บัญญัติทั้งหลายมีประการต่างๆ ดังนี้
สันตานบัญญัติ บัญญัติที่เทียบอาการ คือ ความเปลี่ยนแปลงสืบต่อของภูตนั้นๆ คือบัญญัติว่า แผ่นดิน ภูเขา ต้นไม้ เป็นต้น
สมุหบัญญัติ บัญญัติที่หมายถึงอาการ คือ การประชุมแห่งสัมภาระเช่น บัญญัติว่า รถ และ เกวียน เป็นต้น
สมมติบัญญัติ บัญญัติเป็นต้นว่า บุรุษ บุคคล หมายถึงขันธปัญจกะ
ทิสาบัญญัติ บัญญัติทิศ หมายถึง ความหมุนเวียนของพระจันทร์ มีทิศตะวันออก เป็นต้น
กาลบัญญัติ บัญญัติกาลเวลา เช่น เวลาเช้า เป็นต้น
มาสาทิบัญญัติ บัญญัติเดือน ฤดู และชื่อเดือน มีวิสาขมาส เป็นต้น
อากาสบัญญัติ บัญญัติ หลุม ถ้ำ หมายถึงอาการที่มหาภูตรูปไม่จรดถึงกัน
นิมิตตบัญญัติ บัญญัติกสิณนิมิต หมายถึง ภูตนิมิตนั้นๆ และอาการพิเศษที่สืบเนื่องกันของภาวนา
ก็บัญญัติที่มีความแตกต่างกันดังที่กล่าวมาแล้ว ด้วยประการอย่างนี้แม้จะไม่มีอยู่โดยปรมัตถ์ ก็เป็นอารมณ์แห่งจิตตุปปาทโดยอาการ คือ เงาของอรรถ (ส่วนเปรียบของปรมัตถ์) ถูกกำหนดหมายโดยอาการนั้นๆ เพราะเทียบเคียง คือ เปรียบเทียบ ได้แก่ ทำอาการสัณฐาน เป็นต้น นั้นๆ ให้เป็นเหตุกล่าวกัน เข้าใจกัน เรียกร้องกัน ให้รู้ความหมายกัน เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า" บัญญัติ "
ดาวน์โหลดหนังสือ --> ปรมัตถธรรมสังเขป
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ