[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 624
วรรคที่ไม่สงเคราะห์เป็นปัณณาสก์
อภิญญาวรรคที่ ๖
๖. ปฐมอาชานียสูตร
ว่าด้วยองค์ ๔ ของม้าต้น
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 624
๖. ปฐมอาชานียสูตร
ว่าด้วยองค์ ๔ ของม้าต้น
[๒๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๔ ย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าทรง ย่อมถึงการนับว่าเป็นราชพาหนะ องค์ ๔ เป็นไฉน คือ ม้าอาชาไนยตัวเจริญของพระราชาในโลกนี้ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ๑ สมบูรณ์ด้วยกำลัง ๑ สมบูรณ์ด้วยความเร็ว ๑ สมบูรณ์ด้วยทรวดทรง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญของพระราชา ประกอบด้วยองค์ ๔ นี้แล เป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าทรง ถึงการนับว่าเป็นราชพาหนะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ก็ฉันนั้น เหมือนกันย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญ อื่นยิ่งกว่า ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ๑ สมบูรณ์ด้วยกำลัง ๑ สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ ๑ สมบูรณ์ด้วย ทรวดทรง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะอย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยกำลังอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อบำเพ็ญกุศลธรรม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยกำลังอย่างนี้แล.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 625
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์อย่างไร ภิกษุในธรรนวินัยนี้ รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาว์อย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทรวดทรงอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปกติได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและเภสัชบริขาร อันเป็นปัจจัยแก่คนไข้ ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทรวดทรงอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า.
จบปฐมอาชานียสูตรที่ ๖
อรรถกถาปฐมอาชานียสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปฐมอาชานียสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า วณฺณสมฺปนฺโน ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยผิวกาย. บทว่า พลสมฺปนฺโน ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยกำลังกาย. บทว่า ภิกฺขุ วณฺณสมฺปนฺโน ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยวรรณะ คือคุณ. บทว่า พลสมฺปนฺโน ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยกำลังคือความเพียร. บทว่า ชวสมฺปนฺโน ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยฝีเท้าคือญาณ.
จบอรรถกถาปฐมอาชานียสูตรที่ ๖