๓. อัสสุสูตร ว่าด้วยเปรียบน้ำตากับน้ำในมหาสมุทร
โดย บ้านธัมมะ  4 ก.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 36612

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 509

๓. อัสสุสูตร

ว่าด้วยเปรียบน้ำตากับน้ำในมหาสมุทร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 509

๓. อัสสุสูตร

ว่าด้วยเปรียบน้ำตากับน้ำในมหาสมุทร

[๔๒๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 510

ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย... แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน น้ำตาที่หลั่งไหลของพวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ โดยกาลนานนี้ กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ สิ่งไหนจะมากกว่ากัน.

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ ย่อมทราบธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วว่า น้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวกข้าพระองค์ ผู้ท่องเที่ยวไปมา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะการประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะการพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ โดยกาลนานนี้แหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย.

[๔๒๖] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถูกละๆ พวกเธอทราบธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ ถูกแล้ว น้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมา ฯลฯ โดยกาลนานนี้แหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย พวกเธอได้ประสบมรณกรรมของมารดาตลอดกาลนาน น้ำตาที่หลั่งไหลออกของเธอเหล่านั้น ผู้ประสบมรณกรรมของมารดา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจนั่นแหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย พวกเธอได้ประสบมรณกรรมของบิดา... ของพี่ชายน้องชาย พี่สาวน้องสาว... ของบุตร... ของธิดา... ความเสื่อมแห่งญาติ... ความเสื่อมแห่งโภคะ... ได้ประสบความเสื่อมเพราะโรค ตลอดกาลนาน น้ำตาที่หลั่งออกของพวกเธอเหล่านั้น ผู้ประสบความเสื่อมเพราะโรค คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจาก


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 511

สิ่งที่พอใจนั่นแหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้.

จบอัสสุสูตรที่ ๓

อรรถกถาอัสสุสูตรที่ ๓

พึงทราบวินิจฉัยในอัสสุสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้.

บทว่า กนฺทนฺตานํ ได้แก่ ร้องไห้อยู่ร่ำไป.

บทว่า ปสนฺทํ น้ำตาหลั่งไหล คือเป็นไปแล้ว.

บทว่า จตูสุ มหาสมุทฺเทสุ ได้แก่ ในมหาสมุทรทั้ง ๔ ที่กำหนดด้วยรัศมีภูเขาสิเนรุ.

ก็สำหรับภูเขาสิเนรุ ทางทิศปราจีน สำเร็จด้วยเงิน. ทางทิศทักษิณ สำเร็จด้วยแก้วมณี. ทางทิศปัจฉิม สำเร็จด้วยแก้วผลึก. ทางทิศอุดร สำเร็จด้วยทอง. รัศมีแห่งเงินและแก้วมณี เปล่งออกทางทิศปราจีนและทักษิณ รวมเป็นอันเดียวกัน แผ่ไปบนหลังมหาสมุทร ตั้งจดจักรวาลบรรพต.

รัศมีแห่งแก้วมณีและแก้วผลึก เปล่งออกทางทิศทักษิณและทิศปัจฉิม รัศมีแห่งแก้วผลึกและทอง เปล่งออกทางทิศปัจฉิมและทิศอุดร. รัศมีแห่งทองและเงินเปล่งออกทางทิศอุดรและทิศปราจีน รวมเป็นอันเดียวกัน แผ่ไปบนหลังมหาสมุทร ตั้งจดจักรวาลบรรพต.

ภายในรัศมีเหล่านั้น เป็นมหาสมุทรทั้ง ๔. ท่านหมายเอามหาสมุทร ๔ เหล่านั้น จึงกล่าวว่า จตูสุ มหาสมุทฺเทสุ.

บทว่า


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 512

พฺยสนํ ในบทเป็นต้นว่า าติพฺยสนํ ได้แก่ ความเสื่อม ความเสีย คือความพินาศ.

ความเสื่อมแห่งพวกญาติ ชื่อว่าญาติพยสนะ. ความเสื่อมแห่งโภคะ ชื่อว่าโภคพยสนะ.

ชื่อว่าพยสนะ เพราะความมีโรคของตนเองนั่นแล คือให้ความไม่มีโรคพินาศ คือฉิบหายไป.

ความเสื่อมเป็นโรคแน่นอน ชื่อว่าโรคพยสนะ.

จบอรรถกถาอัสสุสูตรที่ ๓