การเกิดของสติปัฏฐานในชีวิตประจำวันจะมีการคิดเป็นคำตามมาเสมอหรือไม่
โดย lokiya  29 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 41282

.



ความคิดเห็น 1    โดย paderm  วันที่ 29 พ.ย. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เชิญอ่านคำบรรยาย ท่านอ.สุจินต์ดังนี้ (คิดไม่ใช่สติปัฏฐาน)

กาญจนา อย่างที่หนูคิดว่า เริ่มเจริญสติปัฏฐานโดยคิดว่า พอเห็นอะไรก็คิดว่า นี่เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา ใช่ไหมคะ

สุ. ไม่ใช่คิดค่ะ เข้าใจขึ้นว่า นี่เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ แล้วเราก็อยู่ในโลกความคิดที่กว้างใหญ่ของเรามากมายมหาศาล ทำให้ละการติดในนิมิตอนุพยัญชนะในสิ่งที่ปรากฏ เพราะเริ่มเข้าใจจริงๆ ว่า เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้นเอง เหมือนเห็นรูปภาพสักรูปหนึ่งก็เท่านั้นเอง แล้วต่อจากนั้นก็คิด คิดไปเรื่อย วันหนึ่งๆ คิดตลอด เดี๋ยวคิดทางตา เดี๋ยวคิดเสียงทางหู เดี๋ยวคิดทางกาย เดี๋ยวคิดทางใจ ถ้าจะรู้ความจริงอันนี้ ก็เหมือนเราอยู่ในโลกคนเดียวกับความคิดของเรา ก็เริ่มแยกออกแล้วจากการเห็นว่ามีบุคคลต่างๆ มากมายล้อมรอบ จนกว่าจะรู้ว่า เห็นเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้คิดนึก

คุณหญิง โดยมากเราจะไม่ทราบว่า ขณะที่มีสติปัฏฐานเกิดขึ้นบ้าง เรายังไม่ทราบว่าขณะไหน

สุ. เอาความเข้าใจ ทิ้งเรื่องสติไปเลย ขณะใดที่เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ ขณะนั้นสติปัฏฐานแน่นอน เพราะว่ามีสิ่งที่กำลังปรากฏ แล้วความเข้าใจกำลังเริ่มที่จะเข้าใจ เพราะว่าสติปัฏฐานเขาปกติธรรมดาธรรมชาติเลย ไม่มีการผิดเพี้ยนหวือหวาสักนิดเดียว เป็นแต่เพียงขณะที่เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ

นี่เป็นการละ ไม่อย่างนั้นแล้วเราจะมีความตื่นเต้น แล้วคิดว่านั่นเป็นสติ หรืออะไรอย่างนี้ แต่ขณะที่กำลังเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏตามธรรมดาปกติจริงๆ เพราะฉะนั้นจะทิ้งคำว่า “ปกติ” ไม่ได้ แล้วเราไม่ต้องคิดว่ามากหรือน้อย นานหรือเร็ว ใช่ไหมคะ ขณะที่กำลังเริ่มเข้าใจคือพร้อมกับสติ ต้องมีสติถึงได้เข้าใจ หลังจากนั้นพอเป็นเรื่องเป็นราวที่ไม่เข้าใจ ก็รู้ว่าขณะนั้นไม่ได้เข้าใจ ขณะนั้นไม่ใช่สติปัฏฐาน

เพราะฉะนั้นจะผิดจากการปฏิบัติที่เราไปนั่งทำ ใช่ไหมคะ แล้วมีสิ่งที่เราจะต้องเข้าใจทุกวันทุกคืน ขณะนี้เองเดี๋ยวนี้เองต้องรู้ทางตา ถ้าไม่รู้ ก็ไม่มีทางจะดับกิเลสอะไรที่ไหนทั้งนั้น ในเมื่อสิ่งนี้เกิดมา ตื่นมาก็เห็นอยู่ตลอด แล้วก็ยังไม่ได้เข้าใจ

เพราะฉะนั้นเวลาที่เริ่มเข้าใจ หมายความว่าเริ่มที่จะรู้ความจริงที่ไม่ต้องไปเปลี่ยนแปลงอะไรเลย เป็นของจริงธรรมดาๆ แล้วสติปัฏฐานต้องเป็นธรรมดาทุกอย่างในชีวิตประจำวัน ก่อนที่จะไปเปลี่ยนไปแปลง แต่ถ้ามีการไปเปลี่ยนไปแปลง นั่นคือไม่ใช่สติปัฏฐาน


เชิญอ่านคำบรรยาย ท่านอ.สุจินต์ดังนี้ (แม้สติปัฏฐานเกิดแล้ว โลภะก็ยังติดตามไป)

ผู้ถาม ถ้าไม่อยากมากไป เราก็ไม่ศึกษา

สุ. มิได้ ศึกษาเพราะเหตุว่าเป็นประโยชน์ ศึกษาเพราะเห็นว่า เป็นประโยชน์สูงสุด และก็ยากด้วย เมื่อยากแล้วจะรู้อย่างรวดเร็วไม่ได้ เมื่อรู้อย่างรวด เร็วไม่ได้ถึงกาลของอกุศลจะเกิด เขาก็เกิดเป็นไปอย่างมากมายมีการท้อถอย มีการเบื่อ หน่ายต่างๆ แต่จากการสะสมการเห็นประโยชน์แม้ทีละเล็กทีละน้อย ถ้าสะสมมากขึ้น จะไหลไปทางอกุศลสักเท่าไหร่ สิ่งที่สะสมมาก็ค่อยดึงกลับมาถึงประโยชน์ของการที่ จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมได้โดยการที่ไม่ทิ้งไปเลย แต่ว่าวันหนึ่งๆ เราไหลไป ตามอกุศลมาก อาสวะไหลไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่การสะสมของการเห็น ประโยชน์ของธรรมที่ได้สะสมมาแล้วมากน้อยต่างกันก็ปรากฏกับแต่ละบุคคลว่าเบื่อ หรือเปล่า คิดว่าไม่มีเวลาพอหรือเปล่า บางกาลก็ว่าทำอย่างโน้นสนุกกว่า ดีกว่า หรือ จำเป็นกว่า นั่นก็เป็นเรื่องจริงซึ่งแสดงให้เห็นการสะสมตรงตามความเป็นจริงว่าใครก็ บังคับบัญชาไม่ได้ เพราะฉะนั้นถ้าตราบใดยังเห็นประโยชน์ เห็นคุณค่า แม้ว่าชาตินี้ อาจจะได้เข้าใจธรรมขึ้นเพียงเล็กน้อยแต่ถูก ต่อไปข้างหน้าก็จะไม่หลงผิด ไม่ไปทาง ผิด และก็รู้ว่าอบรมเจริญต่อไปได้

ผู้ถาม ผมอยากได้ความรู้สึกที่ท่านอาจารย์กำลังพูด ทำยังไงผมถึงจะรู้สึกว่าแม้ ได้เพียงแต่ละนิดๆ ก็น่าจะภูมิใจไปก่อน แล้วอย่างผมสังเกตตัวเองเรื่องศีลก็พยายาม รักษาศีลไปได้บางข้อ ยกตัวอย่างๆ ไม่ดื่มสุรา ผมก็ไม่ดื่มไปเป็นปีสองปี แต่ทำไมกก ลับมาดื่มอีก

สุ. ยังไม่ใช่พระโสดาบัน

ผู้ถาม อย่างผมไม่ฆ่าสัตว์ เอายากันยุงทิ้งหมด แต่บางทีโมโหก็เอาอีก

สุ. อันนี้เป็นความจริง เพราะฉะนั้นจะต้อง ไม่ใช่ไม่รู้จะทำยังไง เ ห็นกำลังของกิเลสที่ยังไม่ได้ดับ กิเลสที่ยังไม่ดับ ถ้ายังไม่มีปัจจัยพอที่จะเกิดก็ยังไม่ เกิด แต่พอมีปัจจัยที่จะเกิดก็เกิด ใครทำอะไรได้ คือให้เข้าใจว่าธรรมเป็นธรรม

ผู้ถาม ผมเลยจะตีความคำว่า “โลภะ” ถ้าโลภะในทางกุศลก็น่าจะดี ถ้าโลภะในทางอกุศลก็ไม่ได้

สุ. ดีจนกระทั่งคุณเด่นพงษ์เบื่อ ดีอย่างนั้นไม่ใช่เลย เพราะว่า เขาต้องการแล้วไม่ได้ การที่เราถูกครอบงำด้วยโลภะ ซึ่งพระไตรปิฎกก็ใช้คำว่า “เป็น ทาสของโลภะ” เป็นทาสไม่ใช่แค่วันสองวันเลย จะพ้นจากความเป็นทาสได้ยังไง โล ภะไม่ปล่อยง่าย พร้อมที่จะพาไปทางหนึ่งทางใดได้ที่อยาก พอเบื่อทางนี้ แน่นอน โล ภะพาไปทันที

ผู้ถาม สรุปว่าโลภะแม้จะเป็นไปในทางกุศลก็ไม่ดี

สุ. แม้แต่สติสัมปชัญญะเกิดแล้ว โลภะก็ไม่ได้ดับเลย จะ ติดตามไปโดยตลอดจนกระทั่งปัญญารู้จริงๆ จึงละได้ ถ้าปัญญาไม่รู้จริงๆ ก็ละไม่ได้

ผู้ถาม ก็ให้ค่อยๆ ฟังต่อไปอีก

สุ. อย่าทิ้งประโยชน์สูงสุดคือความเข้าใจถูก จะเล็ก จะน้อย จะ ช้าจะนานยังไงก็ไม่ทิ้ง


ความคิดเห็น 2    โดย ทรงศักดิ์  วันที่ 29 พ.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 3    โดย chatchai.k  วันที่ 29 พ.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 4    โดย lokiya  วันที่ 29 พ.ย. 2564

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 5    โดย khampan.a  วันที่ 29 พ.ย. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขณะที่สติปัฏฐานเกิด เป็นกุศลจิตที่ประกอบด้วยปัญญา ซึ่งซั่วขณะสั้นๆ เท่านั้นที่สภาพธรรมฝ่ายดี มีสติและปัญญา เป็นต้น เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ แต่เมื่อสติปัฏฐานไม่ได้เกิดแล้ว อะไรจะเกิด ก็เป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาได้เลย ที่สำคัญ เมื่ออกุศล ยังไม่ได้ดับ ถ้าเหตุปัจจัยพร้อม อกุศลก็เกิดขึ้นได้ ครับ
...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...