เพราะปุถุชนศีลไม่มั่นคงจนกว่าจะเป็นพระอริยบุคคล
การไม่ดื่มสุราในชาตินี้ปรากฎผลดี คือ
1. ไม่เสียทรัพย์
2. ไม่เป็นโรคที่เกิดจากการดื่มฯ
3. ควบคุมสติได้ดีกว่าผู้ดื่ม
4. ความคิดดีๆ เกิดขึ้นมากมาย
5. ครอบครัวมีความสุขขึ้น
6. ในช่วงแรกๆ มิตรสหายไม่เข้าใจแต่เมื่อเห็นความตั้งใจจริงของเราแล้ว คนที่เขารักเราด้วยความจริงใจก็จะเข้าใจ ส่วนคนที่ยังไม่เข้าใจเราก็จะได้เป็นสิ่งพิสูตรได้อย่างหนึ่งว่าเขาไม่ได้รักเราด้วยความจริงใจ (การพิสูตรคน)
7. คิดออกจะกลับมาบอก เพิ่มเติมครับ
ปล. จากประสพการผู้ที่เคยดื่มมาแล้ว
[เล่มที่ 39] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 196
ข้อความบางตอนจาก
อรรถกถา มงคลสูตร
จะกล่าวพรรณนาการสำรวมจากการดื่มของเมา คำนี้เป็นชื่อของเจตนางดเว้นจากที่ตั้งแห่งความประมาท คือ การดื่มของเมา คือสุราและเมรัย ที่กล่าวไว้ก่อนแล้ว. ก็เพราะเหตุที่ผู้ดื่มของเมาย่อมไม่รู้อรรถ ไม่รู้ธรรม ย่อมทำอันตรายแก่มารดา ทำอันตรายแก่บิดา แม้แก่พระพุทธเจ้า พระปัจเจก-พระพุทธเจ้า และพระสาวกของพระตถาคต ย่อมประสบการติเตียนในภพปัจจุบัน ประสบทุคติในภพเบื้องหน้า และประสพความเป็นบ้าในภพต่อๆ ไป.ส่วนการสำรวมจากการดื่มของเมา ย่อมบรรลุการระงับโทษเหล่านั้น และการถึงพร้อมด้วยคุณตรงกันข้ามกับโทษนั้น ฉะนั้น การสำรวมจากการดื่มของเมานี้ พึงทราบว่าเป็นมงคล
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ขออนุโมทนาครับ