๑๐. รัตติสูตร ว่าด้วยผู้หวังได้ความเสื่อมและผู้หวังได้ความเจริญ
โดย บ้านธัมมะ  31 ต.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 39434

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 810

ทุติยปัณณาสก์

อรหันตวรรคที่ ๓

๑๐. รัตติสูตร

ว่าด้วยผู้หวังได้ความเสื่อม และผู้หวังได้ความเจริญ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 810

๑๐. รัตติสูตร

ว่าด้วยผู้หวังได้ความเสื่อม และผู้หวังได้ความเจริญ

[๓๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ พึงหวังได้ความเสื่อม ในกุศลธรรมอย่างเดียว ไม่พึงหวังความเจริญเลย ตลอดคืน หรือวันที่ผ่านมา ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความปรารถนามาก มีความคับแค้นใจ ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริขาร ตามมีตามได้ ๑ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ เป็นผู้ทุศีล ๑ เป็นผู้เกียจคร้าน ๑ เป็นผู้มีสติเลอะเลือน ๑ และเป็นผู้มีปัญญาทราม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ นี้แล พึงหวังได้ความเสื่อม ในกุศลธรรมอย่างเดียว ไม่พึงหวังความเจริญเลย ตลอดคืน หรือวันที่ผ่านมา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ พึงหวังได้ ความเจริญในกุศลธรรมอย่างเดียว ไม่พึงหวังได้ความเสื่อมเลย ตลอดคืน หรือวันที่ผ่านมา ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ไม่มีความปรารถนามาก ไม่มีความคับแค้นใจ สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริขาร ตามมีตามได้ ๑ เป็นผู้มีศรัทธา ๑ เป็นผู้มีศีล ๑ เป็นผู้ปรารภความเพียร ๑ เป็นผู้มีสติ ๑ และเป็นผู้มีปัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล พึงหวังได้ความเจริญ ในกุศลธรรมอย่างเดียว ไม่พึงหวังได้ความเสื่อมเลย ตลอดคืน หรือวันที่ผ่านมา.

จบรัตติสูตรที่ ๑๐

จบอรหันตวรรคที่ ๓


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 811

อรรถกถารัตติสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในรัตติสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า วิฆาตวา ความว่า เป็นทุกข์ โดยทุกข์ เพราะโลภที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยความมักมาก. คำที่เหลือ ในบททั้งปวง ง่ายทั้งนั้น ฉะนี้แล.

จบอรรถกถา รัตติสูตรที่ ๑๐

จบอรหัตตวรรควรรณนาที่ ๓

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ทุกขสูตร ๒. อรหัตตสูตร ๓. อุตตริมนุสสธรรมสูตร ๔. สุขสูตร ๕. อธิคมสูตร ๖. มหัตตสูตร ๗. ปฐมนิรยสูตร ๘. ทุติยนิรยสูตร ๙. อัคคธรรมสูตร ๑๐. รัตติสูตร และอรรถกถา.