กุศลที่เป็นเวยยาวัจจะ และผู้ที่ได้รับผลของเวยยาวัจจะ
โดย sms  21 ต.ค. 2549
หัวข้อหมายเลข 2298

เวยยาวัจจะ คืออะไร



ความคิดเห็น 1    โดย study  วันที่ 24 ต.ค. 2549

เวยยาวัจจมัย หรือ ไวยาวัจมัย คือ บุญที่สำเร็จด้วยการขวนขวายช่วยเหลือผู้อื่นกุศลขั้นนี้สำเร็จโดยไม่ต้องให้สิ่งของ แต่เป็นการให้แรงงานความช่วยเหลือกิจการงานของผู้อื่น เช่น ช่วยยกของถวายพระสงฆ์ ช่วยดูแลกิจการงานของสงฆ์ช่วยเหลือผู้สูงอายุ เป็นต้น ขณะนั้นเป็นกุศลจิต ซึ่งจะมีผลเป็นกุศลวิบาก ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาพระวินัยและธรรมบท มีตัวอย่างของผู้รับผลของเวยยาวัจมัย คือ พระสัญชัยเถระ และพระเจ้าจัณฑปัชโชต แห่งกรุงอุชเชนี เป็นต้น โปรดอ่านข้อความโดยตรง


ความคิดเห็น 2    โดย study  วันที่ 24 ต.ค. 2549

เชิญคลิกอ่าน...

ไวยาวัจกร


ความคิดเห็น 3    โดย study  วันที่ 24 ต.ค. 2549

[เล่มที่ 7] พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 326

ได้ยินว่า เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่บังเกิดขึ้น วันหนึ่งเมื่อกุลบุตร ผู้หนึ่งนั่งเพื่อจะบริโภค พระปัจเจกพุทธเจ้ายืนอยู่ที่ประตูแล้วได้ไปเสีย. บุรุษคนหนึ่ง บอกแก่กุลบุตรนั้นว่า พระปัจเจกพระพุทธเจ้ามาแล้วไปเสียแล้ว กุลบุตรนั้นได้ฟังจึงบอกว่า ท่านจงไป จงนำบาตรมาโดยเร็ว ดังนี้ ให้นำบาตรมาแล้ว ให้ภัตที่เตรียมไว้สำหรับตนทั้งหมดส่งไป. บุรุษนอกนี้ นำบาตรนั้นส่งไปถึงมือของพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วได้กระทำความปรารถนาว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ด้วยประกอบความขวนขวายทางกาย ที่ข้าพเจ้ากระทำแก่ท่านนี้ ข้าพเจ้าเกิดในที่ไรๆ ขอจงเป็นผู้พร้อมมูลด้วยพาหนะเถิด. บุรุษนั้นเกิดเป็นพระราชา ทรงพระนามว่าจัณฑปัชโชตนี้ในบัดนี้, ความสมบูรณ์ด้วยพาหนะนี้ มีด้วยความปรารถนานั้น. คือมีช้างพังชื่อภัททวติกาเป็นพาหนะสามารถเดินทางได้ ๕๐ โยชน์. แต่พระราชานั้นจะมีแต่ช้างพังอย่างเดียวเท่านั้นหามิได้, ถึงช้างพลายชื่อว่านาฬาคิรี ย่อมเดินทางได้ ๑๐๐ โยชน์. ม้า ๒ ตัว คือเวลุกัณณะตัวหนึ่งมุญชเกสะตัวหนึ่ง ย่อมเดินทางได้ ๑๒๐ โยชน์. ทาสชื่อกากะ ย่อมเดินทางได้ ๖๐ โยชน์.


ความคิดเห็น 4    โดย ละอ่อนธรรม  วันที่ 17 พ.ย. 2549

ตอนนี้กำลังฟังคลิปบรรยายในหมวดคุยกันเรื่องธัมมะ ที่ท่านอาจารย์สุจินต์ และคุณ วันทนา พูดคุยกันเรื่องบุญญกิริยาวัตถุ ๑๐ อยู่เลยครับ มีเรื่องเวยยาวัจจะด้วย


ความคิดเห็น 5    โดย chatchai.k  วันที่ 14 เม.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 6    โดย talaykwang  วันที่ 19 ก.พ. 2566

ยินดีในกุศลยิ่งค่ะ