[เล่มที่ 54] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 76
เถรีคาถา ติกนิบาต
๑. อัญญตราสามาเถรีคาถา
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 54]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 76
เถรีคาถา ติกนิบาต
ว่าด้วยคาถาต่างๆ ในติกนิบาต
๑. อัญญตราสามาเถรีคาถา (๑)
[๔๓๐] ตั้งแต่ข้าพเจ้าบวชมาแล้ว ๒๕ พรรษา ข้าพเจ้าไม่รู้สึกกว่าได้ความสงบจิตในกาลไหนๆ เลย ข้าพเจ้าทำใจให้อยู่ในอำนาจไม่ได้ จึงไม่ได้ควานสงบใจต่อจากนั้น ข้าพเจ้า ระลึกถึงคำสอนของพระชินเจ้าจึงได้ถึงความสังเวช ข้าพเจ้าอันความทุกข์เป็นอันมากถูกต้องแล้ว ยินดีแล้วในความไม่ประมาท บรรลุความสิ้นตัณหาแล้ว ได้ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว วันนี้เป็นราตรีที่ ๗ นับแต่วันที่ข้าพเจ้าทำตัณหาให้แห้งสนิทแล้ว.
จบ อัญญตราสามาเถรีคาถา
อรรถกถาติกนิบาต
๑. อรรถกถาอปราสามาเถรีคาถา
ในติกนิบาตมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
คาถาว่า ปณฺณวีสติ วสฺสานิ เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรีชื่อสามาอีกองค์หนึ่ง
แม้พระเถรีชื่อสามาอีกองค์หนึ่งนี้ ก็ได้สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี เกิดในกำเนิดกินนร ที่ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา
๑. อรรถกถา เป็น อปราสามาเถรีคาถา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 77
กินรีนั้นเที่ยวขวนขวายในการเล่นเพลินอยู่กับเหล่ากินนรในที่นั้น อยู่มาวันหนึ่งพระศาสดาเสด็จไปในที่นั้นเพื่อทรงปลูกพืชคือกุศลแก่กินรีแม้นั้น เสด็จจงกรมอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำ กินรีนั้นเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ร่าเริงยินดี ถือเอาดอกไม้ช้างน้าวไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้วบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยดอกไม้เหล่านั้น ด้วยบุญกรรมนั้นกินรีนั้นท่องเที่ยวอยู่โนเทวโลกและมนุษยโลก ในพุทธุปปาทกาลนี้ เกิดในเรือนตระกูลในกรุงโกสัมพี เจริญวัยแล้วเป็นสหายของนางสามาวดี เวลานางสามาวดีนั้นตาย เกิดความสังเวชบวช ๒๕ พรรษายังไม่ได้สมาธิจิต ในเวลาแก่ได้โอวาทของพระสุคตแล้วเจริญวิปัสสนา ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวได้ในอปทานว่า (๑)
ข้าพเจ้าเป็นกินรีอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้เห็นพระนราสภ ผู้เป็นเทพของทวยเทพกำลังเสด็จจงกรมอยู่ จึงได้เลือกเก็บดอกไม้ช้างน้าวมาถวายแด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด พระมหาวีรสัมพุทธเจ้าพระนามวิปัสสีผู้เป็นนายกของโลก ทรงรับดอกไม้ช้างน้าวซึ่งมีกลิ่นเหมือนทิพย์ทรงดมแล้ว พระมหาวีระ ทรงดม เมื่อข้าพเจ้ากำลังเพ่งดูอยู่ในกาลนั้นข้าพเจ้าประคองอัญชลี ถวายบังคมพระพุทธองค์ผู้สูงสุดกว่าสัตว์สองเท้า ทำจิตของตนให้เลื่อมใส ต่อนั้นก็เดินขึ้นภูเขาไป ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ ข้าพเจ้าได้ถวายดอกไม้ใดในกาลนั้น ด้วยการถวายดอกไม้นั้น ข้าพเจ้าไม่รู้จักทุคติ นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า.
๑. ขุ. ๓๓/ข้อ ๑๕๒ สลฬปุปผิกาเถรีอปทาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 78
ข้าพเจ้าเผากิเลสแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว.
ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้วพิจารณาการปฏิบัติของตน ได้กล่าวคาถาเหล่านี้เป็นอุทานว่า
ตั้งแต่ข้าพเจ้าบวชมาแล้ว ๒๕ พรรษา ข้าพเจ้าไม่รู้สึกว่าได้ความสงบจิตในกาลไหนๆ เลย ข้าพเจ้าทำใจให้อยู่ในอำนาจไม่ได้ จึงไม่ได้ความสงบใจต่อจากนั้น ข้าพเจ้าระลึกถึงคำสอนของพระชินเจ้าได้ จึงถึงความสังเวช ข้าพเจ้าอันความทุกข์เป็นอันมากถูกต้องแล้ว ยินดีแล้วในความไม่ประมาท บรรลุความสิ้นตัณหาแล้ว ได้ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว วันนี้เป็นราตรีที่ ๗ นับแต่วันที่ข้าพเจ้าทำตัณหาให้แห้งสนิทแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จิตฺตสฺส สมํ ได้แก่ความเข้าไปสงบแห่งจิต ความว่า มรรคสมาธิและผลสมาธิที่เกิดแต่ความสงบใจ. บทว่า ตโต ได้แก่ จากความเป็นผู้ไม่สามารถยังอำนาจจิตให้เป็นไป. บทว่า สํเวคมาปาทึความว่า แม้เมื่อพระศาสดายังดำรงพระชนม์อยู่ ยังไม่อาจทำกิจของบรรพชิตให้ถึงที่สุดได้ ภายหลังจักให้ถึงได้อย่างไร ข้าพเจ้าถึงความสังเวช คือความสะดุ้งเพราะญาณ ดังว่ามานี้. บทว่า สริตฺวา ชินสาสนํ ได้แก่ระลึกถึงโอวาทของพระศาสดามีอุปมาด้วยเต่าตาบอดเป็นต้น. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วแล.
จบ อรรถกถาอปราสามาเถรีคาถา