ภิกษุในธรรมวินัย ไม่รับ และไม่ยินดีในเงิน และทอง ผู้ที่บวชคือผู้ที่สละแล้ว เมื่อศึกษาแล้วเข้าใจ ก็ทราบว่าไม่สมควรเลยที่จะเอาเงิน และทรัพย์สินไปให้ภิกษุ
ผู้ฟัง บางครั้งบางคราว ก็ประสบด้วยตัวเองว่า พระภิกษุบางรูปท่านคงมีเวลาแล้วก็มีเงินทอง ท่านก็ไปเดินจับจ่ายใช้สอยในห้างสรรพสินค้า ผู้ที่ได้ศึกษาพระธรรมก็ควรจะมีความเข้าใจถ่องแท้ว่า เงิน และทองไม่สมควรกับเพศของพระภิกษุเลย แต่คิดว่าคำสอนเหล่านี้ขาดหายไปในหมู่ของสังคมชาวพุทธว่า เราควรปฏิบัติกับพระภิกษุอย่างไร ในการที่จะให้ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนตามจุดประสงค์ที่ท่านบวช
อ.อรรณพ เป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะว่าเป็นศีลข้อที่ ๑๐ ที่แม้แต่สามเณรก็ไม่สามารถที่จะรับเงินรับทองได้ ใครจะเปลี่ยนพระวินัยไม่ได้ ใครจะบอก จะเปลี่ยนเอาเองไม่ได้ เพราะพระวินัยแต่ละข้อ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพุทธบัญญัติเป็นสิกขาบท และการบัญญัติสิกขาบทแต่ละข้อก็มีที่มาที่ไป แม้พระองค์จะมีพระสัพพัญญุตญานที่ทรงรู้ทุกอย่าง แต่ว่าให้มีเหตุการณ์อันสมควรที่จะทำให้บัญญัติสิกขาบทแต่ละข้อ เช่น ในเรื่องเงิน และทองเป็นศีลข้อที่ ๑๐ ซึ่งแสดงว่าเป็นข้อที่สำคัญ
ถ้าเป็นคฤหัสถ์เอื้อเฟื้อไม่ให้เงินทองกับพระภิกษุก็นับว่าเป็นการเอื้อเฟื้อท่าน ทำให้ท่านไม่ต้องอาบัติ และไม่ต้องได้รับอันตรายจากอาบัตินั้น ซึ่งถ้าสิ้นชีวิตก่อนที่จะปลงอาบัติก็คือต้องไปเกิดในทุคติภูมิ เอาเงินให้ท่านหมายถึงว่าให้ท่านไปอบาย
การที่เราได้มีโอกาสมาศึกษาพระธรรมวินัย ก็ควรที่จะเห็นประโยชน์อย่างมากในเรื่องนี้ ไม่ทำลายพระพุทธศาสนาด้วยความไม่รู้ หรือด้วยความเห็นใจผู้ที่เป็นพระภิกษุกลัวว่าท่านจะลำบาก แต่เรากำลังหยิบยื่นอะไรให้ท่าน แล้วเรากำลังทำอะไรกับพระศาสนา
ขอเชิญศึกษาเพิ่มเติม
พระรับเงินทอง
ภิกษุรับเงินทองได้ไหม?
เหตุใดสมณะจึงเป็นที่รัก
สิกขาบทไม่ให้ภิกษุรับ หรือว่ายินดีเงิน และทอง
หนังสือเล่มใหม่_ภิกษุ กับ เงินทองและการช่วยสังคม
กราบนอบน้อมพระรัตนตรัยด้วยเศียรเกล้า
กราบเท้าบูชาพระคุณท่านอาจารย์ที่มั่นคงในพระธรรมวินัย
และกราบขอบพระคุณคณะอาจารย์ผู้ร่วมถ่ายทอดคำจริงกับท่านอาจารย์มาโดยตลอด
ยินดีในกุศลธรรมทานทุกท่านในคำจริงนั้นที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงด้วยค่ะ
ศึกษาเพิ่มเติมที
โรหิณีเถรีคาถา
คุณของพระสังฆรัตนะ
ยินดีในกุศลจิตครับ
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ด้วยความเคารพยิ่ง