[เล่มที่ 14] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 282 - 284
ข้อความบางตอนจาก...
อรรถกถามหาสติปฏฐานสูตร
เรื่องโทมนัสของสุพรหมเทพบุตร
บุคคลเห็นสิ่งใด สิ่งนั้นก็ไมไดเห็น สิ่งใดเห็นแลวก็ไมเห็นสิ่งนั้น เมื่อไมเห็น ก็หลงติด เมื่อติดก็ไมหลุดพน ดังนี้. ทานกลาวคํานี้ ก็เพื่อแสดงการแยกออกจากกอนเปนตน. ดวยศัพทวา อาทิเปนตน ในคํานี้บัณฑิตพึงทราบความดังนี้. ก็ภิกษุนี้ พิจารณาเห็นกาย
พระสุตตันตปฎก ทีฆนิกาย มหาวรรคเลม ๒ ภาค ๒ - หนาที่ 283
ในกายนี้เทานั้น ทานอธิบายวา มิใชพิจารณาเห็นธรรมอยางอื่น. คนทั้งหลาย แลเห็นน้ําในพยับแดด แมที่ไมมีน้ําฉันใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายอันนี้วา เปนของไมเที่ยง เปนทุกข ไมใชตัวตน ไมสวยงามวาเปนของเที่ยง เปนสุข เปนตัวตน และสวยงาม ฉันนั้น หามิได ที่แท พิจารณาเห็นกาย ทาน อธิบายวา พิจารณาเห็นกายเปนที่รวมของอาการ คือ ไมเที่ยง เปนทุกข มิใชตัวตน และไมสวยงามตางหาก.
อีกอยางหนึ่ง ก็กายอันนี้ใด ที่ทานกลาวไวขางหนาวา มีลมอัสสาสะ ปสสาสะ เปนตน มีกระดูกที่ปนเปนที่สุด ตามนัย พระบาลีเปนตน วา ดูกอนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปปาก็ดี ฯลฯ เธอมีสติหายใจ เขา ดังนี้ และกายอันใดที่ทานกลาวไวในปฏิสัมภิทามรรค (ขุททกนิกาย) วา ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายคือดิน กายคือน้ํา กายคือไฟ กายคือลม กายคือผม กายคือขน กายคือผิวหนัง กายคือหนึ่ง กายคือเนื้อ กายคือเลือด กายคือเอ็น กายคือกระดูก กายคือเยื่อในกระดูก โดยความเปน ของไมเที่ยง ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความของกายนั้นทั้งหมด แมอยางนี้วา ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย โดยพิจารณาเห็นในกายอันนี้เทานั้น. อีกอยางหนึ่ง พึงทราบความอยางนี้วา พิจารณาเห็นกาย ที่นับวา เปนที่รวมแหงธรรมมีผมเปนตนในกาย โดยไมพิจารณาเห็นสวนใดสวนหนึ่ง ที่พึงถือวาเปนเรา เปนของเราในกาย แตพิจารณาเห็นกายนั้น ๆ เทานั้นเปน ที่รวมแหงธรรมตาง ๆมีผม ขนเปนตน.
อนึ่ง พึงทราบความอยางนี้วา พิจารณาเห็นกายในกายแมโดยพิจารณา เห็นกายที่นับวาเปนที่รวมแหงอาการ มีลักษณะไมเที่ยง เปนตน ทั้งหมดทีเดียว ซึ่งมีนัยที่มาในปฏิสัมภิทามรรค ตามลําดับบาลี เปนตนวา พิจารณาเห็นใน
พระสุตตันตปฎก ทีฆนิกาย มหาวรรคเลม ๒ ภาค ๒ - หนาที่ 284
กายนี้ โดยความเปนของไมเที่ยง ไมใชโดยเปนของเที่ยงดังนี้. จริงอยางนั้น ภิกษุผูปฏิบัติ ปฏิปทา คือพิจารณาเห็นกายในกายรูปนี้ ยอมพิจารณาเห็นกาย อันนี้โดยเปนของไมเที่ยง ไมใชเห็นโดยเปนของเที่ยง พิจารณาเห็นโดยเปน ทุกข ไมใชเห็นโดยเปนสุข พิจารณาเห็นโดยมิใชตัวตน ไมใชเห็นเปนตัวตน ดวยอํานาจ อนุปสสนา (การพิจารณาเห็น) ๗ ประการ มีพิจารณาเห็นความ ไมเที่ยงเปนตน ยอมเบื่อหนาย มิใชยินดียอมคลายกําหนัด มิใชกําหนัด ยอม ดับทุกขมิใชกอทุกข ยอมสละ มิใชยึดถือ. ภิกษุนั้นเมื่อพิจารณาเห็นกายอันนี้ โดยความเปนของไมเที่ยง ยอมละนิจจสัญญาความสําคัญวาเที่ยงเสียได เมื่อ พิจารณาเห็นโดยความเปนทุกข ยอมละทุกขสัญญาความสําคัญวาเปนสุขเสียได เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเปนของไมใชตัวตน ยอมละอัตตสัญญาความสําคัญวา เปนตัวตนเสียได เมื่อเบื่อหนาย ยอมละความยินดีเสียได เมื่อคลายกําหนัด ยอมละความกําหนัดเสียได เมื่อดับทุกข ยอมละเหตุเกิดทุกขเสียได เมื่อสละ ยอมละความยึดถือเสียได ดังนี้ พึงทราบดังกลาวมาฉะนี้
ท่านกล่าวคำนี้ เพื่อแสดงการแยกออกจากก้อนเป็นต้น ไม่ใช่ฆนสัญญา
พึงทราบว่า พิจารณาเห็นกายในกายนี้เท่านั้น คือเห็นกายว่าเป็นกายกายแปลว่าประชุม เห็นกายคือเห็นสภาพธรรมแต่ละอย่าง ไม่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนเป็น
สิ่งหนึ่งสี่งใด เห็นรูปารมณ์ คือสี่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน ไม่ใช่สี่งหนึ่งสี่งใด เป็นธรรมที่เพียงปรากฏให้เห็น ไม่ต้องใช้คำอะไรเลยไม่มีชื่อ ไม่ต้องคิดถึง รูปร่าง สัณฐาน ไม่ต้องเรียกอะไรเลย เพราะเป็น ปรมัตถธรรม ที่กำลังปรากฏ เท่านั้น ธรรมนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน และไม่งามด้วย
ดังนั้นบุคคลเห็นสี่งใด สี่งนั้นก็ไม่ได้เห็น ขณะที่เห็น ไม่มีอะไรเลย ไม่ใช่สี่งหนึ่งสี่งใด เป็นแต่เพียงสี่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่เกิดดับอย่างรวดเร็วมาก ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ต้วตน และไม่งาม ถ้าเห็นแล้วก็หลงติดทันที เพราะความไม่รู้ เมื่อติดก็ไม่หลุดพ้น ดังนี้
ผู้ที่ไม่ติดในสกุลทั้งหลาย เป็นผู้ที่มีความสุข ปราศจากเครื่องกังวล และถ้าเห็นแล้วไม่ติด ต้องเป็นผู้มีปกติเจริญสติปัฏฐานค่ะ
ยังเป็นผู้ติดอยู่ ยังเป็นผู้ข้องอยู่ และยังเป็นผู้พยายาม ขวนขวาย เพื่อความไม่เป็นผู้ติด ผู้ข้อง อยู่ด้วยเช่นกันค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
ฟังธรรมที่ ท่านอาจารย์ บรรยาย และ สอน ไปเรื่อยๆ ให้เข้าใจเพี่มขึ้นทีละน้อยเพื่อค่อยๆ เป็นผู้มีความเห็นถูกเพี่มขึ้น จนสังขารขันธ์ปรุงแต่งให้มีปัญญารู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง โดยทั่วๆ ไปอย่าคิดหรือหวังที่จะละความติดข้องต้องการ พระอรหันต์เท่านั้นที่ละโลภะได้หมดสื้น ครับ
ขออนุโมทนาครับ