[เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้า 375
ในนิทเทสแหงจิต ที่ชื่อวา จิต เพราะความที่จิตเปนธรรมชาติวิจิตร ชื่อวา มโน เพราะ กําหนดรูอารมณ มโนนั่นแหละชื่อวา มานัส จริงอยู ในคาถาวา อนฺตลิกฺขจโร ปาโส ยฺวาย จรติ มานโส เตน ต พาธยิสฺสามิ น เม สมณ มโนรมา (บวงใดมีใจไปไดในอากาศ กําลัง เที่ยวไป ขาพระองคจักคลองพระองคไวดวยบวงนั้น สมณะทานไมพนเรา) นี้ ตรัสเรียกธรรมคือราคะที่สัมปยุตดวยใจวา มานัส พระอรหัต ก็ตรัสวา มานัส ดังในพระคาถานี้วา
กถฺหิ ภควา ตุยฺห สาวโก สาสเน รโต อปตฺตมานโส เสโข กาล กยิรา ชเนสุตา. ขาแตพระผูมีพระภาคเจาผูปรากฏ ในหมูชน สาวกของพระองคยินดีในพระ ศาสนา ยังไมบรรลุพระอรหัตเปนพระเสข บุคคล เพราะเหตุไรเลา จึงทํากาละเสีย.
แตในนิทเทสนี้ มโนนั่นเองชื่อวา มานัส เพราะทานทําบทใหเจริญ ดวยพยัญชนะ. คําวา หทัย อธิบายวา อก ทานเรียกวา หทัย ในคํานี้วา เราจักขวางจิตของทานไป หรือจักผาหทัยของทานเสีย จิตเรียกวา หทัย ในประโยคนี้วา หทยา หทย มฺเ อฺาย ตจฺฉติ (บุตรชางทํารถ ยอมถากไมเหมือนจะรูใจดวยใจ) หทัยวัตถุเรียกวา หทัย ในคํานี้วา วกฺก หทย (มาม หัวใจ) แตในนิทเทสนี้ จิตเทานั้นเรียกวา หทัย เพราะอรรถวา อยูภายใน จิตนั้นแหละชื่อวา ปณฑระ เพราะอรรถวา บริสุทธิ์. คําวา ปณฑระ นี้ หมายเอาภวังคจิต เหมือนอยางที่ตรัสไววา
ดูกอนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ประภัสสร แตจิตนั้นแลเศราหมองแลวดวยอุปกิเลสที่จรมา ดังนี้ อนึ่ง แมกุศลก็ตรัสเรียกวา ปณฑระเหมือนกัน เพราะออกจากจิตนั้น เหมือน แมน้ําคงคาไหลมาจากแมน้ําคงคา และแมน้ําโคธาวรีไหลมาจากแมน้ําโคธวรี ฉะนั้น.
ส่วนศัพท์มโน ในที่นี้ว่า มโน มนายตนํ ดังนี้ เพื่อแสดงมโนนั่นเองว่าเป็นอายตนะ ด้วยคำว่า มโน มนายตนํ นั้น จึงแสดงบทว่ามโนนั้น มโนนี้ชื่อว่า มนายตนะ เพราะเป็นอายตนะแห่งใจนั่นแหละ เหมือนคำว่า เทวายตนํ นี้หามิได้ โดยที่แท้อายตนะ คือ มโนนั่นแหละ ชื่อว่ามนายตนะ ในคำว่า มนายตนะ นั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ชื่อว่า อายตนะเพราะอรรถว่าเป็นที่อาศัยอยู่ เพราะอรรถว่าเป็นบ่อเกิด เพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุม เพราะอรรถว่าเป็นถิ่นเกิด เพราะอรรถว่าเป็นการณะ.
จริงอย่างนั้น สถานที่อยู่ในโลก เรียกว่า อายตนะ ดุจในประโยค มีอาทิว่า ที่อยู่ของพระอิศวร (อิสฺสรายตนํ) ที่อยู่ของวาสุเทพ (วาสุเทวายตนํ) บ่อเกิดเรียกว่า อายตนะ ดุจในประโยคมีอาทิว่า บ่อเกิดแห่งทอง (สุวณฺณายตนํ) บ่อเกิดแห่งรัตนะ (รตนายตนํ) แต่ในศาสนา สถานที่ประชุมเรียกว่า อายตนะ ดุจในประโยคมีอาทิว่า เมื่อสถานที่ประชุมอันเป็นที่รื่นเริงมีอยู่ นกทั้งหลายย่อมพากันเสพที่นั้น ถิ่นเกิดเรียกว่า อายตนะ ดุจในประโยคมีอาทิว่า ทักขิณาบถ เป็นถิ่นเกิดของโคทั้งหลาย. การณะเรียกว่า อายตนะ ดุจในประโยคมีอาทิวา เธอยอมถึงความสามารถในธรรมที่ควรทํา ใหแจง...ในที่นี้นั้นๆ นั่นแหละได ในเมื่อมีสติ ก็ในที่นี้ ยอมควรแมทั้ง ๓ อรรถะ คือ ชื่อวา อายตนะ เพราะอรรถวาเปนถิ่นเกิด เพราะอรรถวาเปน สถานที่ประชุม และเพราะอรรถวาเปนการณะ (เหตุ)
จริงอยู ธรรมมีผัสสะเปนตน ยอมเกิดพรอมกันในมนะนี้ เพราะ เหตุนั้น มนะนี้จึงชื่อวา ความเกิดแหงอายตนะ แมเพราะอรรถวาเปนถิ่นเกิด รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะในภายนอก ยอมประชุมลงในมนะนี้ เพราะเหตุนั้น มนะนี้จึงชื่อวา อายตนะ แมอรรถวาเปนสถานที่ประชุม ก็มนะนี้พึงทราบวา เปนอายตนะ เพราะอรรถวาเปนปจจัยของผัสสะเปนตน มีสหชาตปจจัยเปนตน บาง ดวยอรรถวาเปนเหตุ เพราะเปนการณะบาง มนินทรียมีอรรถตามที่ กลาวมาแลวนั่นแหละ.
ธรรมชาติที่ชื่อวา วิญญาณ เพราะยอมรูแจง ขันธคือวิญญาณนั่นแหละ เรียกวา วิญญาณขันธ พึงทราบเนื้อความแหงวิญญาณขันธนั้น ดวยอํานาจ ความเป็นกองเป็นต้น
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
กราบนอบน้อมพระรัตนตรัยด้วยเศียรเกล้า
กราบขอบพระคุณยินดีในกุศลพี่เมตตาด้วยค่ะ
ชาติใดที่เกิดแล้วได้ศึกษาพระธรรม ที่พระสัมมาสัมพุมธเจ้าทรงแสดงความเป็นจริงของสภาพธรรมโดยละเอียด ลึกซึ้ง ศึกษาความเป็นจริงของจิต เพื่อสะสมความรู้ความจริงว่า จิตเป็นธรรมอย่างไร จึงไม่ใช่เรา ชาตินั้น ประเสริฐยิ่งนัก ไม่เสียโอกาสที่ได้เกิด
ขออนุโมทนาทุกท่านที่ได้ศึกษาพระธรรมค่ะ
ยินดีในกุศลทุกประการค่ะน้องเมตตา