[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 422
๑๐. อานันทสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนิจจังและมิใช่ของเรา
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 422
๑๐. อานันทสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนิจจังและมิใช่ของเรา
[๓๖๔] กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว พึงเป็นผู้ผู้เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
อา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
อา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น ตัวตนของเรา.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 423
อา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ภ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
อา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
อา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.
อา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
[๓๖๕] ภ. ดูก่อนอานนท์ เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี อยู่ในที่ใกล้ก็ดี รูปทั้งหมดนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี อยู่ในที่ใกล้ก็ดี วิญญาณทั้งหมดนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดูก่อนอานนท์ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 424
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
จบ อานันทสูตรที่ ๑๐
จบ ทิฏฐิวรรคที่ ๕
อรรถกถาอานันทสูตรที่ ๑๐
พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า อุปสงฺกมิ ในอานันทสูตรที่ ๑๐. พระอานนทเถระเห็นพวกภิกษุเหล่าอื่นยังพระศาสดาให้บอกพระกรรมฐานขันธ์ ๕ ประกอบ แล้วสืบต่อ แล้วบรรลุพระอรหัตต์ แล้วพยากรณ์พระอรหัตต์ในสำนักพระศาสดา จึงคิดว่า แม้เราก็จักยังพระศาสดาให้ตรัสบอกพระกรรมฐานขันธ์ ๕ แล้วประกอบอยู่ สืบต่ออยู่ บรรลุพระอรหัตต์แล้ว จักพยากรณ์พระอรหัตต์ ดังนี้ จึงเข้าไปเฝ้า.
ก็พระศาสดาแม้ไม่ทรงเห็นการละกิเลสทั้งหลายอันมรรคเบื้องบน พึงฆ่าของพระเถระในเวลาที่พระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ ก็ตรัสบอกด้วยพระดำริว่า เราจักกำหนดดูจิตของภิกษุนี้. ก็จิตของพระเถระแม้นั้นฟังมนสิการพระกรรมฐานครั้งหนึ่งหรือสองครั้งก็พึงไปด้วยคิดว่า เวลานี้เป็นเวลาอุปฐากพระพุทธเจ้า. พระอานนทเถระนั้นมีธรรมเป็นเครื่องบ่มวิมุตติ ยังจิตของท่านให้ร่าเริงอยู่ เป็นผู้ประกอบเนืองๆ ในพระกรรมฐานเกิดแล้วด้วยประการฉะนี้.
จบ อรรถกถาอานันทสูตรที่ ๑๐
จบ อรรถกถาทิฏฐิวรรคที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 425
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อัชฌัตติกสูตร
๒. เอตังมมสูตร
๓. เอโสอัตตสูตร
๔. โนจเมสิยาสูตร
๕. มิจฉาทิฏฐิสูตร
๖. สักกายทิฏฐิสูตร
๗. อัตตานุทิฏฐิสูตร
๘. อภินิเวสสูตรที่ ๑
๙. อภินิเวสสูตรที่ ๒
๑๐. อานันทสูตร.
รวมวรรคที่มีในจุลลปัณณาสก์นี้ คือ
๑. อันตวรรค
๒. ธรรมกถิกวรรค
๓. อวิชชาวรรค
๔. กุกกุฬวรรค
๕. ทิฏิฐิวรรคที่ ๕
จบ จุลลปัณณาสก์
รวมปัณณาสก์ที่มีในขันธสังยุต ๓ ปัณณาสก์
จบ ขันธสังยุต