ลกุณฏกภัททิยเถราปทานที่ ๑ (๕๔๑) ว่าด้วยบุพจริยาของพระลกุณฏกเถระ
โดย บ้านธัมมะ  30 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 41548

[เล่มที่ 72] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 321

เถราปทาน

ภัททิยวรรคที่ ๕๕

ลกุณฏกภัททิยเถราปทานที่ ๑ (๕๔๑)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระลกุณฏกเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 72]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 321

ภัททิยวรรคที่ ๕๕

ลกุณฏกภัททิยเถราปทานที่ ๑ (๕๔๑)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระลกุณฏกเถระ

[๑๓๑] ในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้ พระพิชิตมาร พระนามว่าปทุมุตตระ ทรงรู้จบธรรม ทั้งปวง เป็นพระผู้นำ ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก

ครั้งนั้น เราเป็นบุตรเศรษฐี มีทรัพย์มาก ในพระนครหังสวดี เที่ยวเดินพักผ่อนอยู่ ได้ไป ถึงสังฆาราม

คราวนั้น พระผู้นำ ผู้ส่องโลกให้โชติช่วง พระองค์นั้น ทรงแสดงธรรมเทศนา ได้ตรัส สรรเสริญพระสาวกผู้ประเสริฐกว่าภิกษุทั้งหลาย ที่มีเสียงไพเราะ

เราได้สดับพระธรรมเทศนานั้นแล้วก็ ชอบใจ จึงได้ทำสักการะแก่พระองค์ผู้แสวงหา คุณอันใหญ่ ถวายบังคมพระบาททั้งสองของ พระศาสดาแล้ว ปรารถนาฐานันดรนั้น

ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าซึ่งเป็นผู้นำชั้น พิเศษ ได้ตรัสพยากรณ์ในท่ามกลางพระสงฆ์ว่า ในอนาคตกาล ท่านจักได้ฐานันดรนี้สมดังมโนรถ ความปรารถนา


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 322

ในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้ พระศาสดา พระนามชื่อว่าโคดม ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้า โอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก เศรษฐีบุตร ผู้นี้ จักได้เป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น เป็นโอรสอันธรรมเนรมิต เป็นสาวก ของพระศาสดา มีนามชื่อว่า ภัตทิยะ

เพราะกรรมที่ทำไว้ดีนั้น และเพราะการ ตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไป สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ในกัปที่ ๙๒ แต่ภัทรกัปนี้พระพิชิตมาร พระนามว่าผุสสะ เป็นผู้นำยากที่จะหาผู้เสนอ ยากที่จะข่มขี่ได้ สูงสุดกว่าโลกทั้งปวงได้เสด็จ อุบัติขึ้นแล้ว

และพระพุทธองค์ทรงสมบูรณ์ด้วยจรณะ เป็นผู้ประเสริฐเที่ยงตรง ทรงมีความเพียรเผา กิเลสทรงแสวงหาประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ ทรงเปลื้องสัตว์เป็นอันมากจากกิเลสเครื่องจองจำ

เราเกิดเป็นนกดุเหว่าขาวในพระอาราม อันน่าเพลิดเพลินเจริญใจ ของพระผุสสสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เราอยู่ที่ต้นมะม่วงใกล้ พระคันธกุฎี

ครั้งนั้น เราเห็นพระพิชิตมารผู้สูงสุด เป็นพระทักขิไณยบุคคล เสด็จพระราชดำเนินไป


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 323

บิณฑบาต จึงทำจิตให้เลื่อมใส แล้วร้องด้วย เสียงอันไพเราะ

ครั้งนั้น เราบินไปสวนหลวง คาบผล มะม่วงที่สุกดีมีเปลือกเหมือนทองคำมาแล้ว น้อม เข้าไปถวายแด่พระสัมพุทธเจ้า

เวลานั้นพระพิชิตมารผู้ประกอบด้วยพระกรุณา ทรงทราบวาระจิตของเรา จึงทรงรับบาตร จากมือของภิกษุอุปัฏฐาก

เรามีจิตร่าเริงถวายผลมะม่วงแด่พระมหามุนี เราใส่บาตรแล้วก็ประนมปีก ร้องด้วยเสียง อันไพเราะ น่ายินดี เสนาะน่าฟัง เพื่อบูชา พระพุทธเจ้า แล้วไปนอนหลับ

ครั้งนั้น นกเหยี่ยวผู้มีใจชั่วช้าได้โฉบ เอาเรา ผู้มีจิตเบิกบาน มีอัธยาศัยไปสู่ความรัก พระพุทธเจ้า แล้วไปนอนหลับ

เราจุติจากอัตภาพนั้นไปเสวยมหันตสุข ในสวรรค์ชั้นดุสิต แล้วมาสู่กำเนิดมนุษย์ เพราะ กรรมนั้นพาไป

ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าผู้มีพระนาม ตามพระโคตรว่ากัสสปะ เป็นเผ่าพันธุ์พรหม มี พระยศใหญ่ ประเสริฐกว่านักปราชญ์ ได้เสด็จ อุบัติขึ้นแล้ว


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 324

พระองค์ทรงยังพระศาสนาให้โชติช่วง ครอบงำเดียรถีย์ผู้หลอกลวง ทรงแนะนำเวไนยสัตว์ พระองค์พร้อมทั้งพระสาวกปรินิพพานแล้ว

เมื่อพระพุทธองค์ผู้เลิศในโลกปรินิพพาน แล้ว ประชุมชนเป็นอันมากที่เลื่อมใส จักทำ พระสถูปของพระศาสด เพื่อต้องการจะบูชา พระพุทธเจ้า

เขาปรึกษากันอย่างนี้ว่า จักช่วยกันทำ พระสถูปของพระศาสดา ผู้แสวงหาพระคุณ อันใหญ่ ให้สูงเจ็ดโยชน์ ประดับด้วยแก้ว ๗ ประการ

ครั้งนั้น เราเป็นจอมทัพของพระเจ้า แผ่นดินแคว้นกาสี พระนามว่ากิกี ได้พูดลด ประมาณ ที่พระเจดีย์ของพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มี ประมาณเสีย

ครั้งนั้น ชนเหล่านั้นได้ช่วยกันทำเจดีย์ ของพระศาสดา ผู้มีพระปัญญากว่านรชน สูง โยชน์เดียว ประดับด้วยรัตนะนานาชนิด ตาม ถ้อยคำของเรา

เพราะกรรมที่ทำไว้ดีนั้น และเพราะการ ตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไป สวรรค์ชั้นดาวดึงส์


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 325

ก็ในภพสุดท้ายในบัดนี้ เราเกิดในสกุล เศรษฐีอันมั่งคั่งสมบูรณ์ มีทรัพย์มากมาย ใน พระนครสาววัตถีอันประเสริฐ

เราได้เห็นพระสุคต เจ้าในเวลาเสด็จเข้า พระนครก็อัศจรรย์ใจ จึงบรรพชา ไม่นานก็ได้ บรรลุอรหัต

เพราะกรรมคือการลดประมาณ ของพระเจดีย์เราได้ทำไว้ เราจึงมีร่างกายต่ำเตี้ย ควรจะ เป็นร่างกายกลม

เราบูชาพระพุทธเจ้าสูงสุดด้วยเสียงอัน ไพเราะจึงได้ถึงความเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ที่มีเสยงไพเราะ

เพราะการถวายผลไม้แด่พระพุทธเจ้า และเพราะการอนุสรณ์ถึงพระพุทธคุณ เราจึง สมบูรณ์ด้วยสามัญผล ไม่มีอาสวะอยู่

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... คำสอนของ พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระลกุณฏกภัททิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบลกุณฏกภัททิยเถราปทาน


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 326

ภัททิยาวรรคที่ ๕๕

๕๔๑. อรรถกถาลกุณฏกภัททิยเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๑ วรรคที่ ๕๕ ดังต่อไปนี้ :-

อปทานของท่านพระลกุณฏกภัททิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระพุทธเจ้าพระองก์ก่อนๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพ นั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้บังเกิด ในตระกูลที่มีโภคะมากมาย ในหังสวดีนคร บรรลุนิติภาวะแล้ว กำลังนั่ง ฟังธรรมของพระศาสดา ได้มองเห็นภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งพระศาสดาทรงสถาปนา ท่านไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าพวกภิกษุผู้มีเสียงไพเราะ แม้ตนเองก็ปรารถนา ตำแหน่งนั้นบ้างได้ถวายมหาทานอันเจือปนด้วยรสหวาน เช่น เนยใส และ น้ำตาลกรวดเป็นต้น แต่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขแล้ว ตั้งปณิธาน ไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในอนาคตกาล แม้ข้าพระองค์ก็พึงเป็นเหมือน ภิกษุรูปนี้ คือพึงเป็นผู้เลิศกว่าพวกภิกษุผู้มีเสียงไพเราะ ในพระศาสนาของ พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นว่าเขาไม่มีอันตราย จึงทรงพยากรณ์แล้ว เสด็จหลีกไป.

เขาทำบุญไว้เป็นอันมากจนตลอดอายุแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวโลก และมนุษยโลก ได้เสวยสมบัติในโลกทั้ง ๒ แล้ว ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ผุสสะ เขาได้บังเกิดเป็นนกดุเหว่าสวยงาม บินมาโฉบเอา


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 327

ผลมะม่วงพันธุ์อร่อยไปจากพระราชอุทาน มองเห็นพระศาสดาแล้วมีใจเลื่อมใส เกิดความคิดขึ้นว่า เราจักถวายแด่พระพุทธเจ้า. พระศาสดา ทรงทราบความ เป็นไปทางจิตของเขา จึงทรงรับบาตรแล้วประทับนั่ง. นกดุเหว่านั้นได้วาง ผลมะม่วงสุกลงในบาตรของพระทศพล. เพื่อจะให้เขาเกิดความโสมนัสใจ พระศาสดาได้เสวยผลมะม่วงสุกนั้น ขณะที่เขากำลังเห็นอยู่นั้นแล. ลำดับ นั้นนกดุเหว่านั้น มีใจเลื่อมใส ระงับยับยังอยู่ด้วยความสุขอันเกิดแต่ปีตินั้น นั่นแลตลอด ๗ วัน. ด้วยบุญกรรมนั้นนั่นแหละทุกๆ ภพที่เขาเกิดแล้ว จึง ได้มีเสียงไพเราะ ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ เขา ได้บังเกิดในตระกูลช่างไม้ ได้ปรากฏว่าเป็นหัวหน้าช่างไม้. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว เขาพูดกะพวกประชาชนผู้เริ่มจะก่อสร้างสถูปประมาณ ๗ โยชน์ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นว่า เราจักกระทำวงกลมรอบ ๑ โยชน์ และส่วนสูงอีก ๑ โยชน์. คนเหล่านั้น ทั้งหมดได้ตั้งอยู่ในถ้อยคำของเขาแล้ว. เขาได้ช่วยกันสร้างเจดีย์อันมีประมาณ ต่ำ แด่พระพุทธเจ้า ผู้หาประมาณมิได้ ด้วยประการฉะนี้. ด้วยกรรมอัน นั้นทุกๆ ที่ที่เขาได้เกิดแล้ว จึงได้มีรูปร่างประมาณต่ำกว่าคนอื่นๆ. ในกาล แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย เขาได้บังเกิดในเรือนอันมีสกุล ได้ ปรากฏชื่อว่า ลกุณฏกภัททิยะ เพราะมีรูปร่างต่ำ และเพราะมีสรีระสวยงาม คล้ายรูปเปรียบทองคำ ฉะนั้น. ในกาลต่อมาเขาได้ฟังพระธรรมเทศนาของ พระศาสดาแล้ว ได้มีศรัทธา บวชแล้วเป็นพหูสูต เป็นพระธรรมกถึก แสดงธรรมแก่คนเหล่าอื่นด้วยเสียงอันไพเราะ.


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 328

ต่อมาในวันมีมหรสพวันหนึ่ง หญิงคณิกาคนหนึ่ง นั่งรถไปกับ พราหมณ์คนหนึ่ง เธอมองเห็นพระเถระเข้า จึงหัวเราะจนมองเห็นฟัน. พระเถระถือเอากระดูกฟันของหญิงคนนั้นมาเป็นนิมิต ทำฌานให้บังเกิดขึ้น แล้ว ทำฌานนั้นให้เป็นพื้นฐานเจริญวิปัสสนา ได้เป็นพระอนาคามี. ท่าน อยู่ด้วยสติเป็นไปในกายเนืองๆ วันหนึ่งท่านได้รับคำแนะนำพร่ำสอนจาก ท่านพระธรรมเสนาบดี จนถึงได้ดำรงอยู่ในพระอรหัต. ภิกษุแสะสามเณรบาง พวก ไม่รู้ว่าท่านได้บรรลุพระอรหัตแล้ว แกล้งดึงหูท่านเสียบ้าง จับศีรษะ จับแขน หรือจับมือและเท้าเป็นต้นสั่นเล่น เบียดเบียนบ้าง.

ท่านเป็นพระอรหัตแล้ว เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึง เรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อนของตน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้. บทว่า มญฺชุนาภินิกูชหํ ความว่า เราได้พูด ได้เปล่งเสียงด้วยเสียงอัน ไพเราะน่ารัก คำที่เหลือในเรื่องนี้ พอจะกำหนดรู้ ได้โดยง่ายทีเดียวแล.

จบอรรถกถาลกุณฏกภัททิยเถราปทาน